คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คู่ความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 557 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 836/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาจำเลย: กรณีศาลอุทธรณ์สั่งให้ไต่สวนใหม่ จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาเพราะเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับศาล
ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนต่อไปใหม่ เช่นนี้ จำเลยจะฎีกาหาได้ไม่ เพราะเป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 836/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฎีกาจำกัดเฉพาะคู่ความ คดีระหว่างโจทก์กับศาล จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา
ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนต่อไปใหม่ เช่นนี้ จำเลยจะฎีกาหาได้ไม่ เพราะเป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความลงชื่อในคำฟ้องแทนคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ทนายความซึ่งคู่ความตั้งแต่งมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความได้ ฉะนั้นทนายโจทก์จึงมีอำนาจลงชื่อในคำฟ้องแทนตัวโจทก์ได้ เพราะตาม ป.วิ.แพ่ง มาตร 1(7) "กระบวนพิจารณา" หมายความถึงการฟ้องต่อศาลด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความลงชื่อในคำฟ้องแทนคู่ความ
ทนายความซึ่งคู่ความตั้งแต่งมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ แทนคู่ความได้ฉะนั้นทนายโจทก์จึงมีอำนาจลงชื่อในคำฟ้องแทนตัวโจทก์ได้ เพราะตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(7)'กระบวนพิจารณา'หมายความถึงการฟ้องต่อศาลด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง: ข้อจำกัดเรื่องคู่ความ
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46 จะได้บัญญัติไว้ว่าในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาก็ดี แต่บัญญัติของมาตรานี้ก็อยู่ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่งมาตรา 145 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 กล่าวคือจะผูกพันก็แต่คู่ความเดียวกันเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาคดีอาญาไม่ผูกพันคู่ความในคดีแพ่ง หากไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญานั้น
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 จะได้บัญญัติไว้ว่าในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาก็ดี แต่บัญญัติของมาตรานี้ก็อยู่ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 กล่าวคือจะผูกพันก็แต่คู่ความเดียวกันเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1258/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตให้ทนายดำเนินการโดยมิได้แต่งตั้งอย่างเป็นทางการ หากไม่มีผลเสียต่อคู่ความ
ทนายดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์มาตั้งแต่ศาลชั้นต้นจนเสร็จสำนวนแล้วลงชื่อยื่นฟ้องอุทธรณ์แทนโจทก์อีก แต่มิได้มีการแต่งทนายไว้เพราะความพลั้งเผลอทั้งมิได้ประวิงคดีหรือเอาเปรียบในเชิงคดี และศาลชั้นต้นก็ได้สั่งรับอุทธรณ์ เมื่อคดีมาถึงชั้นศาลฎีกาตัวโจทก์ก็ได้แต่งทนายผู้นี้ไว้แล้วในวันยื่นฎีกา ดังนี้ แม้จะเป็นการปฏิบัติผิดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ก็สมควรที่ศาลจะอนุญาตให้ทำเสียให้ถูกต้องได้ตาม มาตรา 27 และ พอถือได้ว่าการพิจารณาและการอุทธรณ์เป็นการชอบแล้ว (เทียบฎีกาที่ 1894/2499)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104-1105/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการรับฟังข้อเท็จจริงจากคดีอาญาในคดีแพ่ง: จำเลยในคดีแพ่งต้องเป็นคู่ความในคดีอาญา หรือคดีอาญาต้องถึงที่สุดก่อน
ที่ว่าในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญานั้น หมายความว่าคดีส่วนอาญาได้ถึงที่สุดแล้วและจำเลยในคดีแพ่งก็ต้องเป็นจำเลยรายเดียวกันกับจำเลยในคำพิพากษาคดีส่วนอาญานั้นด้วย
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังว่านายเจริญกับพวกจำเลยฆ่านายประเวศตาย นายเจริญจำเลยกับพวกฎีกา ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา นายเจริญจำเลยตาย คดีส่วนตัวนายเจริญจำเลยจึงเป็นอันระงับไป เมื่อมารดาและบุตรของนายประเวศผู้ตายฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนฐานนายเจริญจำเลยละเมิด เช่นนี้ ข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งยังฟังลงไปทีเดียวไม่ได้ว่านายเจริญจำเลยมีส่วนร่วมในการฆ่านายประเวศดังที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยฟังมา เพราะคดีอาญานั้นยังไม่ถึงที่สุด ศาลฎีกาอาจฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นก็ได้เมื่อเช่นนี้ ข้อเท็จจริงในข้อว่านายเจริญจำเลยมีส่วนร่วมในการฆ่านายประเวศอันจะถือตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาก็ไม่มี ศาลจะพิพากษาคดีส่วนแพ่งให้ผู้รับมรดกความของนายเจริญจำเลยรับผิดฐานละเมิดไปเลยทีเดียวยังไม่ได้ ต้องให้คู่ความในคดีแพ่งนำสืบข้อเท็จจริงเช่นว่านี้กันไป
คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในคดีอาญาว่านายบุญเราและนายมินทร์(ซึ่งไม่ได้เป็นจำเลยในคดีอาญานั้นด้วยเลย)มีส่วนร่วมในการฆ่านายประเวศ ต่อมามารดาและบุตรนายประเวศผู้ตายได้เป็นโจทก์ฟ้องนายบุญเราและนายมินทร์เป็นจำเลยในคดีแพ่งเรียกค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิด เช่นนี้ ศาลจะรับฟังข้อวินิจฉัยส่วนอาญาดังกล่าวแล้วของศาลชั้นต้นมาเป็นข้อเท็จจริงอันจะถือตามในคดีแพ่งนี้หาได้ไม่เพราะนายบุญเราและนายมินทร์ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องร้องต้องเกิดจากการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างคู่ความ การขอให้แบ่งแยกที่ดินของตนเองมิใช่เรื่องที่จำเลยต้องเกี่ยวข้อง
สิทธิการฟ้องร้อง
โจทก์ต้องการจะแบ่งแยกที่ดินส่วนหนึ่งซึ่งศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดว่าเป็นของจำเลย. ออกไปเสียจากโฉนดของโจทก์ก็เป็นเรื่องของโจทก์เองไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับจำเลยคดีของโจทก์ยังไม่มีการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างโจทก์จำเลย โจทก์ยังไม่มีสิทธิที่จะมาฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1362-1364/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ที่ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ แม้เคยมีประเด็นเรื่องบริวารในคดีก่อนหน้า เนื่องจากประเด็นและคู่ความไม่เหมือนกัน
คดีก่อน เรื่องขับไล่ ศาลมีคำสั่งว่าบุคคลที่โจทก์อ้างว่าเป็นบริวารของจำเลยนั้น ไม่ใช่บริวารของจำเลย
โจทก์มาฟ้องขับไล่บุคคลเหล่านั้นเป็นจำเลยในคดีใหม่ได้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะไม่ใช่ประเด็นเดียวกันและไม่ใช่คู่ความเดียวกัน
of 56