คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,546 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในบ้านที่ปลูกในที่ดินที่ยกให้ผู้อื่น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องรื้อถอนหากไม่ใช่เจ้าของบ้าน
บ้านพิพาทอยู่ในที่ดินที่ ท. จดทะเบียนยกกรรมสิทธิ์ให้ ด. บุตรจำเลยโดยมิได้ระบุว่ายกให้แต่ที่ดินมิได้ยกบ้านพิพาทให้ด้วย ด. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินจึงมีกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 144 แม้จำเลยจะมีชื่ออยู่ในสำเนาทะเบียนบ้านพิพาทในฐานะเจ้าบ้านก็มิใช่ผู้มีกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทตามกฎหมาย การที่โจทก์ให้จำเลยรื้อถอนบ้านพิพาทส่วนที่รุกล้ำออกไปแต่จำเลยมิได้ปฏิบัติตาม โจทก์จึงฟ้องจำเลยไม่ได้ เนื่องจากจำเลยมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านพิพาท แม้จำเลยจะอยู่ในบ้านพิพาทด้วยก็ถือว่าอยู่ในฐานะบริวารของ ด. จำเลยไม่ได้เป็นผู้โต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย และจำเลยก็ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับแนวเขตที่ดินโดยเจ้าของข้างเคียง สละกรรมสิทธิ์ที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้มาระวังแนวเขตที่ดินและลงลายมือชื่อรับรองแนวเขตที่ดินไว้ในใบรับรองเขตติดต่อของเจ้าของที่ดินและเจ้าของที่ดินข้างเคียง อันเป็นการยอมรับว่าที่ดินพิพาทไม่ได้อยู่ในเขตที่ดินตามโฉนดของโจทก์ แต่อยู่ในเขตที่ดินตามโฉนดของจำเลย แม้โจทก์จะเป็นของที่ดินพิพาทก็ต้องถือว่าโจทก์สละกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่จำเลยแล้ว การครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ที่มีมาก่อนย่อมสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15216/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน กรณีซื้อขายที่ดินมือเปล่าและการส่งมอบการครอบครอง
ส. สามีจำเลยที่ 1 และ ป. บิดาจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกันซื้อที่ดินข้างเคียงรวมถึงที่ดินพิพาททำเป็นลานตากกากมันสำปะหลังจากผู้ครอบครองเดิมนานมาแล้ว ซึ่งปัจจุบันเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทต่างก็ถึงแก่ความตายไปหมด แม้การซื้อขายที่ดินพิพาทจะไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่ที่ดินพิพาทเดิมเป็นที่ดินมือเปล่ามีเพียงแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) เป็นหลักฐานเท่านั้น เจ้าของที่ดินเดิมจึงมีเพียงสิทธิครอบครอง เมื่อได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ ส. สามีจำเลยที่ 1 และ ป. บิดาจำเลยที่ 2 ถือว่าเจ้าของที่ดินเดิมได้สละการครอบครองให้แก่ ส. สามีจำเลยที่ 1 และ ป. บิดาจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 และ 1378 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับโอนที่ดินพิพาทต่อมา จำเลยที่ 2 ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14737/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย และการได้มาซึ่งสิทธิโดยชอบธรรม
โจทก์เป็นผู้มีชื่อถือสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวมิใช่เป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาด จำเลยที่ 1 จึงสามารถนำสืบข้อเท็จจริงหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาททางทะเบียนเท่านั้น หาได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินตามความเป็นจริงไม่ แม้ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) จะมีชื่อ อ. เป็นผู้ถือสิทธิครอบครอง แต่การที่ อ. ขายที่ดินพิพาทให้แก่ ล. และได้มอบการครอบครองให้แก่ ล. ถือเป็นการสละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ ล. ตั้งแต่ปี 2530 แล้ว อ. จึงหมดสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1378 และเมื่อ ล. ขายและมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 เข้าไปไถและถมดินในที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2536 จึงเป็นการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยมีเจตนาที่จะยึดถือเพื่อตน จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 ดังนั้น เมื่อ อ. หมดสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว จึงไม่มีสิทธิที่จะขายฝากที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ แม้การขายฝากระหว่างโจทก์ กับ อ. จะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 146/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดินที่มีข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายที่ดินและผลของการแจ้งความเพื่อเรียกร้องสิทธิ
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 529 ซึ่งทางราชการออกให้แก่ ท. โดยมีข้อบังคับห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามมาตรา 58 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน บทกฎหมายดังกล่าวมุ่งหมายที่จะควบคุมมิให้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์จากผู้รับโฉนดที่ดินไปเป็นของบุคคลอื่นไปจนกว่าจะพ้นระยะเวลาห้ามโอน เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดก หรือเป็นการโอนในกรณีอื่นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 58 ทวิ วรรคห้า จำเลยจึงไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ในระหว่างระยะเวลาที่กฎหมายยังควบคุมกรรมสิทธิ์ให้มีผลกระทบถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินและไม่อาจนำระยะเวลาก่อนวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายมาเป็นระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ได้
