พบผลลัพธ์ทั้งหมด 468 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากวิ่งราวทรัพย์เป็นลักทรัพย์ และการริบของกลางที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด
ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 336 จะต้องเป็นการลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ผ. ทำทีเป็นพูดโทรศัพท์เคลื่อนที่ และเอาโทรศัพท์ไปในขณะที่ผู้เสียหายให้บริการลูกค้าคนอื่นอยู่ เป็นการเอาไปในขณะเผลอ มิใช่เป็นการฉกฉวยทรัพย์ไปโดยซึ่งหน้าแต่ประการใด การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เมื่อเหตุเกิดในเวลากลางคืนและร่วมกระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไป เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) และ 335 (7) ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 335 วรรคสอง ซึ่งมีโทษหนักกว่าความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตามมาตรา 336 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 แต่จะพิพากษาลงโทษจำเลยหนักขึ้นไม่ได้ เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
อนึ่ง ทรัพย์ที่ศาลจะสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 33 ได้ ต้องปรากฏว่าเป็นทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ตามทางนำสืบของโจทก์ได้ความแต่เพียงว่าจำเลยใช้รถจักรยานยนต์เพื่อความสะดวกในการพาทรัพย์หลบหนี มิได้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นเครื่องมือหรือเป็นส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์ จึงเป็นทรัพย์ที่ไม่อาจริบได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบมาตรา 225
อนึ่ง ทรัพย์ที่ศาลจะสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 33 ได้ ต้องปรากฏว่าเป็นทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ตามทางนำสืบของโจทก์ได้ความแต่เพียงว่าจำเลยใช้รถจักรยานยนต์เพื่อความสะดวกในการพาทรัพย์หลบหนี มิได้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นเครื่องมือหรือเป็นส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์ จึงเป็นทรัพย์ที่ไม่อาจริบได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6413/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้บัตรประชาชนปลอมขอหนังสือเดินทางและการใช้เอกสารปลอมหลายกรรม ศาลฎีกาแก้ไขโทษและริบของกลาง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2544 จำเลยนำบัตรประจำตัวประชาชนปลอมไปใช้อ้างแสดงต่อเจ้าพนักงานกระทรวงการต่างประเทศเพื่อขอออกหนังสือเดินทาง เจ้าพนักงานหลงเชื่อว่าเป็นบัตรประจำตัวประชาชนที่แท้จริงและได้ออกหนังสือเดินทางให้แก่จำเลย ต่อมาวันที่ 6 มีนาคม 2545 จำเลยนำบัตรประจำตัวประชาชนปลอมไปใช้อ้างแสดงต่อร้อยตำรวจเอก ส. ว่าจำเลยเป็นผู้มีชื่อตามบัตรประจำตัวประชาชนปลอม อันเป็นการฟ้องว่าจำเลยใช้บัตรประจำตัวประชาชนปลอม 2 ครั้ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้เอกสารราชการปลอมตามวันและเวลาทั้งเจตนาในการใช้จึงเป็นการกระทำที่ต่างกรรมกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่โจทก์ไม่ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องโดยไม่แก้โทษ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ประกอบมาตรา 225 ปัญหาข้อที่ว่า จำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
สำหรับบัตรประจำตัวประชาชนปลอม หนังสือเดินทางปลอม และแผ่นฟิล์มของกลางที่โจทก์ขอให้มีคำสั่งริบนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานใช้บัตรประจำตัวประชาชนปลอม แต่ให้ยกฟ้องฐานปลอมบัตรประจำตัวปลอมและปลอมหนังสือเดินทาง ศาลล่างทั้งสองก็ชอบที่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับของกลางต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับของกลางที่โจทก์ขอให้ริบด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) และมาตรา 215 การที่ศาลล่างทั้งสองไม่วินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบัตรประจำตัวประชาชนของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด สำหรับหนังสือเดินทางปลอมและแผ่นฟิล์มเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด และมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามลำดับ จึงให้ริบ
สำหรับบัตรประจำตัวประชาชนปลอม หนังสือเดินทางปลอม และแผ่นฟิล์มของกลางที่โจทก์ขอให้มีคำสั่งริบนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานใช้บัตรประจำตัวประชาชนปลอม แต่ให้ยกฟ้องฐานปลอมบัตรประจำตัวปลอมและปลอมหนังสือเดินทาง ศาลล่างทั้งสองก็ชอบที่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับของกลางต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับของกลางที่โจทก์ขอให้ริบด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) และมาตรา 215 การที่ศาลล่างทั้งสองไม่วินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบัตรประจำตัวประชาชนของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด สำหรับหนังสือเดินทางปลอมและแผ่นฟิล์มเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด และมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามลำดับ จึงให้ริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3044/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: จำเลยเป็นตัวการร่วม แม้รับจ้างขน และการริบของกลางที่ไม่ชอบ
