พบผลลัพธ์ทั้งหมด 464 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4723/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด: การผูกพันตัวการจากลายมือชื่อในหนังสือบอกเลิกสัญญา
ส. เป็นบุตรของ ว. และ ฉ. หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ ส. เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดอยู่ด้วย ทั้ง ส. ยังมีหน้าที่ขับรถยนต์คันหนึ่งและเป็นผู้ประสานงานตามสัญญาจ้างเหมารถรับส่งพนักงานของจำเลยระหว่างโจทก์กับจำเลยตลอดมา ส่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ ส. ว่า โจทก์เชิด ส. ออกแสดงเป็นตัวแทน โจทก์จึงต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่า ส. เป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 ประกอบมาตรา 1042 ดังนั้น การที่ ส. ลงลายมือชื่อในหนังสือแจ้งเลิกสัญญาต่อจำเลย ย่อมผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นตัวการ แม้จำเลยจะให้การว่าโจทก์บอกเลิกสัญญา แต่คดีได้ความว่า ตัวแทนเชิดของโจทก์เป็นผู้บอกเลิกสัญญาก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องนอกประเด็นนอกคำให้การ เพราะเป็นการนำสืบให้ทราบถึงความจริงว่าเป็นอย่างไร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2303/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดิน - ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ - ความรับผิดในค่าเสียหาย - การหักเงินค้ำประกัน
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์แทนจำเลยร่วมซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ การที่โจทก์ไม่พิจารณาเปลี่ยนชื่อผู้เช่าที่ดินจากจำเลยเป็นจำเลยร่วมตามที่จำเลยร่วมร้องขอ ก็เพราะจำเลยไม่เคยเปิดเผยต่อโจทก์ว่าทำสัญญากับโจทก์ในฐานะตัวแทนของจำเลยร่วม แม้โจทก์จะเพิ่งทราบว่าจำเลยร่วมเป็นตัวการในการทำสัญญาเช่าที่ดิน ก็เป็นสิทธิของโจทก์จะเลือกฟ้องตัวการหรือตัวแทนให้รับผิดตามสัญญาได้ เพราะถึงอย่างไรจำเลยในฐานะตัวแทนก็ไม่จำต้องรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์อยู่แล้ว จึงมิใช่โจทก์ประสงค์ที่จะผูกพันกับจำเลยโดยตรงเท่านั้น จำเลยร่วมจึงต้องรับผิดตามสัญญาเช่าต่อโจทก์
ปัญหาว่า จำเลยนำสืบแก้ไขเอกสารเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยร่วมมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในคำฟ้องอุทธรณ์ จำเลยร่วมก็ยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์ การที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยทำสัญญาดังกล่าวในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยร่วมซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ จึงเป็นเพียงนำสืบความจริงว่าจำเลยร่วมเป็นตัวการเพื่อให้จำเลยร่วมเข้ามารับผิดตามสัญญาแทนจำเลยเท่านั้น มิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าที่ดินอันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
ปัญหาว่าคำฟ้องโจทก์ในส่วนค่าเสียหายเคลือบคลุมหรือไม่ มิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง เมื่อจำเลยร่วมมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยร่วมจึงไม่อาจยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
ปัญหาว่า จำเลยนำสืบแก้ไขเอกสารเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยร่วมมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในคำฟ้องอุทธรณ์ จำเลยร่วมก็ยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์ การที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยทำสัญญาดังกล่าวในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยร่วมซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ จึงเป็นเพียงนำสืบความจริงว่าจำเลยร่วมเป็นตัวการเพื่อให้จำเลยร่วมเข้ามารับผิดตามสัญญาแทนจำเลยเท่านั้น มิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าที่ดินอันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
ปัญหาว่าคำฟ้องโจทก์ในส่วนค่าเสียหายเคลือบคลุมหรือไม่ มิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง เมื่อจำเลยร่วมมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยร่วมจึงไม่อาจยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวการและตัวแทน กรณีละเมิดจากการติดตั้งระบบสัญญาณเตือนภัยชำรุด และการประเมินค่าเสียหายที่สมเหตุสมผล
