คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การกระทำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 443 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15492/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างบันดาลโทสะต้องเป็นการกระทำต่อผู้ข่มเหงโดยตรง ไม่สามารถอ้างเมื่อผู้ถูกกระทำไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง
แม้โจทก์ร่วมจะกีดกันไม่ยอมให้จำเลยพูดคุยกับผู้ตายและด่าว่าจำเลยจนทำให้เกิดโทสะและฆ่าผู้ตายก็ตาม จำเลยก็อ้างบันดาลโทสะไม่ได้ เพราะในขณะนั้นผู้ตายมิใช่ผู้ข่มเหงจำเลยหรือมีส่วนสนับสนุนให้โจทก์ร่วมด่าว่าจำเลยแต่ประการใด การที่จำเลยฆ่าผู้ตายจึงมิใช่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้าย vs. เจตนาฆ่า: การประเมินจากพฤติการณ์และการกระทำหลังเกิดเหตุ
จำเลยใช้มีดฟันผู้เสียหายเพียงครั้งเดียว เมื่อผู้เสียหายวิ่งหนีไป ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยวิ่งไล่ตามไปทำร้ายผู้เสียหายอีก ซึ่งจำเลยนำสืบต่อสู้ว่าใช้มีดฟันผู้เสียหายเพียงครั้งเดียวเพื่อช่วยเหลือเพื่อนที่ชกต่อยกับผู้เสียหาย โดยไม่ได้เลือกว่าจะฟันผู้เสียหายบริเวณใด หากจำเลยมีเจตนาจะฆ่าผู้เสียหายมาก่อน จำเลยสามารถวิ่งไล่ตามไปใช้มีดฟันทำร้ายผู้เสียหายได้อีกโดยไม่ปรากฏว่ามีสิ่งใดมาขัดขวางไม่ให้จำเลยทำเช่นนั้น ประกอบกับพวกของจำเลยก็มีหลายคนสามารถวิ่งไล่ตามผู้เสียหายไปได้นอกจากนี้ขณะที่จำเลยใช้มีดฟันผู้เสียหาย ผู้เสียหายเพียงแต่ยกแขนขึ้นบังเท่านั้นไม่ได้ปัดป้องแต่อย่างใด ปรากฏว่าผู้เสียหายมีบาดแผลฉีกขาดบริเวณข้อศอกข้างขวายาวประมาณ 10 เซนติเมตร ซึ่งไม่ใช่บาดแผลฉกรรจ์ แสดงว่าจำเลยไม่ได้ใช้มีดฟันอย่างรุนแรง อีกทั้งจำเลยและผู้เสียหายไม่มีเหตุโกรธเคืองกันมาก่อนถึงขนาดจะต้องเอาชีวิต พฤติการณ์การกระทำของจำเลยมีเจตนาเพียงแต่จะทำร้ายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีส่วนร่วมในความผิดอาญา: การรับรู้และการกระทำที่แยกจากกัน
พวกของจำเลยที่ 3 ฉุดดึงผู้เสียหายทั้งสองขึ้นไปบนกระบะด้านท้ายของรถยนต์ จำเลยที่ 3 นั่งอยู่ในรถด้านหน้าแถวเดียวกับคนขับ ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 มีส่วนร่วมในการฉุดดึงผู้เสียหายทั้งสองขึ้นรถแต่อย่างใด เมื่อรถมาจอดบริเวณที่เกิดเหตุมีจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก พาผู้เสียหายทั้งสองลงจากรถและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายทั้งสอง จำเลยที่ 3 ไม่ได้ลงจากรถเข้าไปมีส่วนร่วมในการพาผู้เสียหายลงจากรถหรือมีส่วนร่วมในขณะที่ผู้เสียหายทั้งสองถูกข่มขืนกระทำชำเราแต่อย่างใด จนกระทั่งผู้เสียหายที่ 2 ร้องขอความช่วยเหลือขณะถูก พ. ข่มขืนกระทำชำเรา จำเลยที่ 3 จึงลงจากรถไปขอร้อง พ. ให้หยุดกระทำและนำตัวผู้เสียหายที่ 2 ไปนั่งรอในรถด้านหน้ากับจำเลยที่ 3 จากนั้นจำเลยที่ 3 ได้ขอให้ ภ. ขับรถพาผู้เสียหายที่ 2 ไปส่งที่บ้านเพื่อนของจำเลยที่ 3 และให้นอนค้างที่นั้น โดยจำเลยที่ 3 ไม่ได้กระทำลวนลามหรือกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 แม้ก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 3 ได้ยิน พ. พูดคุยกับจำเลยที่ 4 ว่าจะพาผู้หญิงชื่อ บ. ไปกระทำชำเรานั้น การที่ผู้ใดรับรู้ว่าผู้อื่นจะกระทำความผิดหรือกระทำความผิดแล้ว จะถือว่าผู้นั้นมีส่วนร่วมกระทำความผิดหรือสนับสนุนผู้อื่นกระทำความผิดด้วยไม่ได้ ลำพังข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 3 นั่งรถไปกับพวกที่กระทำความผิดนั้นไม่เพียงพอให้รับฟังลงโทษจำเลยที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดช่วยเหลือคนต่างด้าว: ความรู้เรื่องการเข้าเมืองผิดกฎหมายแสดงในตัวการกระทำ
