คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 486 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13287/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภาระจำยอมติดไปกับที่ดินแม้มีการโอนสิทธิ เจ้าของที่ดินสามยทรัพย์ใช้สิทธิได้ แต่ไม่สามารถฟ้องขอรับรองสิทธิเองได้
ผู้ร้องได้รับโอนที่ดินสามยทรัพย์มาจากโจทก์ที่ 1 ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินพิพาทของจำเลยย่อมติดไปกับสามยทรัพย์ที่โอนด้วย ผู้ร้องจึงมีสิทธิใช้ประโยชน์ในทางภาระจำยอมได้ ดังนั้น ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าได้ซื้อที่ดินจากโจทก์ที่ 1 ขอให้มีคำสั่งให้ที่ดินของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมของผู้ร้องแทนโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีกฎหมายเปิดช่องให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนสามยทรัพย์สามารถยื่นคำร้องต่อศาลขอให้รับรองสิทธิในภาระจำยอมได้ เพราะการเสนอคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ต้องมีกฎหมายสนับสนุน
ปัญหาเรื่องอำนาจในการเสนอคำร้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13026/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิที่ดินปฏิรูปที่ดินโดยมิชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 บัญญัติขึ้นเพื่อปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิและการถือครองที่ดินในที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รวมตลอดถึงการจัดที่อยู่อาศัยในที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้น โดยรัฐนำที่ดินของรัฐ หรือที่ดินที่รัฐจัดซื้อหรือเวนคืนจากเจ้าของที่ดินซึ่งมิได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นด้วยตนเอง หรือมีที่ดินเกินสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อจัดให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินเป็นของตนเองหรือเกษตรกรที่มีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ ฯลฯ มาตรา 39 บัญญัติว่า "ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ฯลฯ
ในวันที่โจทก์ไปรับต้นฉบับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4 - 01 ข) เจ้าพนักงานที่ดินได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วว่า ที่ดินดังกล่าวไม่สามารถโอนแก่บุคคลอื่นได้นอกจากทางมรดก เมื่อจำเลยและสามีเสนอขอซื้อที่ดินทั้งสามแปลงของโจทก์ในราคา 720,000 บาท โจทก์ได้แจ้งแก่จำเลยแล้วว่า ที่ดินสองแปลงที่มีหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4 - 01 ข) ถูก ม. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของโจทก์ยึดไว้ หากจำเลยจะซื้อที่ดินให้นำเงินไปชำระหนี้ส่วนหนึ่งด้วยเป็นเงิน 500,000 บาท เมื่อจำเลยได้นำเงินไปชำระหนี้ดังกล่าวและได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4 - 01 ข) คืนจาก ม. และโจทก์ได้รับหนังสือสัญญากู้ยืมเงินคืนแล้ว โจทก์ได้พาจำเลยไปยังที่ดินพิพาท ส่งมอบที่ดินพิพาทให้จำเลยเข้าทำประโยชน์ และโจทก์ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2543 จนถึงปี 2546 โดยโจทก์ไม่เคยคิดที่จะฟ้องจำเลยเนื่องจากได้ขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยแล้ว จนโจทก์ได้รับหนังสือเตือนจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ดังนี้ ย่อมถือว่าโจทก์ได้กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยขายสิทธิการทำกินในที่ดินพิพาทและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว การที่โจทก์มาฟ้องกล่าวอ้างว่าตนเองยังเป็นผู้มีสิทธิทำกินในที่ดินพิพาทและฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกไปจากที่ดินพิพาท จึงเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและบริวาร ส่วนจำเลยจะได้สิทธิทำกินในที่ดินพิพาทหรือไม่ เป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10693/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิที่ดินปฏิรูปที่ดินโดยมิชอบ และการฟ้องร้องโดยใช้สิทธิไม่สุจริต
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมอบที่ดินและอนุญาตให้ ป. เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน มิได้มีผลให้ ป. มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท คงมีแต่เพียงสิทธิการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเท่านั้น พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39 บัญญัติว่า "ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรมหรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกรฯลฯ" นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ป. กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 อีกทั้งยังมีผลให้ ป. สิ้นสิทธิการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเพราะกระทำการขัดต่อระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน พ.ศ.2535 ข้อ 7 และข้อ 11 การที่โจทก์ไปรับสิทธิการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตกทอดทางมรดกของ ป. ได้ ก็มีเหตุผลให้เชื่อว่าโจทก์ปกปิดข้อความจริงเรื่อง ป. ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ไปเอาไว้ มิได้แจ้งต่อคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จึงต้องมีการออกใบแทนหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน ทั้ง ๆ ที่ฉบับเดิมมิได้สูญหาย แต่อยู่ในความยึดถือของจำเลยที่ 1 ผู้ซื้อที่ดิน เมื่อสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทมีข้อตกลงในข้อ 3 ว่า ถ้า ป. อยากได้ที่ดินคืน จะต้องคืนต้นเงิน 120,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงจะคืนที่ดินให้ ป. โจทก์ทราบดีกลับไปขอรับตกทอดทางมรดกซึ่งสิทธิตามหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทด้วยวิธีอ้างความเท็จว่าต้นฉบับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินสูญหายแล้วมาฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองเช่นนี้ ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาท การที่จำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์จากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นเรื่องที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะต้องดำเนินการกับจำเลยตามกฎหมายต่อไป หาทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14768/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสวมสิทธิเรียกร้องและการบังคับคดี: การโต้แย้งสิทธิหลังคำสั่งศาลและการโอนสิทธิเรียกร้อง
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ บบส. พ. เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ และบริษัทดังกล่าวได้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสามนั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นภายในระยะเวลาตามกฎหมาย จำเลยทั้งสามคงยื่นคำร้องคัดค้านว่า การส่งประกาศยึดทรัพย์ หมายบังคับคดี และประกาศขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยทั้งสามจะยื่นคำร้องคัดค้านการเข้าสวมสิทธิของผู้ร้อง แต่ข้ออ้างดังกล่าวของจำเลยทั้งสามก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นภายในระยะเวลาตามกฎหมาย ข้อเท็จจริงย่อมฟังเป็นยุติว่า บบส. พ. เป็นผู้สวมสิทธิเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์โดยชอบ บบส. พ. จึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และสามารถโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12094/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องยังคงมีผลแม้มีการโอนสิทธิหลังฟ้องคดี ศาลยืนบังคับคดีตามคำพิพากษาเดิม
ขณะที่โจทก์เสนอคำฟ้องต่อศาล โจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสี่ซึ่งอยู่ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยละเมิดสิทธิของโจทก์ แม้ภายหลังฟ้องคดีแล้ว โจทก์จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไปแล้ว อำนาจฟ้องของโจทก์ที่บริบูรณ์อยู่แล้วยังคงมีผลอยู่ต่อไป อีกทั้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลผูกพันจำเลยทั้งสี่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง กับไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดให้สิทธิในการบังคับคดีของโจทก์ต้องระงับสิ้นไป เมื่อจำเลยทั้งสี่ซึ่งแพ้คดีมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษานั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10045/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเป็นนายจ้างเมื่อกิจการหยุดชั่วคราว มิใช่การเลิกจ้าง ลูกจ้างยังคงทำงานและได้รับค่าจ้าง
หลังจากโจทก์ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จ. ลูกจ้างของโจทก์ยังคงปฏิบัติงานในตำแหน่งพนักงานขับรถและได้รับค่าจ้างอัตราเดิมต่อเนื่องตลอดมาโดยเป็นลูกจ้างของ อ. ซึ่งเคยเป็นกรรมการของโจทก์ กรณีเป็นการโอนสิทธิการเป็นนายจ้างจากโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลมาเป็น อ. ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาตาม ป.พ.พ. มาตรา 577 วรรคหนึ่ง ไม่ใช่โจทก์เลิกจ้าง จ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7208/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องครอบครองที่ดิน: โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยโอนสิทธิหากจำเลยไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินโดยซื้อคืนมาจากผู้รับซื้อฝากหรือจำนองจากจำเลย โจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมา แต่ไม่สามารถขอรับหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินหรือเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทได้เพราะยังมีชื่อจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ขอให้บังคับจำเลยไปโอนสิทธิครอบครองหรือสละสิทธิที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ หากไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติตามไม่ได้ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยหรือมีคำพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองดีกว่า ตามคำฟ้องของโจทก์ โจทก์อ้างว่าตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทหรือกระทำสิ่งใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ทั้งการที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยไปโอนสิทธิครอบครองหรือสละสิทธิในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ไม่มีกรณีที่จะพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ได้ เพราะกรณีตามฟ้องจำเลยไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องไปโอนสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ ศาลมีอำนาจวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ มาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5292/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อต่อสู้เกี่ยวกับสภาพแห่งหนี้เป็นเหตุให้ลูกหนี้มีสิทธิอ้างได้ แม้การโอนสิทธิจะเกิดขึ้นแล้ว
