คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เวนคืน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 555 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนเวนคืนต้องเป็นราคาตลาด ณ วันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับ การใช้ราคาประเมินกรมที่ดินที่ไม่คำนึงถึงสภาพที่ดินถือไม่ถูกต้อง
จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืน โดยถือราคาประเมินของกรมที่ดินอันเป็นบัญชีราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของสำนักงานที่ดิน ซึ่งกำหนดราคาปานกลางของที่ดินที่ถูกเวนคืนไว้ก่อนวันที่ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับถึง 2 ปีเศษ และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คำนึงถึงสภาพที่ดินของโจทก์ว่าเป็นที่ดินซึ่งมีความเจริญถึงขนาดที่มีสาธารณูปโภคครบถ้วนเพียงใดหรือไม่ ดังนี้ ค่าทดแทนที่จำเลยกำหนดขึ้นโดยอาศัยราคาประเมินของกรมที่ดินเป็นหลักจึงมิใช่ค่าทดแทนเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4089/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิค่าทดแทนทรัพย์สิน (บ่อ, ต้นไม้) และการพิจารณาประเภททรัพย์สิน (ไม้ยืนต้น)
สับปะรดเป็นพืชถาวรจำพวกใบเลี้ยงเดี่ยว ที่มีอายุหลายปี ลำต้นสับปะรดไม่มีเนื้อไม้ให้เห็นเด่นชัด สับปะรดจึงไม่ใช่ไม้ยืนต้น
นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของจำเลยที่ 1 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึกตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชาและตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุงจังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2521 คณะกรรมการเวนคืนดังกล่าวย่อมมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการให้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนให้ตกลงกันในเรื่องจำนวนค่าทดแทนตามมาตรา 18, 22, 25, 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะพิพาท เมื่อคณะกรรมการเวนคืนได้รับการแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว คณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการเวนคืนแต่งตั้งย่อมเป็นตัวแทนของคณะกรรมการเวนคืนดังนั้นการกระทำของคณะอนุกรรมการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายและข้อตกลงที่คณะอนุกรรมการได้กระทำไว้กับโจทก์จึงเป็นการกระทำแทนคณะกรรมการเวนคืนและเมื่อคณะกรรมการเวนคืนก็ได้เห็นชอบตามข้อตกลงดังกล่าว จึงย่อมมีผลใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4089/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การประเมินค่าชดเชยทรัพย์สิน (บ่อกุ้ง, บ่อปลา, ต้นไม้) และการพิจารณาประเภททรัพย์สิน (ไม้ยืนต้น)
สับปะรด เป็นพืชถาวรจำพวกใบเลี้ยงเดี่ยว ที่มีอายุหลายปี ลำต้นสับปะรด ไม่มีเนื้อไม้ให้เห็นเด่นชัด สับปะรด จึงไม่ใช่ไม้ยืนต้น นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของจำเลยที่ 1ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึกตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลาอำเภอศรีราชาและตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุงจังหวัด ชลบุรี พ.ศ. 2521 คณะกรรมการเวนคืนดังกล่าวย่อมมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการให้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนให้ตกลงกันในเรื่องจำนวนค่าทดแทนตามมาตรา 18222526แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะพิพาท เมื่อคณะกรรมการเวนคืนได้รับการแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว คณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการเวนคืนแต่งตั้งย่อมเป็นตัวแทนของคณะกรรมการเวนคืนดังนั้นการกระทำของคณะอนุกรรมการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายและข้อตกลงที่คณะอนุกรรมการได้กระทำไว้กับโจทก์จึงเป็นการกระทำแทนคณะกรรมการเวนคืนและเมื่อคณะกรรมการเวนคืนก็ได้เห็นชอบตามข้อตกลงดังกล่าว จึงย่อมมีผลใช้บังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าเวนคืนที่ดิน: ดอกเบี้ยเมื่อจำเลยไม่วางเงินตามประกาศ คปต. แม้โจทก์ไม่ยอมรับราคา
