คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทุจริต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 532 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 712/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานใช้อำนาจในทางทุจริต บังคับให้ได้ทรัพย์สินโดยมิชอบ ไม่ใช่ปล้นทรัพย์
จำเลยที่ 1-2 เป็นพลตำรวจ ได้สมคบกันไปจับผู้เสียหายมา 2 คน บอกว่าสงสัยว่าลักควายของจำเลยที่ 3 และใส่กุญแจมือพามาบ้านจำเลยที่ 4 ในระหว่างเดินทาง จำเลยที่ 1 ได้เอาปืนยาวตีศีรษะผู้เสียหายให้เอาเงินมาคนละ 300 บาท ถ้าไม่ให้จะฆ่าทิ้งเสียในคืนนี้ ผู้เสียหายยอมรับจะให้คนละ 250 บาท แต่เวลานั้นยังไม่มีเงิน จำเลยจึงบอกให้ผู้เสียหายขายควายและให้เอาเรือน ที่บ้านและไร่ยาสูบขายฝากผู้อื่นไว้แล้วจำเลยที่ 1 ก็รับเอาเงินที่ขายควายและขายฝากเรือน ที่บ้านและไร่ยาสูบไป ดังนี้ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 270 และมาตรา 136 ฐานใช้อำนาจและตำแหน่งหน้าที่ในทางทุจริต หาใช่เป็นการปล้นทรัพย์ เพราะมิใช่การขู่เข็ญชิงเอาทรัพย์ไปจากความครอบครองของเจ้าทรัพย์ หากแต่เป็นการที่จำเลยบังคับให้เขาให้หรือให้เขาหาทรัพย์ หรือผลประโยชน์อันมิควรจะได้ตามกฎหมายมาให้แก่ตัวมันโดยมันเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจและตำแหน่งหน้าที่บังคับโดยทางอันมิชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 268,270,301 แต่ข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์สืบสมว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 270,136 แต่โจทก์อ้างบทหรือมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 573/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกรับเงินเพื่อเอื้อประโยชน์ในการโอนเรือ ถือเป็นการทุจริตและมีความผิดตามกฎหมายอาญา
โจทก์ได้ไปร้องขอให้กรมเจ้าท่าทำการโอนขายเรือของโจทก์ให้แก่ ส. ในชั้นแรกไม่ได้รับอนุญาตให้โอน จำเลยซึ่งเป็นรองอธิบดีกรมเจ้าท่า ได้เรียกร้องให้โจทก์ชำระเงิน 56000 บาท เพื่อเป็นค่าทำถนนในกรมเจ้าท่าเสียก่อนจึงจะอนุญาตให้ทำการโอนได้ โจทก์จึงจำต้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลย แล้วจำเลยจึงได้สั่งอนุญาตให้ทำการโอนเรือในวันนั้นเอง ดังนี้แม้จำเลยจะนำสืบได้ว่าได้เอาเงินจำนวนนี้ไปใช้ลาดยางทำถนนให้แก่กรมเจ้าท่า จำเลยก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำการทุจจริตตามนัยแห่งมาตรา 6 (3) กฎหมายอาญา โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายจากการกระทำของจำเลยและมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยได้
กรณีเช่นนี้ย่อมแตกต่างกับเรื่องเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ซึ่งเป็นการให้เงินแก่กันโดยสมัครใจ
(อ้างฎีกา 406/2486, 394/131)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 573/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกรับเงินเพื่อเอื้อประโยชน์ในการอนุมัติโอนเรือ ถือเป็นการทุจริตและมีความผิดตามกฎหมายอาญา
โจทก์ได้ไปร้องขอให้กรมเจ้าท่าทำการโอนขายเรือของโจทก์ให้แก่ ส. ในชั้นแรกไม่ได้รับอนุญาตให้โอน จำเลยซึ่งเป็นรองอธิบดีกรมเจ้าท่าได้เรียกร้องให้โจทก์ชำระเงิน 56,000 บาท เพื่อเป็นค่าทำถนนในกรมเจ้าท่าเสียก่อนจึงจะอนุญาตให้ทำการโอนได้ โจทก์จึงจำต้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยแล้วจำเลยจึงได้สั่งอนุญาตให้ทำการโอนเรือในวันนั้นเอง ดังนี้แม้จำเลยจะนำสืบได้ว่าได้เอาเงินจำนวนนี้ไปใช้ลาดยางทำถนนให้แก่กรมเจ้าท่า จำเลยก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำการทุจริตตามนัยแห่งมาตรา 6(3) กฎหมายอาญา โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายจากการกระทำของจำเลยและมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยได้
กรณีเช่นนี้ย่อมแตกต่างกับเรื่องเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ซึ่งเป็นการให้เงินแก่กันโดยสมัครใจ (อ้างฎีกาที่406/2468,394/131)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานสมรู้ร่วมคิดของราษฎรเมื่อเจ้าพนักงานกระทำผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่
การที่เจ้าพนักงานสมคบกับราษฎรร่วมกันกระทำผิดฐานใช้อำนาจ และตำแหน่งหน้าที่ในทางทุจจริต ราษฎรย่อมมีผิดฐานสมรู้
คดีโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานเป็นตัวการ ทางพิจารณาได้ความว่ามีผิดฐานสมรู้ ศาลก็ลงโทษได้.
