พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18570/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลมีอำนาจสั่งให้จ่ายค่าเสียหายแทนการรับกลับเข้าทำงาน
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน แต่ถ้าศาลแรงงานเห็นว่า ลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ให้ศาลแรงงานกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้ให้แทน จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์รับโจทก์กลับเข้าทำงาน จึงเป็นกรณีที่ลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ เห็นควรกำหนดให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์แทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17591-17594/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างต้องพิจารณาทางเลือกอื่นก่อนเลิกจ้าง การลดต้นทุนไม่ใช่เหตุอันสมควร
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยให้การว่าจำเลยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ทำให้ต้องลดจำนวนลูกจ้างเพื่อลดค่าใช้จ่าย จำเลยจึงเลิกจ้างลูกจ้างจำนวน 7 คน ซึ่งรวมถึงโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 ด้วยเนื่องจากโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 มีผลการทำงานย้อนหลัง 3 ปี ต่ำกว่ามาตรฐาน ขาดงาน ลาป่วย ลากิจ ละทิ้งหน้าที่จำนวนมาก และเคยถูกลงโทษทางวินัย ศาลแรงงานภาค 1 จดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ แล้วฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวว่าการใช้สิทธิลาของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 ไม่ทำให้จำเลยเสียหาย การเลิกจ้างมีเหตุผลมาจากจำเลยต้องการลดจำนวนลูกจ้างเพื่อลดต้นทุนการผลิต การที่จำเลยนำเรื่องการทำงานของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 มาพิจารณาเพื่อเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 จึงเป็นการเลือกปฏิบัติ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นการให้เหตุผลเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทนั้นแล้ว แม้ศาลแรงงานภาค 1 จะวินิจฉัยโดยให้เหตุผลรวบรัดไปบ้าง แต่ก็ได้กล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงโดยสรุปและวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยครบถ้วน คำพิพากษาของศาลแรงงานภาค 1 จึงชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
การพิจารณาว่าการเลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 หรือไม่ ต้องพิจารณาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุอันสมควรเพียงพอหรือไม่ จำเลยอ้างเหตุว่าคำสั่งซื้อจากลูกค้าของจำเลยลดลงตั้งแต่กลางปี 2551 ทำให้กิจการของจำเลยประสบภาวะการขาดทุนและเป็นเหตุให้ต้องเลิกจ้างลูกจ้างเพื่อความอยู่รอดของกิจการจำเลย นับจากเวลาที่คำสั่งซื้อลดลงจนถึงวันที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 มีระยะเวลาเพียงประมาณ 6 เดือน โดยในช่วงระยะเวลาดังกล่าวไม่ปรากฏว่าจำเลยได้พยายามใช้วิธีการอื่นใดปรับปรุงการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานหรือลดค่าใช้จ่ายของจำเลยลงหรือให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 ไปช่วยทำงานในหน้าที่อื่นแต่อย่างใด การที่จำเลยเลือกใช้วิธีการเลิกจ้างในทันทีเพื่อลดค่าใช้จ่ายของจำเลย โดยมิได้มีการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดก่อนการเลิกจ้าง เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยเพียงฝ่ายเดียว จึงยังไม่มีเหตุอันสมควรและเพียงพอที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 ได้ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การพิจารณาว่าการเลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 หรือไม่ ต้องพิจารณาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุอันสมควรเพียงพอหรือไม่ จำเลยอ้างเหตุว่าคำสั่งซื้อจากลูกค้าของจำเลยลดลงตั้งแต่กลางปี 2551 ทำให้กิจการของจำเลยประสบภาวะการขาดทุนและเป็นเหตุให้ต้องเลิกจ้างลูกจ้างเพื่อความอยู่รอดของกิจการจำเลย นับจากเวลาที่คำสั่งซื้อลดลงจนถึงวันที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 มีระยะเวลาเพียงประมาณ 6 เดือน โดยในช่วงระยะเวลาดังกล่าวไม่ปรากฏว่าจำเลยได้พยายามใช้วิธีการอื่นใดปรับปรุงการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานหรือลดค่าใช้จ่ายของจำเลยลงหรือให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 