พบผลลัพธ์ทั้งหมด 460 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในภารจำยอมโดยอายุความและการปิดกั้นทางระบายน้ำ
เดิมที่ดินของโจทก์จำเลยเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน แต่มาแบ่งแยกภายหลัง มีคูระบายน้ำและใช้ระบายน้ำโสโครกผ่านที่ดินในส่วนที่ตกมาเป็นของจำเลยตั้งแต่เจ้าของเดิม เมื่อที่ดินตกมาเป็นของโจทก์ โจทก์ก็ใช้คูระบายน้ำโสโครกต่อมาอีกกว่า 10 ปีแล้ว ดังนี้ โจทก์ย่อมได้สิทธิในภาระจำยอมโดยอายุความเหนือที่ดินจำเลย จำเลยจะปิดคูระบายน้ำเสียไม่ได้
ข้อต่อสู้ของจำเลยว่า จำเลยมีสิทธิกระทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 แต่ไม่ขอสืบพยานนั้น ศาลไม่รับฟัง
ข้อต่อสู้ของจำเลยว่า จำเลยมีสิทธิกระทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 แต่ไม่ขอสืบพยานนั้น ศาลไม่รับฟัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินด้วยชายคา: มาตรา 1312 ภารจำยอม vs. มาตรา 1341 การป้องกันการไหลของน้ำ
ปลูกสร้างเรือนในที่ดินของตน ตัวเรือนไม่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น แต่ชายคาได้รุกล้ำเข้าไปโดยสุจริตนั้น ย่อมเป็นการปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 ไม่ใช่ มาตรา 1341 เพราะมาตรา 1341 หมายถึง ทำหลังคาหรือการปลูกสร้างอย่างอื่นโดยมิได้รุกล้ำที่ดินของคนอื่น แต่เมื่อฝนกตกน้ำฝนได้ไหลลงไปยังที่ดินหรือทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งอยู่ติดต่อกัน (ประชุมใหญ่ที่ 20/2505)
มาตรา 1312 เป็นบทบัญญัติพิเศษบังคับแก่เจ้าของที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของขณะมีการปลูกสร้างหรือเป็นผู้รับโอนในเวลาต่อมา เจ้าของโรงเรือนมีสิทธิขอให้จดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมได้โดยไม่ต้องรอจนเกิน 10 ปี
มาตรา 1312 เป็นบทบัญญัติพิเศษบังคับแก่เจ้าของที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของขณะมีการปลูกสร้างหรือเป็นผู้รับโอนในเวลาต่อมา เจ้าของโรงเรือนมีสิทธิขอให้จดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมได้โดยไม่ต้องรอจนเกิน 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยชายคา: สิทธิภารจำยอมและการแยกประเภทมาตรา 1312 vs. 1341
ปลูกสร้างเรือนในที่ดินของตน ตัวเรือนไม่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น แต่ชายคาได้รุกล้ำเข้าไปโดยสุจริตนั้นย่อมเป็นการปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 ไม่ใช่ มาตรา 1341 เพราะตาม มาตรา 1341 หมายถึงทำหลังคาหรือการปลูกสร้างอย่างอื่นโดยมิได้รุกล้ำที่ดินของผู้อื่น แต่เมื่อฝนตกน้ำฝนได้ไหลลงไปยังที่ดินหรือทรัพย์สินของผู้อื่นที่ติดต่อกัน
ในกรณีปลูกเรือนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามมาตรา 1312 นั้นเจ้าของโรงเรือนมีสิทธิขอให้จดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมได้ โดยไม่ต้องรอจนเกิน 10 ปี
ในกรณีปลูกเรือนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามมาตรา 1312 นั้นเจ้าของโรงเรือนมีสิทธิขอให้จดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมได้ โดยไม่ต้องรอจนเกิน 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนจึงมีผล โจทก์ผู้รับโอนที่ดินแปลงอื่นไม่มีสิทธิอาศัยสิทธิภารจำยอมของเจ้าของเดิม
