พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,515 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1736/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ: โจทก์ต้องฟ้องหน่วยงานรัฐ ไม่ฟ้องเจ้าหน้าที่โดยตรง
จำเลยที่ 3 ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ไปแจ้งความดำเนินคดีแก่ผู้บุกรุกที่ดินวัดตามที่มีผู้แจ้งให้ทราบในฐานะผู้แทนของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี มิได้ทำในฐานะส่วนตัวส่วนจำเลยที่ 2 ไปแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ตามที่ได้รับมอบอำนาจ การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการในฐานะผู้แทนของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุราษฎร์ธานีการที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชักนำผู้อื่นให้ให้การต่อพนักงานสอบสวนในทางเดียวกันเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีอาญาและมีความเห็นสั่งฟ้องโจทก์ต่อพนักงานอัยการนั้นก็เป็นกรณีสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการดังกล่าวของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โจทก์ชอบที่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐให้รับผิดต่อโจทก์ แต่จะฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้รับผิดในมูลละเมิดที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยกปัญหานี้ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยโดยตรงในคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย แต่หากศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยกปัญหานี้ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยโดยตรงในคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย แต่หากศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในบ้านที่ปลูกในที่ดินที่ยกให้ผู้อื่น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องรื้อถอนหากไม่ใช่เจ้าของบ้าน
บ้านพิพาทอยู่ในที่ดินที่ ท. จดทะเบียนยกกรรมสิทธิ์ให้ ด. บุตรจำเลยโดยมิได้ระบุว่ายกให้แต่ที่ดินมิได้ยกบ้านพิพาทให้ด้วย ด. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินจึงมีกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 144 แม้จำเลยจะมีชื่ออยู่ในสำเนาทะเบียนบ้านพิพาทในฐานะเจ้าบ้านก็มิใช่ผู้มีกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทตามกฎหมาย การที่โจทก์ให้จำเลยรื้อถอนบ้านพิพาทส่วนที่รุกล้ำออกไปแต่จำเลยมิได้ปฏิบัติตาม โจทก์จึงฟ้องจำเลยไม่ได้ เนื่องจากจำเลยมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านพิพาท แม้จำเลยจะอยู่ในบ้านพิพาทด้วยก็ถือว่าอยู่ในฐานะบริวารของ ด. จำเลยไม่ได้เป็นผู้โต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย และจำเลยก็ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1690/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี: การมอบอำนาจช่วงก่อน/หลังได้รับมอบอำนาจจากตัวการ และขอบเขตอำนาจฟ้องที่ชัดเจน
การที่ ส. ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ภ. เป็นผู้รับมอบอำนาจช่วง แม้ขณะนั้น ส. ยังมิได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้เป็นผู้ฟ้องคดีแทนก็หาใช่เป็นเรื่องที่มิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้อันจะตกเป็นโมฆะไม่ ผลคงมีเพียงว่า ภ. ยังไม่อาจฟ้องคดีแทนโจทก์โดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจช่วงที่ทำกันไว้ในขณะนั้นได้เท่านั้นต่อมาเมื่อ ส. ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้มีอำนาจฟ้องคดีแทนแล้วก็มิได้เปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือทำหนังสือมอบอำนาจช่วงขึ้นใหม่หนังสือมอบอำนาจจึงสมบูรณ์ มีผลทำให้ ภ. มีอำนาจแต่งตั้งทนายความยื่นฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ได้ตั้งแต่วันที่ ส. ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์เป็นต้นไป
ป.พ.พ. มาตรา 801 วรรคสอง (5) ห้ามมิให้ตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไปฟ้องคดีแทนตัวการในกรณีที่การมอบอำนาจมิได้ระบุให้ตัวแทนฟ้องคดีแทนตัวการได้เท่านั้นแต่ข้อความในหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ส. เป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ โดยให้มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแก่บุคคลหรือนิติบุคคลใดๆ ที่กระทำการก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ รวมทั้งให้มีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วง ซึ่งเป็นเรื่องที่โจทก์มอบอำนาจให้เป็นตัวแทนมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์โดยตรงอยู่แล้ว และไม่จำต้องระบุไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าให้ฟ้องจำเลยที่ 1 หรือบุคคลใด หรือฟ้องข้อหาใด จึงเป็นการมอบอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 801 วรรคสอง (5) ห้ามมิให้ตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไปฟ้องคดีแทนตัวการในกรณีที่การมอบอำนาจมิได้ระบุให้ตัวแทนฟ้องคดีแทนตัวการได้เท่านั้นแต่ข้อความในหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ส. เป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ โดยให้มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแก่บุคคลหรือนิติบุคคลใดๆ ที่กระทำการก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ รวมทั้งให้มีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วง ซึ่งเป็นเรื่องที่โจทก์มอบอำนาจให้เป็นตัวแทนมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์โดยตรงอยู่แล้ว และไม่จำต้องระบุไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าให้ฟ้องจำเลยที่ 1 หรือบุคคลใด หรือฟ้องข้อหาใด จึงเป็นการมอบอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบปากคำผู้เยาว์ต้องเป็นไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ หากไม่ปฏิบัติตาม พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการสอบสวน บัญญัติว่า "ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สามปีขึ้นไป...การถามปากคำเด็กไว้ในฐานะเป็นผู้เสียหายหรือพยาน ให้แยกกระทำเป็นส่วนสัดในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำนั้นด้วย" และในวรรคสี่บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 139 การถามปากคำเด็กตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนจัดให้มีการบันทึกภาพและเสียงการถามปากคำดังกล่าวซึ่งสามารถนำออกถ่ายทอดได้อย่างต่อเนื่องไว้เป็นพยาน" เมื่อจำเลยถูกกล่าวหาว่าพรากนางสาว จ. ผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อหากำไรหรือเพื่อการอนาจาร โดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย ซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่พันบาทถึงสองหมื่นบาท เมื่อปรากฏว่านางสาว จ. มีอายุเพียง 17 ปีเศษ การสอบปากคำนางสาว จ. ไม่ว่าในฐานะผู้เสียหายหรือพยาน จึงต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสี่ โดยไม่มีข้อยกเว้น และไม่จำต้องได้รับการร้องขอจากนางสาว จ. ทั้งไม่ปรากฏว่ามีกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งซึ่งมีเหตุอันควรไม่อาจรอบุคคลตามวรรคหนึ่งได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 133 ทวิ วรรคห้าแต่อย่างใด การที่พนักงานสอบสวนสอบปากคำนางสาว จ. โดยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้จะเป็นการไม่ชอบแต่ก็หามีผลทำให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมด และถือเท่ากับไม่มีการสอบสวนในความผิดนั้นมาก่อน อันจะทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่: โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
จำเลยเป็นนายอำเภอสองพี่น้องมีหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของทางราชการ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรีที่มีคำสั่งให้ดำเนินการสอบสวนคุณสมบัติของ ก. ซึ่งเป็นประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลดังกล่าว และมิได้ดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งแก่ ก. ที่ได้ทำการแก้ไขและสอดแทรกโครงการในร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2543 ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรโดยไม่มีอำนาจเป็นการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการอันเป็นผลเสียหายแก่รัฐ มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรโดยตรง โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหาย
องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรเป็นผู้เสียหายโดยตรงและผู้ที่จะดำเนินคดีอาญาแทนองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรเพื่อเอาผิดแก่ ก. ก็คือ ก. แต่ ก. ไม่ยอมดำเนินคดีแก่ตนเอง แต่โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรจะมีอำนาจฟ้อง ก. แทนองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรได้หรือไม่ เป็นคนละเรื่องกับการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลย จึงไม่ทำให้โจทก์กลายเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรเป็นผู้เสียหายโดยตรงและผู้ที่จะดำเนินคดีอาญาแทนองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรเพื่อเอาผิดแก่ ก. ก็คือ ก. แต่ ก. ไม่ยอมดำเนินคดีแก่ตนเอง แต่โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรจะมีอำนาจฟ้อง ก. แทนองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรได้หรือไม่ เป็นคนละเรื่องกับการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลย จึงไม่ทำให้โจทก์กลายเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15057/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: การมอบอำนาจโดยสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ ไม่ใช่ตัวกลุ่มออมทรัพย์
สมาชิกของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านบางเท่าแม่ ประชุมร่วมกันและลงลายมือชื่อร่วมกัน มอบอำนาจให้ ส. ร. และ ม. ไปร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย มิใช่กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านบางเท่าแม่ เป็นผู้มอบอำนาจให้ไปร้องทุกข์แต่อย่างใด การร้องทุกข์จึงเป็นไปโดยชอบ พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและโจทก์มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120,121 ศาลฎีกาเห็นสมควรยกปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15017/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน, ฟ้องไม่เคลือบคลุม, และข้อจำกัดการฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริงที่ไม่เคยกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านพรุกำหวานเป็นคณะบุคคลที่มีอำนาจในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านพรุกำหวานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.2544 เมื่อมีการโต้แย้งสิทธิและทำให้กองทุนหมู่บ้านพรุกำหวานได้รับความเสียหาย คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านพรุกำหวานย่อมมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กู้เงินและทำสัญญากู้เงินไว้ให้กองทุนหมู่บ้านพรุกำหวาน โดยจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไป 20,000 บาท ตกลงให้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ซึ่งตามระเบียบกองทุนผู้กู้จะต้องชำระคืนภายใน 1 ปี พร้อมดอกเบี้ยและได้ทำหลักฐานสัญญากู้เงินไว้ หลังจากกู้เงินจำเลยชำระดอกเบี้ยครั้งเดียว 200 บาท หลังจากนั้นไม่เคยชำระเงิน จำเลยต้องชำระเงินต้น 20,000 บาท ดอกเบี้ย 1,825 บาท และค่าปรับ 550 บาท เป็นคำบรรยายฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่จำเลยฎีกาในทำนองว่า การกู้เงินยังไม่เกิดขึ้นจะนำมาฟ้องร้องไม่ได้ เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ เพราะในชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์แต่เฉพาะข้อกฎหมาย จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กู้เงินและทำสัญญากู้เงินไว้ให้กองทุนหมู่บ้านพรุกำหวาน โดยจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไป 20,000 บาท ตกลงให้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ซึ่งตามระเบียบกองทุนผู้กู้จะต้องชำระคืนภายใน 1 ปี พร้อมดอกเบี้ยและได้ทำหลักฐานสัญญากู้เงินไว้ หลังจากกู้เงินจำเลยชำระดอกเบี้ยครั้งเดียว 200 บาท หลังจากนั้นไม่เคยชำระเงิน จำเลยต้องชำระเงินต้น 20,000 บาท ดอกเบี้ย 1,825 บาท และค่าปรับ 550 บาท เป็นคำบรรยายฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่จำเลยฎีกาในทำนองว่า การกู้เงินยังไม่เกิดขึ้นจะนำมาฟ้องร้องไม่ได้ เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ เพราะในชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์แต่เฉพาะข้อกฎหมาย จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเช็ค: ผู้สั่งจ่ายไม่ใช่เจ้าของอันแท้จริง ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินคืน
โจทก์ที่ 1 ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ที่ 2 สั่งจ่ายเช็คขีดคร่อมของธนาคาร ท. ให้แก่ ส. หรือผู้ถือ แม้เป็นเช็คห้ามเปลี่ยนมือ แต่ผู้เป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนั้นคือผู้รับเงินตามเช็ค มิใช่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็ค โจทก์ทั้งสองก็มิได้เป็นผู้ทรงเช็ค จึงมิใช่เจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1000 ที่จะมีอำนาจฟ้องธนาคารจำเลยให้รับผิดชดใช้เงินตามเช็ค ทั้งการที่จำเลยเรียกเก็บเงินตามเช็คจากธนาคาร ท. ไปเข้าบัญชีเงินฝากของผู้อื่นเพื่อเรียกเก็บเงิน ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองในอันที่จะทำให้โจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ชดใช้ค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉล: กรณีภาระจำยอมและสัญญาเช่า ไม่ใช่เจ้าหนี้จึงฟ้องไม่ได้
ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ..." อำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลซึ่งนิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำลงโดยรู้ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้จึงเป็นอำนาจของเจ้าหนี้ แต่ตามข้อเท็จจริงที่โจทก์ทั้งสองบรรยายมาในคำฟ้องนั้น โจทก์ที่ 1 อ้างว่าโจทก์ที่ 1 ได้ภาระจำยอมโดยอายุความในทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 อันเป็นการกล่าวอ้างว่าตนมีสิทธิในทรัพย์ของผู้อื่นในลักษณะของทรัพยสิทธิ เมื่อเป็นเรื่องทรัพยสิทธิ โจทก์ที่ 1 จึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามบทบัญญัติมาตรา 237 ดังกล่าวได้ แต่ต้องไปว่ากล่าวเอาตาม ป.พ.พ. บรรพ 4 ในส่วนที่ว่าด้วยภาระจำยอม ส่วนโจทก์ที่ 2 นั้น ได้ความเพียงว่าเป็นผู้เช่าที่ดินจากโจทก์ที่ 1 โดยไม่ปรากฏว่ามีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยที่ 1 โจทก์ที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าหนี้ที่จะมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เพิกถอนการฉ้อฉลได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลจำกัดเฉพาะเจ้าหนี้ ผู้มีสิทธิในทรัพย์สินต้องใช้สิทธิทางภาระจำยอม
อำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เป็นอำนาจของเจ้าหนี้ โจทก์ที่ 1 อ้างว่าโจทก์ที่ 1 ได้ภาระจำยอมโดยอายุความในทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 อันเป็นการกล่าวอ้างว่าตนมีสิทธิในทรัพย์ของผู้อื่นในลักษณะของทรัพยสิทธิ เมื่อเป็นเรื่องของทรัพยสิทธิ โจทก์ที่ 1 จึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 237 แต่ต้องไปว่ากล่าวเอาตาม ป.พ.พ. บรรพ 4 ในส่วนที่ว่าด้วยภาระจำยอม ส่วนโจทก์ที่ 2 นั้นได้ความเพียงว่าเป็นผู้เช่าที่ดินจากโจทก์ที่ 1 โดยไม่ปรากฏว่ามีนิติสัมพันธ์ใดๆ กับจำเลยที่ 1 โจทก์ที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าหนี้ที่จะมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เพิกถอนการฉ้อฉลได้เช่นกัน