พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,515 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ยืม กรณีรถยนต์เสียหายจากความผิดของบุคคลภายนอก ผู้ยืมไม่มีสิทธิเรียกร้องและฟ้อง
เหตุละเมิดที่เกิดขึ้นแก่รถยนต์ที่โจทก์ยืมมาจากมารดาโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเนื่องจากความผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่รับจ้างกรมทางหลวงจำเลยที่ 1 ก่อสร้างถนนโจทก์ในฐานะผู้ยืมจึงไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าของทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 643 แม้โจทก์จะซ่อมรถยนต์เรียบร้อยแล้ว โจทก์ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะรับช่วงสิทธิของเจ้าของทรัพย์ที่จะเรียกร้องให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการรับผิดได้ เพราะการรับช่วงสิทธิจะมีได้ต่อเมื่อผู้รับช่วงสิทธิมีหนี้อันจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้คือเจ้าของ เมื่อโจทก์ไม่ใช่ผู้รับช่วงสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2578/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การแสดงอำนาจฟ้องใหม่หลังศาลยกฟ้องคดีเดิมที่ไม่สมบูรณ์
คดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่า โจทก์ไม่ได้นำพยานหลักฐานมาสืบให้เห็นว่า บ. เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนธนาคาร ก. ผู้โอน หนังสือการโอนขายสินเชื่อระหว่างผู้โอนกับโจทก์จึงไม่สมบูรณ์ไม่อาจนำมาฟ้องบังคับจำเลยได้ และพิพากษายกฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นในเนื้อหาแห่งคดีว่าจำเลยผิดสัญญาทำให้โจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้หรือไม่ อันเป็นเรื่องโจทก์แสดงอำนาจฟ้องไม่ถูกต้องคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว เมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ให้รับผิดในมูลหนี้เดิมโดยแสดงหลักฐานการเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนธนาคาร ก. ของ บ. ย่อมเป็นการแสดงอำนาจฟ้องให้ปรากฏว่าโจทก์ทำสัญญารับโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้มาจากผู้โอนแล้ว จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2504/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุก: ผู้เช่ารายใหม่ไม่มีอำนาจฟ้องหากยังมิได้เข้าครอบครอง
แม้โจทก์จะมีสิทธิใช้สอยตึกพิพาทในฐานะเป็นผู้เช่าตามสัญญาเช่า แต่โจทก์ก็ยังไม่เคยเข้าครอบครองตึกพิพาทตามสัญญาเช่ามาก่อน ที่จำเลยและบริวารอยู่ในตึกพิพาทก็โดยอาศัยสิทธิของ จ. ไม่ได้อาศัยสิทธิของโจทก์ การที่จำเลยและบริวารยังคงอยู่ในตึกพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการละเมิดต่อเจ้าของตึกหาใช่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่ารายใหม่ไม่ จำเลยจึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์เนื่องจากโจทก์กับจำเลยต่างไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกจากตึกพิพาทโดยลำพังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: เงินบริจาคเพื่อโครงการตำรวจเป็นสิทธิของกรมตำรวจ ไม่ใช่ของข้าราชการตำรวจ
กรมตำรวจได้จัดสร้างพระพุทธโสธร รุ่นประวัติศาสตร์ กรมตำรวจ 80 ปี เพื่อจำหน่ายนำรายได้มาส่งเสริมสวัสดิการให้แก่ข้าราชการตำรวจและสมทบเป็นกองทุนเพื่อพัฒนาสถานีตำรวจทั่วประเทศ โดยมีการออกคำสั่งวางแนวปฏิบัติในการรับเงินจากการจำหน่ายและนำเงินเข้าบัญชี ซึ่งตามบันทึกข้อความเรื่องวิธีปฏิบัติและควบคุมการรับเงินบริจาคในการสร้างพระพุทธโสธร รุ่นประวัติศาสตร์ กรมตำรวจ 80 ปี ระบุให้หน่วยที่รับผิดชอบใบสั่งจองและรับเงินบริจาค จัดเจ้าหน้าที่รับเงินบริจาคและจัดทะเบียนคุมการรับเงินบริจาคและทะเบียนคุมการสั่งจองพระ ซึ่งเจ้าหน้าที่ควบคุมเป็นสารวัตรการเงินของหน่วย ฯลฯ เมื่อรับเงินบริจาคแล้วให้นำเงินฝาก ธนาคาร ท. ตามชื่อบัญชีและเลขที่บัญชีที่กำหนดไว้ ดังนี้ เมื่อจำเลยดำรงตำแหน่งสารวัตรการเงินของหน่วย จึงมีหน้าที่รับเงิน แล้วนำฝากเข้าบัญชีธนาคาร ซึ่งเงินที่จำเลยรับไว้ย่อมถือได้ว่าเป็นการรับไว้แทนกรมตำรวจ สิทธิในเงินรับบริจาคย่อมตกแก่กรมตำรวจแล้วตั้งแต่เวลาที่จำเลยได้รับเงินไว้ หาใช่เงินของเจ้าพนักงานตำรวจแปดนายดังที่โจทก์ฟ้องไม่ เจ้าพนักงานตำรวจทั้งแปดนายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายในเงินดังกล่าว ย่อมไม่มีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์โจทก์จึงไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแพ่ง: สัญญาประนีประนอมยอมความที่เป็นโมฆะ และการเพิกถอนการพิจารณาที่ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 นำใบแต่งทนายความซึ่งไม่ใช่ลายมือชื่อของโจทก์ไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 1 โดยตกลงให้โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์ไม่เคยแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นทนายความ สัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นโมฆะไม่ผูกพันโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมเป็นการพิพากษาโดยผิดหลง หากข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องดังกล่าว ย่อมมีผลให้การทำสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นไม่ชอบ ต้องถูกเพิกถอนเฉพาะส่วนเพื่อไม่ให้ผูกพันโจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างอยู่ในตัวว่า ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 138 ที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามมาตรา 27 ซึ่งศาลชั้นต้นในคดีที่มีการพิจารณาที่ผิดระเบียบมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ จะยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่หาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เสียได้ในชั้นตรวจคำฟ้องตามมาตรา 131 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2305/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ และอำนาจฟ้องคดีพิพาทกับรัฐ
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ แต่โจทก์อาจมีสิทธิครอบครองโดยการครอบครองที่ดินมาก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับตาม มาตรา 4 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ครอบครองที่ดินมาก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ โจทก์จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทกฎหมายดังกล่าว และต้องถือว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐ โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐเพื่อไม่ให้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงในที่ดินพิพาท จึงมีผลเท่ากับโจทก์อ้างสิทธิครอบครองมาใช้ยันรัฐซึ่งไม่อาจกระทำได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของกรรมการลูกจ้าง และอำนาจฟ้องที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อย
ศาลแรงงานกลางพิจารณาพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยแล้วเห็นว่าสหภาพแรงงาน อ. จัดประชุมแต่งตั้งโจทก์และ ย. เป็นกรรมการลูกจ้าง โดยขณะที่จัดให้มีการประชุมนั้น ธ. ในฐานะประธานสหภาพแรงงานดังกล่าวทราบดีอยู่แล้วว่าโจทก์และ ย. มีเหตุทะเลาะวิวาทกันในที่ทำงานและในเวลาทำงาน โจทก์ถูกพักงานระหว่างสอบสวน แต่สหภาพแรงงานยังแต่งตั้งโจทก์และ ย. เป็นกรรมการลูกจ้าง ทั้งที่ย่อมคาดหมายได้ว่าโจทก์กับ ย. จะถูกจำเลยเลิกจ้าง การประชุมของสหภาพแรงงานดังกล่าวจัดให้มีขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2547 เวลาประมาณเที่ยงคืน ที่หน้าบ้านพักของ ธ. ไม่จัดให้เป็นกิจจะลักษณะ พฤติการณ์ทั้งหลายส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตในการแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างผิดทำนองคลองธรรม ขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมาย โจทก์อาศัยเหตุดังกล่าวเป็นมูลฟ้องร้องจำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นการวินิจฉัยไปถึงอำนาจฟ้องของโจทก์อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลแรงงานกลางก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 ที่ว่า ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน เป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองกรรมการลูกจ้างในบางกรณีอาจเป็นการขัดต่อผลประโยชน์ของนายจ้าง นายจ้างจึงไม่อาจพอใจและกลั่นแกล้งกรรมการลูกจ้างได้ การที่นายจ้างจะเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทำงานอยู่ต่อไปได้ จึงจำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเพื่อให้ศาลแรงงานตรวจสอบเสียก่อนว่านายจ้างมีเหตุผลสมควรที่จะกระทำการดังกล่าวนั้นหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์กับ ย. มีเหตุทะเลาะวิวาทกันในที่ทำงานและในเวลาทำงาน จำเลยแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนและระหว่างสอบสวนโจทก์ถูกพักงาน โดยขณะนั้นโจทก์ยังมิได้รับการแต่งตั้งในเป็นกรรมการลูกจ้าง ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในขณะที่ยังไม่ทราบว่าโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้าง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิได้เป็นเพราะจำเลยไม่พอใจการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ในฐานะที่เป็นกรรมการลูกจ้างหรือไม่พอใจเนื่องจากโจทก์ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้าง ยิ่งไปกว่านั้นในขณะจัดให้มีการประชุมเพื่อแต่งตั้งโจทก์กับ ย. เป็นกรรมการลูกจ้างนั้น ธ. ในฐานะประธานสหภาพแรงงาน อ. ก็ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยแต่งตั้งกรรมการเพื่อสอบสวนและโจทก์ถูกพักงานระหว่างสอบสวน แต่สหภาพแรงงาน อ. ก็ยังแต่งตั้งโจทก์กับ ย. เป็นกรรมการลูกจ้างทั้งที่ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าโจทก์กับ ย. จะถูกจำเลยเลิกจ้าง โดยการประชุมก็จัดขึ้นอย่างเร่งด่วนและมิได้จัดขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะ เมื่อพฤติการณ์ทั้งหลายส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตในการแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างผิดทำนองคลองธรรมและขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ซึ่งโจทก์ก็อาศัยเหตุนี้มาเป็นมูลฟ้องร้องจำเลยอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเช่นนี้ โจทก์จึงไม่อาจอาศัยเหตุแห่งการเป็นกรรมการลูกจ้างมาขอความคุ้มครองจากศาลแรงงานกลางเพื่อให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างกับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานและชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 ที่ว่า ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน เป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองกรรมการลูกจ้างในบางกรณีอาจเป็นการขัดต่อผลประโยชน์ของนายจ้าง นายจ้างจึงไม่อาจพอใจและกลั่นแกล้งกรรมการลูกจ้างได้ การที่นายจ้างจะเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทำงานอยู่ต่อไปได้ จึงจำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเพื่อให้ศาลแรงงานตรวจสอบเสียก่อนว่านายจ้างมีเหตุผลสมควรที่จะกระทำการดังกล่าวนั้นหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์กับ ย. มีเหตุทะเลาะวิวาทกันในที่ทำงานและในเวลาทำงาน จำเลยแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนและระหว่างสอบสวนโจทก์ถูกพักงาน โดยขณะนั้นโจทก์ยังมิได้รับการแต่งตั้งในเป็นกรรมการลูกจ้าง ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในขณะที่ยังไม่ทราบว่าโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้าง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิได้เป็นเพราะจำเลยไม่พอใจการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ในฐานะที่เป็นกรรมการลูกจ้างหรือไม่พอใจเนื่องจากโจทก์ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้าง ยิ่งไปกว่านั้นในขณะจัดให้มีการประชุมเพื่อแต่งตั้งโจทก์กับ ย. เป็นกรรมการลูกจ้างนั้น ธ. ในฐานะประธานสหภาพแรงงาน อ. ก็ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยแต่งตั้งกรรมการเพื่อสอบสวนและโจทก์ถูกพักงานระหว่างสอบสวน แต่สหภาพแรงงาน อ. ก็ยังแต่งตั้งโจทก์กับ ย. เป็นกรรมการลูกจ้างทั้งที่ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าโจทก์กับ ย. จะถูกจำเลยเลิกจ้าง โดยการประชุมก็จัดขึ้นอย่างเร่งด่วนและมิได้จัดขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะ เมื่อพฤติการณ์ทั้งหลายส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตในการแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างผิดทำนองคลองธรรมและขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ซึ่งโจทก์ก็อาศัยเหตุนี้มาเป็นมูลฟ้องร้องจำเลยอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเช่นนี้ โจทก์จึงไม่อาจอาศัยเหตุแห่งการเป็นกรรมการลูกจ้างมาขอความคุ้มครองจากศาลแรงงานกลางเพื่อให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างกับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานและชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคล และการครอบครองปรปักษ์ที่ต้องห้ามฎีกาตามทุนทรัพย์
เทศบาลตำบลโจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย มีนายกเทศมนตรีเป็นผู้แทนนิติบุคคลมีอำนาจกระทำกิจการแทนโจทก์ การที่ ว. ซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีมอบอำนาจให้ทนายความฟ้องจำเลยซึ่งบุกรุกที่ดินของโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามบทบัญญัติของกฎหมาย จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของนายกเทศมนตรีเพื่อประโยชน์ของโจทก์และเป็นการดำเนินการของฝ่ายบริหาร โดยไม่จำเป็นต้องได้รับอนุมัติจากสภาเทศบาล โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
โจทก์ฟ้องขับไล่ขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนสิ่งก่อสร้างและขนย้ายสัมภาระสิ่งของออกจากที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยครอบครองปรปักษ์ในที่ดินพิพาทเกินกว่า 10 ปี จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อทุนทรัพย์ตามฟ้องและฟ้องแย้งราคาที่ดินพิพาทไม่เกิน 200,000 บาท และที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้กรรมสิทธิในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขับไล่ขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนสิ่งก่อสร้างและขนย้ายสัมภาระสิ่งของออกจากที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยครอบครองปรปักษ์ในที่ดินพิพาทเกินกว่า 10 ปี จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อทุนทรัพย์ตามฟ้องและฟ้องแย้งราคาที่ดินพิพาทไม่เกิน 200,000 บาท และที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้กรรมสิทธิในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1839/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกต้องเป็นไปตามกฎหมาย หากไม่มีอำนาจ ศาลต้องยกคำพิพากษาเดิม และดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับจำเลยที่ 1 ตามคำสั่งศาล มีอำนาจยื่นคำให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1736 วรรคสอง แต่การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การและฟ้องแย้งในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพียงคนเดียวโดยไม่มีจำเลยที่ 1 ร่วมด้วยขัดต่อมาตรา 1726 จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวจึงไม่มีอำนาจยื่นคำให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้ง
ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องและยื่นคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินกองมรดกครึ่งหนึ่งของผู้ตายในฐานะเป็นเจ้าของร่วมซึ่งจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายก็ยื่นคำให้การต่อสู้ว่าทรัพย์มรดกผู้ตายไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ทำมาหาได้ร่วมกันกับผู้ตายที่จะต้องแบ่งให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง แม้จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจยื่นคำให้การต่อสู้คดี ศาลชั้นต้นก็ควรต้องฟังพยานโจทก์ให้ได้ความก่อนว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายตามที่โจทก์ฟ้องเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ร่วมกับผู้ตายทำมาหาได้ร่วมกันมาในระหว่างที่เป็นสามีภริยากันจริงตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่
ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องและยื่นคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินกองมรดกครึ่งหนึ่งของผู้ตายในฐานะเป็นเจ้าของร่วมซึ่งจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายก็ยื่นคำให้การต่อสู้ว่าทรัพย์มรดกผู้ตายไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ทำมาหาได้ร่วมกันกับผู้ตายที่จะต้องแบ่งให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง แม้จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจยื่นคำให้การต่อสู้คดี ศาลชั้นต้นก็ควรต้องฟังพยานโจทก์ให้ได้ความก่อนว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายตามที่โจทก์ฟ้องเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ร่วมกับผู้ตายทำมาหาได้ร่วมกันมาในระหว่างที่เป็นสามีภริยากันจริงตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์หากไม่มีตราบริษัท แม้จะมีพยานรับรอง
ตามหนังสือมอบอำนาจตอนท้ายระบุว่า เพื่อเป็นหลักฐานในเรื่องดังกล่าวกรรมการผู้มีอำนาจได้ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทต่อหน้าโนตารีปับลิกประจำท้องถิ่น และยังมีข้อความว่า ลายมือชื่อ ตราประทับ และส่งมอบโดย อ. ผู้มีชื่อปรากฏข้างต้นต่อหน้าโนตารีปับลิก ตามคำฟ้องกับหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวแสดงว่าตามข้อบังคับของโจทก์ กรรมการผู้มีอำนาจจะลงลายมือชื่อผูกพันโจทก์ได้จะต้องประทับตราสำคัญของโจทก์ด้วย ฉะนั้น ในกรณีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินคดีแทนนี้ โจทก์ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าว ในเมื่อตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว อ. ลงลายมือชื่อโดยไม่ได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ การมอบอำนาจดังกล่าวของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หนังสือมอบอำนาจโจทก์บรรยายฟ้องมาเพียงว่า รายละเอียดตามหนังสือมอบอำนาจนั้น โจทก์จะได้เสนอศาลในชั้นพิจารณาต่อไปโดยโจทก์ไม่ได้แนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมาท้ายฟ้อง จำเลยจึงไม่สามารถตรวจดูหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวและไม่สามารถยกเรื่องไม่มีตราสำคัญของโจทก์ประทับในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การได้ นอกจากนี้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ก็ได้ยกเรื่องหนังสือมอบอำนาจมาวินิจฉัยดังนี้ ถือได้ว่าปัญหาข้อนี้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ จำเลยจึงยกปัญหาข้อนี้ข้ออ้างอิงในการยื่นอุทธรณ์ได้
หนังสือมอบอำนาจโจทก์บรรยายฟ้องมาเพียงว่า รายละเอียดตามหนังสือมอบอำนาจนั้น โจทก์จะได้เสนอศาลในชั้นพิจารณาต่อไปโดยโจทก์ไม่ได้แนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมาท้ายฟ้อง จำเลยจึงไม่สามารถตรวจดูหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวและไม่สามารถยกเรื่องไม่มีตราสำคัญของโจทก์ประทับในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การได้ นอกจากนี้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ก็ได้ยกเรื่องหนังสือมอบอำนาจมาวินิจฉัยดังนี้ ถือได้ว่าปัญหาข้อนี้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ จำเลยจึงยกปัญหาข้อนี้ข้ออ้างอิงในการยื่นอุทธรณ์ได้