ไปช่วยทำงานในหน้าที่อื่นแต่อย่างใด การที่จำเลยเลือกใช้วิธีการเลิกจ้างในทันทีเพื่อลดค่าใช้จ่ายของจำเลย โดยมิได้มีการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดก่อนการเลิกจ้าง เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยเพียงฝ่ายเดียว จึงยังไม่มีเหตุอันสมควรและเพียงพอที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 ได้ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16093/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาสำเร็จรูปที่ไม่เป็นธรรม ค่าธรรมเนียมแรกเข้าคืนได้บางส่วนตามความเป็นธรรม
เมื่อสัญญาประกอบอาหาร/เครื่องดื่ม ศูนย์อาหารเรนทรี ฟู้ด สแควร์ เป็นสัญญาที่ทำเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีการกำหนดข้อสัญญาที่เป็นสาระสำคัญไว้ล่วงหน้า ซึ่งจำเลยที่ 1 นำมาใช้แก่ผู้ค้าที่ประสงค์จะทำสัญญาประกอบอาหาร/เครื่องดื่มในศูนย์อาหารดังกล่าวทุกคน สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาสำเร็จรูป จำเลยที่ 1 เป็นผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป ข้อตกลงในส่วนที่เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมแรกเข้าจึงเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและมีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4 โดยมิพักต้องคำนึงว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือไม่ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ค่าธรรมเนียมแรกเข้าจำนวน 720,000 บาท โจทก์ได้จ่ายเพื่อได้สิทธิในการประกอบอาหารในศูนย์อาหารดังกล่าวเป็นระยะเวลา 3 ปี เท่ากับเฉลี่ยเดือนละ 20,000 บาท แม้ในการประกอบธุรกิจศูนย์อาหารของจำเลยที่ 1 นี้จะมีค่าใช้จ่ายและค่าบริหารจัดการ และจำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์ตอบแทนจากส่วนแบ่งรายได้ของยอดขายอาหารของโจทก์ ก็หาทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาร่วมลงทุนไม่ เมื่อได้ความว่าโจทก์เข้าใช้ประโยชน์ตามสิทธิที่ระบุในสัญญาได้เพียงประมาณ 6 เดือน แล้วมีการเลิกสัญญาและไม่ปรากฏว่าหลังจากนั้นจำเลยที่ 1 หาผู้มาใช้ประโยชน์ต่อจากโจทก์ไม่ได้ ข้อตกลงในสัญญากำหนดให้โจทก์ไม่มีสิทธิรับเงินค่าธรรมเนียมแรกเข้าคืนเลยย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์คิดหักค่าใช้ประโยชน์จากศูนย์อาหารดังกล่าวตามระยะเวลาที่โจทก์ได้ใช้สิทธิออกจากเงินค่าธรรมเนียมแรกเข้าแล้วกำหนดให้จำเลยที่ 1 คืนเงินจำนวน 600,000 บาท ที่เหลือแก่โจทก์ แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 1 คืนเงินค่าธรรมเนียมแรกเข้าแก่โจทก์เพียง 515,500 บาท และโจทก์พอใจไม่อุทธรณ์โต้แย้งนับว่าเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 แล้ว ศาลอุทธรณ์จึงกำหนดเงินค่าธรรมเนียมแรกเข้าที่จำเลยที่ 1 ต้องคืนให้แก่โจทก์เท่ากับที่ศาลชั้นต้นกำหนดมานับเป็นการใช้ดุลพินิจพิเคราะห์ถึงอำนาจต่อรอง ฐานะทางเศรษฐกิจและทางได้เสียทุกอย่างของคู่สัญญา เพื่อให้ข้อสัญญาดังกล่าวมีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13812/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ไม่มีความผิดทางอาญา แต่ประมาทเลินเล่อในการทำงาน
การกระทำที่ไม่เป็นความผิดในคดีอาญา แต่อาจจะเป็นการกระทำความผิดทางวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานได้ แม้คดีอาญาจะเป็นความผิดที่เกี่ยวกับแผ่นดินซึ่งอาจจะมีความสำคัญมากกว่าความผิดทางวินัย แต่การพิจารณาว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดต่อคดีอาญาหรือไม่ หรือเป็นความผิดทางวินัยหรือไม่ ย่อมมีองค์ประกอบและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาแตกต่างกันไป ไม่อาจนำข้อสรุปของการพิจารณาแต่ละกรณีมาใช้บังคับแก่กันได้ แม้คดีอาญาที่จำเลยแจ้งความดำเนินคดีแก่โจทก์จะถึงที่สุดโดยพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องก็ตาม ก็ไม่อาจนำมาเป็นข้อยุติว่าโจทก์มิได้กระทำความผิดทางวินัยด้วยได้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ใช้ความระมัดระวังไม่เพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นพนักงานเก็บรักษาของอันเป็นการปฏิบัติงานโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง กรณีย่อมมีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้ มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2660/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม, ค่าชดเชย, สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า, และการหักเงินรางวัลอายุงาน
จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างจ่ายเงินค่าเบี้ยกันดารและค่าเช่าที่พักให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเมื่อโจทก์ต้องไปทำงานในต่างจังหวัด หากโจทก์กลับเข้ามาทำงานในกรุงเทพมหานครแล้วจำเลยที่ 1 ไม่จ่ายให้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 จ่ายเงินทั้งสองประเภทให้แก่โจทก์เป็นสวัสดิการ ไม่ใช่จ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ เงินค่าเบี้ยกันดารและค่าเช่าที่พักจึงไม่เป็นค่าจ้าง
โจทก์แจ้งความประสงค์ให้จำเลยที่ 1 แบ่งจ่ายค่าจ้างเดือนละ 2 ครั้ง ในวันที่ 15 และวันสิ้นเดือนของทุกเดือน จำเลยที่ 1 ตกลง เกิดเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างในการจ่ายค่าจ้างให้เป็นไปตามกำหนดนั้น สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีกำหนดระยะเวลาจำเลยที่ 1 บอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์วันที่ 29 กรกฎาคม 2547 เป็นผลให้สัญญาจ้างเลิกกันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปคือวันที่ 15 สิงหาคม 2547 เมื่อจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ทันทีตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2547 โดยไม่ได้บอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2547 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2547 รวม 18 วัน
แผนรางวัลอายุงานเป็นสภาพการจ้างที่ผูกพันจำเลยที่ 1 กับพนักงานที่รวมถึงโจทก์ด้วย ตามระเบียบแผนรางวัลอายุงานจำเลยที่ 1 มีสิทธิลดเงินรางวัลอายุงานลงได้เพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมแก่ประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งการเลิกจ้างในทุกกรณี โดยไม่มีข้อยกเว้นกรณีการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยอันเป็นเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเพราะการเลิกจ้าง จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธินำค่าชดเชยไปหักออกจากเงินรางวัลอายุงานที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยที่ 1
โจทก์แจ้งความประสงค์ให้จำเลยที่ 1 แบ่งจ่ายค่าจ้างเดือนละ 2 ครั้ง ในวันที่ 15 และวันสิ้นเดือนของทุกเดือน จำเลยที่ 1 ตกลง เกิดเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างในการจ่ายค่าจ้างให้เป็นไปตามกำหนดนั้น สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีกำหนดระยะเวลาจำเลยที่ 1 บอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์วันที่ 29 กรกฎาคม 2547 เป็นผลให้สัญญาจ้างเลิกกันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปคือวันที่ 15 สิงหาคม 2547 เมื่อจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ทันทีตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2547 โดยไม่ได้บอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2547 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2547 รวม 18 วัน
แผนรางวัลอายุงานเป็นสภาพการจ้างที่ผูกพันจำเลยที่ 1 กับพนักงานที่รวมถึงโจทก์ด้วย ตามระเบียบแผนรางวัลอายุงานจำเลยที่ 1 มีสิทธิลดเงินรางวัลอายุงานลงได้เพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมแก่ประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งการเลิกจ้างในทุกกรณี โดยไม่มีข้อยกเว้นกรณีการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยอันเป็นเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเพราะการเลิกจ้าง จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธินำค่าชดเชยไปหักออกจากเงินรางวัลอายุงานที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2967/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากผลงานไม่ดีและรายงานเท็จ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