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของโครงการอาคารชุด ซึ่งจะต้องดำเนินการก่อสร้างอาคารและระบบสาธารณูปโภคของโครงการรวมทั้งจัดให้มีวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตามที่ประกาศโฆษณาขายอาคารชุด การที่จำเลยที่ 1 จ้างเหมาบุคคลอื่นติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัยของอาคารชุด จำเลยที่ 1 ต้องดูแลให้ระบบป้องกันอัคคีภัยใช้งานได้สมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ในการมีระบบป้องกันอัคคีภัย หากระบบป้องกันอัคคีภัยไม่สามารถใช้งานได้หรือใช้งานได้ไม่สมบูรณ์จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบในการดำเนินการแก้ไขระบบป้องกันอัคคีภัยจนสามารถใช้งานได้ ตามที่โฆษณาไว้ เมื่อต่อมาโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งมีอำนาจกระทำการใดๆ เพื่อประโยชน์ในการจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 33 และปรากฏแก่โจทก์ว่า ระบบป้องกันอัคคีภัยที่จำเลยที่ 1 จ้างเหมาบุคคลอื่นมาติดตั้งไม่สามารถใช้งานได้สมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ จำเลยที่ 1 ยังคงมีหน้าที่ต้องรับผิดแก้ไขปรับปรุงให้การติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัยใช้งานได้สมบูรณ์
ระบบป้องกันอัคคีภัยที่จำเลยที่ 1 จ้างเหมาจำเลยที่ 2 ติดตั้งแก่อาคารชุด ไม่สามารถใช้งานได้สมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดดำเนินการแก้ไขระบบป้องกันอัคคีภัยให้สามารถใช้งานได้ การที่จำเลยที่ 2 มอบหมายให้พนักงานของตนตรวจสอบแก้ไขระบบดังกล่าวจึงเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อพนักงานของจำเลยที่ 2 เชื่อมต่อสายไฟฟ้าเข้าระบบผิด ทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจร เกิดความเสียหายแก่ระบบป้องกันอัคคีภัย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนก่อให้เกิดขึ้นดังกล่วด้วยตามมาตรา 427 ประกอบมาตรา 425
จำเลยทั้งสองไม่ดำเนินการแก้ไขระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยที่ได้รับความเสียหายให้เสร็จสิ้นภายในเวลาอันสมควร โจทก์ย่อมมีสิทธิจัดหาบุคคลภายนอกมาดำเนินการในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเข้าจัดการในทรัพย์สินของตน โดยจัดหาบุคคลภายนอกมาดำเนินการและเรียกค่าใช้จ่ายจากจำเลยทั้งสองได้ หากต้องรอจนจำเลยทั้งสองแก้ไขระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยซึ่งไม่อาจคาดหมายกำหนดเวลาเสร็จสิ้นได้ ถือเป็นค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213, 215
ระบบป้องกันอัคคีภัยที่จำเลยที่ 1 จ้างเหมาจำเลยที่ 2 ติดตั้งแก่อาคารชุด ไม่สามารถใช้งานได้สมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดดำเนินการแก้ไขระบบป้องกันอัคคีภัยให้สามารถใช้งานได้ การที่จำเลยที่ 2 มอบหมายให้พนักงานของตนตรวจสอบแก้ไขระบบดังกล่าวจึงเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อพนักงานของจำเลยที่ 2 เชื่อมต่อสายไฟฟ้าเข้าระบบผิด ทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจร เกิดความเสียหายแก่ระบบป้องกันอัคคีภัย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนก่อให้เกิดขึ้นดังกล่วด้วยตามมาตรา 427 ประกอบมาตรา 425
จำเลยทั้งสองไม่ดำเนินการแก้ไขระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยที่ได้รับความเสียหายให้เสร็จสิ้นภายในเวลาอันสมควร โจทก์ย่อมมีสิทธิจัดหาบุคคลภายนอกมาดำเนินการในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเข้าจัดการในทรัพย์สินของตน โดยจัดหาบุคคลภายนอกมาดำเนินการและเรียกค่าใช้จ่ายจากจำเลยทั้งสองได้ หากต้องรอจนจำเลยทั้งสองแก้ไขระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยซึ่งไม่อาจคาดหมายกำหนดเวลาเสร็จสิ้นได้ ถือเป็นค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213, 215
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2075/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการสมคบร่วมปลอมเอกสารและเบียดบังทรัพย์ ธนาคาร
