คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,546 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2498/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าของที่ดินขายฝากในการฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกและการไม่มีผลกระทบจากระยะเวลาไถ่ถอน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 491 เมื่อจำเลยได้ขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้ว กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมตกแก่โจทก์ การที่จำเลยอยู่ในบ้านซึ่งปลูกสร้างอยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์จึงเป็นการละเมิด จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทอีกต่อไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ หากจำเลยไถ่ถอนภายในกำหนดระยะเวลาแล้วโจทก์มิให้ไถ่ถอนก็ชอบที่จำเลยจะฟ้องร้องขอให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาต่อไป ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1876/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก่อนบุคคลภายนอกผู้ยึดทรัพย์ เมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้อง หากจำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 คดีถึงที่สุดแล้ว แม้กรรมสิทธิ์ในที่ดินยังไม่ได้เปลี่ยนมือและยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องได้สิทธิที่จะจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงนี้โดยผลแห่งคำพิพากษาคดีที่ผู้ร้องฟ้องจำเลยให้โอนที่ดินให้ซึ่งถึงที่สุดแล้วเช่นนี้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินนี้ก่อนโจทก์ ซึ่งเพียงแต่ยึดที่ดินแปลงนี้ไว้เพื่อบังคับคดีเท่านั้น ผู้ร้องย่อมจะขอให้เพิกถอนการยึดของโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 เช่นกัน กรณีต่างกับมาตรา 1299 ซึ่งเป็นเรื่องของการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิซึ่งยังไม่บริบูรณ์จนกว่าจะได้จดทะเบียนทรัพยสิทธินั้น ๆ แล้ว สิทธิของผู้ร้องดังกล่าวเป็นทรัพยสิทธิที่สามารถใช้ยันโจทก์ได้ และปรากฏว่าหลังจากศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวมีคำพิพากษาบังคับให้จำเลยที่ 1 ไปโอนที่ดินให้ผู้ร้อง ผู้ร้องได้ให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามและยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เพื่อฟ้องบังคับให้โอนที่ดินตามหนังสือท้ายสัญญาหย่า ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องปล่อยปละละเลยมิได้ดำเนินการเพื่อให้มีการจดทะเบียนการได้มา อีกทั้งกฎหมายก็มิได้บังคับไว้ว่าต้องจดทะเบียนโอนกันภายในระยะเวลาใด โจทก์จะบังคับยึดที่ดินดังกล่าวอันเป็นการกระทบกระทั่งสิทธิของผู้ร้องซึ่งมีอยู่ก่อนแล้วไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ผู้ร้องมีสิทธิขอให้เพิกถอนการยึดที่ดินพิพาทดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1571/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ประเด็นสิทธิครอบครองที่ดินที่ศาลฎีกาวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
ชั้นบังคับคดีในคดีก่อนเป็นคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้ในฐานะผู้ร้องยื่นคำร้องว่าไม่ใช่บริวาร โจทก์กับจำเลยย่อมอยู่ในฐานะเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว ทั้งคดีก่อนและคดีนี้ต่างมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเช่นเดียวกัน ซึ่งคดีก่อนศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ฉะนั้นการที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทอีก ในประเด็นเดียวกันย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบุริมสิทธิจากการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน กับ สิทธิจำนอง: เจ้าหนี้จำนองมีสิทธิเหนือกว่า
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 288 และ 289 บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมาย" ก็คงมีความหมายถึงการที่เจ้าหนี้สามัญจะบังคับคดีให้กระทบกระทั่งถึงสิทธิของเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่นที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้นไม่ได้เท่านั้น แต่คดีนี้โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำนองซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีหลักประกันพิเศษ และตามมาตรา 287 ดังกล่าว บุริมสิทธิที่จะใช้ได้ก่อนสิทธิจำนองจะต้องเป็นบุริมสิทธิที่ได้จดทะเบียนแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 285 มาตรา 286 และมาตรา 287 เท่านั้น ผู้ร้องเป็นเพียงผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ซึ่งเป็นสิทธิอื่นๆ และเป็นสิทธิที่ยังมิได้จดทะเบียน จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนโจทก์ เมื่อโจทก์บังคับคดีโดยชอบและไม่กระทบถึงสิทธิอื่นๆ จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินที่มีเงื่อนไข และการล้มละลาย การคืนเงินมัดจำเมื่อเกิดพ้นวิสัย
โจทก์ไม่ได้ออกทุนรอนหรือยุยงส่งเสริมให้ จ. เป็นความกับ ม. กับพวก ข้อกำหนดตามสัญญาจะซึ้อขาย ข้อ 4 ที่ว่าจะโอนที่ดินเมื่อผู้ขายชนะคดีความไม่มีภาระผูกพันต่อคดีนั้น มีลักษณะเป็นเงื่อนไขในสัญญาประการหนึ่งและเป็นข้อความที่คัดลอกมาจากสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างจำเลยกับ จ. ไม่ถือว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกันไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยใช้บังคับกันได้ไม่เป็นโมฆะ เงินมัดจำที่โจทก์วางไว้แก่จำเลยจึงไม่ใช่เงินที่ชำระโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411