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 กำหนดเกี่ยวกับการชำระค่าทดแทนการเวนคืนที่ดินกรณีเจ้าของที่ดินไม่ยอมรับราคาที่เจ้าหน้าที่เวนคืนของจำเลยเสนอไว้ว่าให้นำเงินไปวางต่อศาล เมื่อปรากฏว่าเจ้าหน้าที่เวนคืนของจำเลยมิได้นำเงินดังกล่าวไปวางต่อศาล และการที่เจ้าของที่ดินไม่ยอมรับราคาที่เสนอก็เพราะเห็นว่าเป็นราคาที่ไม่เป็นธรรมอันเป็นมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ซึ่งถือไม่ได้ว่าเจ้าของที่ดินตกเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ดังนั้น จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยในต้นเงินค่าทดแทนแก่โจทก์ นับแต่วันที่เข้าครอบครองที่ดินของโจทก์ ตามมาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าทดแทนที่ดินเวนคืน แม้เสนอราคาแล้วแต่ไม่วางเงินต่อศาล เจ้าของที่ดินไม่ถือเป็นผู้ผิดนัด
แม้จำเลยจะแสดงเจตนาชำระค่าทดแทนที่ดินที่เวนคืนให้แก่โจทก์แล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับโดยจะเอาให้มากกว่านั้นจำเลยก็หาได้นำเงินตามที่จำเลยเสนอไปวางต่อศาลตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น อันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในเงินที่วางไม่ทั้งการที่โจทก์ไม่ยอมรับราคาที่เสนอก็เพราะเห็นว่าเป็นราคาที่ไม่เป็นธรรมอันเป็นมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ ซึ่งถือไม่ได้ว่าเจ้าของที่ดินตกเป็นผู้ผิดนัด ดังนั้น แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยถึงที่สุดว่า จำนวนเงินค่าทดแทนที่จำเลยเสนอให้โจทก์เป็นราคาที่เป็นธรรมแล้ว ก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยพ้นจากความรับผิดตามกฎหมายที่จะต้องเสียดอกเบี้ยในต้นเงินค่าทดแทนดังกล่าวให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ดอกเบี้ยเมื่อเจ้าของที่ดินไม่ยอมรับราคาที่ไม่เป็นธรรม และจำเลยไม่วางเงินต่อศาล
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 กำหนดเกี่ยวกับการชำระค่าทดแทนการเวนคืนที่ดินกรณีเจ้าของที่ดินไม่ยอมรับราคาที่เจ้าหน้าที่เวนคืนของจำเลยเสนอไว้ว่าให้นำเงินไปวางต่อศาลเมื่อปรากฏว่าเจ้าหน้าที่เวนคืนของจำเลยมิได้นำเงินดังกล่าวไปวางต่อศาล และการที่เจ้าของที่ดินไม่ยอมรับราคาที่เสนอก็เพราะเห็นว่าเป็นราคาที่ไม่เป็นธรรมอันเป็นมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ซึ่งถือไม่ได้ว่าเจ้าของที่ดินตกเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ดังนั้น จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยในต้นเงินค่าทดแทนแก่โจทก์ นับแต่วันที่เข้าครอบครองที่ดินของโจทก์ ตามมาตรา 224.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3628/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ในการแจ้งเวนคืนที่ดิน และความประมาทเลินเล่อของผู้ซื้อที่ไม่ตรวจสอบสิทธิ
ประกาศของคณะปฏิวัติและพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวเขตที่ดินที่เวนคืน ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพียงแต่กำหนดว่าที่ดินจะถูกเวนคืนท้องที่ใด อำเภออะไร กว้างที่สุดและแคบที่สุดเท่าไรเท่านั้น แม้จะมีแผนที่แนบ ก็ไม่อาจทราบได้แน่ชัดว่าที่ดินแปลงใดถูกเวนคืนบ้าง ผู้ขายได้ซื้อที่ดินมาจากผู้อื่นและขออนุญาตทำการปลูกสร้างอาคาร แล้วขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อโดยผู้ขายไม่รู้ว่าที่ดินถูกเวนคืน และความไม่รู้มิใช่เพราะความประมาทของผู้ขาย ผู้ขายไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องที่ผู้ซื้อฟ้องว่าผู้ขายปกปิดความจริงเรื่องการเวนคืน พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497กำหนดให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้เจ้าหน้าที่มอบสำเนาอันแท้จริงแห่งพระราชกฤษฎีกา และพระราชบัญญัติดังกล่าว พร้อมทั้งแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัตินั้นให้แก่...ที่ว่าการอำเภอหรือหอทะเบียนที่ดินในตำบลซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตั้งอยู่ เมื่อพระราชกฤษฎีกาได้กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครย่อมมีหน้าที่ต้องแจ้งให้สำนักงานที่ดินซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตั้งอยู่ทราบเมื่อไม่แจ้งย่อมเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ซื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3114-3119/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าทดแทนที่ดินเวนคืนตามราคาตลาด และดอกเบี้ยตามประกาศคณะปฏิวัติ