จำเลยเป็นผู้ช่วยผู้จัดการสาขาของธนาคารผู้เสียหายกรอกข้อความลงในหนังสือสัญญากู้เงินโดยใช้เงินฝากเป็นประกันและหนังสือยินยอมมอบเงินฝากเพื่อเป็นหลักประกันการชำระเงินกู้และหรือเป็นหลักประกันการออกหนังสือค้ำประกันที่มีลายมือชื่อปลอมของ ห. และ ต. แล้วจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้ตรวจเอกสารดังกล่าวโดย ส. ผู้จัดการสาขาเป็นผู้อนุมัติเงินกู้ นำไปให้พนักงานการเงินผู้จ่ายเงินตรวจจ่ายเงินให้จำเลยรับเงินไปด้วยตนเอง และนำเงินไปมอบให้ ส. แล้วมีการเก็บเอกสารต่างๆ ไว้ในตู้นิรภัยของธนาคาร โดยไม่มีสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของ ห. และ ต. อยู่ด้วยตามขั้นตอนและข้อบังคับของธนาคาร แสดงว่าจำเลยมีส่วนรู้เห็นกับ ส. เป็นการวางแผนกันมาก่อนและมีการแบ่งหน้าที่กันทำ จำเลยจึงเป็นตัวการสมคบร่วมกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 4, 11 และ ป.อ. มาตรา 268, 352, 354 กับ ส. มาตั้งแต่ต้น มิใช่ผู้สนับสนุน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173-228/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของกรรมการบริษัทในฐานะนายจ้าง: หลักตัวแทนและการผูกพันของตัวการ
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 ได้ให้คำนิยามคำว่า นายจ้างในทำนองเดียวกันกับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ว่า นายจ้าง หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล และผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลให้ทำการแทนด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ย่อมมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างโดยตรงของโจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 ซึ่งความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัท และบุคคลภายนอกนั้น ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยตัวแทน และบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน มาตรา 820 มีความหมายว่ากิจการใดอันตัวแทนได้กระทำไปในขอบอำนาจของตัวแทนนั้นเป็นการกระทำของตัวการจำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวการจึงต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ผูกพันรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9384/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินจากเช็คคืนประกันตัว – เช็คระบุชื่อผู้รับเงินไม่ใช่หนี้ที่จำเลยต้องส่งมอบให้แก่ตัวการ
เช็คที่ศาลชั้นต้นสั่งจ่ายให้แก่จำเลยในฐานะนายประกันเป็นเช็คระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับเงิน จำเลยย่อมอยู่ในฐานะผู้ทรงในฐานเป็นผู้รับเงินที่พึ่งจะยื่นเช็คเพื่อให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คแก่ตนเท่านั้น เงินที่ธนาคารพึงใช้ให้แก่จำเลยตามเช็คจึงมิใช่เงินหรือทรัพย์สินที่จำเลยได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 โดยตรง เมื่อหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์เป็นหนี้เงิน หากจำเลยไม่ชำระก็เป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิจะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ รวมทั้งเงินหรือทรัพย์สินอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกค้างชำระแก่จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 214 โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยเบิกถอนเงินจากธนาคารตามเช็คเพื่อมอบให้แก่โจทก์ รวมทั้งขอให้บังคับธนาคารตามเช็คซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีใช้เงินตามเช็คที่ระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับเงินให้แก่โจทก์ก็ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8863/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจากตัวการเป็นผู้สนับสนุนในคดียาเสพติด ศาลฎีกาห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 66 วรรคสอง ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 จำคุก 5 ปี และปรับ 400,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 66 วรรคสอง ประกอบ ป.อ. มาตรา 86 จำคุก 3 ปี 4 เดือน และปรับ 266,666.66 บาท เท่ากับว่าศาลอุทธรณ์แก้บทที่ลงโทษเฉพาะเกี่ยวกับลักษณะแห่งการกระทำความผิดกับโทษที่ลงแก่จำเลยที่ 2 โดยแก้จากต้องร่วมรับผิดฐานเป็นตัวการตาม ป.อ. มาตรา 83 มาเป็นฐานผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86 จำคุก 3 ปี 4 เดือน และปรับ 266,666.66 บาท ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ไม่เกินห้าปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5683/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด-ตัวการ: ความรับผิดในสัญญาซื้อขายเมื่อปรากฏพฤติการณ์บ่งชี้การยินยอมให้แสดงเจตนา