การที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยพากันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ เป็นเรื่องที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ประสงค์จะให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทเลยทีเดียว หาใช่เป็นการโต้เถียงสิทธิกันเองโดยปกติธรรมดาไม่ การที่จำเลยยังคงครอบครองที่ดินพิพาทต่อมา จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการครอบครองโดยความสงบ เมื่อรวมระยะเวลานับแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2531 ซึ่งเป็นวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ถึงวันที่ 30 มีนาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยพากันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินโดยใช้ลายมือชื่อปลอม ผู้จำนองมีสิทธิเพิกถอนการจดทะเบียน
โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 และ ว. มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในโฉนดที่ดินพิพาท โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 1 ปลอมลายมือชื่อของโจทก์ทั้งสองและ ว. ในหนังสือมอบอำนาจนำที่ดินไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่จำเลยที่ 3 ต่อมาจำเลยที่ 2 ปลอมลายมือชื่อโจทก์ทั้งสองและ ว. ในหนังสือมอบอำนาจไปจดทะเบียนจำนองขึ้นเงินกับจำเลยที่ 3 อีก แม้คดีนี้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับฟ้องเฉพาะโจทก์ที่ 2 เนื่องจากโจทก์ที่ 2 ถึงแก่ความตายก่อนยื่นฟ้อง และในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มิได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องลายมือชื่อโจทก์ที่ 2 ไว้ก็ตาม แต่เมื่อมีการบรรยายข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ในคำฟ้อง และโจทก์ที่ 1 นำสืบว่า โจทก์ที่ 2 ไม่เคยมอบอำนาจให้ผู้ใดไปจดทะเบียนจำนอง และไม่เคยรับเงินจากการจำนองที่ดินพิพาท ทั้งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยเกี่ยวกับลายมือชื่อของโจทก์ที่ 2 ไว้แล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกปัญหาว่าลายมือชื่อโจทก์ที่ 2 ปลอมหรือไม่ มาวินิจฉัยให้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 และ ว. ปลอม จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และจดทะเบียนจำนองโดยสุจริต โจทก์ที่ 1 ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งย่อมใช้สิทธิแทนโจทก์ที่ 2 และ ว. ครอบไปถึงทรัพย์ทั้งหมดเพื่อเรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 และมีอำนาจขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาททั้งแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10662/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่งอกริมตลิ่งกรรมสิทธิ์เป็นของเจ้าของที่ดินเดิม แม้เกิดจากเขื่อนหิน ศาลพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
ที่งอกที่เกิดขึ้นจากการที่บุคคลอื่นสร้างเขื่อนหินยื่นลงไปในทะเลทำให้เกิดการสะสมของตะกอนทรายแล้วเกิดที่งอกจากที่ดินของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อนหินดังกล่าวย่อมถือได้ว่าที่งอกของที่ดินของโจทก์เป็นที่งอกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โจทก์จึงเป็นเจ้าของที่งอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308
จำเลยที่ 1 ให้การในตอนแรกว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่น้ำทะเลท่วมถึง ต่อมามีท่าเทียบเรือของเอกชนก่อสร้างยื่นลงไปในทะเล ที่ดินดังกล่าวจึงยังคงเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ แต่ตอนหลังกลับให้การว่า หากฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว คำให้การของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวไม่ชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือเป็นที่ดินของโจทก์ อันเป็นการขัดแย้งกันเองเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ เท่ากับว่าจำเลยที่ 1 มิได้ให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
จำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้กลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในส่วนที่ให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายเดือนละ 1,000 บาท แก่โจทก์นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปด้วย แต่คำขอในส่วนนี้มิใช่เป็นคำขอให้ชำระค่าเสียหายหรือเงินอื่น ๆ บรรดาที่ให้จ่ายมีกำหนดเป็นระยะเวลาในอนาคตตามตาราง 1 (4) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพราะเป็นคำขอที่มีผลต่อเนื่องจากคำขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ที่ให้จำเลยที่ 1 และบริวารออกจากที่ดินพิพาท อันเป็นคำขอประธานเท่านั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลในอนาคตในชั้นฎีกาอีกส่วนหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9000/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายที่ดิน และการโอนสิทธิในที่ดิน การพิจารณาพยานหลักฐานเพื่อยืนยันความสมบูรณ์ของสัญญา