จำเลยถูกจับขณะที่มีเมทแอมเฟตามีนของกลางอยู่ในความยึดถือครอบครองของจำเลย แม้ฟังว่าจำเลยยึดถือครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางขณะอยู่ในช่วงระหว่างจำเลยรับขน และเมทแอมเฟตามีนของกลางจะเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างก็ถือว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุน
แม้จำเลยจะให้การชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนว่า จำเลยรับจ้างขนเมทแอมเฟตามีนของกลางให้ผู้ว่าจ้าง แต่ในชั้นพิจารณาจำเลยก็นำสืบปฏิเสธว่าคำให้การดังกล่าวเกิดขึ้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานตำรวจทำขึ้นมาเองโดยจำเลยไม่ทราบข้อความและข้อเท็จจริงก็ไม่ได้ความว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้อาศัยคำให้การของจำเลยขยายผลจนเป็นเหตุให้มีการจับกุมผู้ว่าจ้างมาดำเนินคดี คดียังไม่พอฟังว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานสอบสวนจึงไม่อาจลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นได้ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิได้ฟ้องจำเลยฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ฉะนั้น เงินค่าจ้างที่จำเลยได้จากผู้ว่าจ้างในการนำเมทแอมเฟตามีนของกลางไปส่งมอบให้แก่ลูกค้าผู้สั่งซื้อและโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่จำเลยใช้ติดต่อกับผู้ว่าจ้างให้นำเมทแอมเฟตามีนไปส่งมอบให้แก่ลูกค้าผู้สั่งซื้อจึงไม่ใช่เครื่องมือ เครื่องใช้หรือวัตถุอื่นซึ่งจำเลยใช้ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 จึงไม่อาจริบได้ ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งริบเงินและโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางจึงไม่ชอบปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
แม้จำเลยจะให้การชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนว่า จำเลยรับจ้างขนเมทแอมเฟตามีนของกลางให้ผู้ว่าจ้าง แต่ในชั้นพิจารณาจำเลยก็นำสืบปฏิเสธว่าคำให้การดังกล่าวเกิดขึ้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานตำรวจทำขึ้นมาเองโดยจำเลยไม่ทราบข้อความและข้อเท็จจริงก็ไม่ได้ความว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้อาศัยคำให้การของจำเลยขยายผลจนเป็นเหตุให้มีการจับกุมผู้ว่าจ้างมาดำเนินคดี คดียังไม่พอฟังว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานสอบสวนจึงไม่อาจลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นได้ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิได้ฟ้องจำเลยฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ฉะนั้น เงินค่าจ้างที่จำเลยได้จากผู้ว่าจ้างในการนำเมทแอมเฟตามีนของกลางไปส่งมอบให้แก่ลูกค้าผู้สั่งซื้อและโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่จำเลยใช้ติดต่อกับผู้ว่าจ้างให้นำเมทแอมเฟตามีนไปส่งมอบให้แก่ลูกค้าผู้สั่งซื้อจึงไม่ใช่เครื่องมือ เครื่องใช้หรือวัตถุอื่นซึ่งจำเลยใช้ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 จึงไม่อาจริบได้ ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งริบเงินและโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางจึงไม่ชอบปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืนผิดกฎหมาย: ความผิดกรรมเดียว, การริบของกลาง, และการรอการลงโทษ
ความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้ในครอบครองต้องระวางโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคหนึ่ง ส่วนความผิดฐานมีอาวุธปืนมีเครื่องหมายทะเบียนของผู้อื่นที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้และเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครอง ต้องระวางโทษตามมาตรา 72 วรรคสาม และวัตถุที่ต้องห้ามทั้งสองกรณีดังกล่าวกฎหมายถือว่าเป็นวัตถุประเภทเดียวกัน โดยบัญญัติบทความผิดกับบทลงโทษในบทมาตราเดียวกัน เมื่อจำเลยมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธปืนทั้งสองประเภทในขณะเดียวกัน การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องแยกเป็นความผิดแต่ละกรรมโดยชัดแจ้งและขอให้ลงโทษทุกกรรมกับจำเลยให้การรับสารภาพ ก็ไม่ทำให้การกระทำความผิดของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในความผิดเดียวกันสิทธิระงับ, ริบของกลางตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