(อ้างฎีกา 620/2490)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานสมรู้ร่วมคิดเจ้าพนักงานทุจริต แม้ฟ้องเป็นตัวการ ศาลลงโทษฐานสมรู้ได้
การที่เจ้าพนักงานสมคบกับราษฎรร่วมกันกระทำผิดฐานใช้อำนาจและตำแหน่งหน้าที่ในทางทุจริต ราษฎรย่อมมีผิดฐานสมรู้
คดีโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานเป็นตัวการ ทางพิจารณาได้ความว่ามีผิดฐานสมรู้ ศาลก็ลงโทษได้
(อ้างฎีกา 620/2490)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับขนส่งสินค้าและการรับผิดชอบค่าเสียหายเมื่อสินค้าสูญหายหรือเสียหายจากการทุจริตของผู้รับจ้างย่อย
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยเป็นเจ้าของเรือใบรับจ้างบันทุกข้าวสารของโจทก์ไปส่งจังหวัดนครศรีธรรมราช แล้วข้าวสารไม่ถึงจังหวัดนครศรีธรรมราชจึงเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้เป็น 2 ประการ ประการแรกเรือจำเลยไปไม่ได้ถึง 2 ครั้ง จำเลยจึงได้บอกเลิกสัญญากับโจทก์แล้ว ประการที่ 2 โจทก์ได้ไปตกลงกับคนเรือของจำเลยให้เดินทางไปอีกเป็นครั้งที่ 3 ก่อนตกลงกับจำเลย และไม่แจ้งให้จำเลยทราบ จึงเกิดการเสียหายขึ้น เนื่องจากคนเรือทุจจริต โดยจำเลยไม่ได้เกี่ยวข้อง จำเลยไม่ได้ต่อสู้เลยว่าเรือถูกปล้นกลางทางอันเป็นเหตุสุดวิสัยทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบ ดังที่จำเลยยกขึ้นกล่าวในฟ้องฎีกา ถ้าจำเลยประสงค์จะต่อสู้เช่นนี้ จำเลยชอบที่จะกล่าวให้ชัดแจ้งตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 177 วรรค 2 เมื่อข้อความเหล่านี้ไม่เป็นประเด็นในคดีในศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยก็ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาไม่ได้ต้องห้ามตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกแม้ศาลอุทธรณ์จะรับพิจารณาในประเด็นข้อปล้นให้ทั้ง ๆ ที่ไม่เป็นประเด็นในคดีเลย เช่นนี้ ก็ไม่ทำให้กลายเป็นประเด็นขึ้นได้
ในคดีรับขนของ เมื่อของไม่ถึงปลายทางและสูนย์หายไปแล้ว ค่าระวางเรือก็เป็นค่าเสียหาย ซึ่งผู้ส่งจะได้รับ ผู้รับขนส่งจะต้องรับผิดชอบในเงินจำนวนนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1652/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกทรัพย์: การขายของแทนแล้วนำเงินไปเป็นของตนเองโดยทุจริต
จำเลยได้รับมอบเข็มขัดนาคของ บ. เพื่อไปจัดการขายแทนโดยกำหนดราคาให้ขาย จำเลยเอาไปขายต่ำกว่าราคาที่กำหนดแล้วกล่าวเท็จกับ บ. ว่ายังไม่ได้ขาย ขอผัดไปอีกสุดท้ายปฏิเสธว่าได้ขายและเอาเงินให้ บ. แล้ว ดังนี้จำเลยย่อมมีผิดฐานยักยอกเข็มขัดของ บ. ตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 284/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เทศมนตรีลักทรัพย์ของเทศบาล แม้คืนเงินก็ยังผิดฐานลักทรัพย์ ศาลพิพากษาแก้โทษจากทุจริตเป็นลักทรัพย์
