คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,546 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนการใช้ที่ดินเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์หลังการประกาศเดินสายไฟฟ้า: ผู้รับโอนมีสิทธิได้รับค่าทดแทน
แม้โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทมาจาก ค. ภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 ประกาศกำหนดเขตเดินสายไฟฟ้าก็ตาม แต่การจ่ายเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินของจำเลยที่ 1 ในกรณีนี้ มิได้มีกฎหมายใด ๆ บัญญัติห้ามมิให้จ่ายแก่ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากเจ้าของเดิมที่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินอยู่ก่อนแต่ยังไม่ได้รับอย่างใด สิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินของ ค. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในขณะที่จำเลยที่ 1 ประกาศกำหนดเขตเดินสายไฟฟ้ามิได้เป็นสิทธิเฉพาะตัวที่จะไม่ตกทอดไปยังผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินรายใหม่ นอกจากนั้นไม่ปรากฏว่า ค. ใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลเรียกเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 ทวิ วรรคหนึ่งมาก่อน ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ใด หรือได้นำเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินไปวางไว้ต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคาร อ. แม้โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทมาภายหลังจากจำเลยที่ 1 ประกาศกำหนดเขตเดินสายไฟฟ้าก็ตามก็ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่ในปัจจุบันเป็นผู้มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3291/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินระหว่างราษฎร: การครอบครองทำประโยชน์เป็นสำคัญ แม้ที่ดินเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ทั้งโจทก์และจำเลยไม่อาจอ้างสิทธิใช้ยันต่อรัฐได้ แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันเอง หรือโจทก์กับจำเลย บุคคลใดครอบครองทำประโยชน์เป็นเจ้าของมาก่อนย่อมอ้างสิทธิใช้ยันต่อผู้ที่มารบกวนการครอบครองภายหลังได้ ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เมื่อที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1375 จำเลยไม่มีสิทธิยกเอาระยะเวลาฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทภายใน 1 ปี ตามบทบัญญัติดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้
ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยมิได้กระทำละเมิดจึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายนั้น ประเด็นนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่รับวินิจฉัยให้เพราะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงมิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3141/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่? คดีมรดกอายุความ และสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นชัดเจน
คดีก่อนโจกท์ฟ้องทายาทของเจ้ามรดกว่า เจ้ามรดกขายที่ดิน น.ส. 3 ก. ให้แก่โจทก์ โดยมีการชำระราคาและเจ้ามรดกส่งมอบการครอบครองพร้อมส่งมอบ น.ส. 3 ก. ให้แก่โจทก์แล้ว แต่ยังไม่ทันโอนให้ถูกต้อง เจ้ามรดกถึงแก่กรรมเสียก่อน ขอให้ทายาทโอนแทน จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกขอเข้าเป็นจำเลยร่วม และต่อสู้คดีว่า คดีขาดอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 แล้ว คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษายกฟ้องฟังว่าคดีขาดอายุความตามที่จำเลยต่อสู้ โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ขอให้เพิกถอนชื่อเจ้ามรดกมาเป็นชื่อโจทก์แทน ประเด็นแห่งคดีทั้งสองจึงแตกต่างกัน โดยคดีก่อนมีประเด็นด้วยว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความมรดกด้วยหรือไม่ ส่วนคดีนี้ไม่มีประเด็นดังกล่าว ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2768/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดินของผู้อื่นเพื่อนำให้เช่า แม้ผู้บุกรุกอ้างว่าได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลก็ยังถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