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยรู้ว่าคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 แต่การที่ฟ้องโจทก์ระบุว่า จำเลยได้บังอาจช่วยเหลือซ่อนเร้นคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 อันเป็นการช่วยด้วยประการใดๆ เพื่อให้คนต่างด้าวดังกล่าวพ้นจากการจับกุมก็ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยรู้ว่าคนต่างด้าวนั้นเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง และเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8589/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย: การกระทำของนายจ้างที่ยังไม่ถึงขั้นเป็นการเลิกจ้างโดยเด็ดขาด
โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างรายวัน ทำหน้าที่เป็นแม่บ้านทำความสะอาดภายในโรงงานจำเลย ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2548 ล. กรรมการบริษัทจำเลยสั่งให้โจทก์ทำงานหลังสิ้นสุดเวลาทำงานตามปกติ เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งก็ให้พนักงานรักษาความปลอดภัยเก็บบัตรบันทึกเวลาทำงานของโจทก์ไว้และสั่งให้บอกโจทก์รออยู่ที่ป้อมบริเวณหน้าโรงงานในวันที่โจทก์มาทำงาน ต่อมาในวันที่ 6 พฤษภาคม 2548 โจทก์จะเข้าทำงานในช่วงเช้า แต่พนักงานรักษาความปลอดภัยยังไม่ให้เข้าโรงงานแต่ให้รออยู่จนเวลา 8.40 นาฬิกา โจทก์จึงออกจากโรงงานไปปรึกษาพนักงานตรวจแรงงาน แล้วกลับเข้าไปที่โรงงานอีกครั้งในเวลาประมาณ 16 นาฬิกา พบ ส. หัวหน้าฝ่ายบุคคล ส. ขอให้โจทก์ทำงานต่อไป แต่โจทก์ไม่ตกลง ส. จึงนำใบลาออกมาให้โจทก์แต่โจทก์ไม่ลงลายมือชื่อในใบลาออกให้นั้น การที่ ล. จะแสดงความไม่พอใจต่อโจทก์และมีคำสั่งดังกล่าวซึ่งทำให้โจทก์ไม่สามารถเข้าทำงานในโรงงานตามปกติได้ ก็เพื่อให้โจทก์รออยู่และได้พบกับ ล. ก่อน อันเป็นการใช้อำนาจทางการบริหารที่นายจ้างสามารถกระทำได้ แต่ในระหว่างที่โจทก์รออยู่นั้นโจทก์ได้ออกจากโรงงานไปเองโดยยังไม่ได้พบกับ ล. กรณีดังกล่าวจึงยังถือไม่ได้ว่า ล. ได้บอกเลิกจ้างโจทก์หรือมีการกระทำใดที่จะไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้โดยเด็ดขาด จึงไม่ใช่การเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 118 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5772/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำโดยบันดาลโทสะต้องมีเหตุข่มเหงร้ายแรง การเสียดสีไม่ถือเป็นเหตุ
ผู้เสียหายพูดกับจำเลยทำนองว่าจำเลยไม่สามารถซื้อรถจักรยานยนต์ได้เช่นเดียวกับผู้เสียหาย เป็นการพูดทำนองเสียดสีจำเลย ตามประสาของผู้ที่เคยมีสาเหตุกันมาก่อน แม้เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมอยู่บ้าง แต่ไม่เพียงพอที่จะถือว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม การที่จำเลยมีความโกรธแค้นและทำร้ายผู้เสียหายจึงอ้างว่าเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตามกฎหมายไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3611/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันทำร้ายร่างกายและพยายามฆ่า: การรับผิดชอบเฉพาะการกระทำของตน
ผู้เสียหายและ ว. ไปเที่ยวงานวัด แต่การจราจรติดขัด ว. จอดรถจักรยานยนต์รออยู่บนถนน ขณะเดียวกัน ณ. วิ่งมาต่อยหน้าผู้เสียหาย 1 ครั้ง ผู้เสียหายวิ่งหนีจำเลย น. และ ย. วิ่งไล่ตาม ณ. ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย 1 นัด ผู้เสียหายวิ่งไปได้ 30 เมตรก็หมดแรงล้มลง จำเลย ณ. น. และ ย. เข้าไปรุมทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย โดยจำเลยใช้อาวุธมีดดาบฟันผู้เสียหาย ผู้เสียหายยกมือทั้งสองข้างกันไว้ จึงถูกคมมีด พวกจำเลยรุมเตะผู้เสียหาย แต่มีคนช่วยผู้เสียหายหลบหนีไปได้ ดังนั้น การที่ผู้เสียหายไปเที่ยวงานวัดแล้วพบ ณ. กับจำเลยและพวกนั้นน่าจะเป็นเหตุบังเอิญ และที่ ณ. เข้าไปชกทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทันทีและต่อมาก็ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายนั้นเป็นการกระทำและตัดสินใจของ ณ. โดยลำพัง ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้สมคบกระทำการดังกล่าวกับ ณ. จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในผลการกระทำดังกล่าวร่วมกับ ณ. แต่จำเลยต้องรับผิดเฉพาะผลการกระทำของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน ต้องพิจารณาบทมาตราที่ถูกต้องตามลักษณะการกระทำ
ความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนฯ ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 วรรคสอง ต้องเป็นพียงกรณีมีเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน เท่านั้น แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีทั้งอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนฯ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 7, 72 วรรคหนึ่งเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10344/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำไม่เข้าข่ายวิ่งราวทรัพย์ แม้ใช้อุบายลักทรัพย์ต่อหน้าบุคคลอื่น
การที่จำเลยใช้อุบายเข้าไปขอซื้อสินค้า เมื่อ น. ไปหยิบสินค้าและเผลอ พวกของจำเลยลงจากรถลักบุหรี่ไปจากร้านค้าของผู้เสียหายโดยพวกของจำเลยลอบลักหยิบเอาบุหรี่ไปโดยไม่ให้บุคคลในร้านเห็น แม้ผู้เสียหายซึ่งอยู่ในร้านตัดผมฟากถนนฝั่งตรงข้ามจะเห็นเหตุการณ์ขณะพวกของจำเลยลงจากรถเข้าไปลักบุหรี่ก็ตาม แต่ผู้เสียหายอยู่อีกฟากถนนจะเห็นเหตุการณ์ในระยะห่าง 20 เมตร ลักษณะการกระทำดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าพวกของจำเลยเอาบุหรี่ของผู้เสียหายไปต่อหน้าผู้เสียหาย การกระทำของพวกของจำเลยไม่เป็นการฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันวิ่งราวทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8351/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟอกเงิน: การกระทำต่างวันต่างเวลาถือเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ แม้เชื่อมโยงกับการจำหน่ายยาเสพติด
จำเลยทั้งสองและ ศ. ร่วมกันโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 จำนวน 3 ครั้ง ต่างวันต่างเวลากัน แม้ลักษณะการกระทำความผิดอย่างเดียวกัน และมีเจตนาประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกันโดยเป็นการกระทำต่อเนื่องจากการจำหน่ายยาเสพติดในครั้งเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อร่วมกระทำความผิดแต่ละครั้งต่างวันต่างเวลา มิได้กระทำต่อเนื่องกัน จึงแยกต่างหากจากกันเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน ตาม ป.อ. มาตรา 91
of 45