เทศมนตรีไปที่โรงเก็บของของเทศบาลบอกแก่ผู้เก็บรักษาว่าจะเอาไปซ่อม แล้วเอาของนั้นไปโดยเจตนาทุจริตนั้นเป็นผิดฐานลักทรัพย์
เอาทรัพย์ของผู้อื่นไปขายโดยเจตนาทุจริต แม้จะเอาเงินมาคืนให้เจ้าของบ้าง ก็คงเป็นผิดฐานลักทรัพย์
ฟ้องว่าจำเลยเป็นเทศมนตรีเอาทรัพย์ของเทศบาลไปขายโดยเจตนาทุจริตอันเป็นผิดตามมาตรา 132 นั้น ถ้ามิได้ระบุว่าจำเลยมีหน้าที่เกี่ยวกับของนั้นอย่างไรแล้ว จะลงโทษตาม มาตรา132 ไม่ได้
ในการกระทำอันเดียวกัน โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์และฐานเจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่ศาลชั้นต้นยกข้อหาฐานลักทรัพย์แต่ให้ลงโทษฐานทุจริตต่อหน้าที่จำเลยอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาฝ่ายเดียวเมื่อศาลสูงเห็นว่าการกระทำนั้นไม่เป็นผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ แต่เป็นผิดฐานลักทรัพย์ดังนี้ ก็ย่อมลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอดถอนทรัสตี: ไม่ใช่สัญญาต่างตอบแทน, ไม่ต้องมีการทุจริต, ฟ้องในไทยได้แม้ทรัพย์อยู่ในต่างประเทศ
ผู้ก่อตั้งทรัสต์ได้มอบทรัพย์สินของตนให้แก่ทรัสตีเป็นผู้ดูแลจัดการผลประโยชน์เพื่อรับประโยชน์แห่งทรัสต์นั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องสัญญาต่างตอบแทนที่คู่สัญญาจะต้องปฏิบัติการชำระหนี้แต่อย่างใด ฉะนั้นเมื่อทรัสตีคนใดทำผิดหน้าที่และละเมิดทรัสต์ ศาลก็ย่อมจะพิพากษาถอดถอนทรัสตีผู้นั้นเสียได้ โดยไม่ต้องเลิกล้มทำลายหนังสือสัญญาก่อตั้งทรัสต์
การถอดถอนทรัสตีนั้นไม่มีหลักกฎหมายว่าทรัสตีจะต้องกระทำการถึงเป็นการทุจริตจึงจะถอดถอนได้ เพียงแต่ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนถึงขนาดไม่สมควรจะดำรงตำแหน่งเป็นทรัสตีต่อไปแล้ว ศาลก็ย่อมถอดถอนได้
ฟ้องขอให้ถอดถอนทรัสตีตามตราสารก่อตั้งทรัสต์ที่ได้กระทำไว้ในประเทศไทย นั้นแม้ทรัพย์สินอันเป็นกองทรัสต์ส่วนมากจะอยู่ในต่างประเทศก็ฟ้องในประเทศไทยได้เพราะมิใช่เรื่องที่จะต้องบังคับแก่ทรัพย์สินแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1226/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำนันเรียกรับเงินจากผู้ต้องหาแล้วปล่อยตัว ถือเป็นความผิดฐานใช้ตำแหน่งหน้าที่ในทางทุจริต
กำนันจับผู้กระทำผิดฐานฆ่ากระบือ โดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วเรียกเอาเงินจากผู้เสียหาย แล้วปล่อยตัวผู้เสียหายไป เป็นการนอกเหนือเหลือเกิน มิชอบด้วยอำนาจหน้าที่ เป็นความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญา มาตรา 138 วรรคท้าย และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม ก.ม.ลักษณะอาญา พ.ศ. 2484 มาตรา 3.
of 54