พบผลลัพธ์ทั้งหมด 469 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4883/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถ: การพิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงและเหตุสุดวิสัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ
แม้จำเลยจะขับรถบรรทุกสิบล้อและรถพ่วงด้วยความเร็วสูง แต่จำเลยขับรถในทางเดินรถของตนโดยถูกต้อง ส่วน ส. มิได้จอดรถเพื่อรถกลับรถในช่องกลับรถอย่างในภาวะปกติธรรมดา หากแต่เป็นเพราะรถที่ ส. ขับเกิดเสียการทรางตัวแล้วหมุนเข้าไปในทางเดินรถของจำเลยและขวางรถที่จำเลยขับในระยะกระชั้นชิด ในภาวะเช่นนั้นไม่ว่าจำเลยจะขับมาในลักษณะเช่นใดจำเลยย่อมไม่อาจจะหลบหลีกเพื่อมิให้ชนกับรถที่ ส. ขับได้ ดังนั้น การที่จำเลยขับรถบรรทุกสิบล้อและรถพ่วงด้วยความเร็วสูงและไม่ขับให้อยู่ในช่องเดินรถด้านซ้ายจึงมิใช่เป็นผลโดยตรงที่ทำให้เกิดการเฉี่ยวชนกันจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทและกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: เริ่มนับเมื่อองค์กรทราบการละเมิดและผู้กระทำผิด
โจทก์เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้านครหลวง พ.ศ.2501 มีผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน โจทก์เป็นเจ้าของสายไฟฟ้าและหม้อแปลงไฟฟ้าที่ถูกจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์เกี่ยวรั้งและเฉี่ยวชนเสียหาย เมื่อ ท. นิติกร กองคดี ฝ่ายกฎหมายของโจทก์เสนอขออนุมัติดำเนินคดีแพ่งแก่จำเลยทั้งสาม และผู้ช่วยผู้ว่าการปฏิบัติการแทนผู้ว่าการอนุมัติให้ดำเนินการตามเสนอในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 จึงถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันดังกล่าว นับถึงวันที่ 31 มีนาคม 2547 อันเป็นวันฟ้องยังไม่พ้น 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 การที่นายตรวจเวรของโจทก์ ได้ร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจในวันเกิดเหตุ และผู้รับมอบอำนาจโจทก์ได้ตรวจสอบทราบว่ารถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับเป็นของจำเลยที่ 2 โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ดังกล่าว ต่อมาผู้อำนวยการกองคดีของโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าเสียหายแล้วจำเลยที่ 3 มีหนังสือถึงโจทก์เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2543 เพื่อเจรจาค่าเสียหายนั้นก็เป็นเพียงการปฏิบัติไปตามหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของโจทก์ไปตามลำดับขั้นตอน ก่อนเสนอเรื่องไปถึงผู้ว่าการหรือผู้ปฏิบัติการแทนในฐานะผู้แทนของโจทก์เท่านั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3757/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งของหุ้นส่วนผู้จัดการในความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่
จำเลยที่ 1 พักอยู่ที่ที่ทำงานและจะให้รถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุเป็นประจำในการทำงาน เหตุรถเฉี่ยวชนกันเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 22 นาฬิกา หลังจากเวลาเลิกงานตามปกติแล้ว ขณะจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุไปเติมน้ำมันแม้จะอยู่นอกเวลาทำงานแต่ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย จึงเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2
ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) ประกอบมาตรา 1087 ที่บัญญัติให้ผู้จัดการซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวนนั้นมิได้ระบุข้อยกเว้นหรือเงื่อนไขแห่งการรับผิดของผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนแต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 หุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมรับผิดด้วยจึงชอบแล้ว
ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) ประกอบมาตรา 1087 ที่บัญญัติให้ผู้จัดการซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวนนั้นมิได้ระบุข้อยกเว้นหรือเงื่อนไขแห่งการรับผิดของผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนแต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 หุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมรับผิดด้วยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และขอบเขตความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย
แม้ตามคำฟ้องจะเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 ซึ่งข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัย และผู้ทำละเมิดเกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันภัยอย่างไร อันจะทำให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องร่วมรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนถือเป็นสาระสำคัญในเรื่องการบรรยายฟ้องก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าในชั้นยื่นคำให้การ จำเลยที่ 3 ให้การรับว่าได้รับประกันภัยรถยนต์หมายเลขทะเบียน 8 ว-3766 กรุงเทพมหานคร ไว้จริง เพียงแต่ปฏิเสธว่าความเสียหายไม่ได้เกิดจากรถยนต์คันที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยไว้รวมถึงการอ้างเหตุสุดวิสัย ตามคำให้การของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวยังระบุด้วยว่าจำเลยที่ 3 จะเสนอกรมธรรม์ประกันภัยในชั้นพิจารณา แสดงว่าจำเลยที่ 3 ครอบครองกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์หมายเลขทะเบียน 8 ว-3766 กรุงเทพมหานคร ไว้ เมื่อจำเลยที่ 3 ได้รับสำเนาคำฟ้องจากโจทก์ จำเลยที่ 3 จึงสามารถนำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาตรวจสอบ และสามารถทราบได้ทันทีว่าคดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดในความเสียหายที่นาย ก. ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวก่อขึ้น กรณีจึงหาทำให้จำเลยที่ 3 หลงข้อต่อสู้ไม่ ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เคลือบคลุม
ข้อที่ว่านาย ก. ขับรถยนต์ในขณะอยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรายาเมาถึงขนาดไม่สามารถควบคุมรถยนต์ได้หรือไม่ จำเลยที่ 3 มีภาระการพิสูจน์ ทางนำสืบของจำเลยที่ 3 มีเพียงผลการตรวจเลือดนาย ก. ว่า ตรวจพบแอลกอฮอล์ในเลือด 0.183 กรัมเปอร์เซ็นต์ และมีนาย อ. ผู้จัดการศูนย์ปฏิบัติการสินไหมทดแทนของจำเลยที่ 3 เบิกความสนับสนุนว่า ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ใหม่ กรมการประกันภัยกำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดที่จะไม่ต้องรับผิดไว้จำนวน 0.150 กรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งตามข้อเท็จจริงดังกล่าวยังไม่เพียงพอที่จะให้รับฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุนาย ก. อยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรายาเมาถึงขนาดไม่สามารถควบคุมรถยนต์คันที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัย จำเลยที่ 3 จึงหาอาจยกข้อดังกล่าวขึ้นปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ได้ไม่
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ภายหลังเกิดเหตุบริษัท ก. ซึ่งรับประกันภัยความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทางด่วนขั้นที่ 2 ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์จำนวน 464,893 บาท และต่อมาบริษัทดังกล่าวได้ใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 3 โดยมีการตั้งอนุญาโตตุลาการและร้องขอต่อศาลให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการซึ่งจำเลยที่ 3 ได้ชำระให้แก่บริษัทดังกล่าวไปตามคำพิพากษาในคดีอนุญาโตตุลาการแล้วจำนวน 691,190 บาท โดยเป็นต้นเงินจำนวน 499,958 บาท จำเลยที่ 3 ซึ่งรับประกันภัยในความเสียหายต่อทรัพย์สินต่อหนึ่งครั้งเป็นเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท จึงยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์ในต้นเงินเพียง 500,042 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดเท่านั้น ปัญหาข้อนี้จำเลยที่ 3 ย่อมไม่อาจให้การต่อสู้ในคำให้การได้เนื่องจากศาลชั้นต้นในคดีที่ขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีคำพิพากษาในคดีดังกล่าวก่อนที่จะอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีนี้ แต่ปัญหาเรื่องที่คำพิพากษาสองสำนวนในเหตุละเมิดครั้งเดียวกันจะบังคับให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 3 มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ข้อที่ว่านาย ก. ขับรถยนต์ในขณะอยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรายาเมาถึงขนาดไม่สามารถควบคุมรถยนต์ได้หรือไม่ จำเลยที่ 3 มีภาระการพิสูจน์ ทางนำสืบของจำเลยที่ 3 มีเพียงผลการตรวจเลือดนาย ก. ว่า