พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 381/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: พยานเอกสารมีน้ำหนักกว่าพยานบุคคล แม้มีการครอบครองก่อน
ที่ดินละทิ้งให้เขาเช่าไม่เรียกว่าละทิ้งลักษณพะยานพะยานเอกสารมีน้ำหนักดีกว่าพะยานบุคคล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท: การครอบครองปรปักษ์และการถางทำนาเป็นหย่อมๆ ไม่ถือเป็นเจ้าของทั้งหมด
ทำนาเปนหย่อม ๆ แลตัดต้นสะแกขายได้ชื่อว่าเปนเจ้าของทั้งหมด วิธีพิจารณาแพ่ง ค่าธรรมเนียมในคดีที่มีผู้ร้องหลายคน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 720/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งที่ดินพิพาท: ศาลฎีกาสั่งให้ทำแผนที่เพื่อกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนก่อนตัดสิน
วิธีพิจารณาความแพ่งสั่งให้ศาลเดิมทำแผนที่แล้วส่งมาให้ศาลฎีกาตัดสิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตที่ดินพิพาทตามฟ้องและแผนที่: ศาลตัดสินตามขอบเขตที่ปรากฏในแผนที่นำสืบ แม้ไม่ตรงกับเนื้อที่ในฟ้อง
ฟ้อง ตัดสินแผนที่ทำไม่ตรงกับเนื่อที่ในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8946/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินที่มีเอกสิทธิทับซ้อน กรณีที่ดินพิพาทมีผู้ครอบครองก่อนเขตปฏิรูปที่ดิน
ที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) มี ห. เป็นผู้มีสิทธิครอบครองโดยได้รับการยกให้จากบิดาและครอบครองต่อมาอีก 27 ปี เป็นการออกเอกสารสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย ห. จึงครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อนมี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในท้องที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ.2520 ซึ่งผู้ครอบครองที่ดินมาก่อนมีพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และไม่เกิน 50 ไร่ หรือไม่เกิน 100 ไร่ กรณีการเลี้ยงสัตว์จำพวกสัตว์ใหญ่ให้ผู้ครอบครองที่ดินมาก่อนนั้นมีสิทธิในที่ดินต่อไป แต่ต้องไม่เกินหนึ่งพันไร่ ตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 29 วรรคสอง ส่วนสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเขตปฏิรูปที่ดินเฉพาะที่ราชพัสดุที่โอนมาจากกระทรวงการคลังตาม ป.ที่ดิน ตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2532 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า ที่ราชพัสดุที่กระทรวงการคลังได้มาเนื่องจากการจัดซื้อของ ส.ป.ก. หรือมีผู้ยกให้แก่ ส.ป.ก. เพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้กระทรวงการคลังดำเนินการโอนที่ราชพัสดุดังกล่าวให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ ส.ป.ก. เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ การโอนที่ราชพัสดุดังกล่าวมิให้นำความในมาตรา 8 และมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 มาใช้บังคับ และให้ดำเนินการโอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน ดังนั้น ที่ราชพัสดุนอกจากนี้ไม่อาจนำมาปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ เนื่องจากการโอนที่ราชพัสดุให้กระทำโดยพระราชบัญญัติ และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุ ตามมาตรา 5 เมื่อที่ดินพิพาทมีผู้มีสิทธิในที่ดินเป็นผู้ครอบครองมาก่อนมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน และไม่ใช่ที่ราชพัสดุที่โอนมาจากกระทรวงการคลังตามประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ ส.ป.ก. จะใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ ดังนั้น ที่ ส.ป.ก. ออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินให้แก่ อ. อันมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการออกหนังสืออนุญาตดังกล่าวทำให้ที่ดินพิพาทที่ถูกยึดขายทอดตลาดได้เป็นที่ดินที่ไม่อาจถูกบังคับคดีได้ก็ตาม แต่คดีนี้เป็นการพิจารณาเพียงว่าสมควรเพิกถอนการขายทอดตลาดหรือไม่เท่านั้น เมื่อที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดเพื่อออกขายทอดตลาด มีการออกเอกสารสิทธิที่ดินทับซ้อนกัน และยังมิได้มีการเพิกถอนเอกสารสิทธิในที่ดินฉบับใดฉบับหนึ่ง ย่อมมีเหตุขัดข้องในการบังคับคดีให้ลุล่วงไป กรณีจึงมีเหตุสมควรให้เพิกถอนการขายทอดตลาดตามคำร้องของผู้ซื้อทรัพย์ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดียังมิได้ถอนการบังคับคดี การเพิกถอนการขายทอดตลาดมีผลเพียงเท่ากับยังมิได้ขายทอดตลาด