แม้จำเลยไม่ได้มอบหมายหรือแต่งตั้งจำเลยร่วมเป็นตัวแทนซื้อปุ๋ยรายพิพาทกับโจทก์ และการซื้อปุ๋ยของจำเลยร่วมไม่ได้ปฏิบัติตามข้อบังคับของจำเลยข้อ 56 แต่พฤติการณ์ที่จำเลยปล่อยให้จำเลยร่วมแสดงออกเป็นตัวแทนของจำเลยในการซื้อขายปุ๋ยกับโจทก์ในระหว่างปี 2537 ถึงปี 2538 ก่อนการซื้อขายรายพิพาทถึง 5 ครั้ง มีการออกใบกำกับสินค้าและใบเสร็จรับเงินรับเงินให้กันในนามของโจทก์และจำเลยโดยจำเลยไม่ได้ทักท้วง ประกอบกับ ส. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกก็เคยซื้อปุ๋ยจากจำเลยมาก่อน 7 ถึง 8 ครั้ง โดยติดต่อกับจำเลยร่วม ได้ชำระราคาครบถ้วนและยืนยันว่าซื้อปุ๋ยรายพิพาทจำนวน 1,000 กระสอบ จากจำเลยโดยติดต่อผ่านจำเลยร่วม เมื่อครบกำหนดชำระเงินงวดแรกก็ได้ชำระค่าสินค้าให้แก่พนักงานเก็บเงินของจำเลย ทั้งจำเลยออกหลักฐานการชำระเงินค่าสินค้าลงชื่อพนักงานของจำเลยพร้อมประทับตราของจำเลยตามใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง ว. พนักงานของจำเลยมาเบิกความเป็นพยานโจทก์ยอมรับในข้อนี้และยังเบิกความด้วยว่า จำเลยร่วมมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการของจำเลยมีอำนาจสูงสุดในการจัดการแทนจำเลย แสดงว่าจำเลยร่วมเป็นพนักงานที่มีตำแหน่งสูงสุดของจำเลย ตามพฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยรู้แล้วยอมให้จำเลยร่วมเชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยว่ามีอำนาจสั่งซื้อขายสินค้ากับบุคคลภายนอกแทนจำเลยได้ จำเลยซึ่งเป็นตัวการจึงต้องรับผิดชำระค่าปุ๋ยที่ค้างชำระให้แก่โจทก์ที่เป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าจำเลยร่วมเป็นตัวแทนของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 ส่วนจำเลยร่วมเป็นเพียงตัวแทนเชิดของจำเลยและได้กระทำไปภายในขอบอำนาจไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5544/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้เอาประกันภัยในสัญญาประกันภัยรถยนต์: ตัวการจ้างวานใช้ vs. เจ้าของรถที่ไม่ได้ควบคุมดูแล
ตามข้อ 18 แห่งกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ระบุให้โจทก์มีสิทธิเรียกเงินที่จ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยคืนจากผู้เอาประกันภัยได้ จะต้องเป็นกรณีที่ "ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดต่อผู้ประสบภัย" เท่านั้น ปรากฏว่าโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุโดยจำเลยที่ 2 เป็นตัวการ จ้าง วาน ใช้ และไปประสบเหตุ แต่ในทางนำสืบไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยได้เป็นตัวการจ้าง วาน ใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวและเกิดเหตุรถชนกัน ดังนี้แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นเจ้าของรถ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้ควบคุมดูแลรถจักรยานยนต์โดยนั่งไปด้วยขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่รถชนและมีผู้ถึงแก่ความตายและรับอันตรายสาหัสต่อผู้ประสบภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ข้อ 18 ที่ให้สิทธิโจทก์เรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินที่จ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยคืนได้แต่โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิไล่เบื้ยเอาแก่ผู้ที่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจนทำให้เกิดเหตุรถชนขึ้นตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ.2540 มาตรา 31 แก้ไขเพิ่มเติม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4178/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกประเด็นความรับผิดในฐานะตัวการเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่เป็นผู้กระทำละเมิด
คดีมีประเด็นพิพาทเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ และจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการหรือไม่ ดังนั้นเมื่อคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นคนละคนกับ ป. ผู้ขับรถยนต์คนเกิดเหตุ จึงมิได้เป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการก็ย่อมไม่ต้องรับผิดด้วย ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ป. ซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ใช้ ป. ขับรถยนต์คันเกิดเหตุ เมื่อรถยนต์คันดังกล่าวชนเสาไฟฟ้าของโจทก์เสียหาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายในเหตุละเมิดตามฟ้อง เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142