พบผลลัพธ์ทั้งหมด 490 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4921/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกโดยชอบด้วยกฎหมาย และผลผูกพันของสัญญาประนีประนอมยอมความในการแบ่งทรัพย์มรดก
การสละมรดกมี ป.พ.พ. มาตรา 1612 บัญญัติให้กระทำได้ 2 แบบคือ แสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ คำว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 หมายถึง ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอหรือหัวหน้ากิ่งอำเภอและหมายรวมถึงบุคคลที่กระทำหน้าที่แทนด้วย ดังนั้น การที่บุตรทั้งเจ็ดของเจ้ามรดกไปให้ถ้อยคำและทำบันทึกหลักฐานเป็นหนังสือระบุชัดแจ้งว่าไม่ขอรับโอนมรดกที่ดินไว้ต่อเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการประจำสำนักงานที่ดินอำเภอสวี ในฐานะเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินปฏิบัติราชการแทนนายอำเภอ ซึ่งนายอำเภอมีอำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 38 (10) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นที่จะมอบอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการที่ประจำอยู่ในอำเภอปฏิบัติราชการแทนได้ จึงเป็นการแสดงเจตนาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายแล้ว แต่การที่บุตรทั้งเจ็ดระบุว่า ไม่ประสงค์ขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้และยินยอมให้จำเลยรับมรดกแปลงนี้แต่ผู้เดียว ไม่ใช่การสละมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 เพราะเป็นการสละมรดกโดยมีเงื่อนไข ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1613 อย่างไรก็ตามบันทึกดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลใช้บังคับผูกพันบุตรทั้งเจ็ดกับจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850, 852 และ 1750
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3281/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญาฐานยักยอก และการพิสูจน์เจตนาทุจริตของผู้จัดการมรดก
ความผิดฐานยักยอกเป็นเรื่องที่ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต คำว่าโดยทุจริต หมายถึง การแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง หรือผู้อื่น เมื่อจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกมีหน้าที่จัดการทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่ทายาททั้งหลาย ในการประชุมทายาท โจทก์ขอแบ่งทรัพย์มรดกแต่จำเลยไม่ยินยอมแสดงว่าจำเลยมีเจตนาเบียดบังเอาทรัพย์มรดกเป็นของตน มูลความแห่งคดีเกิดขึ้นในวันดังกล่าว และโจทก์รู้เรื่องความผิดนับตั้งแต่นั้นหาได้นับตั้งแต่โจทก์ทราบว่าจำเลยขายทรัพย์มรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์มรดกและการเพิกถอนนิติกรรม: ทรัพย์ที่ซื้อด้วยเงินจากมรดกไม่ใช่ทรัพย์มรดกเดิม
โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านระหว่างจำเลยกับ ท. บิดาโจทก์ทั้งเจ็ด เป็นการฟ้องเรียกให้ได้ที่ดินและบ้านกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ทั้งเจ็ด จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนราคาที่ดินและบ้านนั้นและเมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องโดยอ้างว่า โจทก์แต่ละคนมีสิทธิในที่ดินและบ้านคนละ 1 ใน 8 ส่วนเท่ากัน จึงเป็นหนี้อันอาจแบ่งแยกได้ ต้องถือทุนทรัพย์แยกกันตามรายตัวโจทก์ตามคำฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดมีคำขอให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านคืนหากไม่สามารถทำได้ให้จำเลยชำระเงินจำนวน 1,000,000 บาท จำนวนหนี้ตามสิทธิของโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์ทั้งเจ็ดฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์ทั้งเจ็ดฟังได้ว่า ท. ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านแทนโจทก์ทั้งเจ็ด การขายที่ดินและบ้านแก่จำเลยเป็นเจตนาลวงและเป็นการฉ้อฉลโจทก์ทั้งเจ็ด โจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินและบ้านได้ และจำเลยต้องชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งเจ็ด ล้วนเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ท. ขายที่ดินมรดกบางส่วนไปในขณะที่ยังไม่มีการแบ่งปันมรดกแล้วนำเงินที่ได้ไปซื้อที่ดินแปลงอื่น ที่ดินที่ซื้อมานั้นไม่ถือว่าเป็นทรัพย์ที่มีสถานะเช่นเดียวกับทรัพย์มรดกที่จะนำมาแบ่งปันแก่ทายาท ดังนั้น การที่ ท. โอนที่ดินที่ซื้อมาดังกล่าวให้แก่จำเลย โจทก์ทั้งเจ็ดไม่อาจฟ้องร้องขอให้เพิกถอนได้ คงมีสิทธิฟ้องร้องขอให้เพิกถอนได้เฉพาะการโอนขายที่ดินที่เป็นมรดกแปลงแรกเท่านั้น
ท. ขายที่ดินมรดกบางส่วนไปในขณะที่ยังไม่มีการแบ่งปันมรดกแล้วนำเงินที่ได้ไปซื้อที่ดินแปลงอื่น ที่ดินที่ซื้อมานั้นไม่ถือว่าเป็นทรัพย์ที่มีสถานะเช่นเดียวกับทรัพย์มรดกที่จะนำมาแบ่งปันแก่ทายาท ดังนั้น การที่ ท. โอนที่ดินที่ซื้อมาดังกล่าวให้แก่จำเลย โจทก์ทั้งเจ็ดไม่อาจฟ้องร้องขอให้เพิกถอนได้ คงมีสิทธิฟ้องร้องขอให้เพิกถอนได้เฉพาะการโอนขายที่ดินที่เป็นมรดกแปลงแรกเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8311-8312/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินฝากจากทรัพย์มรดก: สิทธิทายาท & การแบ่งทรัพย์สิน
ผู้ร้องทั้งสองไม่มีหลักฐานเอกสารแสดงการแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทผู้ตาย ถึงแม้ผู้ร้องที่ 1 จะได้โอนที่ดินพร้อมบ้านไม้สองชั้น 2 คูหา ให้ผู้ร้องที่ 2 ไปแล้วก็เป็นเพียงการโอนไปซึ่งทรัพย์มรดกส่วนหนึ่งเท่านั้นแต่ในทรัพย์มรดกอื่นกลับไม่ปรากฏว่าผู้ร้องที่ 1 ได้จัดการประการใดหรือโอนให้จำเลยไป ดังนี้ เมื่อเงินฝากในบัญชีเงินฝากกึ่งหนึ่งยังเป็นของผู้ตาย ย่อมตกทอดไปยังจำเลยและผู้ร้องที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทผู้ตาย จำเลยจึงมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในเงินฝากดังกล่าว ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการอายัดเงินดังกล่าวของพนักงานบังคับคดี
ตามคำร้องขอให้เพิกถอนการอายัดของผู้ร้องทั้งสองซึ่งอ้างว่าเงินฝากที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการอายัดเป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่ผู้ร้องทั้งสอง ขอให้เพิกถอนการอายัดเงินฝากดังกล่าวนั้น เป็นกรณีมีปัญหาว่า จะอายัดเงินฝากดังกล่าวได้หรือไม่ เพียงใด แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมีคำขอให้คืนเงินฝากดังกล่าวแก่ผู้ร้องทั้งสองด้วยแต่หากศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการอายัด ย่อมทำให้เงินฝากดังกล่าวกลับคืนไปตามเดิมเท่านั้น จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ และเมื่อเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ผู้ร้องทั้งสองจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งสามศาลสำนวนละ 200 บาท ในแต่ละชั้นศาลตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. แต่ผู้ร้องทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ในแต่ละชั้นศาลจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลแต่ละสำนวนในส่วนที่เกิน 200 บาท ให้แก่ผู้ร้องทั้งสอง
ตามคำร้องขอให้เพิกถอนการอายัดของผู้ร้องทั้งสองซึ่งอ้างว่าเงินฝากที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการอายัดเป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่ผู้ร้องทั้งสอง ขอให้เพิกถอนการอายัดเงินฝากดังกล่าวนั้น เป็นกรณีมีปัญหาว่า จะอายัดเงินฝากดังกล่าวได้หรือไม่ เพียงใด แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมีคำขอให้คืนเงินฝากดังกล่าวแก่ผู้ร้องทั้งสองด้วยแต่หากศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการอายัด ย่อมทำให้เงินฝากดังกล่าวกลับคืนไปตามเดิมเท่านั้น จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ และเมื่อเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ผู้ร้องทั้งสองจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งสามศาลสำนวนละ 200 บาท ในแต่ละชั้นศาลตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. แต่ผู้ร้องทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ในแต่ละชั้นศาลจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลแต่ละสำนวนในส่วนที่เกิน 200 บาท ให้แก่ผู้ร้องทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5996/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคดีทรัพย์มรดก: คดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ. ฟ้องเรียกเงินฝากจำนวน 255,859.02 บาท ที่ฝากไว้กับธนาคารจำเลยคืน โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของ จ. ผู้ตาย ซึ่งหากศาลพิพากษาให้ตามขอก็ย่อมทำให้จำนวนทรัพย์มรดกที่จะนำมาแบ่งให้แก่ทายาทเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ และเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในศาลชั้นต้นไม่เกิน 300,000 บาท ก็ย่อมอยู่ในอำนาจที่ศาลแขวงจะพิจารณาพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5540/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเป็นผู้จัดการมรดกแยกส่วน: คำร้องใหม่ต้องยื่นเป็นคดีใหม่ ไม่ใช่คำร้องเพิ่มเติมในคดีเดิม
สิทธิของผู้ร้องที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากในธนาคาร เป็นคนละส่วนกับสิทธิในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกในที่ดินที่ผู้ร้องได้รับตามพินัยกรรม การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในบัญชีเงินฝากดังกล่าว จึงเป็นการยื่นคำร้องขอใหม่เข้ามาในคดีเดิม มิใช่เป็นคำร้องขอที่เสนอภายหลังเกี่ยวเนื่องกับคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้น ผู้ร้องชอบที่จะยื่นคำร้องขอเป็นคดีใหม่ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอในคดีเดิมจึงเป็นการมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4355/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์มรดกของสามี/ภรรยาที่ไม่จดทะเบียนสมรส: เจ้าของร่วมจากทรัพย์ที่ได้มาขณะอยู่กิน
แม้ข้อที่ผู้ร้องเบิกความอ้างว่าผู้ร้องมีส่วนร่วมกับผู้ตายออกเงินซื้อรถยนต์พิพาทจะรับฟังไม่ได้ แต่ก็ได้ความว่าผู้ร้องแต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายเมื่อปี 2535 และผู้ตายมีบุตรด้วยกัน 2 คน ระหว่างที่อยู่กินด้วยกันผู้ร้องทำงานที่บริษัท จ. ส่วนผู้ตายมีอาชีพทำเครื่องไฟ กรณีจึงถือว่าผู้ร้องและผู้ตายร่วมกันทำมาหากินและมีเจตนาเป็นเจ้าของในทรัพย์ที่หามาได้ในระหว่างอยู่กินด้วยกัน เมื่อผู้ตายได้รถยนต์พิพาทมาในระหว่างอยู่กินกับผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมมีส่วนเป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทด้วยในฐานะเจ้าของร่วม ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียในรถยนต์ดังกล่าวซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายและมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดก: ทายาทมีสิทธิร้องขอได้ แม้มีข้อพิพาทเรื่องทรัพย์มรดก
คดีนี้ผู้ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่า สมควรตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่ ผู้ร้องเป็นบุตรของ ส. ซึ่งเป็นบุตรของ ร. ผู้ตาย เมื่อ ส. ถึงแก่ความตายไปแล้ว ผู้ร้องจึงเป็นทายาทผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายและมีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และผู้ร้องไม่ใช่บุคคลต้องห้ามตามกฎหมายแต่อย่างใดสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ส่วนที่ผู้คัดค้านอ้างว่าทรัพย์ตามคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกเป็นของผู้คัดค้าน บิดามารดาผู้คัดค้านยกให้ผู้คัดค้านในขณะมีชีวิตอยู่ แต่ปรากฏว่าที่ดินทั้ง 6 แปลง ดังกล่าวยังมีชื่อผู้ตายเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง จึงเป็นเรื่องพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์มรดกซึ่งเป็นเรื่องนอกประเด็นชอบที่ผู้คัดค้านจะไปดำเนินเป็นคดีส่วนหนึ่งต่างหากจากคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์มรดกในคดีล้มละลายหลังลูกหนี้ถึงแก่ความตาย การตั้งผู้แทนลูกหนี้ที่ตาย
