พบผลลัพธ์ทั้งหมด 517 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องขอยื่นคำให้การไม่ใช่การสืบพยานประเด็นข้อพิพาท จึงไม่ต้องยื่นบัญชีระบุพยานล่วงหน้าตามมาตรา ๘๘
การไต่สวนคำร้องขอยื่นคำให้การนั้น เป็นเพียงการไต่สวนเพื่อให้ทราบว่าจำเลยมีเหตุอะไร จึงไม่ได้ยื่นคำให้การ ภายในกำหนดเป็นการจงใจขาดนัดหรือไม่เท่านั้น พยานหลักฐานในชั้นนี้ไม่ใช่พยานหลักฐานที่สนับสนุนข้ออ้างข้อเถียงในประเด็นแห่งคดีที่พิพาทกันโจทก์จึงไม่ตกอยู่ในบังคับที่จะต้องยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดไต่สวนไม่น้อยกว่า 3 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 948/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาจำกัดเฉพาะประเด็นที่ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้รับผิดน้อยลง การฎีกาลดหนี้เพิ่มเติมย่อมไม่อาจทำได้
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว โจทก์เป็นฝ่ายอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 รับผิดเพิ่มขึ้นจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาส่วนจำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์คดีแต่อย่างใด ในการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ตามที่โจทก์อุทธรณ์ขึ้นมาฝ่ายเดียวนั้น ศาลอุทธรณ์ก็ได้พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 2 รับผิดน้อยลงไปกว่าเดิมด้วยซ้ำดังนี้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาขอลดจำนวนเงินที่จะต้องรับผิดให้น้อยลงไปอีกได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1734/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อตกลงสัญญาประนีประนอมยอมความและการไม่ติดใจในประเด็นที่เคยกล่าวอ้าง
จำเลยยื่นคำร้องว่าห้องที่โจทก์จะจัดให้จำเลยเช่าตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีความกว้างเพียง 2.20 เมตรผิดไปจากข้อตกลง โจทก์จึงยื่นคำคัดค้านและว่าห้องที่จำเลยอ้างมิใช่ห้องที่จะจัดให้จำเลยเช่า โจทก์จะจัดให้จำเลยได้ตึกแถว 2 ชั้นที่ก่อสร้างขึ้นใหม่ 1 ห้องมีความกว้าง 3.50 เมตรตามข้อตกลงคู่ความแถลงว่า กรณีอาจตกลงกันได้ แล้วคู่ความได้ยื่นคำแถลงร่วมกันว่าโจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าตึกแถว 2 ชั้น 1 ห้องกว้างไม่น้อยกว่า3.50 เมตรลึกประมาณ 9 เมตร ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องว่าจำเลยได้ตรวจตึกแถวที่โจทก์จะให้จำเลยเช่า ปรากฏว่าด้านหลังมีความกว้างเพียง 3 เมตร และไม่ถูกต้องตามแบบแปลน ห้องชั้นล่างไม่มีช่องระบายอากาศ ไม่มีประตู ไม่มีท่อระบายน้ำ ดังนี้ เห็นว่าจำเลยตั้งประเด็นตามคำร้องฉบับนี้ขึ้น 5 ประการ คือ ความกว้างของตึกด้านหลัง การก่อสร้างผิดแบบแปลน ห้องชั้นล่างไม่มีช่องระบายอากาศ ไม่มีประตู ไม่มีท่อระบายน้ำ โจทก์แถลงรับว่ายังไม่ได้ทำช่องระบายอากาศ เพราะติดอาคารโรงแรม ถ้าจำเลยมีความประสงค์ก็จะทำให้ ส่วนประตูกับท่อระบายน้ำมีแล้ว จำเลยแถลงขอเวลาไปตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งจะแถลงในนัดต่อไป ต่อมาคู่ความแถลงตกลงกันให้สถาปนิกแก้ไขให้มีช่องลมหรือหน้าต่างเฉพาะห้องชั้นที่สองดังนี้ เห็นได้ว่าจำเลยติดใจในประเด็นที่ว่า จะให้สถาปนิกแก้ไข ให้มีช่องลมหรือหน้าต่างเฉพาะห้องชั้นที่สองเท่านั้น ส่วนประเด็นที่จำเลยอ้างว่าด้านหลังห้องมีความกว้างเพียง 3 เมตรก็ดีการก่อสร้างไม่ถูกแบบแปลนก็ดี จำเลยไม่ติดใจต่อไปแล้วจำเลยจะกลับยกขึ้นมาเป็นประเด็นอีกหาได้ไม่
ข้อที่ว่า จนบัดนี้เป็นเวลาเกิน 1 ปีตามสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยยังไม่ได้รับมอบห้องแถวดังที่ตกลงไว้นั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในคำร้องที่อ้างว่า โจทก์ปฏิบัติผิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นเรื่องนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
ข้อที่ว่า จนบัดนี้เป็นเวลาเกิน 1 ปีตามสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยยังไม่ได้รับมอบห้องแถวดังที่ตกลงไว้นั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในคำร้องที่อ้างว่า โจทก์ปฏิบัติผิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นเรื่องนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ไต่สวนพยานในประเด็นบริวาร และผลกระทบต่อการอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกามีอำนาจยกอุทธรณ์เมื่อไม่มีประเด็นขึ้นสู่ศาล