ตามฟ้องของโจทก์ในคดีนี้และคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2495/2551 หมายเลขแดงที่ อ.3571/2551 เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 เวลากลางวัน จำเลยเสนอ จำหน่าย และมีไว้เพื่อจำหน่ายสินค้าเสื้อยี่ห้อลาคอสท์ที่เป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของผู้เสียหาย เหตุเกิดที่ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งทั้งสองคดีตามที่โจทก์ฟ้องเป็นการกระทำในเรื่องเดียวกัน เกิดขึ้นในเวลา สถานที่ และกระทำต่อผู้เสียหายรายเดียวกัน จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2495/2551 หมายเลขแดงที่ อ.3571/2551 ก่อนคดีนี้แล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไป ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
โจทก์ฟ้องขอให้ริบของกลางแต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้เองตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง เมื่อสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของผู้อื่น จึงให้ริบตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 115
โจทก์ฟ้องขอให้ริบของกลางแต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้เองตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง เมื่อสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของผู้อื่น จึงให้ริบตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 115
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15953/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อาวุธปืนเถื่อน: การมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตและการริบของกลาง
จำเลยมีอาวุธปืนพก ขนาด .32 (7.65 มม.) มีเครื่องหมายทะเบียน แต่นายทะเบียนมิได้ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ใดไว้ในครอบครอง ซึ่ง พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 9 บัญญัติว่า "ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนและเครื่องอาวุธปืนให้ออกให้แก่บุคคลสำหรับใช้ในการป้องกันตัวหรือทรัพย์สินหรือในการกีฬาหรือยิงสัตว์ ใบอนุญาตนั้นให้ออกสำหรับอาวุธปืนแต่ละกระบอก" และมาตรา 10 บัญญัติว่า "อาวุธปืนที่ได้ออกใบอนุญาตให้ตามมาตราก่อน ให้นายทะเบียนทำเครื่องหมายประจำอาวุธปืนนั้นไว้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง" ดังนี้ จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองและพาไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้น มิใช่เป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย อาวุธปืนดังกล่าวจึงเป็นอาวุธปืนที่ไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ต้องหา – การจัดหาทนายความ – การสอบสวน – การริบของกลาง – ลดโทษ
คดีมีโทษถึงประหารชีวิต การสอบสวนคำให้การของผู้ต้องหาจึงอยู่ในบังคับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นสิทธิเด็ดขาดของผู้ต้องหาที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐในการจัดหาทนายความให้ เมื่อพนักงานสอบสวนถามแล้วผู้ต้องหาไม่มีทนายความ เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานสอบสวนต้องหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหา ตามบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาและแจ้งสิทธิให้จำเลยทราบแล้ว และสอบถามเรื่องทนายความหรือผู้ที่ไว้วางใจเข้ารับฟังการสอบสวน จำเลยให้การปฏิเสธไม่ต้องการทนายความหรือผู้ที่ไว้วางใจเข้ารับฟังการสอบสวน พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนโดยไม่ได้จัดหาทนายความให้จำเลยตามคำให้การดังกล่าวจำเลยไม่ขอให้การโดยจะไปให้การในชั้นศาล การที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนดังกล่าวเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง แต่ในบทบัญญัติมาตรา 134/4 วรรคท้าย บัญญัติไว้เพียงว่า ถ้อยคำใดๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือก่อนที่จะดำเนินการตามมาตรา 134/1 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้ ฉะนั้นแม้พนักงานสอบสวนจะไม่ได้จัดหาทนายความให้จำเลยก็ไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบแต่อย่างใด เมื่อมีการสอบสวนแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ขอให้ศาลริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางโดยอ้างว่า จำเลยใช้ในการติดต่อซื้อขายเมทแอมเฟตามีน แต่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบได้ความเพียงว่าจำเลยถูกจับขณะขับรถยนต์ที่ใช้ในขณะเกิดเหตุ และเจ้าพนักงานตำรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 12,000 เม็ด อาวุธปืนซึ่งเป็นของผู้อื่นที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้จากนายทะเบียนท้องที่ซองกระสุนปืน 1 ซอง กับกระสุนปืนออโตเมติกขนาด 9 มม. จำนวน 11 นัด ดังนั้น โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางจึงมิใช่เครื่องมือเครื่องใช้หรือวัตถุอื่นใด ซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้องโดยตรงและมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยได้กระทำความผิดซึ่งหมายถึงความผิดฐานที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น จึงไม่อาจริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางของจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 33 ทั้งที่มิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด อันจะต้องริบเสียทั้งสิ้นตาม ป.อ. มาตรา 32