สัญญาจ้างระบุจ่ายค่าจ้าง และสวัสดิการ ค่าเช่าบ้าน ค่าเดินทาง เมื่อผ่านการทดลองงาน จำเลยจะบรรจุให้เป็นพนักงานประจำ โดยมีสวัสดิการเบี้ยขยันให้ตามหลักเกณฑ์ บ้านพักที่จำเลยจัดให้พนักงานมี 80 ห้อง พนักงานที่ไม่มีบ้านพักจะได้ค่าเช่า ในกรณีของโจทก์ไม่ต้องการบ้านพักก็จะช่วยเหลือเป็นค่าเช่า การตกลงจ่ายเงินดังกล่าวกันตามสัญญาจ้างของโจทก์กับจำเลยมีเจตนามาตั้งแต่แรกที่จะให้เป็นสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือพนักงานนอกเหนือจากค่าจ้างที่กำหนดไว้เป็นเงินเดือน แม้ค่าเช่าบ้านและค่าพาหนะจำเลยจะจ่ายให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือน โดยไม่มีเงื่อนไขว่าต้องนำเอกสารหรือหลักฐานมาเบิกจ่าย ก็เป็นเพียงวิธีการจ่ายเงินในลักษณะเหมาจ่ายเพื่อความสะดวกในทางปฏิบัติ และมิได้แสดงว่าคู่สัญญาจะเปลี่ยนเจตนาให้สวัสดิการนั้นกลายเป็นค่าจ้าง
จำเลยใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างเนื่องจากโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบได้ หรืออาจกล่าวว่าโจทก์ขาดสมรรถภาพที่จะทำงานและรับผิดชอบในตำแหน่งที่ได้รับการว่าจ้าง มิใช่เป็นเรื่องการลงโทษเพราะโจทก์กระทำผิดทางวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน จำเลยมิได้กลั่นแกล้งโจทก์ กรณีจึงมีเหตุผลเพียงพอและสมควรที่จำเลยจะเลิกสัญญาจ้างโจทก์ได้ ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ตามมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
โจทก์ไม่ได้ไปทำงานเนื่องจากลาป่วยและลากิจ แต่โจทก์กลับทำบันทึกรายงานการตรวจงาน โรงอาหาร ร้านค้า พร้อมกับแสดงข้อสังเกต แสดงว่าโจทก์รายงานเท็จ เมื่อได้ความว่ามีการกระทำเช่นนั้นในงานหลักซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของโจทก์ ย่อมถือได้ว่า โจทก์มีการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ทำให้จำเลยนายจ้างมีสิทธิที่จะให้โจทก์ลูกจ้างออกจากงานได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583
จำเลยใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างเนื่องจากโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบได้ หรืออาจกล่าวว่าโจทก์ขาดสมรรถภาพที่จะทำงานและรับผิดชอบในตำแหน่งที่ได้รับการว่าจ้าง มิใช่เป็นเรื่องการลงโทษเพราะโจทก์กระทำผิดทางวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน จำเลยมิได้กลั่นแกล้งโจทก์ กรณีจึงมีเหตุผลเพียงพอและสมควรที่จำเลยจะเลิกสัญญาจ้างโจทก์ได้ ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ตามมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
โจทก์ไม่ได้ไปทำงานเนื่องจากลาป่วยและลากิจ แต่โจทก์กลับทำบันทึกรายงานการตรวจงาน โรงอาหาร ร้านค้า พร้อมกับแสดงข้อสังเกต แสดงว่าโจทก์รายงานเท็จ เมื่อได้ความว่ามีการกระทำเช่นนั้นในงานหลักซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของโจทก์ ย่อมถือได้ว่า โจทก์มีการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ทำให้จำเลยนายจ้างมีสิทธิที่จะให้โจทก์ลูกจ้างออกจากงานได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากปรับโครงสร้างองค์กรโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยเลิกจ้างโจทก์สืบเนื่องมาจากจำเลยปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานทั้งหมด ต้องลดอัตรากำลังลูกจ้างลง ทำให้ต้องยุบหน่วยงานและลดขนาดหน่วยงานบางหน่วย มีการปรับลดหน่วยงานทั้งบริษัทจากระดับแผนกหรือฝ่ายลงเหลือเพียงระดับงาน รวมทั้งฝ่ายจัดซื้อที่โจทก์เป็นผู้จัดการฝ่ายก็ถูกปรับลดลงเป็นงานจัดซื้อ ไม่มีตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายจัดซื้ออีกต่อไป การดำเนินการทั้งหมดจำเลยไม่ได้เลือกปฏิบัติเลิกจ้างเฉพาะโจทก์รายเดียว ดังนี้ย่อมถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20277/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดกลุ่มเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายต้องเป็นธรรมและเสมอภาค การจัดกลุ่มที่ไม่สมเหตุผลและเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้บางราย ศาลไม่อาจเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟู
แม้มีการยื่นคำร้องคัดค้านการจัดกลุ่มเจ้าหนี้มาแล้ว ซึ่งศาลมีคำสั่งยกคำร้อง คำสั่งจึงถึงที่สุดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/42 ทวิ วรรคสอง แต่ปัญหาการจัดกลุ่มเจ้าหนี้มีประกันกับสิทธิที่ได้รับชำระหนี้ของเจ้าหนี้เป็นข้อสำคัญเกี่ยวกับการพิจารณาแผน เนื่องจากแผนฟื้นฟูกิจการซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้มีมติพิเศษยอมรับมาแล้วจะต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกชั้นหนึ่งเพื่อก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ในการจัดกลุ่มเจ้าหนี้มีประกันตามแผนมิได้พิจารณาเพียงจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้มีประกัน แต่จะต้องคำนึงถึงราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเป็นสำคัญ หากจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้มีประกันสูงกว่าราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน การเป็นเจ้าหนี้มีประกันในอันที่จะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ย่อมมีอยู่เฉพาะในมูลค่าราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเท่านั้น ดังนั้น การที่เจ้าหนี้มีทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นประกันจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันที่มีจำนวนหนี้มีประกันจึงมีเพียงเท่าราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน ทั้งนี้ การตีราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นจะต้องเป็นราคาสมควรและเป็นธรรมด้วย โดยแผนอาจจัดให้เป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/42 ทวิ วรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี ส่วนหนี้ที่เหลือย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ไม่มีประกันที่อาจจัดได้เป็นหลายกลุ่มโดยให้เจ้าหนี้ไม่มีประกันที่มีสิทธิเรียกร้องหรือผลประโยชน์ที่มีสาระสำคัญเหมือนกันหรือทำนองเดียวกันอยู่ในกลุ่มเดียวกันตามมาตรา 90/42 ทวิ วรรคหนึ่ง (3)
เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้รับจำนำหุ้นของบริษัทต่าง ๆ ที่ลูกหนี้เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ตามสัญญาจำนำหุ้นที่กำหนดวงเงินจำนำครอบคลุมถึงหนี้ประธานตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ซึ่งลูกหนี้กระทำต่อเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ถึงที่ 3 ก่อนเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ แสดงว่าเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ถึงที่ 3 ต่างมีหุ้นที่ลูกหนี้จำนำเป็นทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันร่วมกัน จึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันเช่นเดียวกัน แต่ผู้ทำแผนไม่ได้ประเมินหรือตีราคาหุ้นอันเป็นหลักประกันตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าหนี้เพื่อจัดกลุ่มเจ้าหนี้มีประกัน แต่กลับนำจำนวนหนี้ประธานของเจ้าหนี้มีประกันแต่ละรายมาคำนวณเปรียบเทียบกับจำนวนหนี้ทั้งหมดที่บรรดาเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ แล้วจัดให้เจ้าหนี้รายที่ 20 เป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และเจ้าหนี้รายที่ 39 เป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 โดยอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันรายที่มีจำนวนหนี้มีประกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของจำนวนหนี้ทั้งหมดที่อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ และให้เจ้าหนี้มีประกันอื่นเป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ซึ่งไม่ถูกต้องตามวิธีการจัดกลุ่มเจ้าหนี้มีประกัน หากมีการประเมินและตีราคาหุ้นอันเป็นหลักประกันอย่างสมควรและเป็นธรรมแล้ว มูลค่าทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันน่าจะไม่สูงไปกว่าจำนวนหนี้ประธาน กรณีเช่นนี้หนี้ส่วนที่เหลือจากมูลค่าทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ถึงที่ 3 ซึ่งต่างเป็นสถาบันการเงินเช่นเดียวกัน ตามแผนจะต้องจัดให้เจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกร้องหรือผลประโยชน์ที่มีสาระสำคัญเหมือนกันหรือทำนองเดียวกันเหล่านี้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน การที่แผนกำหนดให้เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันแต่เพียงบางส่วนเมื่อหักราคาหุ้นอันเป็นหลักประกันตามสัดส่วนของการจำนำตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ให้ได้รับชำระหนี้ร้อยละ 100 ในขณะที่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันแต่เพียงบางส่วนเมื่อหักราคาหุ้นอันเป็นหลักประกันตามสัดส่วนของการจำนำตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้เช่นกัน ให้ได้รับชำระหนี้เพียงร้อยละ 19.58 จึงไม่ถูกต้องและเท่าเทียมกัน ปรากฏว่าเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 และที่ 3 เป็นสถาบันการเงินที่เคยให้การช่วยเหลือสนับสนุนทางการเงินให้แก่ลูกหนี้มาก่อนเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเช่นเดียวกัน