พบผลลัพธ์ทั้งหมด 651 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฎีกาในคดีอาญา: การแก้ไขโทษเพียงเล็กน้อยไม่เป็นเหตุให้ฎีกาได้
กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ให้จำคุกจำเลยคนละ 3เดือน ศาลอุทธรณ์เพียงแต่พิพากษาแก้อัตราโทษเป็นให้ปรับไม่มีโทษจำคุกนั้น เป็นการใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษและเป็นการแก้ไขแต่เพียงเล็กน้อย จึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำทางอาญา: การพิจารณาความผิดกรรมเดียวกัน และขอบเขตการดำเนินคดี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยนี้ฝ่ายหนึ่ง กับ ม.พ.ฮ.ฝ่ายหนึ่ง ได้ทำร้ายซึ่งกันและกัน โดยจำเลยชกต่อย พ. ไม่ถึงกับเกิดอันตรายแก่กายขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 แล้วโจทก์แถลงว่า เหตุในคดีนี้กับอีกคดีหนึ่งของศาลทหารเกิดในเวลาเดียวกัน เป็นการกระทำครั้งเดียวกัน เป็นแต่ว่าข้อหาในคดีนี้จะยื่นฟ้องต่อศาลทหารไม่ได้ โจทก์จึงแยกฟ้องเป็นคดีนี้ ดังนี้ จะแปลเอาทีเดียวว่าเป็นการกระทำผิดอันเป็นกรรมเดียวกันและศาลได้มีคำพิพากษาในความผิดของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แล้วยังไม่ได้ ชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นและขอบเขตการนำสืบพยานในคดีล้มละลาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามที่คู่ความขอทุกเรื่องถ้าศาลเห็นว่าการวินิจฉัยชี้ขาดดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่ผู้อ้างเลยคือเห็นว่าจำเป็นจะต้องดำเนินการพิจารณาต่อไปแล้ว จะสั่งให้รอไว้วินิจฉัยในคำพิพากษาก็ได้
เมื่อบรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ แล้วไม่ชำระและจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่มีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้แก่โจทก์แล้วโจทก์นำสืบว่าจำเลยเป็นหนี้คนอื่นอยู่อีกและยังไม่ชำระหนี้ดังนี้ เป็นการสืบในประเด็นว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่ใช่สืบนอกประเด็น
เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ต้องประกอบด้วยเหตุใน พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 ส่วนมาตรา 8 เป็นเพียงข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ที่ไม่สามารถนำสืบให้ศาลเห็นได้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวโจทก์ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้องว่าจำเลยได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตาม มาตรา 8
เมื่อบรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ แล้วไม่ชำระและจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่มีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้แก่โจทก์แล้วโจทก์นำสืบว่าจำเลยเป็นหนี้คนอื่นอยู่อีกและยังไม่ชำระหนี้ดังนี้ เป็นการสืบในประเด็นว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่ใช่สืบนอกประเด็น
เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ต้องประกอบด้วยเหตุใน พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 ส่วนมาตรา 8 เป็นเพียงข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ที่ไม่สามารถนำสืบให้ศาลเห็นได้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวโจทก์ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้องว่าจำเลยได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตาม มาตรา 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการใช้ค่าเสียหายตามคำสั่งศาลชั่วคราว: คำพิพากษาศาลฎีกาเป็นเกณฑ์สูงสุด
แม้ในคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ตัดสินให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีจะได้กล่าวไว้ว่า ให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายไปจนกว่า โจทก์จะได้ขอถอนคำสั่งห้ามชั่วคราวก็ตาม แต่ในคำพิพากษาศาลฎีกาได้พิพากษาว่า ให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายจนกว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ห้ามชั่วคราวนั้นสิ้นสุดลง ดังนี้ ต้องถือตามคำพิพากษาศาลฎีกาและกรณีเช่นนี้ คำสั่งห้ามชั่วคราวนั้นย่อมสิ้นสุดลงวันวันอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260 (1) โดยโจทก์ไม่ต้องร้องขอให้ถอนคำสั่งห้ามชั่วคราวนั้นแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุพยานในคดีอาญา: ขอบเขตการอ้างพยานหลักฐานตามบัญชีพยาน
คดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์นั้น ศาลจะต้องไต่สวนมูลฟ้องก่อนฉะนั้น แม้บัญชีระบุพยานของโจทก์จะมี คำว่า'บัญชีพยานชั้นไต่สวนมูลฟ้อง' ก็ดี ก็จะถือว่าเป็นการระบุพยานเฉพาะแต่ในตอนไต่สวนมูลฟ้องไม่ได้ ต้องถือว่าโจทก์มีความประสงค์ที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานในคดีนั้นตามบัญชีระบุพยานของตนตลอดทั้งเรื่อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตภาษีเงินได้ ภาษีการค้า และภาษีเทศบาลสำหรับบริษัทต่างประเทศในไทย