จำเลยได้ฟ้อง จ. ต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการ แล้วต่อมาคู่ความได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยตกลงให้ทายาทของ จ. นำที่ดินแปลงที่ จ. ทำสัญญาจะซื้อขายกับจำเลยไปขายให้แก่ผู้อื่นได้โดยทายาทของ จ. ยินยอมชำระเงินให้จำเลย 1,000,000 บาท จึงเป็นผลให้จำเลยไม่มีที่ดินโอนให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายอีกต่อไป ถือว่าการโอนที่ดินตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยต้องรับผิดชอบ จำเลยจึงต้องคืนมัดจำที่รับไปแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378 (3) จึงฟังได้ว่าหนี้เงินมัดจำที่รับไว้จากโจทก์จำนวน 2,450,000 บาท เป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2563

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินที่เป็นโมฆะเนื่องจากเจตนาลวง และการไม่มีอำนาจฟ้องของโจทก์
โจทก์และจำเลยไม่มีเจตนาซื้อขายที่ดินกันจริง แต่เป็นการทำสัญญาขึ้นเพื่อให้จำเลยนำไปฟ้องหัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้างต่อศาลปกครองระยอง สัญญาดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ระหว่างโจทก์และจำเลยตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์และจำเลยสมรู้กันทำสัญญาขึ้นโดยไม่มีเจตนาผูกพันกันและทำเพื่อให้จำเลยนำไปฟ้องหัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้างต่อศาลปกครองระยอง จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4320/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดิน: กรรมสิทธิ์ร่วม, ผู้รับโอนไม่มีสิทธิเกินผู้โอน, การคืนค่าขึ้นศาลเกิน
โจทก์ฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและมีคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองหรือใช้ราคาแทนเป็นเงิน 7,925,895.90 บาท เมื่อที่ดินที่พิพาทเป็นที่ดินแปลงเดียวกันและผลของการเพิกถอนก็เพื่อให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองเป็นคู่ความร่วมในคดีที่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แต่ในชั้นยื่นอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองกลับยื่นอุทธรณ์แยกกัน โดยโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท ขอให้ยกฟ้อง เมื่อที่ดินพิพาทมีราคาประเมินคิดเป็นทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์เป็นเงิน 6,793,625 บาท แต่จำเลยทั้งสองต่างเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาตามทุนทรัพย์คนละ 7,925,895.90 บาท ดังนั้น ค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยทั้งสองเสียมาเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนสูงกว่าที่จำเลยทั้งสองต้องชำระในกรณีที่ยื่นอุทธรณ์ร่วมกัน จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกินแก่จำเลยทั้งสองตามส่วนของค่าขึ้นศาลที่จำเลยแต่ละคนได้ชำระไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 150 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3917/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกที่ดินในนิคมสร้างตนเอง โดยผู้รับโอนมีสิทธิเพียงผู้ถือแทนทายาทอื่น และการซื้อขายที่ดินที่ไม่ชอบ
ผู้ตายครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมสร้างตนเอง เมื่อยังไม่มีการออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ที่ดินพิพาทจึงยังคงเป็นที่ดินของรัฐ การที่ผู้ตายทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่ บ. มิใช่การตกทอดโดยมรดก เป็นการขัดต่อ พ.ร.บ. ดังกล่าว ผู้ตายมีเพียงสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แต่สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทถือเป็นทรัพย์มรดกอย่างหนึ่ง ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย เมื่อทายาททุกคนของผู้ตายตกลงให้ บ. เป็นผู้รับโอนสิทธิในที่ดินของผู้ตายตามที่พระราชกฤษฎีกานิคมสร้างตนเองกำหนดให้ทายาทเข้ารับสิทธิได้เพียงผู้เดียว บ. จึงเป็นแต่เพียงผู้มีชื่อในหนังสือแสดงการทำประโยชน์แทนบุตรทุกคนของผู้ตายเท่านั้น ต่อมา บ. ไปขอออกโฉนดที่ดินจนได้รับโฉนดที่ดินพิพาท ก็ยังต้องถือว่าเป็นการดำเนินการแทนทายาทอื่น ทายาททุกคนมีส่วนเท่า ๆ กันและเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท บ. ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาททั้งแปลงให้แก่จำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 ขอรับโอนมรดกที่ดินใส่ชื่อของตนเองเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ก็ยังคงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนทายาททุกคนของผู้ตาย สิทธิของจำเลยที่ 1 ผู้รับโอนคงมีสิทธิในทำนองเดียวกันกับสิทธิของ บ. ผู้โอน จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาททั้งแปลงไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 นิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองไม่ชอบ จำเลยที่ 1 ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แบ่งแยกที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์ทั้งสองผู้เป็นทายาทของผู้ตาย แต่หากการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินแก่โจทก์ทั้งสองไม่อาจดำเนินการได้ ก็ต้องดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดขวางเจ้าพนักงานกับการปกป้องสิทธิครอบครองที่ดิน ศาลฎีกาตัดสินว่าขาดเจตนาความผิด
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดตามฟ้อง พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ตามที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์แล้ว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือจำเลยทั้งสองชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ แม้จำเลยทั้งสองไม่เห็นพ้องด้วยกับเหตุผลแห่งการวินิจฉัยตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็ตาม แต่เมื่อข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นประโยชน์แก่คดีของจำเลยทั้งสองแล้ว การวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองแต่อย่างใด จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 455