คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,546 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6424/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดินและการก่อสร้างอาคาร
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยขนย้ายทรัพย์สินและสิ่งก่อสร้างออกจากที่ดินพิพาท และคืนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ในสภาพไม่มีสิ่งปลูกสร้างและวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท การที่จำเลยเข้าไปดำเนินการก่อสร้างอาคารในที่ดินพิพาทหลังจากที่โจทก์ยื่นคำฟ้องแล้ว ย่อมเป็นการกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไป ซึ่งการละเมิดที่ถูกฟ้องร้อง อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ หากศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี กรณีจึงมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. 254 (2) มาใช้โดยห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยและบริวารดำเนินการก่อสร้างอาคารในที่ดินพิพาทจนกว่าจะถึงที่สุดได้
ตามคำขอของโจทก์มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้ หากจำเลยได้รับความเสียหายจำเลยก็มีสิทธิที่จะว่ากล่าวเอาแก่โจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 263 เมื่อโจทก์เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตตามคำขอของโจทก์โดยไม่สั่งให้โจทก์นำเงินหรือหาประกันมาวางตามมาตรา 257 วรรคท้าย จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6406/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการระบายน้ำในที่ดินของผู้อื่น และหน้าที่ของเจ้าของที่ดินในการยอมรับน้ำจากที่สูงกว่า
ตามสำเนาโฉนดที่ดินระบุว่า ที่ดินของโจทก์และจำเลยทั้งสองทุกด้านติดต่อกับที่ดินแปลงอื่นไม่ปรากฏว่ามีลำรางสารธารณะติดที่ดินของโจทก์หรือจำเลยทั้งสองแต่อย่างใด จึงฟังไม่ได้ว่าลำรางร่องเหมืองหรือร่องน้ำพิพาทเป็นลำรางสาธารณะ แต่เป็นร่องน้ำในที่ดินของจำเลยทั้งสอง
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินของโจทก์เป็นที่ดินสูง ส่วนที่ดินของจำเลยทั้งสองเป็นที่ดินต่ำตามที่โจทก์ฟ้อง การที่โจทก์ระบายน้ำฝนตามธรรมชาติจากที่ดินของโจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสองไปสู่ลำน้ำเสียวจึงเป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องยอมรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1339 วรรคหนึ่ง และ 1340 วรรคหนึ่ง ดังนี้ไม่ว่าโจทก์และประชาชนจะใช้ร่องน้ำในที่ดินของจำเลยทั้งสองเป็นเวลานานเพียงใดก็หาทำให้ร่องน้ำในที่ดินของจำเลยทั้งสองกลายเป็นลำรางสาธารณะหรือตกเป็นภาระจำยอมไม่ แต่การที่จำเลยทั้งสองไถดินกลบลำรางร่องน้ำพิพาท เป็นเหตุให้น้ำท่วมขังที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองทำที่พิพาทให้เป็นลำรางระบายน้ำตามเดิมได้
แม้โจทก์จะอ้างว่าลำรางร่องน้ำพิพาทเป็นลำรางสาธารณะหรือเป็นทางภาระจำยอม แต่ฟ้องโจทก์ก็บรรยายถึงข้อเท็จจริงโดยได้แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นไว้ชัดเจนแล้วว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินได้รับความเสียหายเพราะจำเลยทั้งสองใช้ดินกลบลำรางร่องน้ำซึ่งเป็นทางระบายน้ำที่ไหลจากบริเวณที่ดินของโจทก์ผ่านลำรางดังกล่าวไปสู่ลำน้ำเสียว อันเป็นการบรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่จะใช้ลำรางร่องน้ำพิพาทได้กับมีคำขอไม่ให้จำเลยทั้งสองปิดกั้น ซึ่งในคดีแพ่งโจทก์ไม่จำเป็นต้องยกบทกฎหมายขึ้นกล่าวอ้าง เพียงแต่บรรยายข้อเท็จจริงและมีคำขอบังคับก็เป็นการเพียงพอแล้วส่วนบทกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีย่อมเป็นหน้าที่ของศาลที่จะยกมาปรับแก่คดีเองเมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามทางพิจารณาว่า กรณีเป็นเรื่องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1339 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1340 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ว่ากรณีเป็นเรื่องดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: เพิกถอนใบจองทับที่ดินเดิม, การพิสูจน์สิทธิ, ข้อจำกัดการฎีกา
คดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์เป็นผู้เสียหายกล่าวหาว่า จำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงในบันทึกถ้อยคำ แล้วนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินเพื่อดำเนินการออกใบจองให้จำเลย อันเป็นการปลอมและใช้เอกสารปลอม ส่วนคดีนี้โจทก์ขอให้เพิกถอนใบจองที่ออกทับที่ดินของโจทก์ สิทธิการฟ้องคดีนี้จึงไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม กรณีจึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46
จำเลยให้การเพียงว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยได้ครอบครองต่อจากบิดาจึงไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง และปัญหาดังกล่าวนี้ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยเพิ่งยกขึ้นมาในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: เพิกถอนใบจองทับที่ดินเดิม, ประเด็นการฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับ 1375 วรรคสอง
คดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์เป็นผู้เสียหายกล่าวหาว่า จำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงลงในบันทึกถ้อยคำ แล้วนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินเพื่อดำเนินการออกใบจองให้จำเลย อันเป็นการปลอมและใช้เอกสารปลอม ส่วนคดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ขอให้เพิกถอนใบจองที่ออกทับที่ดินของโจทก์ สิทธิการฟ้องคดีนี้ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ไม่ตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยขอออกใบจองทับที่ดินพิพาท ขอให้เพิกถอนใบจอง ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โดยจำเลยครอบครองต่อจากบิดา ประเด็นข้อพิพาทมีว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ไม่มีปัญหาเรื่องแย่งการครอบครองประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง ฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์มิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี ศาลชอบที่จะยกฟ้อง จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 และไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6393/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมีทุนทรัพย์: การฟ้องให้แบ่งมรดกที่ดินเป็นการเรียกร้องกรรมสิทธิ์ ทำให้คดีมีมูลค่าคำนวณได้