ต่อไปภายหน้าหากเรื่องเอกสารสิทธิในที่ดินยุติลงก็อาจนำออกขายทอดตลาดใหม่ได้ ส่วนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ซึ่งเป็นทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีนำออกขายทอดตลาดกับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01 ข.) ที่ออกให้แก่ อ. นั้น ฉบับใดจะออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอาจต้องว่ากล่าวกันต่อไปต่างหากหลังจากเพิกถอนการขายทอดตลาดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7378/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาทและการขัดแย้งสิทธิ ownership ที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลย ศาลฎีกาตัดสินให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 6 มีนาคม 2557 จนถึงวันที่ 21 สิงหาคม 2557 จำเลยทั้งสองกับพวกบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์และกระทำละเมิดต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้บุกรุกเข้าไปในที่ดินพิพาทและกระทำละเมิดต่อโจทก์ตามฟ้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในประเด็นนี้ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติว่า ระหว่างวันเวลาดังกล่าว จำเลยทั้งสองมิได้บุกรุกเข้าไปในที่ดินพิพาท และมิได้กระทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แต่อย่างใด ทั้งศาลชั้นต้นก็มิได้มีคำพิพากษาให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกไปจากที่ดินพิพาท กรณีย่อมแปลความหมายได้อยู่ในตัวว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้สอดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำวินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิขัดขวางจำเลยทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 แล้วมีคำพิพากษาห้ามจำเลยทั้งสองและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทรวมทั้งสิ่งปลูกสร้างในที่ดินพิพาท จึงเป็นการวินิจฉัยและมีคำพิพากษาที่เกินเลยไปจากข้อเท็จจริงซึ่งยุติไปแล้ว เป็นการไม่ชอบ ทั้งหากต่อไปในภายภาคหน้า จำเลยทั้งสองได้สอดเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยมิชอบด้วยกฎหมายนอกเหนือจากวันเวลาตามฟ้องคดีนี้ ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปดำเนินการฟ้องร้องเป็นคดีใหม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่อาจพิพากษาล่วงหน้าไว้ในคดีนี้โดยสั่งห้ามจำเลยทั้งสองเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท
โจทก์มิได้มีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์และเป็นสมบัติของโจทก์ แม้จำเลยทั้งสองจะให้การต่อสู้ว่าสุสานทุ่งมนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ส่วนที่ดินพิพาทแปลงอื่นเป็นที่ดินของสุสานทุ่งมนซึ่งไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ก็ตาม แต่จำเลยทั้งสองมิใช่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง การวินิจฉัยชี้ขาดถึงสิทธิของการเป็นเจ้าของที่ดินสุสานทุ่งมนและที่ดินพิพาทแปลงอื่นซึ่งมิใช่ประเด็นสำคัญแห่งคดีและอาจเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลภายนอกคดี จึงเป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำ เนื่องจากหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยตรงมิได้เข้ามาเป็นคู่ความ ทั้งไม่มีโอกาสนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงให้เห็นกระจ่าง เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้บุกรุกเข้าไปในที่ดินพิพาทและกระทำละเมิดต่อโจทก์ตามฟ้อง กรณีก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นตามฎีกาของโจทก์และจำเลยทั้งสองอีก เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