การที่จำเลยรับสารภาพในชั้นจับกุมว่ากระทำความผิดตามฟ้องถือได้ว่าเป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ. มาตรา 78
โจทก์ขอให้ศาลริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางโดยอ้างว่า จำเลยใช้ในการติดต่อซื้อขายเมทแอมเฟตามีน แต่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบได้ความเพียงว่าจำเลยถูกจับขณะขับรถยนต์ที่ใช้ในขณะเกิดเหตุ และเจ้าพนักงานตำรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 12,000 เม็ด อาวุธปืนซึ่งเป็นของผู้อื่นที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้จากนายทะเบียนท้องที่ซองกระสุนปืน 1 ซอง กับกระสุนปืนออโตเมติกขนาด 9 มม. จำนวน 11 นัด ดังนั้น โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางจึงมิใช่เครื่องมือเครื่องใช้หรือวัตถุอื่นใด ซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้องโดยตรงและมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยได้กระทำความผิดซึ่งหมายถึงความผิดฐานที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น จึงไม่อาจริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางของจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 33 ทั้งที่มิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด อันจะต้องริบเสียทั้งสิ้นตาม ป.อ. มาตรา 32
การที่จำเลยรับสารภาพในชั้นจับกุมว่ากระทำความผิดตามฟ้องถือได้ว่าเป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ. มาตรา 78
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10674/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานสรรพสามิต และการริบของกลางตาม พ.ร.บ.ยาสูบ
ความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา 136 มีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้อง จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 39 ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 พูดต่อผู้เสียหายที่ 2 กับพวกซึ่งเป็นเจ้าพนักงานสรรพสามิตผู้มีอำนาจหน้าที่จับกุมผู้กระทำความผิดต่อกฎหมายเกี่ยวกับสรรพสามิตว่า "พวกมึงเป็นข้าราชการรังแกประชาชน แกล้งจับกู" ถ้อยคำดังกล่าวมิใช่เป็นเพียงคำกล่าวที่ไม่สุภาพและไม่สมควร แต่เป็นถ้อยคำดูถูก สบประมาทผู้เสียหายที่ 2 กับพวก จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา 136
แสตมป์ยาสูบของกลางที่อ้างแสดงอยู่บนซองบุหรี่ของกลางเป็นเครื่องอุปกรณ์ในการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 ต้องริบเป็นของกรมสรรพสามิตตาม มาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
จำเลยที่ 1 พูดต่อผู้เสียหายที่ 2 กับพวกซึ่งเป็นเจ้าพนักงานสรรพสามิตผู้มีอำนาจหน้าที่จับกุมผู้กระทำความผิดต่อกฎหมายเกี่ยวกับสรรพสามิตว่า "พวกมึงเป็นข้าราชการรังแกประชาชน แกล้งจับกู" ถ้อยคำดังกล่าวมิใช่เป็นเพียงคำกล่าวที่ไม่สุภาพและไม่สมควร แต่เป็นถ้อยคำดูถูก สบประมาทผู้เสียหายที่ 2 กับพวก จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา 136
แสตมป์ยาสูบของกลางที่อ้างแสดงอยู่บนซองบุหรี่ของกลางเป็นเครื่องอุปกรณ์ในการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 ต้องริบเป็นของกรมสรรพสามิตตาม มาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7479/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องการใช้ยานพาหนะในความผิดวิ่งราวทรัพย์และการริบของกลาง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการบรรยายฟ้องไม่ชัดเจนเพียงพอต่อการริบรถจักรยานยนต์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิด หรือการพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุม ไม่มีรายละเอียดว่า ได้ใช้รถจักรยานยนต์ในการกระทำผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ในลักษณะใด เพราะความผิดฐานนี้สามารถเป็นความผิดโดยสมบูรณ์ได้โดยไม่จำต้องใช้รถจักรยานยนต์ด้วยเสมอไป การบรรยายฟ้องของโจทก์จึงเป็นการบรรยายฟ้องเพื่อให้ครบองค์ประกอบตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ ที่ใช้เฉพาะในการเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองเท่านั้น ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลมีอำนาจริบรถจักรยานยนต์ได้ตามมาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7052/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานจำหน่ายและมีเมทแอมเฟตามีนครอบครอง, ริบของกลางเสพกัญชาที่ไม่ปรากฏฐานความผิด
ศาลจะสั่งริบทรัพย์สินที่จำเลยทั้งสองมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดต่อเมื่อมีการกระทำความผิดนั้น และโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวด้วย เมื่อคดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานเสพกัญชา โจทก์จะขอให้ริบอุปกรณ์การเสพยาเสพติดที่จำเลยทั้งสองมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานเสพกัญชาหาได้ไม่ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ริบของกลางดังกล่าวจึงเป็นการมิชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง