คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,546 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3071/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินแม้ไม่มีชื่อในโฉนด: ศาลฎีกายืนยันการยึดทรัพย์ได้หากได้สิทธิครอบครองมาโดยชอบ
จำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ที่ดินพิพาทยังเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์และจำเลยได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา โดย ส. มารดาโจทก์ผู้ขายซึ่งเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมีเจตนาสละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยเป็นผู้ครอบครองตั้งแต่ก่อนที่ดินพิพาทจะเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินแล้ว แม้การซื้อขายที่ดินพิพาทจะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อันจะทำให้ตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ย่อมโอนการครอบครองและส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครอง จำเลยจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ฟ้องขับไล่ไม่ได้ จากคำวินิจฉัยของศาลฎีกาดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเมื่อ ส. ได้สละเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทและโอนการครอบครองโดยส่งมอบที่ดินพิพาทแก่จำเลย และจำเลยได้เข้าครอบครองตั้งแต่วันที่ซื้อขายแล้ว จำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377, 1378 การครอบครองที่ดินพิพาทของ ส. หรือโจทก์ซึ่งเป็นทายาทย่อมสิ้นสุดลง ส. หรือโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทอีกต่อไป การที่มีการไปขอออกโฉนดที่ดินพิพาทแล้วใส่ชื่อ ส. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จึงเป็นการออกโฉนดที่คลาดเคลื่อนกับความเป็นจริง และอาจถูกเพิกถอนได้โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตาม ป. ที่ดิน มาตรา 61 และไม่เป็นเหตุให้สิทธิของจำเลยเหนือที่ดินพิพาทที่มีอยู่แล้วโดยสมบูรณ์เสียไป การที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ของจำเลย เพราะจำเลยไม่มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทจึงไม่น่าจะถูกต้องเพราะเหตุที่ไม่มีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามสารบัญจดทะเบียนที่ดินพิพาทนั้น เนื่องจากเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองมาด้วยการครอบครองตามกฎหมาย มิใช่เป็นการได้มาตามสัญญาซื้อขาย โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมที่จะต้องไปจะทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้จำเลย และเมื่อโฉนดที่ดินพิพาทออกโดยมิชอบ จำเลยจะขอให้ใส่ชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้หากจะไม่ดำเนินการยึดที่ดินพิพาทด้วยเหตุว่าไม่มีชื่อจำเลยในโฉนดที่ดินพิพาทแต่เพียงประการเดียวนั้นย่อมเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2753/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ครอบครองใน ภ.บ.ท.5 และการซื้อขายที่ดินที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แต่โจทก์ให้ ร. บุตรชายแจ้งสำรวจเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามของตนเอง ต่อมา ร. ถึงแก่ความตายหลังจากนั้นจำเลยซึ่งเป็นภริยาของ ร. ไปแจ้งสำรวจเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่ใหม่ต่อผู้ใหญ่บ้านว่าตนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทอันเป็นความเท็จ ต่อมาโจทก์และบุตรชายนำคนงานไปตัดอ้อยในที่ดินพิพาท จำเลยกับบริวารเข้าขัดขวาง จึงขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท ส่วนจำเลยให้การว่าเมื่อต้นปี 2534 จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ในราคา 220,000 บาท หลังจากนั้นจำเลยเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทด้วยการปลูกต้นอ้อยส่งโรงงานน้ำตาลตลอดมาจนถึงปัจจุบัน โจทก์ไม่เคยเข้ามายุ่งเกี่ยวในที่ดินพิพาท เห็นได้ว่าจำเลยให้การยอมรับว่าเดิมโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ยกที่ดินพิพาทให้แก่ ร. แต่จำเลยให้การว่าโจทก์ขายที่ดินพิพาทแก่จำเลย ประเด็นข้อพิพาทคดีนี้มีว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่า โจทก์มอบที่ดินพิพาทให้แก่ ร. ครอบครองในฐานะเจ้าของที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์มรดกของ ร. นั้น เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1834/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังจดทะเบียน: สิทธิของเจ้าของเดิมสิ้นสุด แม้ยังไม่ชำระราคา
โจทก์ทำสัญญาขายที่ดินและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้ง 21 แปลง ให้แก่ ป. เมื่อปี 2532 กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมตกไปเป็นของ ป. ผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 453 และมาตรา 456 แม้ ป. ผู้ซื้อยังไม่ชำระราคาให้แก่โจทก์ผู้ขาย แต่การชำระราคามิใช่เงื่อนไขแห่งการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน การชำระราคาอาจเกิดขึ้นก่อนหรือหลังเวลาโอนกรรมสิทธิ์ก็ย่อมทำได้ตามแต่คู่สัญญาจะตกลงกัน ดังนั้น สัญญาซื้อขายและการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับ ป. จึงมีผลสมบูรณ์เสร็จเด็ดขาด และที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ป. มิใช่เป็นที่ดินของโจทก์อีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้ทายาทและผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทต่อมาภายหลังคืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1593/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารไม่สมบูรณ์ ผู้ขายผิดสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินคืน
แม้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารระบุให้ผู้จะซื้อคือโจทก์ชำระเงินงวดสุดท้ายในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2533 และให้ผู้จะขายคือจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารให้แก่โจทก์ภายใน 30 วัน นับจากวันที่เงื่อนไขตามสัญญาจะซื้อจะขาย ข้อ 3 สำเร็จ แต่เมื่อถึงกำหนดเวลาดังกล่าวไม่ปรากฏว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินการให้เงื่อนไขตามสัญญาจะซื้อจะขาย ข้อ 3 สำเร็จลงแต่อย่างใดแสดงว่าทั้งโจทก์และจำเลยต่างไม่ถือเอาเงื่อนเวลาดังกล่าวเป็นข้อสำคัญของการปฏิบัติตามสัญญา แต่ยึดถือหน้าที่และความรับผิดชอบของคู่สัญญาเป็นสำคัญ นั่นคือจำเลยต้องพร้อมที่จะส่งมอบที่ดินพร้อมอาคารในสภาพสมบูรณ์เรียบร้อยให้แก่โจทก์ได้ภายในเวลาอันสมควร และโจทก์ต้องพร้อมที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าวและชำระเงินให้แก่จำเลย การที่จำเลยไม่ได้ดำเนินการแก้ไขอาคารให้เรียบร้อยก่อนส่งมอบ ถือได้ว่าการซ่อมแซมแก้ไขดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญของอาคารที่ซื้อขายตามสัญญาที่จำเลยผู้จะขายมีหน้าที่ต้องก่อสร้างและส่งมอบแก่โจทก์ผู้จะซื้อในสภาพเรียบร้อยไม่มีข้อบกพร่อง เมื่อจำเลยไม่แก้ไขให้เรียบร้อยก่อนส่งมอบถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิปฏิเสธไม่ชำระเงินงวดสุดท้ายและไม่รับโอนกรรมสิทธิ์ได้
เมื่อจำเลยยังไม่ได้แก้ไขอาคารให้เรียบร้อยก่อนการส่งมอบและจำเลยยังไม่ได้ก่อสร้างสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกบางประการอีกด้วย ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้วสัญญาจึงเป็นอันเลิกกัน โจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยต้องคืนเงินที่โจทก์ชำระทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง และการที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนฐานผิดสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่ง ป.พ.พ. หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกการครอบครองที่ดินก่อนบังคับคดี และสิทธิในการกันส่วนที่ดิน
ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ได้ตกลงแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทก่อนมีการบังคับคดี ข้อตกลงย่อมผูกพันจำเลยที่ 2 และผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สามัญมีสิทธิบังคับคดีได้เท่าที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิในที่ดินพิพาท ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอให้กันที่ดินพิพาทที่ผู้ร้องครอบครองก่อนนำที่ดินทั้งแปลงออกขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11252/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือกรรมสิทธิ์แทนกันในที่ดิน กรณีตัวการ ตัวแทน และการบังคับจำหน่ายที่ดินของคนต่างด้าว
โจทก์เป็นคนสัญชาติเบลเยี่ยมเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ได้รู้จักกับ ธ. พี่สาวของจำเลยและได้อยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์ตกลงซื้อที่ดินพิพาทจาก น. เงินที่ซื้อที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ธ. ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทและจำเลยทำสัญญาแบ่งขายที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาท เป็นการทำแทนโจทก์ ต่อมาที่ดินพิพาทออกโฉนดที่ดินมีชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ ถือว่าเป็นการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ โจทก์เป็นตัวการฟ้องเรียกทรัพย์สินคืน จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนต้องส่งคืนให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810
การจะให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยนั้นใช้เฉพาะกรณีการทำนิติกรรมสัญญา และจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ต้องทำนิติกรรมสัญญานั้น แต่คดีนี้จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติด้วยการนำที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดแต่อย่างใด แต่เป็นกรณีที่ต้องบังคับตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 ที่บัญญัติให้คนต่างด้าวจัดการจำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด ทั้งการบังคับให้จำหน่ายดังกล่าวก็หมายความเฉพาะที่ดินเท่านั้น ไม่รวมถึงสิ่งปลูกสร้างด้วย เพราะคนต่างด้าวไม่ต้องห้ามมิให้ถือกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง แต่อย่างไรก็ดี ตามคำฟ้องของโจทก์แปลความได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์คืน ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง กับให้จำหน่ายที่ดินพิพาทให้เป็นไปตามกฎหมายได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9790/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นกลบเกลื่อนการกู้ยืมเงิน ศาลเพิกถอนสัญญาได้
โจทก์ทั้งสองและจำเลยมีเจตนาทำสัญญากู้ยืมเงินกัน มิได้มีเจตนาที่จะทำสัญญาซื้อขายและสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท สัญญาดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง และเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินที่โจทก์ทั้งสองกู้เงินจากจำเลยโดยให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยยึดถือเป็นประกัน ถือว่าสัญญาซื้อขายและสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้เงินที่ทำกันเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยซึ่งถูกอำพรางไว้จึงต้องบังคับตามสัญญากู้เงินที่เป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง เมื่อโจทก์ทั้งสองผ่อนชำระหนี้เงินกู้แก่จำเลยเกินกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ทั้งสองกู้จากจำเลยแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิยึดหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินพิพาทไว้ ต้องคืนแก่โจทก์ทั้งสองและต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ทั้งสองด้วย แต่ที่โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โดยปลอดจำนองหรือภาระผูกพันใด ๆ นั้น มีผลทำให้คำพิพากษากระทบต่อสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่คู่ความในคดี ย่อมไม่อาจกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9325/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: การแบ่งแยกที่ดินก่อนมีถนนสาธารณะ และการพิสูจน์การถูกล้อมรอบด้วยที่ดินผู้อื่น
ทางจำเป็นจะขอได้ต่อเมื่อที่ดินมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1349 แต่หากเป็นกรณีแบ่งแยกที่ดินแปลงเดียวกันทำให้ที่ดินที่แบ่งแยกนั้นแปลงใดไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะซึ่งหมายถึงทางสาธารณะที่มีอยู่ในขณะแบ่งแยกนั้นแล้ว ก็จะเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1350 เมื่อปรากฏว่าที่ดินของโจทก์และที่ดินพิพาทถูกแบ่งแยกออกจากที่ดินแปลงเดียวกันก่อนมีถนนพุทธมณฑลสาย 1 กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1350 มาบังคับได้ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ที่ดินของโจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะ 3 ทาง แต่เป็นเส้นทางที่ต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นและไม่ปรากฏว่าเป็นทางสาธารณะ อีกทั้งไม่ใช่ทางที่เป็นภารยทรัพย์ของที่ดินของโจทก์ ซึ่งเจ้าของที่ดินอาจจะอนุญาตให้โจทก์ใช้ทางหรือไม่ก็ได้ และแม้เจ้าของที่ดินนั้นจะยินยอมให้โจทก์ผ่านที่ดินของตนได้ก็ไม่ใช่สิทธิตามกฎหมาย ประกอบกับมีระยะทางจากที่ดินของโจทก์ไปสู่ทางสาธารณะไกลไม่สะดวก จึงฟังได้ว่าที่ดินของโจทก์ถูกล้อมรอบด้วยที่ดินของผู้อื่นจนไม่อาจออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้ แต่การที่จะเปิดทางจำเป็นนั้นต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็นของโจทก์โดยคำนึงถึงประโยชน์การใช้สอยที่ดินพิพาทให้เสียหายน้อยที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8429/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีที่ดิน: การออกโฉนดที่ดินใหม่ไม่กระทบสิทธิเดิมหากไม่มีการรุกล้ำหรือโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. ฟ้องว่า ที่ดินยของ อ. อยู่ติดกันโดยที่ดินของ ป. ทางด้านทิศตะวันตกติดที่ดินของ อ. ต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินให้แก่ ป. และระบุรูปแผนที่ดินของ ป. ว่าทางด้านทิศติวันตกติดบ่อน้ำสาธารณประโยชน์ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. และมีส่วนได้เสียในที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 94 ได้รับความเสียหาย ไม่สามารถขอรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินได้ แต่ปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ว่า โจทก์ยังไม่เคยไปยื่นคำขอรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินในที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 94 ต่อเจ้าพนักงานที่ดินทั้งการขอแบ่งแยกโฉนดที่ดินของ ป. ก็เป็นเรื่องการแบ่งแยกโฉนดที่ดินในที่ดินของ ป. เองโดยเฉพาะ แม้การระบุอาณาเขตที่ดินในโฉนดที่ดินที่แบ่งแยกออกมาจะคลาดเคลื่อนไป ก็ไม่มีผลโดยตรงต่อที่ดินของ อ. กล่าวคือ มิได้ออกโฉนดที่ดินรุกล้ำทับที่ดินของ อ. หรือกระทำการอันมีลักษณะเป็นการรบกวนครอบครองหรือแย่งสิทธิครอบครองที่ดินของ อ. สิทธิครอบครองที่ดินของ อ. จะมีอยู่อย่างไรก็คงมีอยู่เช่นเดิม และเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปพิสูจน์สิทธิครอบครองต่อเจ้าพนักงานที่ดินในการขอออกโฉนดที่ดินของ อ. หากโจทก์ไม่สามารถออกโฉนดที่ดินได้ก็ต้องไปว่ากล่าวกับเจ้าพนักงานที่ดิน การออกโฉนดที่ดินไป ป. ตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้อง ยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องกรมที่ดินจำเลยขอให้บังคับจำเลยแก้ตำแหน่งที่ดินทางทิศตะวันตกเป็นว่าจดที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8064/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ไม่จำต้องรู้อยู่แล้วว่าเป็นที่ดินของผู้อื่น การครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกิน 10 ปี มีผลได้กรรมสิทธิ์
ในการครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น หามีกฎหมายบัญญัติว่า ผู้ครอบครองจะต้องรู้ว่าทรัพย์สินที่ครอบครองนั้นเป็นของผู้อื่นหรือไม่ใช่ทรัพย์สินของตนแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาโดยเชื่อว่าเป็นที่ดินของตนเองที่รับโอนมรดกมา แม้จำเลยเพิ่งจะทราบภายหลังว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของจำเลย เมื่อปี 2547 ก็ตามแต่เมื่อจำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาติดต่อกันมาเกินกว่าสิบปีโดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านจำเลยก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 แล้ว โดยหาจำต้องเป็นการครอบครองโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นที่ดินของผู้อื่นไม่
of 455