ภาษีเงินได้นั้นประมวลรัษฎากรมิได้บัญญัติมุ่งถึงการรับตัวเงินในที่ใดเลย หากเป็นกรณีบริษัทในต่างประเทศ ก็ให้พิเคราะห์ถึงผลว่าบริษัทในต่างประเทศนั้นได้รับเงิน หรือผลกำไรในประเทศไทยหรือไม่ คำว่า เงินได้หรือผลกำไรนั้น มิใช่ตัวเงินสด บริษัทในต่างประเทศจะได้รับในทางเครดิตหรือทางอื่นใดก็ตาม ถ้าเป็นเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทยแล้วก็ย่อมอยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
ภาษีการค้านั้น เมื่อบริษัทที่อยู่ต่างประเทศได้ประกอบหรือดำเนินการค้าในประเทศไทย ผู้กระทำการแทนจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบการค้าตามความหมายของประมวลรัษฎากรด้วย ฉะนั้นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าอย่างไรผู้กระทำการแทนบริษัทที่อยู่ต่างประเทศก็ต้องมีหน้าที่เสียอย่างนั้น
ภาษีเทศบาลนั้น เมื่อโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเทศบาลด้วย
ภาษีการค้านั้น เมื่อบริษัทที่อยู่ต่างประเทศได้ประกอบหรือดำเนินการค้าในประเทศไทย ผู้กระทำการแทนจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบการค้าตามความหมายของประมวลรัษฎากรด้วย ฉะนั้นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าอย่างไรผู้กระทำการแทนบริษัทที่อยู่ต่างประเทศก็ต้องมีหน้าที่เสียอย่างนั้น
ภาษีเทศบาลนั้น เมื่อโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเทศบาลด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 736/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงกับการลักทรัพย์: ผู้เสียหายและขอบเขตความรับผิด
จำเลยหลอกลวงว่าจะพาโจทก์ไปเรียนหนังสือต่อที่กรุงเทพฯ ให้โจทก์เตรียมหาเงินไว้ และแนะนำให้โจทก์ลักเงินของบิดา โจทก์ปฏิบัติตาม เมื่อได้เงินมาแล้วมอบให้จำเลยจำเลยได้เอาเงินนั้นเสียดังนี้ โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานลักทรัพย์ แต่เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1483/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความผิดฐานมีไม้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาตสำหรับผู้ได้รับอนุญาตโรงงานแปรรูปไม้
ผู้ได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้ นำไม้ที่ไม่ได้เสียหายค่าภาคหลวงเข้ามาในโรงงานมีความผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 51 เท่านั้น หามีผิดฐานมีไม้แปรรูปไว้ ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา อีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการแก้ไขโทษจำเลยที่ไม่ใช่ผู้ถูกอุทธรณ์ และขอบเขตการใช้กฎหมายผ่อนโทษ
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 - 2 - 3 - 4 ฐานพยายามปล้นและลงโทษจำเลยที่ 2 - 3 ฐานมีปืนไม่รับอนุญาต เฉพาะในข้อหาฐานมีปืนไม่รับอนุญาต ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์จำเลยที่ 4 อุทธรณ์เฉพาะในข้อฐานพยายามปล้นทรัพย์ เช่นนี้ แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จะมีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2501 มาตรา 9 ผ่อนผัน ไม่เอาโทษแต่ผู้ที่นำอาวุธปืนที่มีอยู่ไปจดทะเบียนขอรับอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ภายในกำหนด 90 วันก็ตาม ศาลอุทธรณ์จะยกฟ้องจำเลยที่ 2 - 3 ในข้อหาฐานมีปืนไม่รับอนุญาต โดยอ้างว่าเป็นเหตุในลักษณะคดีหาได้ไม่ เพราะการที่จำเลยที่ 2 - 3 มีอาวุธปืนนั้น จะมีโดยได้รับอนุญาตหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์ ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ศาลอุทธรณ์ จึงไม่มีอำนาจที่จะยกฟ้องโจทก์ในข้อหาตามพระราชบัญญัติ อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 ซึ่งเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 - 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นที่อุทธรณ์ และขอบเขตการใช้กฎหมายผ่อนผันโทษในคดีอาญา
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1-2-3-4 ฐานพยายามปล้น และลงโทษจำเลยที่ 2-3 ฐานมีปืนไม่รับอนุญาต เฉพาะในข้อหาฐานมีปืนไม่รับอนุญาต ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ จำเลยที่ 4 อุทธรณ์เฉพาะในข้อหาฐานพยายามปล้นทรัพย์ เช่นนี้ แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จะมีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2501 มาตรา 9 ผ่อนผันไม่เอาโทษแก่ผู้ที่นำอาวุธปืนที่มีอยู่ไปจดทะเบียนขอรับอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ภายในกำหนด 90 วันก็ตาม ศาลอุทธรณ์จะยกฟ้องจำเลยที่ 2-3 ในข้อหาฐานมีปืนไม่รับอนุญาต โดยอ้างว่าเป็นเหตุในลักษณะคดีหาได้ไม่ เพราะการที่จำเลยที่2-3 มีอาวุธปืนนั้น จะมีโดยได้รับอนุญาตหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์ ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจที่จะยกฟ้องโจทก์ในข้อหาตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 ซึ่งเกี่ยวกับจำเลยที่ 2-3