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 87 เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้ได้ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณา หรือเมื่อศาลได้พิพากษาให้ล้มละลายแล้วก็ดี กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายยังคงต้องดำเนินต่อไป และให้นำบทบัญญัติในหมวด 2 ว่าด้วยกระบวนพิจารณาในกรณีที่ลูกหนี้ตายมาใช้บังคับซึ่งตามมาตรา 6 คำว่า "กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย" หมายความรวมถึง กระบวนพิจารณาไม่ว่าจะกระทำต่อศาลหรือต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตั้งแต่เริ่มคดีจนถึงคดีสิ้นสุด คดีนี้จำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายเมื่อศาลได้พิพากษาให้ล้มละลายแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงยังคงมีอำนาจเก็บรวบรวมจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ผู้ตาย ต่อไปจนกว่าคดีสิ้นสุดตามมาตรา 22 (1) (2) และกรณีถือเป็นเหตุให้ต้องมีการจัดการทรัพย์มรดกของจำเลยที่ 2 ผู้ตาย โดยจะต้องมีทายาท ผู้จัดการมรดก หรือผู้ปกครองทรัพย์เข้ามาเป็นผู้แทนจำเลยที่ 2 ผู้ตาย ต่อไป เมื่อผู้ร้องแถลงยอมรับแล้วว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 ผู้ตาย จึงเป็นทายาทโดยธรรมของจำเลยที่ 2 สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ย่อมตกทอดแก่ผู้ร้องแต่ไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดก แม้โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกผู้ร้องเข้ามาเป็นผู้แทนจำเลยที่ 2 ผู้ตาย เกินกว่า 1 ปี นับแต่จำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตาย ศาลก็ชอบที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาตั้งผู้ร้องเป็นผู้ร้องเป็นผู้แทนลูกหนี้ที่ตายเพื่อที่จะดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10484/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทมีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากลูกหนี้ของผู้ตาย แม้มีผู้จัดการมรดก และห้ามเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญากู้ยืม
การมีผู้จัดการมรดกแล้ว ก็หาตัดสิทธิของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่จะฟ้องเรียกทรัพย์มรดกคืนจากบุคคลภายนอกหรือลูกหนี้ ทั้งนี้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามหรือตัดสิทธิไว้ โดยทรัพย์มรดกย่อมตกเป็นของทายาท โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทจึงมีอำนาจฟ้อง อีกทั้งจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกยังเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้ที่โจทก์ฟ้องดังกล่าว ย่อมถือว่าผู้จัดการมรดกมีผลประโยชน์ขัดกับกองมรดก หากทายาทไม่มีอำนาจฟ้องแล้วย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดก
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินและรับเงินไปจากผู้ตายแล้ว การที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่ามิได้กู้ยืมเงินแต่ผู้ตายยกเงินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญากู้ยืมเงินต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินและรับเงินไปจากผู้ตายแล้ว การที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่ามิได้กู้ยืมเงินแต่ผู้ตายยกเงินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญากู้ยืมเงินต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)