จึงควรได้รับการปฏิบัติการชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเหมือนกันหรือทำนองเดียวกัน โดยการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ให้ถูกต้อง มิใช่แยกไปจัดกลุ่มต่างกันและลดจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ลงถึงร้อยละ 80.42 การที่แผนกำหนดให้เจ้าหนี้รายที่ 39 เป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 จะได้รับชำระหนี้ทั้งหมดร้อยละ 100 และมีการแก้ไขแผนอันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่เจ้าหนี้รายที่ 39 โดยเฉพาะเจาะจง เป็นเหตุให้ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหนี้รายที่ 39 ในการลงมติยอมรับแผน แต่เจ้าหนี้เสียงส่วนน้อยของเจ้าหนี้ซึ่งได้เข้าประชุมด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนในที่ประชุมเจ้าหนี้และได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้นที่มีจำนวนหนี้คิดเป็นร้อยละ 40.24 เป็นเจ้าหนี้ที่ไม่ยอมรับแผน ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ต่างได้รับผลกระทบจากการจัดสรรชำระหนี้ตามแผน แผนการฟื้นฟูกิจการดังกล่าวจึงเป็นการจัดทำขึ้นเพื่อปรับลดหนี้ของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 โดยไม่มีเหตุผลและไม่เท่าเทียมกันกับเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 มีลักษณะเลือกปฏิบัติก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งปวง ทั้งยังส่อไปในทางไม่สุจริตในการจัดทำแผน จึงเป็นแผนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้รับจำนำหุ้นของบริษัทต่าง ๆ ที่ลูกหนี้เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ตามสัญญาจำนำหุ้นที่กำหนดวงเงินจำนำครอบคลุมถึงหนี้ประธานตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ซึ่งลูกหนี้กระทำต่อเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ถึงที่ 3 ก่อนเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ แสดงว่าเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ถึงที่ 3 ต่างมีหุ้นที่ลูกหนี้จำนำเป็นทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันร่วมกัน จึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันเช่นเดียวกัน แต่ผู้ทำแผนไม่ได้ประเมินหรือตีราคาหุ้นอันเป็นหลักประกันตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าหนี้เพื่อจัดกลุ่มเจ้าหนี้มีประกัน แต่กลับนำจำนวนหนี้ประธานของเจ้าหนี้มีประกันแต่ละรายมาคำนวณเปรียบเทียบกับจำนวนหนี้ทั้งหมดที่บรรดาเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ แล้วจัดให้เจ้าหนี้รายที่ 20 เป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และเจ้าหนี้รายที่ 39 เป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 โดยอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันรายที่มีจำนวนหนี้มีประกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของจำนวนหนี้ทั้งหมดที่อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ และให้เจ้าหนี้มีประกันอื่นเป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ซึ่งไม่ถูกต้องตามวิธีการจัดกลุ่มเจ้าหนี้มีประกัน หากมีการประเมินและตีราคาหุ้นอันเป็นหลักประกันอย่างสมควรและเป็นธรรมแล้ว มูลค่าทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันน่าจะไม่สูงไปกว่าจำนวนหนี้ประธาน กรณีเช่นนี้หนี้ส่วนที่เหลือจากมูลค่าทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ถึงที่ 3 ซึ่งต่างเป็นสถาบันการเงินเช่นเดียวกัน ตามแผนจะต้องจัดให้เจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกร้องหรือผลประโยชน์ที่มีสาระสำคัญเหมือนกันหรือทำนองเดียวกันเหล่านี้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน การที่แผนกำหนดให้เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันแต่เพียงบางส่วนเมื่อหักราคาหุ้นอันเป็นหลักประกันตามสัดส่วนของการจำนำตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ให้ได้รับชำระหนี้ร้อยละ 100 ในขณะที่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันแต่เพียงบางส่วนเมื่อหักราคาหุ้นอันเป็นหลักประกันตามสัดส่วนของการจำนำตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้เช่นกัน ให้ได้รับชำระหนี้เพียงร้อยละ 19.58 จึงไม่ถูกต้องและเท่าเทียมกัน ปรากฏว่าเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 และที่ 3 