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขออ้างพยานเอกสารเพิ่มเติม บัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสาม ซึ่งศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วอนุญาตและสั่งให้จำเลยที่ 2 สำเนาให้แก่โจทก์ด้วยแล้ว เมื่อต้นฉบับเอกสารเป็นเอกสารซึ่งอยู่ในครอบครองของสำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาจอมทอง จึงไม่จำต้องส่งสำเนาเอกสารให้โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 (2)
การที่จำเลยที่ 2 ไม่ถามค้านพยานโจทก์เกี่ยวกับเอกสารไว้ก่อนนั้น เมื่อปรากฏว่าเอกสารทั้งสามฉบับนี้เป็นเอกสารที่ตัวโจทก์ได้ยื่นต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาจอมทอง ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้ไปขอคัดสำเนาเอกสารดังกล่าวมายื่นแสดงต่อศาลเพื่อพิสูจน์ลายมือชื่อของโจทก์เท่านั้น ทั้งเรื่องการจำนองที่ดินพิพาทแล้วมีการไถ่ถอนโอนขายให้แก่จำเลยที่ 1 ก็มีหลักฐานปรากฏอยู่ในสารบัญจดทะเบียนหลังหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) แล้ว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ไม่ถามค้านพยานโจทก์ไว้ก่อนถึงเอกสารดังกล่าว ก็สามารถรับฟังเอกสารทั้งสามฉบับดังกล่าวได้ว่ามีอยู่จริงที่สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาจอมทองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8870/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับโอนที่ดินตามคำพิพากษาเหนือกว่าการยึดทรัพย์ของเจ้าหนี้รายอื่น
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาท ยังไม่มีการจดทะเบียนสิทธิโอนที่ดินพิพาท แต่เมื่อได้ยึดมาแล้วต้องนำออกขายทอดตลาด หากมีผู้ซื้อได้ก็ต้องมีการโอนทางทะเบียนให้แก่ผู้ซื้อ จึงมิใช่เพียงแต่ยึดไว้เท่านั้น การที่ศาลในคดีอื่นได้พิพากษาบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องแล้ว ที่ดินพิพาทจะต้องตกเป็นของผู้ร้องเท่านั้น ไม่มีเหตุที่จะให้ที่ดินพิพาทหลุดมือจากผู้ร้องตกไปเป็นของผู้อื่น จึงถือได้ว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 แม้โจทก์จะได้นำยึดที่ดินพิพาทไว้ก่อนที่ศาลจะพิพากษาบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้อง แต่ศาลก็ไม่อาจปล่อยให้มีการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทได้ เพราะผู้ที่ซื้อได้ไม่มีสิทธิที่จะได้รับโอนเนื่องจากผู้ร้องเท่านั้นที่มีสิทธิจะได้รับโอน ทั้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ก็มีบทบัญญัติไม่ให้การยึดทรัพย์มีผลกระทบถึงสิทธิของผู้ร้อง
ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคนหนึ่งมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษากับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอีกคนหนึ่งได้นั้น หมายถึง เจ้าหนี้ผู้ที่จะมาขอเฉลี่ยต้องเป็นผู้ไม่มีอำนาจเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ ส่วนกรณีที่ผู้ร้องได้สิทธิโดยคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้อยู่แล้วจึงไม่มีกรณีที่จะต้องมาขอเฉลี่ยทรัพย์ แม้โจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยก็ไม่มีสิทธิยึดที่ดินเพื่อบังคับคดีให้กระทบกระทั่งสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8719/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ & อายุความฟ้องร้องเอาคืน
โจทก์บรรยายฟ้องยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตอนต้นว่า โจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยได้มาตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ตอนหลังโจทก์บรรยายฟ้องอีกว่า หลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทในคดีที่นาง ท. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์บังคับคดียึดที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมเมื่อปี 2535 คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษายกคำร้อง นั้น คำให้การของจำเลยในตอนแรกที่ต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โดยอ้างว่าได้รับยกให้จาก น. ซึ่งได้ซื้อมาจากโจทก์ในทำนองเดียวกับที่จำเลยยกขึ้นกล่าวอ้างในคดีร้องขัดทรัพย์ จึงเป็นการยกข้อต่อสู้คำฟ้องของโจทก์ตอนต้นที่กล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ส่วนคำให้การตอนหลังของจำเลยที่ต่อสู้ว่า เมื่อโจทก์ได้รับคำร้องขัดทรัพย์ของจำเลยในคดีที่ ท. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์บังคับคดียึดที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว โจทก์มิได้คัดค้านหรือโต้แย้งการครอบครองของจำเลย โจทก์จึงขาดสิทธิฟ้องเอาคืนการครอบครองเพราะเกินกว่า 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครอง จึงเป็นการยกข้อต่อสู้คำฟ้องของโจทก์ตอนหลังที่กล่าวอ้างถึงสิทธิของโจทก์ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีร้องขัดทรัพย์ดังกล่าว เมื่อคำฟ้องของโจทก์ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาหลายข้อและแต่ละข้ออาจแยกกันได้เช่นนี้ จำเลยก็ชอบที่จะให้การโดยชัดแจ้งปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นคำให้การที่ชัดแจ้ง หาใช่เป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันจนถึงกับไม่มีประเด็นในเรื่องแย่งการครอบครองไม่
of 455