ฎีกาจำเลยกล่าวถึงฟ้อง คำให้การและคำวินิจฉัยศาลล่าง แล้วฎีกาว่า ตามที่ศาลอุทธรณ์ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นยังขัดต่อข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงซึ่งได้จากคำให้การของโจทก์อันเป็นการอธิบายฟ้องของโจทก์ที่จะปรับเข้ากับข้อกฎหมายได้แล้ว แม้จะให้สืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปอีกก็ไม่มีเหตุที่จะทำข้อกฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับตามฟ้องเปลี่ยนแปลงไปได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบและยกฟ้อง โจทก์จึงชอบแล้ว ดังนี้ ไม่ใช่ฎีกาย่อ ไม่ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225, 247
ข้อตกลงระหว่างทายาทที่ให้แบ่งที่ดินส่วนหนึ่งไว้เป็นทางภารจำยอมนั้น ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ย่อมไม่บริบูรณ์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 ผู้รับโอน ที่ดินแปลงอื่นจากทายาทคนหนึ่งไม่มีสิทธิจะฟ้องทายาทเหล่านั้นให้เปิดทางภารจำยอมได้
ข้อตกลงระหว่างทายาทที่ให้แบ่งที่ดินส่วนหนึ่งไว้เป็นทางภารจำยอมนั้น ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ย่อมไม่บริบูรณ์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 ผู้รับโอน ที่ดินแปลงอื่นจากทายาทคนหนึ่งไม่มีสิทธิจะฟ้องทายาทเหล่านั้นให้เปิดทางภารจำยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนจึงสมบูรณ์ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิฟ้อง
ข้อตกลงระหว่างทายาทที่ให้แบ่งที่ดินส่วนหนึ่งไว้เป็นทางภารจำยอมนั้น ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนย่อมไม่บริบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 ผู้รับโอนที่ดินบางส่วนจากทายาทคนหนึ่ง ไม่มีสิทธิฟ้องให้เปิดทางภารจำยอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1568/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภารจำยอมและที่ดินสูงต่ำ: การนำอายุความมาตรา 1401 มาใช้ และความหมายของที่ดินสูงต่ำตามธรรมชาติ
อายุความได้สิทธิที่จะนำมาใช้แก่ภารจำยอมโดยอนุโลมดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 นั้น ได้แก่อายุความตาม มาตรา 1382 มาตรานี้กำหนดอายุความไว้ 10 ปี โดยไม่แยกว่าจะเป็นที่ดินมือเปล่าหรือที่ดินมีโฉนด ส่วนอายุความตาม มาตรา 1375 นั้น หาใช่อายุความได้สิทธิไม่
คำว่า ที่ดินสูง ที่ดินต่ำตาม มาตรา 1339,1340 นั้นหมายถึงที่ดินสูงต่ำตามธรรมชาติ เจ้าของที่ดินต่ำหาจำต้องรับน้ำจากที่ดินที่ถมขึ้นให้สูงไม่
คำว่า ที่ดินสูง ที่ดินต่ำตาม มาตรา 1339,1340 นั้นหมายถึงที่ดินสูงต่ำตามธรรมชาติ เจ้าของที่ดินต่ำหาจำต้องรับน้ำจากที่ดินที่ถมขึ้นให้สูงไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายภารจำยอมในชั้นบังคับคดี: จำเลยมิอาจยกข้ออ้างใหม่ได้หากก่อให้เกิดประเด็นต้องสืบพยานเพิ่มเติม
จำเลยจะยกสิทธิขอให้ย้ายภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 3192 ขึ้นอ้างในชั้นบังคับคดีไม่ได้ เพราะเป็นการก่อให้เกิดประเด็นขึ้นใหม่ว่า การย้ายต้องไม่ทำให้ความสะดวกของเจ้าของสามยทรัพย์ลดน้อยลง ซึ่งศาลจะต้องพิจารณาสืบพยานหลักฐานชี้ขาด ถ้าโจทก์ไม่ตกลงยินยอมในการย้าย จำเลยก็ต้องไปฟ้องเป็นคดีต่างหาก
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2504
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2504
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้ออ้างการย้ายภารจำยอมในชั้นบังคับคดีเป็นประเด็นใหม่ ต้องฟ้องเป็นคดีต่างหาก
เมื่อศาลพิพากษาให้ที่ดินของจำเลยตกอยู่ในภารจำยอมแล้วจำเลยจะยกสิทธิขอให้ย้ายภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 ขึ้นอ้างในชั้นบังคับคดีไม่ได้ เพราะเป็นการก่อให้เกิดประเด็นขึ้นใหม่ว่า การย้ายต้องไม่ทำให้ความสะดวกของเจ้าของสามยทรัพย์น้อยลง ซึ่งศาลจะต้องพิจารณาสืบพยานหลักฐานชี้ขาด ฉะนั้นถ้าโจทก์ไม่ตกลงยินยอมในการย้าย จำเลยก็ต้องไปฟ้องเป็นคดีต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ: สิทธิเดินทางแม้เจ้าของเดิมมิได้ใช้เอง หากผู้เช่าใช้ต่อเนื่องเกิน 10 ปี
ภารจำยอมในเรื่องทางเดินเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่ง กฎหมายเพิ่งเล็งถึงความสำคัญของที่ดินไม่ใช่ส่วนตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของ
ตอนแรกโจทก์ที่ 1 เช่าที่ดินซึ่งเป็นสามนทรัพย์ปลูกบ้านอยู่ และโจทก์ที่ 2 เช่าบ้านอีกหลังหนึ่งอยู่ในที่ดินนั้นด้วย ระหว่างนั้นโจทก์ทั้งสองใช้ทางพิพาทเดินเข้าออกสู่ทางสาธารณะเรื่อยมา ตอนหลังโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินนั้นและก็คงใช้ทางพิพาทเดินตลอดมา เมื่อรวมระยะเวลาทั้ง 2 ตอน เกิน 10 ปี โจทก์ย่อมได้ภารจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ
ตอนแรกโจทก์ที่ 1 เช่าที่ดินซึ่งเป็นสามนทรัพย์ปลูกบ้านอยู่ และโจทก์ที่ 2 เช่าบ้านอีกหลังหนึ่งอยู่ในที่ดินนั้นด้วย ระหว่างนั้นโจทก์ทั้งสองใช้ทางพิพาทเดินเข้าออกสู่ทางสาธารณะเรื่อยมา ตอนหลังโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินนั้นและก็คงใช้ทางพิพาทเดินตลอดมา เมื่อรวมระยะเวลาทั้ง 2 ตอน เกิน 10 ปี โจทก์ย่อมได้ภารจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมทางเดินเกิดขึ้นได้จากการใช้ต่อเนื่องเกิน 10 ปี โดยพิจารณาที่ที่ดิน ไม่ใช่ตัวบุคคล
ภารจำยอมในเรื่องทางเดินเป็นทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่งกฎหมายเพ่งเล็งถึงความสำคัญของที่ดิน ไม่ใช่ส่วนตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของ
ตอนแรกโจทก์ที่ 1 เช่าที่ดินสามยทรัพย์ปลูกบ้านอยู่ และโจทก์ที่ 2 เช่าบ้านอีกหลังหนึ่งอยู่ในที่ดินนั้นด้วยระหว่างนั้นโจทก์ทั้งสองใช้ทางพิพาทเดินเข้าออกสู่ทางสาธารณเรื่อยมา ตอนหลังโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินนั้น และคงใช้ทางพิพาทเดินตลอดมาเมื่อรวมระยะเวลาทั้ง 2 ตอนเกิน 10 ปี โจทก์ย่อมได้ภารจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ
ตอนแรกโจทก์ที่ 1 เช่าที่ดินสามยทรัพย์ปลูกบ้านอยู่ และโจทก์ที่ 2 เช่าบ้านอีกหลังหนึ่งอยู่ในที่ดินนั้นด้วยระหว่างนั้นโจทก์ทั้งสองใช้ทางพิพาทเดินเข้าออกสู่ทางสาธารณเรื่อยมา ตอนหลังโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินนั้น และคงใช้ทางพิพาทเดินตลอดมาเมื่อรวมระยะเวลาทั้ง 2 ตอนเกิน 10 ปี โจทก์ย่อมได้ภารจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