เป็นสถาบันการเงินที่เคยให้การช่วยเหลือสนับสนุนทางการเงินให้แก่ลูกหนี้มาก่อนเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเช่นเดียวกัน จึงควรได้รับการปฏิบัติการชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเหมือนกันหรือทำนองเดียวกัน โดยการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ให้ถูกต้อง มิใช่แยกไปจัดกลุ่มต่างกันและลดจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ลงถึงร้อยละ 80.42 การที่แผนกำหนดให้เจ้าหนี้รายที่ 39 เป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 จะได้รับชำระหนี้ทั้งหมดร้อยละ 100 และมีการแก้ไขแผนอันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่เจ้าหนี้รายที่ 39 โดยเฉพาะเจาะจง เป็นเหตุให้ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหนี้รายที่ 39 ในการลงมติยอมรับแผน แต่เจ้าหนี้เสียงส่วนน้อยของเจ้าหนี้ซึ่งได้เข้าประชุมด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนในที่ประชุมเจ้าหนี้และได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้นที่มีจำนวนหนี้คิดเป็นร้อยละ 40.24 เป็นเจ้าหนี้ที่ไม่ยอมรับแผน ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ต่างได้รับผลกระทบจากการจัดสรรชำระหนี้ตามแผน แผนการฟื้นฟูกิจการดังกล่าวจึงเป็นการจัดทำขึ้นเพื่อปรับลดหนี้ของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 โดยไม่มีเหตุผลและไม่เท่าเทียมกันกับเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 มีลักษณะเลือกปฏิบัติก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งปวง ทั้งยังส่อไปในทางไม่สุจริตในการจัดทำแผน จึงเป็นแผนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17432/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมคืนเงินกู้ก่อนกำหนดไม่ใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม หากมีข้อตกลงชัดเจนและสอดคล้องกับกฎหมาย
การจะพิจารณาว่าข้อตกลงในสัญญาหรือในสัญญาสำเร็จรูปเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ต้องพิจารณาว่าเป็นผลให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากนั้นได้เปรียบผู้บริโภคหรือคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควรตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 หรือไม่ ซึ่งในมาตรา 4 วรรคสาม ได้กำหนดตัวอย่างของข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ เป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทำให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น ข้อตกลงให้ต้องรับผิดหรือรับภาระมากกว่าที่กฎหมายกำหนด ส่วน ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคสอง ที่ให้สิทธิแก่ลูกหนี้ในการชำระหนี้ก่อนกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ได้ เป็นเพียงบทสันนิษฐานในกรณีเป็นที่สงสัยเท่านั้น แต่ถ้ามีการตกลงหรือมีพฤติการณ์อย่างชัดแจ้งว่าลูกหนี้จะชำระหนี้ทั้งหมดก่อนครบกำหนดตามเวลาที่ตกลงกันไม่ได้ ลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนครบกำหนดเวลาตามที่ตกลงกันโดยเจ้าหนี้ไม่ยินยอมหาได้ไม่ ดังนั้นเมื่อโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงอย่างชัดแจ้งตามสัญญากู้เงินว่าในกรณีที่ผู้กู้ชำระคืนเงินกู้ก่อนกำหนดทั้งจำนวนภายใน 5 ปี นับแต่วันที่เบิกใช้เงินกู้ครั้งแรก ผู้กู้ตกลงชำระค่าธรรมเนียมคืนเงินกู้ก่อนกำหนด (Prepayment Fee) ในอัตราร้อยละ 2 ของวงเงินกู้ โจทก์จึงชำระหนี้เงินกู้ทั้งจำนวนคืนแก่จำเลยก่อนกำหนดโดยที่จำเลยไม่ยินยอมหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ต้องการคืนเงินกู้ทั้งจำนวนแก่จำเลยก่อนกำหนดภายใน 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์เบิกใช้เงินกู้ครั้งแรก โจทก์จึงต้องชำระค่าธรรมเนียมคืนเงินกู้ก่อนกำหนดแก่จำเลยตามสัญญากู้ โดยจำเลยมีสิทธิเรียกเก็บค่าบริการได้ตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ข้อ 14 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะทำสัญญากู้เงินและธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าปรับกรณีไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลา จำเลยจึงมีสิทธิที่จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการอื่น ๆ นอกเหนือจากดอกเบี้ยจากโจทก์ได้ การที่จำเลยกำหนดเงื่อนไขให้โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมคืนเงินกู้ก่อนกำหนด จึงไม่เป็นข้อสัญญาที่ทำให้โจทก์ต้องรับผิดหรือรับภาระมากกว่าที่กฎหมายกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16552/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาชัดเจน ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และขอบเขตข้อตกลงสภาพการจ้างที่ไม่ผูกพันลูกจ้างรายกรณี