ตรวจพบแอลกอฮอล์ในเลือด 0.183 กรัมเปอร์เซ็นต์ และมีนาย อ. ผู้จัดการศูนย์ปฏิบัติการสินไหมทดแทนของจำเลยที่ 3 เบิกความสนับสนุนว่า ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ใหม่ กรมการประกันภัยกำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดที่จะไม่ต้องรับผิดไว้จำนวน 0.150 กรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งตามข้อเท็จจริงดังกล่าวยังไม่เพียงพอที่จะให้รับฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุนาย ก. อยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรายาเมาถึงขนาดไม่สามารถควบคุมรถยนต์คันที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัย จำเลยที่ 3 จึงหาอาจยกข้อดังกล่าวขึ้นปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ได้ไม่
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ภายหลังเกิดเหตุบริษัท ก. ซึ่งรับประกันภัยความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทางด่วนขั้นที่ 2 ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์จำนวน 464,893 บาท และต่อมาบริษัทดังกล่าวได้ใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 3 โดยมีการตั้งอนุญาโตตุลาการและร้องขอต่อศาลให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการซึ่งจำเลยที่ 3 ได้ชำระให้แก่บริษัทดังกล่าวไปตามคำพิพากษาในคดีอนุญาโตตุลาการแล้วจำนวน 691,190 บาท โดยเป็นต้นเงินจำนวน 499,958 บาท จำเลยที่ 3 ซึ่งรับประกันภัยในความเสียหายต่อทรัพย์สินต่อหนึ่งครั้งเป็นเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท จึงยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์ในต้นเงินเพียง 500,042 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดเท่านั้น ปัญหาข้อนี้จำเลยที่ 3 ย่อมไม่อาจให้การต่อสู้ในคำให้การได้เนื่องจากศาลชั้นต้นในคดีที่ขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีคำพิพากษาในคดีดังกล่าวก่อนที่จะอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีนี้ แต่ปัญหาเรื่องที่คำพิพากษาสองสำนวนในเหตุละเมิดครั้งเดียวกันจะบังคับให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 3 มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2147/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขับรถประมาทหรือไม่เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากผู้ขับขี่อื่นฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง และสิทธิการเข้าร่วมเป็นโจทก์ของคู่สมรส
บริเวณที่เกิดเหตุเป็นสามแยกติดตั้งสัญญาณจราจรไฟ และขณะเกิดเหตุสัญญาณจราจรไฟเป็นสัญญาณจราจรไฟสีเขียวให้เลี้ยวขวา เมื่อได้รับสัญญาณจราจรไฟสีเขียวให้เลี้ยวขวารถทุกคันที่จะเลี้ยวขวาย่อมเคลื่อนที่แล่นเข้าสู่ทางร่วมทางแยกผ่านช่องเดินรถของรถที่แล่นสวนทางมาไปได้ การที่จำเลยขับรถล้ำเข้าไปในช่องเดินรถของรถที่แล่นสวนมาก็เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเลี้ยวขวาแล่นผ่านช่องเดินรถของรถที่แล่นสวนทางมาเท่านั้น แต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นเนื่องจากการกระทำของผู้ตายที่ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรไฟสีแดงแล่นเข้าชนรถโดยสารที่จำเลยเป็นผู้ขับโดยที่ไม่ว่าจำเลยหรือผู้ใดก็ไม่อาจคาดคิดได้ จำเลยจึงไม่เป็นฝ่ายประมาท การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 291
อนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ตายเป็นฝ่ายประมาทเนื่องจากเป็นฝ่ายขับรถจักรยานยนต์แล่นสวนทางมาโดยฝ่าฝืนสัญญาณจราจรไฟสีแดงเป็นเหตุให้ชนเข้ากับด้านหน้าข้างขวาของรถโดยสารที่จำเลยเป็นผู้ขับ ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ย. ภริยาของผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายด้วย ดังนั้น ย. จึงไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
อนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ตายเป็นฝ่ายประมาทเนื่องจากเป็นฝ่ายขับรถจักรยานยนต์แล่นสวนทางมาโดยฝ่าฝืนสัญญาณจราจรไฟสีแดงเป็นเหตุให้ชนเข้ากับด้านหน้าข้างขวาของรถโดยสารที่จำเลยเป็นผู้ขับ ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ย. ภริยาของผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายด้วย ดังนั้น ย. จึงไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15718/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขืนใจเรียกทรัพย์สินโดยอ้างอุบัติเหตุและการวางแผนร่วมกันกระทำผิดฐานกรรโชกทรัพย์
