พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,546 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2140/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน การโอนสิทธิครอบครอง และข้อยกเว้นอายุความฟ้องแย่งการครอบครอง
โจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินพิพาทจาก อ. โดยมอบให้ อ. ครอบครองแทน แม้ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าซึ่งตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ ป. ที่ดินฯ มาตรา 9 จะโอนที่ดินมือเปล่าให้แก่กันมิได้ก็ตาม แต่ที่ดินมือเปล่านั้นเจ้าของมีสิทธิครอบครอง และตาม ป.พ.พ. มาตรา 1378 บัญญัติว่า การโอนไปซึ่งการครอบครองนั้น ย่อมทำได้โดยส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครอง ซึ่งมาตรา 1380 วรรคหนึ่งก็ได้บัญญัติรับรองด้วยว่าการโอนไปซึ่งการครอบครองย่อมเป็นผลแม้ผู้โอนยังยึดถือทรัพย์สินอยู่ ถ้าผู้โอนแสดงเจตนาต่อไปว่าจะยึดถือทรัพย์นั้นแทนผู้รับโอน เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาโต้แย้งในประเด็นว่า โจทก์ทั้งสองมิได้มอบหมายให้ อ. ครอบครองแทน โจทก์ทั้งสองจึงได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทมาจาก อ. โดยการโอนและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1378 และมาตรา 1380 วรรคหนึ่ง
ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง ที่บัญญัติให้ผู้ครอบครองซึ่งถูกแย่งการครอบครอง ต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองนั้น เป็นบทบัญญัติที่กำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนการครอบครองสำหรับกรณีที่ถูกแย่งการครอบครองเท่านั้น การที่จำเลยที่ 2 ดำเนินการออก พ.ร.ฎ. เพิกถอนสภาพที่ดินสาธารณประโยชน์และทำแผนที่ท้าย พ.ร.ฎ. เป็นการกระทำตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ จึงหาใช่เป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทที่โจทก์ทั้งสองจะต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนการครอบครองภายในกำหนด 1 ปี
ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง ที่บัญญัติให้ผู้ครอบครองซึ่งถูกแย่งการครอบครอง ต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองนั้น เป็นบทบัญญัติที่กำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนการครอบครองสำหรับกรณีที่ถูกแย่งการครอบครองเท่านั้น การที่จำเลยที่ 2 ดำเนินการออก พ.ร.ฎ. เพิกถอนสภาพที่ดินสาธารณประโยชน์และทำแผนที่ท้าย พ.ร.ฎ. เป็นการกระทำตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ จึงหาใช่เป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทที่โจทก์ทั้งสองจะต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนการครอบครองภายในกำหนด 1 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: ศาลฎีกาตัดสินยืนยันสิทธิของโจทก์ที่ได้มาจากการซื้อขาย และแก้ไขคำพิพากษาเรื่องการรื้อถอน
ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว หากลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำบังคับในกรณีที่ถูกพิพากษาให้ขับไล่ หรือต้องออกไปหรือต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าหากจำเลยไม่รื้อถอนต้นไม้ที่นำเข้าไปปลูก ให้โจทก์ดำเนินการแทน จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินส่วนหนึ่งของโฉนด การโอนที่ไม่ได้จดทะเบียนไม่สมบูรณ์ การครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 1311 ซึ่งมีชื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ การที่ผู้ร้องทั้งสองอ้างว่าได้เข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยรับการยกให้มาจาก จ. มารดา เมื่อการโอนให้ดังกล่าวมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การให้จึงตกเป็นโมฆะ ที่ผู้ร้องทั้งสองครอบครองทำประโยชน์อยู่ในที่ดินพิพาทต่อมา ผู้ร้องทั้งสองจึงอ้างได้ว่าเป็นการครอบครองอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทด้วยความสงบเปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของ ซึ่งก็คือการครอบครองปรปักษ์นั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023-2026/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินธรณีสงฆ์: ศาลเพิกถอนโฉนดที่ออกทับที่ดินสงฆ์ แม้เจ้าของที่ดินเดิมจะได้รับโฉนดโดยชอบ