สัญญาจ้างโจทก์มีกำหนดระยะเวลาการจ้างตลอดมาถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2547 และจำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์ให้มีผลสัญญาจ้างสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2547 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดตามสัญญาเพราะโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยว่าไม่มีความจำเป็นต้องต่อสัญญาอีกต่อไปตามความเข้าใจผิดของโจทก์เอง เป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควร ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
สหภาพแรงงาน ค. มีลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกันเป็นสมาชิกไม่เกินสองในสามของลูกจ้างทั้งหมด ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จำเลยทำกับสหภาพแรงงาน ค. จึงมีผลผูกพันจำเลยกับลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน ค. เท่านั้น ไม่มีผลผูกพันลูกจ้างทุกคนตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 19 วรรคสอง
นับแต่ปี 2520 จนถึงปัจจุบันสหภาพแรงงาน ค. ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพจ้างกับจำเลยโดยทุกฉบับกำหนดยกเว้นไม่ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอน และไม่ได้กำหนดให้ผูกพันลูกจ้างทุกคน
ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2539 ที่โจทก์เข้าเป็นลูกจ้างของจำเลยถึงวันที่ 24 ตุลาคม 2544 โจทก์ไม่ได้เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน ค. ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงาน ค. จึงไม่ผูกพันโจทก์
โจทก์เข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ค. ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2544 ถึงสิ้นปี 2547 ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงาน ค. ก็ยังคงไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอน
เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างสหภาพแรงงาน ค. กับจำเลยไม่มีผลผูกพันลูกจ้างทั้งหมดซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วย สัญญาจ้างแรงงานที่จำเลยทำกับโจทก์โดยระบุให้โจทก์ได้รับสิทธิในสวัสดิการน้อยกว่าที่กำหนดไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นก็ไม่เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 20
สหภาพแรงงาน ค. มีลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกันเป็นสมาชิกไม่เกินสองในสามของลูกจ้างทั้งหมด ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จำเลยทำกับสหภาพแรงงาน ค. จึงมีผลผูกพันจำเลยกับลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน ค. เท่านั้น ไม่มีผลผูกพันลูกจ้างทุกคนตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 19 วรรคสอง
นับแต่ปี 2520 จนถึงปัจจุบันสหภาพแรงงาน ค. ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพจ้างกับจำเลยโดยทุกฉบับกำหนดยกเว้นไม่ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอน และไม่ได้กำหนดให้ผูกพันลูกจ้างทุกคน
ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2539 ที่โจทก์เข้าเป็นลูกจ้างของจำเลยถึงวันที่ 24 ตุลาคม 2544 โจทก์ไม่ได้เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน ค. ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงาน ค. จึงไม่ผูกพันโจทก์
โจทก์เข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ค. ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2544 ถึงสิ้นปี 2547 ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงาน ค. ก็ยังคงไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอน
เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างสหภาพแรงงาน ค. กับจำเลยไม่มีผลผูกพันลูกจ้างทั้งหมดซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วย สัญญาจ้างแรงงานที่จำเลยทำกับโจทก์โดยระบุให้โจทก์ได้รับสิทธิในสวัสดิการน้อยกว่าที่กำหนดไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นก็ไม่เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 20