คดีมีปัญหาแต่เพียงว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยหรือไม่เมื่อผู้ร้องอุทธรณ์ว่าที่ศาลชั้นต้นฟังว่าผู้ร้องเป็นบริวารโดยไม่ไต่สวนพยานของผู้ร้องก่อนไม่ชอบ ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ข้อนี้ผู้ร้องก็มิได้อุทธรณ์คำสั่ง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งไว้ด้วยว่า นอกนั้นให้รับเป็นอุทธรณ์ แต่เมื่ออุทธรณ์ของผู้ร้องไม่มีประเด็นขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์เสียแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิพากษาให้ยกอุทธรณ์เสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1296/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้การปฏิเสธลอยๆ ในคดีครอบครองปรปักษ์ และผลกระทบต่อประเด็นข้อพิพาท
จำเลยให้การในตอนต้นแต่เพียงว่า ฟ้องโจทก์ไม่เป็นความจริง นอกจากที่จำเลยให้การต่อไปนี้ ขอให้ถือว่าจำเลยปฏิเสธทั้งสิ้น และในคำให้การต่อไปของจำเลย ก็มิได้แสดงให้ชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับ หรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า โจทก์ครอบครองที่พิพาทมา 40 ปีย่อมได้กรรมสิทธิ์ เช่นนี้ กรณีจึงมีลักษณะเป็นว่าจำเลยเพียงแต่กล่าวปฏิเสธลอยๆ และมิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่า ยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธนั้น คดีจึงต้องฟังว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 340/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลสั่งจำกัดการสืบพยานแล้ววินิจฉัยประเด็นอื่นที่ไม่ได้สั่งให้สืบ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คดีมีประเด็นข้อเท็จจริง 4 ข้อ ศาลชั้นต้นสั่งให้คู่ความนำพยานสืบสำหรับประเด็น ข้อ 1 ข้อเดียว ส่วนประเด็นอื่นเห็นว่าวินิจฉัยได้เอง เมื่อคู่ความได้ดำเนินการตามที่ศาลสั่งแล้ว ศาลกลับวินิจฉัยว่าโจทก์มีภาระต้องพิสูจน์ประเด็นข้อ 3 แล้วไม่พิสูจน์ จึงพิพากษายกฟ้อง เป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทนอกฟ้องในคดีอาญา ศาลไม่ผูกพันตามข้อตกลง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่คู่ความในอันที่จะตกลงกันหรือที่เรียกว่าท้ากัน ขอให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อหนึ่งข้อใดโดยเฉพาะแล้วให้ศาลพิพากษาชี้ขาดไปตามประเด็นข้อที่ตกลงหรือท้ากันนั้นได้ และในการนี้จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138,182 ที่บัญญัติเกี่ยวกับการตกลงหรือท้ากันในคดีแพ่งมาใช้กับคดีอาญาโดยอนุโลม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ก็ไม่ได้ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 บัญญัติบังคับห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำผิดฐานเก็บหาของป่าหวงห้ามในป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตและเสียค่าภาคหลวงจำเลยมิได้ให้การรับสารภาพในข้อหานี้แต่รับสารภาพในข้ออื่นที่โจทก์มิได้ฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน.ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้องจึงฟังไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำผิดฐานเก็บหาของป่าหวงห้ามในป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตและเสียค่าภาคหลวงจำเลยมิได้ให้การรับสารภาพในข้อหานี้แต่รับสารภาพในข้ออื่นที่โจทก์มิได้ฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน.ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้องจึงฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029-1030/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีมรดกของอิสลาม: การมีส่วนร่วมของดะโต๊ะยุติธรรม, ขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายอิสลาม, และประเด็นข้อพิพาทที่ระงับ
ข้อที่โจทก์ฟ้องว่าได้ครอบครองที่พิพาทเป็นส่วนสัดเมื่อศาลมิได้ยกขึ้นเป็นประเด็นข้อพิพาท และคู่ความมิได้โต้แย้งย่อมเป็นอันระงับไม่มีข้อพิพาท
คดีแพ่งระหว่างอิสลามศาสนิกในเขตจังหวัดนราธิวาส ใช้กฎหมายอิสลามบังคับเฉพาะแต่กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกซึ่งใช้บังคับแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นซึ่งต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมหนึ่งนายนั่งพิจารณาพร้อมด้วยผู้พิพากษา และดะโต๊ะยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามและลงลายมือชื่อในคำพิพากษาด้วยนั้น หมายถึงเฉพาะลงลายมือชื่อในคำพิพากษาที่พิพากษาตามคำวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม
คดีมีประเด็นข้อพิพาททั้งที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายอิสลามและไม่เกี่ยวปะปนกัน เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษามาโดยไม่มีดะโต๊ะยุติธรรมร่วม ย่อมไม่ชอบเฉพาะแต่ข้อพิพาทที่ต้องใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกเท่านั้น ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทอื่น ซึ่งมิใช่ข้อกฎหมายอิสลาม เพราะกระบวนพิจารณาและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในประเด็นข้ออื่นหาเสื่อมเสียไม่ ต่อเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นข้ออื่นแล้วคดียังไม่ยุติ ยังมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามกฎหมายอิสลามต่อไป จึงจำเป็นที่การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้นในประเด็นดังกล่าวต้องดำเนินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามฯ
เมื่อศาลอุทธรณ์ด่วนยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยไม่วินิจฉัยประเด็นข้ออื่นซึ่งไม่เกี่ยวกับกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีใหม่ตามแนวข้อวินิจฉัยของศาลฎีกา
คดีแพ่งระหว่างอิสลามศาสนิกในเขตจังหวัดนราธิวาส ใช้กฎหมายอิสลามบังคับเฉพาะแต่กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกซึ่งใช้บังคับแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นซึ่งต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมหนึ่งนายนั่งพิจารณาพร้อมด้วยผู้พิพากษา และดะโต๊ะยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามและลงลายมือชื่อในคำพิพากษาด้วยนั้น หมายถึงเฉพาะลงลายมือชื่อในคำพิพากษาที่พิพากษาตามคำวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม
คดีมีประเด็นข้อพิพาททั้งที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายอิสลามและไม่เกี่ยวปะปนกัน เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษามาโดยไม่มีดะโต๊ะยุติธรรมร่วม ย่อมไม่ชอบเฉพาะแต่ข้อพิพาทที่ต้องใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกเท่านั้น ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทอื่น ซึ่งมิใช่ข้อกฎหมายอิสลาม เพราะกระบวนพิจารณาและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในประเด็นข้ออื่นหาเสื่อมเสียไม่ ต่อเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นข้ออื่นแล้วคดียังไม่ยุติ ยังมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามกฎหมายอิสลามต่อไป จึงจำเป็นที่การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้นในประเด็นดังกล่าวต้องดำเนินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามฯ
เมื่อศาลอุทธรณ์ด่วนยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยไม่วินิจฉัยประเด็นข้ออื่นซึ่งไม่เกี่ยวกับกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีใหม่ตามแนวข้อวินิจฉัยของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องกำหนดประเด็นตามที่คู่ความยกขึ้นเท่านั้น การสอบถามเพื่อความชัดเจน ไม่ใช่ตั้งประเด็นใหม่
การที่ศาลจะกำหนดประเด็นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 183 นั้น ย่อมจะต้องกำหนดตามประเด็นที่คู่ความยกขึ้นกล่าวอ้างมาในคำฟ้องและคำให้การเท่านั้น การสอบถามของศาลตามมาตรานี้ก็เพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นที่โต้เถียงกัน จะสอบถามแล้วตั้งประเด็นขึ้นใหม่หาได้ไม่
ประเด็นที่ว่าจำเลยออกคำสั่งมิชอบ เพราะไม่ได้จัดที่อยู่อาศัยให้โจทก์ มิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ประเด็นที่ว่าจำเลยออกคำสั่งมิชอบ เพราะไม่ได้จัดที่อยู่อาศัยให้โจทก์ มิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 926/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำเกี่ยวกับการแบ่งมรดก: แม้เปลี่ยนรูปคดี ก็ยังถือเป็นฟ้องซ้ำหากประเด็นข้อพิพาทเหมือนเดิม
คดีก่อน โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ขอแบ่งมรดกผู้ตาย ศาลพิพากษาให้แบ่ง คดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ แม้โจทก์จะตั้งรูปคดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาททั้งแปลงขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งหมดก็ตามแต่จำเลยก็ต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายซึ่งจำเลยมีสิทธิรับมรดำด้วย และทางพิจารณาข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า ที่พิพาทครึ่งหนึ่งเป็นมรดกของผู้ตาย เมื่อพิจารณาคำฟ้อง คำให้การและข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่า คดีมีประเด็นที่จะต้องพิจารราเกี่ยวกับการแบ่งมรดกนั่นเอง ถือได้ว่ามีประเด็นอย่างเดียวกับคดีก่อน ฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับมรดกระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คดีมรดกซึ่งเป็นเรื่องพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์โดยตรง ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 สามีของจำเลยที่ 2 เมื่อคดีระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ก็ไม่มีทางจะขอแบ่งมรดกจากจำเลยที่ 1 ได้.
คดีมรดกซึ่งเป็นเรื่องพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์โดยตรง ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 สามีของจำเลยที่ 2 เมื่อคดีระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ก็ไม่มีทางจะขอแบ่งมรดกจากจำเลยที่ 1 ได้.