โจทก์มิได้มีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์และเป็นสมบัติของโจทก์ แม้จำเลยทั้งสองจะให้การต่อสู้ว่าสุสานทุ่งมนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ส่วนที่ดินพิพาทแปลงอื่นเป็นที่ดินของสุสานทุ่งมนซึ่งไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ก็ตาม แต่จำเลยทั้งสองมิใช่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง การวินิจฉัยชี้ขาดถึงสิทธิของการเป็นเจ้าของที่ดินสุสานทุ่งมนและที่ดินพิพาทแปลงอื่นซึ่งมิใช่ประเด็นสำคัญแห่งคดีและอาจเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลภายนอกคดี จึงเป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำ เนื่องจากหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยตรงมิได้เข้ามาเป็นคู่ความ ทั้งไม่มีโอกาสนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงให้เห็นกระจ่าง เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้บุกรุกเข้าไปในที่ดินพิพาทและกระทำละเมิดต่อโจทก์ตามฟ้อง กรณีก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นตามฎีกาของโจทก์และจำเลยทั้งสองอีก เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4483/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจโรงสี จำเป็นต้องพิจารณาถึงเจตนาของเจ้าของรวมและผลกระทบต่อการดำเนินกิจการ
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองจำเลยที่ 2 น. และ น. จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่าที่ดินพิพาทใช้เป็นที่ตั้งกิจการโรงสีไฟของจำเลยที่ 1 และบ้านพักอาศัย จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวไม่มีหน้าที่จะต้องไถ่ถอนจำนองและแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน มิได้ต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของห้างที่จะต้องนำมาเพื่อการชำระบัญชีหรือเป็นทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์ทั้งสองกับเจ้าของรวมคนอื่นจึงเป็นการไม่ถูกต้อง และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยว่าที่ดินเป็นทรัพย์สินของ จ. นำมาลงทุนเป็นหุ้นในห้างจำเลยที่ 1 อันเท่ากับรับฟังว่าเป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยเช่นกัน คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยเพียงว่าจำเลยทั้งสองต้องไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทและแบ่งกรรมสิทธิ์รวมแก่โจทก์ทั้งสองหรือไม่ เห็นว่า กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทมีที่มาจากสัญญาประนีประนอมยอมความ สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโดยรวมเป็นการตกลงแบ่งมรดกในส่วนที่เป็นที่ดินรวม 8 แปลง และหุ้นในห้างจำเลยที่ 1 กับหุ้นในบริษัท ร. สำหรับที่ดินแปลงอื่นที่จดทะเบียนจำนองได้ระบุว่าให้นำเงินของจำเลยที่ 1 ไถ่ถอนจำนองและจดทะเบียนโอนให้แก่ทายาทที่ระบุชื่อไว้ แต่ที่ดินพิพาทซึ่งขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความมีภาระจำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อธนาคารอยู่ก่อนแล้ว ไม่มีการกล่าวถึงการไถ่ถอนจำนอง เพียงแต่ระบุส่วนแห่งกรรมสิทธิ์ของเจ้าของรวมแต่ละคน เมื่อรับฟังประกอบข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ตั้งของโรงสีและสิ่งปลูกสร้างอื่นที่ใช้ร่วมกันมาตั้งแต่เริ่มประกอบกิจการจนถึงปัจจุบัน และหนี้ที่ที่ดินพิพาทจำนองเป็นประกันก็เป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 กู้จากธนาคารมาใช้หมุนเวียนในการดำเนินกิจการ เมื่อเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทคือผู้ถือหุ้นในห้างจำเลยที่ 1 โดยมีส่วนเท่ากับส่วนของหุ้นที่ได้รับจึงเห็นได้ว่าผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินต่างมีเจตนาใช้ที่ดินพิพาทเป็นสถานที่ประกอบกิจการโรงสีและใช้เป็นหลักประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 กันต่อไปเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของห้างจำเลยที่ 1 หากจะแบ่งที่ดินดังกล่าวให้แก่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมเสียในขณะนี้ย่อมไม่เป็นไปตามเจตนาดังกล่าวทั้งยังส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการของห้างให้ไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ ทั้งศาลวินิจฉัยไว้แล้วว่ายังไม่มีเหตุให้ต้องเลิกห้างอันจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินทั้งหมดทุกคน แม้เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนหนึ่งๆ จะมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้ แต่จะเรียกให้แบ่งในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันสมควรไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363 วรรคสาม พฤติการณ์ดังกล่าวมาถือได้ว่ายังไม่เป็นโอกาสอันสมควรที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทและเป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่ 1 จะเรียกให้แบ่งทรัพย์สิน
คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์อัตราค่าทนายความต้องกำหนดตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551 มาตรา 21 ที่ให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่มีการฟ้องคดีบังคับแก่คดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ซึ่งตาราง 6 ระบุว่าคดีไม่มีทุนทรัพย์ อัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลอุทธรณ์ 1,500 บาท ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 กำหนดค่าทนายความเป็นเงิน 3,000 บาท จึงเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้อง
คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์อัตราค่าทนายความต้องกำหนดตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551 มาตรา 21 ที่ให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่มีการฟ้องคดีบังคับแก่คดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ซึ่งตาราง 6 ระบุว่าคดีไม่มีทุนทรัพย์ อัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลอุทธรณ์ 1,500 บาท ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 กำหนดค่าทนายความเป็นเงิน 3,000 บาท จึงเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1901/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินพิพาทไม่ใช่สินสอด: สัญญาจะซื้อจะขายที่ไม่สมบูรณ์ไม่ถือเป็นสินสอดตามกฎหมาย
ขณะที่จำเลยที่ 1 มาสู่ขอบุตรสาวโจทก์นั้นได้นำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการทั้งหมดโดยใส่ชื่อบุตรสาวโจทก์เป็นผู้จะซื้อใส่พานมามอบให้ แต่ต่อมาไม่มีการซื้อขายที่ดินตามสัญญาดังกล่าว ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์เพื่อตอบแทนการที่ ร. บุตรสาวโจทก์ยอมสมรสด้วย จึงไม่ใช่สินสอดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1437 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9863/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถูกบังคับคดีคัดค้านการรื้อถอนบ้านจากที่ดินพิพาท ต้องเป็นกรณีบังคับคดีทรัพย์สิน มิใช่การรื้อถอนตามคำพิพากษา
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่า ผู้ร้องขัดทรัพย์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจะใช้สิทธิตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 288 ได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่มีการบังคับคดียึดทรัพย์สินที่อ้างว่าเป็นของลูกหนี้เพื่อขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น แต่คดีนี้เป็นเรื่องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินและผู้คัดค้านฟ้องแย้งขับไล่ผู้ร้องพร้อมบริวารและให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทและคดีถึงที่สุดแล้ว มิใช่กรณีที่ศาลพิพากษาให้ผู้ร้องใช้เงินแก่ผู้คัดค้านและต้องนำทรัพย์สินของผู้คัดค้านออกขายทอดตลาด จึงไม่อาจนำบทบัญญัติ มาตรา 288 มาบังคับได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอโดยไม่มีการไต่สวนก่อนจึงชอบแล้ว แต่ฎีกาของผู้ร้องขัดทรัพย์ไม่ปรากฏว่าได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยเหตุผลใด และที่ถูกต้องเป็นอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8458/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในคดีสิทธิเก็บกินที่ดินพิพาท ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
จำเลยที่ 2 ในคดีนี้เคยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ทั้งสี่ในคดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 6 เรื่อง สิทธิเก็บกินในที่ดินพิพาท ตามคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 568/2553 และหมายเลขแดงที่ 229/2555 ของศาลชั้นต้น ประเด็นในคดีดังกล่าวกับคดีนี้มีประเด็นต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันว่า จำเลยที่ 2 มีสิทธิเก็บกินในที่ดินพิพาทหรือไม่ เมื่อในคดีก่อนศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7956/2557 ว่า นายแผนไม่เคยมอบสิทธิเก็บกินในที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ดังนั้น ประเด็นในคดีนี้ที่ว่า จำเลยที่ 2 มีสิทธิเก็บกินในที่ดินพิพาทหรือไม่ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 แม้คดีนี้จะมีการฟ้องร้องกันก่อนที่ศาลในคดีก่อนจะมีคำพิพากษาก็ตาม เมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาชี้ขาดคดีแล้ว กรณีก็ต้องอยู่ใต้บังคับของมาตรา 144 เช่นกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247