ที่ดินที่ถูกกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าบุกรุกนำสินค้ามาวางขายเป็นของโจทก์ร่วมและโจทก์ร่วมไม่ได้อนุญาตให้จำเลยนำไปให้ผู้ใดเช่า การที่จำเลยนำที่ดินดังกล่าวไปให้บุคคลดังกล่าวเช่าโดยไม่มีอำนาจ จำเลยจึงมีความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2328/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้น้ำในที่ดิน: ท่อส่งน้ำส่วนตัวมิใช่ทางน้ำสาธารณะ การปิดกั้นไม่เป็นการละเมิด
ที่ดินของโจทก์ทั้งสี่และจำเลยมีลักษณะเป็นสวน ไม่มีคลองสาธารณประโยชน์ผ่านที่ดิน โจทก์ทั้งสี่และจำเลยนำน้ำจากคลองบางสีทอง ซึ่งอยู่ห่างจากที่ดินของโจทก์ทั้งสี่และจำเลยประมาณ 50 เมตร มาใช้รดน้ำต้นไม้ในสวน โดยใช้ต้นตาลที่ทะลวงไส้ออกเป็นท่อส่งน้ำฝังไว้ใต้พื้นดินติดต่อกับที่ดินของบุคคลอื่นที่อยู่ริมคลองบางสีทองเพื่อชักน้ำเข้ามาใช้ต่อกันเป็นทอด ๆ จึงเป็นท่อส่งน้ำที่ทำขึ้นเองเพื่อเป็นการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือกันของชาวสวน แม้จะนานเพียงใดก็ไม่ทำให้ท่อส่งน้ำที่วางไว้ใต้ดินของใครเป็นท่อส่งน้ำสาธารณประโยชน์ไปได้ และน้ำที่ไหลเข้ามาในที่ดินของจำเลยไปยังที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ผ่านท่อส่งน้ำดังกล่าวไม่ใช่เป็นน้ำที่ไหลตามธรรมดาจากที่ดินสูงมายังที่ดินต่ำตาม ป.พ.พ. มาตรา 1339 ที่จะให้สิทธิเจ้าของที่ดินซึ่งอยู่สูงกว่าจะกันน้ำเอาไว้ได้เพียงที่จำเป็นแก่ที่ดินของตนและไม่ใช่เป็นทางน้ำผ่านที่ดินตามมาตรา 1355 ที่เจ้าของที่ดินที่มีทางน้ำผ่านไม่มีสิทธิจะชักเอาน้ำไว้เกินกว่าที่จำเป็นแก่ประโยชน์ของตนตามควรให้เป็นเหตุเสื่อมเสียแก่ที่ดินแปลงอื่นซึ่งอยู่ตามทางน้ำนั้น และข้อเท็จจริงได้ความว่า หลังจากมีการทำถนนสาธารณประโยชน์ทำให้ทับท่อส่งน้ำไปในที่ดินของจำเลยเสียหาย ทำให้ไม่มีน้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยแล้วจำเลยต้องไปขอซื้อน้ำจากที่ดินแปลงของ บ. เพื่อประโยชน์ในที่ดินของจำเลย โดยจำเลยเสียค่าใช้จ่ายเพียงลำพัง และปิดท่อส่งน้ำในที่ดินของตนเองไม่ให้ส่งน้ำไปยังที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ตามเงื่อนไขที่ บ. ให้จำเลยใช้น้ำต่อจาก บ. คนเดียว การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสี่ โจทก์ทั้งสี่ไม่อาจขอให้บังคับจำเลยรื้อสิ่งปิดกั้นทางน้ำออกไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: ประเด็นฟ้องซ้ำ/ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ และการครอบครองโดยสงบต่อเนื่องเกิน 10 ปี
ประเด็นในคดีก่อนมีว่า ผู้ร้องทำละเมิดต่อผู้คัดค้านที่ 1 โดยการทำรั้วในที่ดินของผู้คัดค้านที่ 1 หรือไม่ ส่วนในคดีนี้มีประเด็นว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ กรณีจึงเป็นคนละประเด็นกัน อีกทั้งผู้คัดค้านที่ 2 และผู้คัดค้านร่วมมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน การยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้ร้องในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ปัญหานี้แม้ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และผู้คัดค้านร่วมมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในคำคัดค้าน แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และผู้คัดค้านร่วมจึงยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1917/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองที่ดินโดยผู้ไม่มีสิทธิ การจำนองเป็นโมฆะ และศาลสามารถพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองได้
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ใช่เจ้าของนำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมเป็นการต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 การจำนองไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสองผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 จะรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อการจำนองที่ดินพิพาทไม่มีผลตามกฎหมายเสียแล้วโจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนนิติกรรมจำนองนั้นเสียได้การที่โจทก์ทั้งสองขอให้ศาลพิพากษาห้ามจำเลยทั้งสองเกี่ยวข้อง จึงมีความหมายรวมอยู่ในตัวว่าโจทก์ทั้งสองขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองเพื่อให้จำเลยทั้งสองสิ้นสิทธิในที่ดินพิพาทจะเข้ามาเกี่ยวข้องอีกต่อไปไม่ได้ การพิจารณาให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง จึงเป็นการปรับกฎหมายให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่เข้าใจได้จากรายละเอียดของคำฟ้อง หาเป็นการพิพากษาเกินกว่าคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1917/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินโดยผู้ไม่มีสิทธิ และสิทธิในการเพิกถอนนิติกรรมจำนองของผู้มีสิทธิในที่ดิน
ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสอง การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมเป็นการต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 ไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสอง โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 จะรับจำนองไว้โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อการจำนองไม่มีผลตามกฎหมายเสียแล้ว โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนนิติกรรมจำนองนั้นได้ การที่โจทก์ทั้งสองขอให้ศาลพิพากษาห้ามจำเลยทั้งสองเกี่ยวข้อง จึงมีความหมายรวมอยู่ในตัวว่าโจทก์ทั้งสองขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง เพื่อให้จำเลยทั้งสองสิ้นสิทธิในที่ดินพิพาทจะเข้ามาเกี่ยวข้องอีกต่อไปไม่ได้ การที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง จึงเป็นการปรับกฎหมายให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่เข้าใจได้จากรายละเอียดของคำฟ้อง ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
โจทก์ทั้งสองฎีกาขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทโดยข้อเท็จจริงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 แล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสอง คดีในชั้นฎีกาไม่มีประเด็นโต้เถียงเรื่องความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จึงไม่มีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลในคดีไม่มีข้อพิพาทต้องมีกฎหมายรองรับ การขอให้ศาลแสดงกรรมสิทธิ์ในบ้านที่ปลูกบนที่ดินผู้อื่นมิได้เป็นกรณีที่กฎหมายอนุญาต
กรณีบุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) ได้นั้น จะต้องมีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนหรือรับรองว่าเป็นกรณีจำเป็นต้องร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ การที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าบ้านที่ผู้ร้องปลูกอยู่บนที่ดินของผู้อื่นเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องนั้น ไม่มีกฎหมายใดสนับสนุนรับรองให้ผู้ร้องกระทำได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นคดีนี้ หากผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่เกี่ยวกับบ้านหลังดังกล่าวประการใด ผู้ร้องก็ชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจโดยเป็นโจทก์ยื่นฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 สำหรับ ป.ที่ดิน มาตรา 78 และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2497) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดินฯ นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติถึงวิธีการจดทะเบียนสิทธิในที่ดินที่ได้กรรมสิทธิ์มาด้วยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 มิใช่กฎหมายใกล้เคียงที่อาจนำมาใช้แก่กรณีของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการแสดงกรรมสิทธิ์บ้านบนที่ดินของผู้อื่น ต้องมีกฎหมายรองรับชัดเจน จึงจะยื่นคำร้องต่อศาลได้
บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) จะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้นๆ ได้ แต่กรณีตามคำร้องขอของผู้ร้องซึ่งร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าบ้านที่ผู้ร้องปลูกอยู่ในที่ดินของผู้อื่นเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องนั้น ไม่มีกฎหมายใดสนับสนุนรับรองให้ผู้ร้องกระทำเช่นนั้นได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทต่อศาล หากผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่เกี่ยวกับบ้านหลังดังกล่าว ผู้ร้องก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้อย่างคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ส่วน ป.ที่ดิน มาตรา 78 และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2497) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติถึงวิธีการจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1382 มิใช่กฎหมายใกล้เคียงที่นำมาใช้แก่กรณีของผู้ร้อง
of 455