คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,515 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2650/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิติดตามทรัพย์สินคืน แม้ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โจทก์มีอำนาจฟ้องได้หากไม่ใช่หนี้ที่ขอรับชำระในคดีล้มละลาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาและเรียกให้จำเลยส่งมอบรถยนต์คืนแต่จำเลยไม่ส่งมอบคืน ถือว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อติดตามทรัพย์สินของโจทก์คืนได้ แม้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และ 24 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียว มีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ ฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ และห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือกิจการของตนดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย แต่มาตรา 26 ก็บัญญัติว่าตราบใดที่ศาลยังมิได้สั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้จะฟ้องคดีแพ่งอันเกี่ยวกับหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้ตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโดยมิได้เรียกร้องค่าเสียหายอื่นจากจำเลย เป็นการขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่งและเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนเป็นหนี้ที่มิอาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาคาร: เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีอำนาจออกคำสั่งกับผู้ไม่ใช่เจ้าของ/ผู้ครอบครองอาคาร แม้มีการก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต
การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารตึกชั้นเดียวและคำสั่งห้ามจำเลยหรือบุคคลใดใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคาร เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคแรก และคณะกรรมการดังกล่าวได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่า บริษัท สหถกลก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ก่อสร้างอาคารมูลกรณี และเป็นเจ้าของอาคารดังกล่าว เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้อุทธรณ์ (จำเลย) ซึ่งมิใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารมูลกรณีให้ระงับการก่อสร้างอาคารตามมาตรา 40 (1) (แบบ ค.3) ห้ามใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคารหรือบริเวณอาคารตาม มาตรา 40 (2) (แบบ ค.4) ฉะนั้น คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ถูกต้อง ให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว และให้ดำเนินการออกคำสั่งกับเจ้าของอาคารมูลกรณีให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป ซึ่งมีผลให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องปฏิบัติตาม ตามมาตรา 52 วรรคห้า จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น สำหรับข้อหาก่อสร้างดัดแปลงอาคารนั้น เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยดังกล่าวย่อมผูกพันให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ต้องปฏิบัติความคำวินิจฉัย การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไปร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย ต่อพนักงานสอบสวน และโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก่อนที่จะมีคำสั่งวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนของกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2455/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานรับของโจรเกี่ยวพันกับลักทรัพย์ ศาลมีอำนาจฟ้องได้แม้ต่างท้องที่ พฤติการณ์ร้ายแรงไม่รอการลงโทษ
แม้ความผิดฐานลักทรัพย์กับความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นต่างท้องที่กัน คือ จังหวัดราชบุรีและจังหวัดนครปฐม แต่ทรัพย์ที่ถูกลักกับรับของโจรนั้นเป็นทรัพย์สิ่งเดียวกัน คือ รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย โดยถูกลักไปจากท้องที่หนึ่งแล้วนำไปจำหน่ายให้แก่ผู้รับของโจรในอีกท้องที่หนึ่ง จึงเป็นความผิดหลายฐานเกี่ยวพันกัน โดยมีผู้กระทำความผิดหลายคน มีทั้งที่เป็นตัวการลักทรัพย์ ผู้สมรู้และผู้รับของโจรตาม ป.วิ.อ. มาตรา 24 (1) ดังนั้นที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยรับจำนำรถจักรยานยนต์ดังกล่าวจาก ท. ไม่ได้เกี่ยวข้องกับที่ บ. ลักรถจักรยานยนต์และไม่ได้เกี่ยวข้องกับชายไม่ทราบชื่อที่ซื้อรถจักรยานยนต์จาก บ. ที่จังหวัดสมุทรสาคร คดีจึงไม่มีเหตุการณ์ต่อเนื่องหรือเกี่ยวพันกันดังที่จำเลยฎีกานั้น ย่อมฟังไม่ขึ้น และความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนมีอัตราโทษสูงกว่าฐานรับของโจร ดังนั้น โจทก์จึงฟ้องจำเลยในความผิดฐานรับของโจรต่อศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีความผิดฐานลักทรัพย์ในเหตุฉกรรจ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 24 วรรคหนึ่ง โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยผิดศาลดังที่จำเลยฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีต้องมีตราสำคัญบริษัทกำกับ กรรมการลงลายมือชื่อไม่สมบูรณ์ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทมีแต่กรรมการ 2 คน ลงลายมือชื่อในนามของโจทก์โดยมิได้มีการประทับตราสำคัญของโจทก์กำกับไว้ จึงถือไม่ได้ว่ากรรมการ 2 คนนั้นได้กระทำการโดยชอบในฐานะผู้แทนบริษัทโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีผลเท่ากับโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ ด. ฟ้องคดีได้โดยชอบ ด. จึงไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความแต่งตั้งทนายความฟ้องคดีแทนโจทก์ ส่งผลให้ทนายความไม่มีอำนาจลงชื่อในคำฟ้องในฐานะทนายโจทก์แทนโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2038/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรมฯ แทนคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาด: การฟ้องกรมฯ เพื่อเพิกถอนคำวินิจฉัยถือว่าเป็นการฟ้องกรรมการและเลขานุการ
ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ฯ ได้กำหนดให้กรมจำเลยมีอำนาจหน้าที่ดำเนินมาตรการป้องกันและตอบโต้ทางการค้าเพื่อรักษาผลประโยชน์ทางการค้า โดยให้มีสำนักมาตรการปกป้องและตอบโต้ทางการค้าเป็นส่วนราชการในกรมจำเลย ดังนี้ จะเห็นได้ว่า การดำเนินการทั้งปวงเกี่ยวกับการปกป้องและตอบโต้การทุ่มตลาดและอุดหนุนตามกฎหมาย เป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของส่วนราชการในกรมจำเลย ทั้งตาม พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศฯ ได้บัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ของกรมจำเลยในส่วนที่ 2 การเริ่มต้นกระบวนพิจารณา และส่วนที่ 3 การไต่สวนการทุ่มตลาดและความเสียหายไว้ว่า ให้ผู้ยื่นคำขอให้คณะกรรมการดำเนินการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาดยื่นคำขอต่อกรมจำเลยและกำหนดให้กรมจำเลยเป็นผู้พิจารณาคำขอในเบื้องต้นว่ามีรายละเอียดหรือหลักฐานครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ จากนั้นให้กรมจำเลยเสนอคำขอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาและเมื่อคณะกรรมการมีคำวินิจฉัยว่าคำขอมีมูลเกี่ยวกับการทุ่มตลาดและความเสียหายแล้ว ตามกฎหมายยังกำหนดให้กรมจำเลยเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการไต่สวนในประเด็นการทุ่มตลาดและความเสียหาย เสร็จแล้วให้กรมจำเลยสรุปผลการไต่สวนและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาวินิจฉัยต่อไป และแม้คณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งมี รมต. ว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานกรรมการจะมีอำนาจหน้าที่เป็นอิสระ ไม่ได้อยู่ในการกำกับดูแลของกรมจำเลย แต่คณะกรรมการดังกล่าวก็มีอธิบดีกรมจำเลยเป็นกรรมการและเลขานุการ ทั้งยังมีข้าราชการจากกรมจำเลยเป็นผู้ช่วยเลขานุการ เมื่อพิจารณาถึงอำนาจหน้าที่ของกรมจำเลยดังกล่าวข้างต้นแล้ว อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศซึ่งเป็นผู้แทนกรมจำเลยจึงเป็นกรรมการที่มีบทบาทสำคัญในเนื้อหางานของคณะกรรมการดังกล่าว ประกอบกับการฟ้องกรมจำเลยก็เท่ากับเป็นการฟ้องอธิบดีกรมจำเลยซึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการในคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน จึงถือว่าเป็นการฟ้องคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุนแล้วไม่จำต้องฟ้องกรรมการทุกคนและการที่โจทก์ฟ้องเฉพาะกรมจำเลยดังกล่าว กรมจำเลยก็สามารถให้การต่อสู้คดีชี้แจงเหตุผลโต้แย้งคำฟ้องของโจทก์ได้แล้ว ไม่ทำให้คณะกรรมการดังกล่าวเสียเปรียบแต่อย่างใด ทั้งยังมีผลให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปด้วยความรวดเร็ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องกรมจำเลยเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยชั้นที่สุดของคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุนที่เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดในการนำเข้าสินค้าบล็อกแก้วชนิดใส ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 7016.900.001 ที่มีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐอินโดนีเซียได้ โดยไม่จำต้องฟ้องกรรมการทุกคน การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งงดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1997/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาเกินกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 7 วรรคสาม เป็นบทบัญญัติเพื่อมิให้การดำเนินคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงต้องล่าช้าและทำให้ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวไว้นานเกินสมควรแก่เหตุและความจำเป็น การที่จำเลยเข้ามอบตัวและพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบ จำเลยให้การปฏิเสธและได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวย่อมถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว พนักงานสอบสวนต้องส่งตัวจำเลยพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้ฟ้องภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมง เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยโดยไม่ได้ขอผัดฟ้องและพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ทั้งไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตให้ฟ้องจากอัยการสูงสุดตามมาตรา 9 จึงไม่ชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องต้องอ้างเหตุตามที่กล่าวอ้างในฟ้องเดิม การเปลี่ยนแปลงเหตุฟ้องในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าโจทก์มิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. ผู้ตาย และมิได้เป็นผู้ปกครองตามกฎหมายของเด็กหญิง ผ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยทั้งสอง โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยดังกล่าวของศาลชั้นต้น แต่โจทก์หาได้กระทำไม่ โจทก์กลับอุทธรณ์ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ได้รับมอบอำนาจจาก จ. ซึ่งเป็นทายาทอีกคนหนึ่งของ ป. ผู้ตายตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้แก้ไข ดังนั้น เหตุที่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องตามที่โจทก์อุทธรณ์จึงเป็นคนละเหตุกับที่โจทก์กล่าวมาในฟ้อง เป็นการอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์เป็นภริยาของ ป. และเป็นบุพการีตามความเป็นจริงของเด็กหญิง ผ. โจทก์จึงเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของเด็กหญิง ผ. มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1786/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกง: ผู้เสียหายคือผู้ถูกหลอกลวงโดยตรง แม้มีสัญญาจำนำก็ไม่ทำให้เสียอำนาจฟ้อง
จำเลยกับพวกร่วมกันใช้เอกสารราชการปลอมแสดงต่อผู้เสียหายและหลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่า ภ. เป็นเจ้าของรถยนต์ตามสมุดใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์จริง จนผู้เสียหายยอมรับจำนำและจ่ายเงินให้จำเลยไป ลักษณะการกระทำตามข้อเท็จจริงดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาใช้เอกสารราชการปลอมเพื่อฉ้อโกง ว. และ ว. ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิดของจำเลย จึงเป็นผู้เสียหาย แม้มีการทำสัญญาจำนำก็เป็นผลสืบเนื่องจากการหลอกลวงของจำเลยเพื่อให้ผู้เสียหายส่งมอบเงินอันเป็นทรัพย์สินให้ ดังนั้น สัญญาจำนำจะมีผลสมบูรณ์หรือไม่ หาเป็นเหตุให้ ว. ซึ่งเป็นผู้เสียหายอยู่แล้วกลายเป็นมิใช่ผู้เสียหายไม่ ผู้เสียหายจึงมีอำนาจร้องทุกข์ การสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1756/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: เขตอำนาจสอบสวนต้องสอดคล้องกับสถานที่เกิดเหตุ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวแก่ผู้มีชื่อหลายคน เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยทั้งสองพร้อมยึดเมทแอมเฟตามีน และจับ ศ. อ. ณ. น. ภ. จ. และ ห. พร้อมยึดเมทแอมเฟตามีนที่บุคคลทั้งเจ็ดซื้อจากจำเลยทั้งสองได้ที่บ้านจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลแสมดำ การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จึงเกิดในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลแสมดำทั้งสิ้น และโจทก์มิได้ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดกับ ส. และ ร. ดังนั้น แม้ ส. และ ร. ถูกจับในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางบอน การกระทำของจำเลยที่ 1 ก็หาใช่ความผิดที่เป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (3) ไม่ แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 ปรากฏชัดแจ้งว่าเกิดในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลแสมดำซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลแสมดำตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคสอง ประกอบมาตรา 2 (6) ที่จะเป็นผู้สอบสวน มิใช่อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางบอนที่สอบสวน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 เมื่อการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ถอนฎีกาไปแล้วได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1580-1585/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของวัด: การมอบอำนาจ การประทับตรา และสัญญาเช่าที่ดิน
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 31 วรรคสาม บัญญัติเพียงว่าให้เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไปเท่านั้น มิได้บังคับว่าการกระทำกิจการแทนวัดจะต้องประทับตราสำคัญของวัดด้วย ดังนั้นแม้หนังสือมอบอำนาจที่พระราชสุธรรมาภรณ์มอบอำนาจให้ ป. มีอำนาจฟ้องคดีและทำ นิติกรรมสัญญาใดๆ แทนวัดโจทก์ที่ 1 จะมีพระราชสุธรรมาภรณ์ลงลายมือชื่อโดยมิได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ที่ 1 ไว้ด้วย ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจช่วงจาก ป. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 1 ได้
การทำหนังสือสัญญาเช่าที่ดินที่ไม่ได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมมีผลฟ้องร้องบังคับคดีได้เพียง 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 จึงเป็นการเช่าที่ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนาตาม ข้อ 4 ของกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505
of 452