คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 561 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าของร่วมในการฟ้องเรียกคืนทรัพย์สินที่ถูกทำลาย และการต่อสู้คดีของผู้ทำลาย
มีผู้ทำลายเรือนอันเป็นของเจ้าของร่วม 2 คน เจ้าของร่วมเพียงคนเดียวก็มีสิทธิฟ้องผู้ทำลายนั้นให้ปลูกเรือนให้ใหม่ตามสภาพเดิม หรือถ้าไม่สามารถทำได้ ก็ให้ใช้ค่าเสียหายได้
ลูกสะใภ้มีสิทธิฟ้องบิดาของสามีได้ ไม่เป็นอุทลุม
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยทลายเรือนออกจากที่พิพาทไปขอให้จำเลยนำเรือนที่จำเลยรื้อไปมาปลูกใหม่ตามสภาพเดิมจำเลยแก้คดีข้อนี้ ว่าจำเลยอยู่เรือนพิพาท เรือนนั้นผุพังไปจนจำเลยอยู่ไม่ได้ จึงซื้อเรือนอยู่ในบ้านนั้น 1 หลัง แล้วจำเลยอยู่มาจนบัดนี้ ความเสียหายตามฟ้องจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดคำกล่าวแก้เช่นนี้พอเข้าใจได้แล้วว่าจำเลยต่อสู้ว่าไม่ได้ทลายเรือน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1357/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องเพิกถอนการประชุมสภาเทศบาล: ไม่มีสิทธิฟ้องหากกฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้
สมาชิกสภาเทศบาลหรือราษฎรในท้องถิ่นนั้น ไม่มีสิทธิที่จะมาร้องหรือฟ้องศาลขอให้เพิกถอนการประชุมสภาเทศบาล โดยอ้างว่าเป็นการกระทำฝ่าฝืน พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. 2496 เพราะ พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. 2496 หาได้มีบทบัญญัติให้บุคคลใช้สิทธิทางศาลในเรื่องนี้ไว้แต่อย่างไรเลย กรณีต่างกับในเรื่องเลือกตั้ง ซึ่งมีบทบัญญัติให้สิทธิเช่นนี้ไว้ หรือแม้แต่ในเรื่องหุ้นส่วนบริษัทก็ยังมี ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1195 ให้ศาลถอนมติของที่ประชุมที่ฝ่าฝืนกฎหมายหรือข้อบังคับของบริษัทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1357/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องเพิกถอนมติสภาเทศบาล: สมาชิกสภาไม่มีสิทธิฟ้องร้องหากกฎหมายไม่ได้ให้สิทธิไว้
สมาชิกสภาเทศบาลหรือราษฎรในท้องถิ่นนั้น ไม่มีสิทธิที่จะมาร้องหรือฟ้องศาลขอให้เพิกถอนการประชุมสภาเทศบาล โดยอ้างว่าเป็นการกระทำฝ่าฝืน พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 เพราะพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 หาได้มีบทบัญญัติให้บุคคลใช้สิทธิทางศาลในเรื่องนี้ไว้แต่อย่างไรเลย กรณีต่างกับในเรื่องเลือกตั้ง ซึ่งมีบทบัญญัติให้สิทธิเช่นนี้ไว้หรือแม้แต่ในเรื่องหุ้นส่วนบริษัทก็ยังมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 ให้ศาลถอนมติของที่ประชุมที่ฝ่าฝืนกฎหมายหรือข้อบังคับของบริษัทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไถ่ถอนการขายฝากภายในกำหนด และสิทธิในการฟ้องบังคับไถ่ถอน แม้ฟ้องเกินกำหนดสัญญา
คดีที่ศาลนัดชี้สองสถานไว้แต่ถึงวันนัด โจทก์จำเลยต่างแถลงไม่มีทางปรองดองกัน ขอให้นัดพิจารณาไป โจทก์รับเป็นฝ่ายนำสืบก่อน เพียงเท่านี้ หาใช่เป็นการชี้สองสถานตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 183 ไม่ ฉะนั้นคู่ความจึงมีสิทธิขอแก้ฟ้องหรือคำให้การได้ก่อนวันสืบพยาน
ขายฝาทรัพย์ไว้แก่เขาแล้วได้ติดต่อขอไถ่ถอนภายในกำหนดเขารับว่าจะรับการไถ่ถอน แต่ถึงกำหนด ก็ไม่มา ผู้ขายฝากจึงร้องต่ออำเภอท้องที่ และนำเงินไปเพื่อไถ่ถอนที่อำเภอก่อนครบกำหนดตามสัญญา ดังนี้ ถือได้ว่าผู้ขายฝากได้ใช้สิทธิไถ่การขายฝากภายในกำหนด โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ย่อมมีสิทธิฟ้องของให้ผู้รับซื้อฝากรับการไถ่ถอนการขายฝากได้ แม้จะฟ้องเมื่อเกินกำหนดสัญญาไปก็ดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1317/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีไม่มีข้อพิพาทเพื่อยืนยันสัญชาติไทย: ต้องมีสิทธิฟ้องตามมาตรา 55
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188 นั้น เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการฟ้องและดำเนินคดีไม่มีข้อพิพาท แต่กรณีใดจะฟ้องได้หรือไม่ เป็นบทบัญญัติของมาตรา 55 กล่าวคือต่อเมื่อมีสิทธิฟ้องตามมาตรา 55 แล้ว จึงจะใช้มาตรา 188 ในเมื่อเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท
การร้องขอต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท อ้างว่าตนเป็นคนไทยแต่บิดาไปขอจดทะเบียนว่าเป็นคนต่างด้าว จนพนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้ยึดถือ เป็นการผิดพลาด จึงขอให้ศาลแสดงว่าผู้ร้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยนั้น ไม่ใช่กรณีจะต้องใช้สิทธิในทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 จึงจะมายื่นคำร้องขอต่อศาลไม่ได้ หากจะถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิก็ชอบที่จะดำเนินการฟ้องร้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิตน เป็นคดีมีข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฟ้องขับไล่ย่อมผูกพันกับความเป็นเจ้าของที่ดิน หากที่ดินเป็นที่สาธารณะ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้อง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท โดยอ้างว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ครอบครองมา 7-8 ปีแล้ว แต่ทางพิจารณาได้ความว่าที่ดินพิพาทได้ถูกทางการกรมการอำเภอประกาศว่าเป็นที่สาธารณะ โจทก์จึงให้บุตรขอจับจองใหม่ ดังนี้ ย่อมเห็นได้ว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ตามฟ้อง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฟ้องขับไล่ขึ้นอยู่กับความเป็นเจ้าของที่ดิน หากไม่ใช่เจ้าของ สิทธิฟ้องย่อมไม่มี
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท โดยอ้างว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ครอบครองมา 7-8 ปีแล้ว แต่ทางพิจารณาได้ความว่าที่ดินพิพาทได้ถูกทางการกรมการอำเภอประกาศว่าเป็นที่สาธารณะ โจทก์จึงให้บุตรขอจับจองใหม่ ดังนี้ ย่อมเห็นได้ว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ตามฟ้อง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องดำเนินคดีฐานเบิกความเท็จ แม้คดีอาญาที่เกี่ยวข้องยกฟ้องแล้ว โจทก์ก็ยังเป็นผู้เสียหายและมีสิทธิฟ้องได้
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยเอาความรู้อยู่แล้วว่าเป็นความเท็จมาเบิกความเป็นพยานในข้อสำคัญในคดีอาญาที่โจทก์ถูกฟ้องว่ากระทำความผิด แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องในคดีนั้นจนถึงที่สุดไปแล้ว ก็ย่อมเห็นได้ชัดว่า โจทก์เป็นผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยเบิกความเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยเบิกความเป็นพยานเท็จนั้นเพราะโจทก์อาจถูกศาลพิพากษาลงโทษได้ ถ้าหากศาลเชื่อคำเบิกความเท็จของจำเลย โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยได้ตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 28

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1742/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดียังคงอยู่แม้คดีอาญาเดียวกันยกฟ้อง
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ ฟ้องหาว่าจำเลยบุกรุกและทำร้ายร่างกายโจทก์ ต่อมาอัยการฟ้องโจทก์กับจำเลยหาว่าวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันในที่สาธารณสถาน เนื่องจากกรณีเดียวกันนี้โจทก์จึงร้องขอต่อศาลให้งดการพิจารณาคดีของโจทก์ไว้รอผลคดีที่อัยการเป็นโจทก์ จนศาลพิพากษายกฟ้องคดีที่อัยการเป็นโจทก์ คดีถึงที่สุดแล้วโจทก์จึงขอให้ศาลดำเนินคดีของโจทก์ที่รอไว้ต่อไป ดังนี้คดีไม่ต้องด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) สิทธิฟ้องร้องของโจทก์ที่ฟ้องไว้แล้ว ยังคงมีอยู่ หาได้หมดไปไม่ (อ้างฎีกาที่ 149/2483)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องขับไล่ของผู้เช่าช่วง: เมื่อผู้เช่าช่วงทำสัญญาโดยตรงกับผู้ให้เช่า ผู้เช่าเดิมไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่
โจกท์เช่าตึกแถวเขามา 16 ห้องแล้วแบ่งให้ผู้อื่นเช่าเสีย 2 ห้องโดยให้ผู้นั้นไปทำสัญญาเช่ากับผู้ให้เช่าเองโดยตรง ภายหลังผู้นั้นเลิกการเช่า โจทก์จึงเข้าทำสัญญาเช่าห้อง 2 ห้องนั้นกับผู้ให้เช่าใหม่ แต่ปรากฎว่ามีจำเลยอยู่ในห้อง 2 ห้องตั้งแต่เมื่อผู้อื่นเช่าดังกล่าวแล้ว และไม่ยอมออก ดังนี้ โจทก์ยังหามีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยไม่ แต่เป็นเรื่องของผู้ให้เช่าจะต้องฟ้องจำเลย
of 57