นอกจากคดีนี้แล้วปรากฏว่าศาลฎีกาเคยวินิจฉัยไว้แล้วว่า การออกโฉนดในบริเวณรอบๆ องค์พระพุทธบาทไม่ชอบเป็นการออกทับที่ธรณีสงฆ์ของผู้ร้องสอด เจ้าหน้าที่ของรัฐหาได้คำนึงถึงเขตพุทธาวาส สังฆาวาส อันเป็นที่ธรณีสงฆ์แต่อย่างใด เมื่อพิจารณาพงศาวดารพระพุทธบาทแล้ว ทำให้เห็นศรัทธาของพระเจ้าทรงธรรมที่ทรงมีต่อองค์พระพุทธบาทอย่างแรงกล้า ทรงดั้นด้นเสด็จพระราชดำเนินทั้งทางน้ำและทางบก ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวยังมีสภาพเป็นป่า การเสด็จพระราชดำเนินกระทำด้วยความยากลำบาก พระองค์มิได้ทรงย่อท้อแต่อย่างใด ดังนั้นที่พระองค์ทรงมีพระบรมราชโองการอุทิศถวายที่ดินที่มีสภาพเป็นป่าในขณะนั้นออกไปเป็นบริเวณโดยรอบหนึ่งโยชน์ (400 เส้น) นั้น จึงสมเหตุสมผล ส่วนที่ต่อมาความเจริญเข้ามาสู่ที่ดินดังกล่าว ประกอบกับผู้ร้องสอดไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง จึงเป็นเหตุให้มีการรุกล้ำทั้งจากเอกชนและหน่วยราชการ รวมทั้งมีการออกโฉนดในที่ดินด้วย และเมื่อพิจารณาตำแหน่งที่ดินของโจทก์แล้ว จะเห็นได้ว่าอยู่ห่างจากวัดผู้ร้องสอดเพียง 20 เส้น จึงฟังได้ว่าเป็นที่ดินของผู้ร้องสอด แม้จะฟังได้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างในทำนองว่ามี พ.ร.ฎ. ในภายหลังเปลี่ยนสถานะที่ดินของผู้ร้องสอดไปแล้วเป็นเหตุให้ราษฎรสามารถมีกรรมสิทธิ์ได้นั้นก็ตาม แต่พระบรมราชโองการพระราชทานที่ดินมีศักดิ์ทางกฎหมายสูงกว่าพระราชกฤษฎีกา ดังนั้น แม้จะออก พ.ร.ฎ. จริง ก็ไม่สามารถลบล้างพระบรมราชโองการได้ อีกทั้งที่ดินดังกล่าวอยู่ห่างจากวัดผู้ร้องสอดไม่มากเชื่อว่าผู้ร้องสอดสามารถดูแลได้ ดังจะเห็นได้ว่า ผู้ร้องสอดให้จำเลยทั้งสี่เช่าอยู่อาศัยเพียงแต่ขณะที่มีการออกโฉนดทางเจ้าพนักงานมิได้แจ้งให้ผู้ร้องสอดทราบ จึงทำให้ผู้ร้องสอดไม่มีโอกาสคัดค้านการออกโฉนดดังกล่าว เมื่อการออกโฉนดดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้ร้องสอดไม่ร้องขอให้เพิกถอน แต่เมื่อฟังได้ว่าที่ดินเป็นของผู้ร้องสอด ศาลก็มีอำนาจเพิกถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 202/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การติดตั้งเสาไฟฟ้าบนที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สำรวจสิทธิและไม่ขออนุญาต ถือเป็นการละเมิด
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้บังคับการไฟฟ้านครหลวงจำเลยและบริวารระงับการกระทำละเมิดต่างๆ บนที่ดินของโจทก์ทั้งสาม พร้อมทั้งให้รื้อถอนเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ซึ่งได้กระทำลงบนที่ดินของโจทก์ทั้งสาม จำเลยให้การว่า จำเลยดำเนินการปักเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าตามคำขอของการเคหะแห่งชาติ ชาวบ้านผู้ใหญ่บ้านซอยชุมชนวัดพรพระร่วงประสิทธิ์ ซึ่งจำเลยตรวจสอบและเห็นว่าถูกต้องตามระเบียบแล้วจึงดำเนินการให้ตามขอ โดยไม่ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทั้งได้รับคำยืนยันจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้านและสำนักงานเขตบางเขนว่า ที่ดินในซอยวัดพรพระร่วงประสิทธิ์เป็นทางสาธารณะ จำเลยไม่ได้ให้การว่าที่ดินพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอม คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่ แม้จำเลยจะนำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอมก็เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดจากพยานนอกประเด็นข้อพิพาท และเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังตามป.วิ.พ. มาตรา 87 (1) ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทางภาระจำยอม การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ที่ดินพิพาทมิใช่เป็นทางสาธารณะ การที่การไฟฟ้านครหลวงจำเลยทำการปักเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าในที่ดินพิพาทโดยมิได้สำรวจตรวจสอบถึงสิทธิในที่ดินให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อน และมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งสาม จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินได้รับความเสียหายย่อมเป็นการละเมิด
ที่ดินพิพาทมิใช่เป็นทางสาธารณะ การที่การไฟฟ้านครหลวงจำเลยทำการปักเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าในที่ดินพิพาทโดยมิได้สำรวจตรวจสอบถึงสิทธิในที่ดินให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อน และมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งสาม จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินได้รับความเสียหายย่อมเป็นการละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 198/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนโอนที่ดิน: สิทธิจดทะเบียนก่อน-การซื้อขายสุจริต-ผู้จัดการมรดก
การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ข. ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงพิพาทให้ ท. โดยอ้างว่าเพื่อนำเงินที่ขายได้ไปชำระหนี้กองมรดกของ ข. ซึ่งได้ระบุไว้ชัดแจ้งในคำขอจดทะเบียนสิทธิด้วย ซึ่งเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกที่กระทำได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1724 จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทจึงต้องผูกพันต่อ ท. ในการที่จำเลยที่ 1 กระทำไปดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 กลับไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีค่าตอบแทนและรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ข. ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงพิพาทให้ ท. ไปก่อนแล้วและได้รับชำระราคาครบถ้วนแล้ว ทั้งยังได้ไปดำเนินการยื่นคำขอจะทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่ ท. และอยู่ในระหว่างการดำเนินการของเจ้าพนักงานที่ดินเช่นนี้ ท. จึงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 หาใช่จำเลยที่ 2 ไม่ การที่จำเลยที่ 2 อาศัยสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกับจำเลยที่ 1 ไปดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 จึงเป็นทางเสียเปรียบแก่ ท. ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน โจทก์ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของ ท. จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินแปลงพิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 ประกอบมาตรา 1599 และมาตรา 1600
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินตามใบจองและการตกทอดทางมรดก: ที่ดินยังเป็นของรัฐ การโอนต้องตกทอดทางมรดกเท่านั้น
ใบจอง หมายถึงหนังสือแสดงการยอมให้ราษฎรเข้าครอบครองที่ดินชั่วคราวเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำมาหากินเลี้ยงชีพให้เป็นไปตามระเบียบและเงื่อนไขที่ทางราชการกำหนดโดยอยู่ภายใต้ข้อบังคับว่าผู้ได้รับอนุญาตให้จับจองจะโอนไม่ได้เว้นแต่จะตกทอดโดยทางมรดกตาม พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 8 วรรคสอง ที่ดินตามใบจองจึงยังเป็นของรัฐ ไม่ใช่ที่ดินที่เอกชนมีสิทธิครอบครองอันจะมีการแย่งการครอบครองระหว่างราษฎรด้วยกันได้ การที่ ป. ได้รับอนุญาตจากรัฐให้เข้าครอบครองที่ดินตามใบจอง ต่อมา ป. ถึงแก่ความตายสิทธิตามใบจองย่อมตกทอดได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง มาตรา 1600 มาตรา 1635 ประกอบ พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 8 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1967/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: คำพิพากษาศาลฎีกายันบุคคลภายนอก & การได้มาซึ่งสิทธิโดยการครอบครอง
ศาลฎีกามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และขับไล่ ท. ระหว่างบังคับคดี จำเลยได้ยึดถือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ไว้ โจทก์จึงฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) อยู่ในเขตที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ซึ่งเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่จำเลยครอบครองและใช้ประโยชน์ และจำเลยเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ที่ดินพิพาท โดยรับมอบการครอบครองมาจาก ท. โดยชอบ จนได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท กับมีสิทธิยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงขัดแย้งกันไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทกับที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นที่ดินคนละแปลงกันหรือไม่ และจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท กรณีจึงรับฟังได้ตามคำฟ้องของโจทก์ว่า ที่ดินพิพาทกับที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวแม้จำเลยไม่ใช่คู่ความในคดีที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาก็ตาม แต่คำพิพากษาในคดีดังกล่าวก็ใช้ยันจำเลยผู้เป็นบุคคลภายนอกได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) การที่จำเลยให้การรับว่าได้รับที่ดินพิพาทมาจาก ท. ซึ่งไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่จำเลยได้ อันเป็นการรับมอบที่ดินพิพาทโดยเด็ดขาด มิใช่เพื่อประกันการชำระหนี้แล้วได้ครอบครองโดยสงบ เปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 1 ปี ทำให้ได้สิทธิครอบครอง โดยไม่ได้ให้การว่าจำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ด้วยเหตุประการอื่น จำเลยจึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทตามบทบัญญัติข้างต้น โจทก์ย่อมเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ไว้ แม้ว่า ท. ยังไม่ได้ชำระเงินยืมและดอกเบี้ยให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1967/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การขัดแย้งในคำให้การ การรับมอบที่ดินโดยเด็ดขาด และผลของคำพิพากษาเดิมที่มีผลผูกพันบุคคลภายนอก
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ฟ้องขับไล่ ท.และศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2266 ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5379/2544 คำให้การและคำร้องแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยระบุว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2266 อยู่ในเขตที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ซึ่งเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่จำเลยครอบครองและใช้ประโยชน์ และยังได้ระบุว่า จำเลยเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2266 โดยรับมอบการครอบครองมาจาก ท. โดยชอบ จนได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทกับมีสิทธิยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2266 เนื่องจากจำเลยยังไม่ได้รับชำระคืนเงินกู้และดอกเบี้ยจาก ท. คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงขัดแย้งกันไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทกับที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นที่ดินคนละแปลงหรือไม่ และจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2266 หรือไม่ กรณีจึงรับฟังได้ตามคำฟ้องโจทก์ว่า ที่ดินพิพาทกับที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน และโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5379/2544 แม้จำเลยไม่ใช่คู่ความในคดีที่ศาลฎีกาพิพากษาก็ตาม แต่คำพิพากษาในคดีดังกล่าวก็ใช้ยันจำเลยผู้เป็นบุคคลภายนอกได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) ดังนั้น เมื่อจำเลยให้การรับว่า ได้รับที่ดินพิพาทมาจาก ท. ซึ่งไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่จำเลยได้ อันเป็นการรับมอบที่ดินโดยเด็ดขาด มิใช่เพื่อประกันการชำระหนี้ดังที่กล่าวไว้ในคำให้การครั้งแรก แล้วได้ครอบครองโดยสงบ เปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 1 ปี ทำให้ได้สิทธิครอบครอง โดยไม่ได้ให้การว่า จำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ด้วยเหตุประการอื่น จำเลยจึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทตามบทบัญญัติข้างต้น โจทก์ย่อมเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2266 ไว้แม้ว่า ท.ยังไม่ได้ชำระเงินยืมและดอกเบี้ยแก่จำเลยก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาทุนทรัพย์พิพาทในคดีที่โจทก์หลายคนครอบครองที่ดินแยกส่วน การอุทธรณ์ต้องพิจารณาทุนทรัพย์ของแต่ละคน
โจทก์ทั้งสามร่วมกันฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีเดียวกันเพราะโจทก์ทั้งสามมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 แต่โจทก์ที่ 1 อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ม. บิดาโจทก์ที่ 1 เมื่อ ม. ถึงแก่ความตายที่ดินเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ที่ 1 ต่อมาโจทก์ที่ 1 แบ่งที่ดินออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 เนื้อที่ 9 ไร่ 93 ตารางวา ราคาประมาณ 45,000 บาท โจทก์ที่ 1 ครอบครองทำประโยชน์ ส่วนที่ 2 เนื้อที่ 7 ไร่ 2 งาน 53 ตารางวา ราคาประมาณ 40,000 บาท โจทก์ที่ 1 โอนสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ที่ 2 และส่วนที่ 3 เนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 39 ตารางวา ราคาประมาณ 40,000 บาท โจทก์ที่ 1 โอนสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ที่ 3 หลังจากนั้นโจทก์ทั้งสามขอออกโฉนดที่ดินแต่ละส่วนของแต่ละคน เป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนต่างครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามส่วนที่แต่ละคนขอรังวัดออกโฉนด อันเป็นการที่โจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตามมาตรา 55 การพิจารณาทุนทรัพย์ว่าต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน
โจทก์ทั้งสามฎีกาขอให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 และให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไปเท่านั้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (เดิม)
โจทก์ทั้งสามฎีกาขอให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 และให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไปเท่านั้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (เดิม)