โฉนดที่ดินพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของ การที่โจทก์ฟ้องอ้างว่า น. ไปขอรับมรดกที่ดินทั้งหมดเป็นของ น. แต่เพียงผู้เดียวเป็นการไม่ชอบ ย่อมเป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทคืนมาเป็นกรรมสิทธิ์ของ อ. ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกอีกคนหนึ่ง ซึ่งหากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ย่อมมีผลทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์กึ่งหนึ่งในที่ดินพิพาท เนื่องจากโจทก์เป็นผู้รับโอนสิทธิมาจาก อ. จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6390/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การครอบครองปรปักษ์ต่างจากคดีละเมิด แม้มีประเด็นที่ดินร่วมกัน ศาลต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริง
ฟ้องโจทก์ในคดีก่อนเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 กับพวก ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้บ้านเลขที่ 137/2 ของโจทก์ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 1137 ได้รับความเสียหายและจำเลยที่ 1 กับพวกนำทรัพย์สินของโจทก์ไป ประเด็นในคดีก่อนจึงมีว่า จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 1137 ส่วนคดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 1137 ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 และขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนกับคดีนี้จึงมิใช่เรื่องเดียวกันและประเด็นคนละอย่างต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน ทั้งโจทก์มิใช่คู่ความในคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องขับไล่นางผูกมารดาโจทก์ตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 173/2534 แม้โจทก์จะไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด 8 วัน นับแต่วันปิดประกาศตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ซึ่งสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่บทกฎหมายดังกล่าวก็หาได้มีผลเด็ดขาดเป็นการตัดสิทธิห้ามฟ้องภายหลังไม่ เมื่อโจทก์มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อนดังกล่าวจึงไม่ผูกพันในผลแห่งคดี ต้องห้ามมิให้ฟ้องร้อง คดีจึงต้องมีการฟังข้อเท็จจริงกันต่อไป การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนแล้วพิพากษายกฟ้อง และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืนจึงไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง สมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6353/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีขับไล่ก่อนแล้วฟ้องขอโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเดิม ศาลฎีกาเห็นพ้องว่าเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนจำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ฟ้องขับไล่โจทก์คดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 ร. เป็นจำเลยที่ 2 ให้ออกไปจากที่ดินของ ป. ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ขับไล่โจทก์คดีนี้และ ร. ให้ออกจากที่ดินโดยฟังว่าที่ดินเป็นของ ป. คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์กลับมาฟ้องคดีนี้ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ป. ให้ร่วมกันคืนโฉนดที่ดินและจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์มาใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของดังเดิมอ้างว่าที่ดินเป็นของโจทก์จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6194/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ส่วนควบกับที่ดินถูกห้ามโอนตามกฎหมาย แม้จะยึดเป็นสังหาริมทรัพย์ก็ไม่อาจทำได้ในระหว่างระยะเวลาห้าม
บ้านของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์นำยึดปลูกสร้างอย่างแน่นหนาถาวรบนที่ดินจึงเป็นส่วนควบกับที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง เมื่อที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์ประธานถูกห้ามโอนตามกฎหมาย บ้านซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินย่อมถูกห้ามโอนด้วย แม้โจทก์จะอุทธรณ์อ้างว่า โจทก์ประสงค์จะยึดบ้านพิพาทอย่างสังหาริมทรัพย์ โดยในการขายทอดตลาดผู้ที่ซื้อทรัพย์จะต้องรื้อถอนบ้านออกจากที่ดินไปเอง ก็เป็นเรื่องที่จะดำเนินการได้เมื่อกำหนดเวลาห้ามการโอนผ่านพ้นไปแล้วเสียก่อน เมื่อโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดบ้านพิพาทในระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมาย กรณีจึงมีเหตุที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะถอนการยึดบ้านหลังดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6113/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: หลักสันนิษฐานตามทะเบียนที่ดิน และภาระการพิสูจน์ของผู้อ้างสิทธิร่วม
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ซึ่งระบุชื่อจำเลยแต่ผู้เดียวเป็นเจ้าของ กรณีจึงต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ที่บัญญัติว่า "ถ้าทรัพย์สินเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดิน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง" เมื่อผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องมีสิทธิครอบครองร่วมด้วยครึ่งหนึ่ง ทั้งที่ปรากฏว่าที่ดินพิพาทระบุว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองแต่ผู้เดียว โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว ภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่นำสืบในคดีย่อมตกแก่ผู้ร้องที่จะต้องนำสืบให้ได้ความตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5873/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินหลังคำพิพากษาไถ่ถอน: ต้องชำระสินไถ่หรือวางทรัพย์ก่อน จึงจะได้กรรมสิทธิ์
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 492 ผู้ไถ่จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากก็ต่อเมื่อได้ชำระสินไถ่หรือวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่แล้ว ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากที่ดินพิพาทโดยปลอดจำนองและรับสินไถ่ตามคำขอบังคับของผู้ร้อง แต่เมื่อผู้ร้องยังไม่ได้ชำระสินไถ่หรือวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ กรรมสิทธิ์จึงยังไม่ตกเป็นของผู้ร้องตามบทกฎหมายดังกล่าว ที่ดินพิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาท
of 455