ข้อต่อสู้ที่ลูกหนี้มีต่อผู้โอนซึ่งยกขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 308 วรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงข้อต่อสู้เกี่ยวกับสภาพแห่งหนี้ว่าบกพร่องหรือไม่สมบูรณ์บังคับไม่ได้ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การ นำสืบ และอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงินกู้ ไม่ได้เป็นหนี้ตามฟ้อง เป็นการยกข้อต่อสู้เกี่ยวกับสภาพแห่งหนี้ว่าไม่สมบูรณ์บังคับไม่ได้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้นี้ขึ้นอ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12616/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก & การระงับสิทธิ: สิทธิของบุคคลภายนอกย่อมคงอยู่ แม้คู่สัญญาจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขภายหลัง
การตกลงกันระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ให้จำเลยที่ 4 จ่ายเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาจ้างทั้งสองฉบับให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 นอกจากเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง แล้ว ยังมีลักษณะเป็นการทำสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตามมาตรา 374 ด้วย โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้รับประโยชน์จากสัญญาโอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 มีหนังสือถึงจำเลยที่ 4 ให้สั่งจ่ายเช็คค่างวดงานก่อสร้างแก่โจทก์โดยตรง อันเป็นการแสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นตามมาตรา 374 วรรคสอง เมื่อสิทธิของโจทก์ได้เกิดมีขึ้นแล้ว จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 คู่สัญญาย่อมไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์นั้นในภายหลังได้ ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งระงับการโอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างโดยให้จำเลยที่ 4 ส่งเงินค่าก่อสร้างให้จำเลยที่ 1 โดยตรง จึงไม่ชอบด้วยมาตรา 375 ไม่มีผลผูกพันโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10029/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีและการโอนสิทธิในที่ดินหลังการยึด: ผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดมีสิทธิรับโอน แม้ผู้ขายจะมอบ น.ส. 3 ก. ให้เจ้าหนี้อื่น
จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิขอให้บังคับคดีด้วยการยึดที่ดินของจำเลยที่ 1 ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ แม้จำเลยที่ 1 จะนำต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทไปมอบให้ ฉ. ภริยาโจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ยืม แต่ที่ดินดังกล่าวก็ยังคงเป็นของจำเลยที่ 1 อยู่ และตราบใดที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. ยังมิได้นำยึดที่ดินนั้นเพื่อบังคับการชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ก็ยังไม่มีสิทธิเกี่ยวข้องอย่างใดที่จะบังคับเอากับที่ดินดังกล่าวได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งการยึดที่ดินนั้นให้โจทก์ทราบแต่อย่างใด
ขณะที่จำเลยที่ 2 นำยึดที่ดิน และต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งการยึดให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาทราบ พร้อมกับเรียกให้จำเลยที่ 1 ส่งต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จนกระทั่งศาลแขวงสงขลาได้มีคำสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาดที่ดินที่ยึดไปตามสำเนาหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โจทก์ยังมิได้มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 ที่จะมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง เนื่องจากสิทธิของโจทก์ที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์เพิ่งจะเกิดมีขึ้นในภายหลังเมื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 มิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในเวลานั้นว่าต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทอยู่ในความครอบครองของโจทก์ จึงไม่เป็นการใช้สิทธิบังคับคดีโดยฉ้อฉลเพื่อมิให้โจทก์ใช้สิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์
เมื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของโจทก์เองที่จะต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ ก่อนสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคสี่ จำเลยที่ 2 ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องแจ้งข้อเท็จจริงใดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อให้โจทก์สามารถยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ได้ทันกำหนดเวลาดังกล่าว ดังนั้น เมื่อศาลมิได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ซื้อที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทจากการขายทอดตลาดจึงมีสิทธิรับโอนที่ดินแปลงนี้ตามคำสั่งศาล เมื่อจำเลยที่ 2 มีสิทธิรับโอนก็ย่อมไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 ขอออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทและจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองในที่ดินนั้นให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นเพียงการกระทำไปตามสิทธิของจำเลยที่ 2 ตามกฎหมายเท่านั้น มิได้เป็นการฉ้อฉลหรือละเมิดต่อโจทก์แต่ประการใด
of 49