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 76 ที่กำหนดให้ใช้ค่าทดแทนตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดนั้น หมายถึงราคาธรรมดาที่อาจจะซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริงในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่นำสืบได้ มิใช่หมายความว่าถ้าในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับไม่มีหลักฐาน การจดทะเบียนซื้อขายกันที่สำนักงานที่ดินก็จะต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทน
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระเงินเพิ่มขึ้นให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินนั้นตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนใช้บังคับวันที่ 1 มกราคม 2520 แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินเพิ่มแก่โจทก์โดยให้เสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2525 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยที่ 3 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าได้นำเงินไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์จึงไม่ถูกต้อง แต่คดีนี้โจทก์มิได้ฎีกาเป็นแต่กล่าวมาในคำแก้ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3114-3119/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: ราคาตลาด vs. ราคาประเมิน และดอกเบี้ยตามประกาศ คปป.
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 76 ที่กำหนดให้ใช้ค่าทดแทนตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดนั้น หมายถึงราคาธรรมดาที่อาจจะซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริงในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่นำสืบได้ มิใช่หมายความว่าถ้าในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับไม่มีหลักฐาน การจดทะเบียนซื้อขายกันที่สำนักงานที่ดินก็จะต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทน
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระเงินเพิ่มขึ้นให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินนั้นตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนใช้บังคับวันที่ 1 มกราคม 2520 แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่3 ชำระเงินเพิ่มแก่โจทก์โดยให้เสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2525 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยที่ 3 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าได้นำเงินไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์จึงไม่ถูกต้อง แต่คดีนี้โจทก์มิได้ฎีกาเป็นแต่กล่าวมาในคำแก้ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5615/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดราคาค่าทดแทนเวนคืนที่ดิน: พิจารณาตามวันประกาศพระราชกฤษฎีกา หรือประกาศของคณะปฏิวัติ
วิธีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ทางหลวง พุทธศักราช2482 หรือประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 มีวิธีปฏิบัติอย่างเดียวกัน คือ อาจกระทำโดยออก พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยไม่ต้องออกพระราชกฤษฎีกาก็ได้ ดังนั้นเงินค่าทดแทนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76(3) ที่ให้ถือเอาวันที่พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ใช้บังคับนั้น จึงต้องหมายถึงกรณีที่มิได้มีการออกพระราชกฤษฎีกา แต่ถ้า มีการออกพระราชกฤษฎีกาก่อนที่จะออก พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เงินค่าทดแทนที่ให้กำหนดเท่าราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดก็จะต้องเอาราคาในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับตามข้อ 76(1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี ทำนองเดียวกันกับเรื่องทรัพย์สินที่จะคำนวณค่าทดแทนตามข้อ 75.
of 56