จำเลยกับพวกวางแผนขับรถยนต์แท็กซี่ชนรถยนต์ปิกอัพของผู้เสียหาย แล้วลงจากรถเรียกค่าเสียหายจากผู้เสียหายอ้างว่าเสียหายเป็นจำนวนมาก แต่ขอเรียกเพียง 5,000 บาท ผู้เสียหายต่อรอง พวกของจำเลย พูดขู่ว่าหากพูดไม่รู้เรื่องจะเรียกตำรวจ ผู้เสียหายยอมจ่ายเงินให้ 500 บาท แล้วจำเลยกับพวกแยกย้ายหลบหนีไปทันที ดังนั้น การที่จำเลยขู่ว่าจะเรียกเจ้าพนักงานตำรวจมา จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยชอบ แต่เป็นการขู่เข็ญผู้เสียหายให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อเสรีภาพและชื่อเสียงของผู้เสียหาย เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายให้ยอมมอบเงินให้ ถือได้ว่าจำเลยร่วมกับพวกข่มขืนใจผู้เสียหายให้ยอมให้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินแก่จำเลยแล้ว จึงเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: คดีเมาแล้วขับชนจนผู้อื่นบาดเจ็บ สิทธิฟ้องระงับหากเคยถูกตัดสินลงโทษในความผิดฐานเมาแล้วขับแล้ว
พนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยขับรถในขณะเมาสุรา จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยไปแล้ว การที่จำเลยขับรถในขณะเมาสุรา อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (2), 160 วรรคสาม (เดิม) กับการที่จำเลยซึ่งมีอาการมึนเมาสุราขับรถในลักษณะส่ายไปมาบนท้องถนนและขับล้ำเข้าไปในช่องเดินรถที่แล่นสวนมาเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่มีผู้เสียหายที่ 1 ขับ และมีผู้เสียหายที่ 2 นั่งไปด้วยได้รับความเสียหาย และผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157 นั้น เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่หลายกรรมต่างกันไม่ เมื่อคดีก่อนศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยในความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราแล้วสิทธิที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้องจำเลยในการกระทำเดียวกันนั้นเป็นคดีนี้ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12506/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยค้ำจุน: ความรับผิดของประกันภัยต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุในการขนถ่ายสินค้า
ข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยกรณีความเสียหายต่อทรัพย์สินที่ว่า จำเลยร่วมตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยสำหรับจำนวนเงินที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดตามกฎหมายที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายสำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลใด ๆ นั้น มีลักษณะเป็นสัญญาประกันภัยค้ำจุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง ซึ่งจำเลยร่วมตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่ 3 เมื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินเกิดแก่บุคคลอีกคนหนึ่งและซึ่งจำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดชอบ ดังนั้น การที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 3 กระทำด้วยความประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าพิพาทตกลงจากรถยกสินค้า และสินค้าพิพาทได้รับความเสียหาย ซึ่งจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดชอบในความเสียหายดังกล่าว จำเลยร่วมย่อมต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่ 3 เพื่อความวินาศภัยอันเกิดแก่สินค้าพิพาทตามข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว
ส่วนข้อยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ไม่คุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลใดๆ ตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 1.2.1 หมายถึง ทรัพย์สินที่เสียหายเป็นทรัพย์สินที่ผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของ หรือทรัพย์สินที่ผู้เอาประกันภัยนำมาใช้ปฏิบัติงานของผู้เอาประกันภัย ข้อ 1.2.2 หมายถึง ทรัพย์สินที่ลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้เอาประกันภัยนำมาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อผู้เอาประกันภัยในระหว่างทางการที่จ้าง หาใช่ว่าเมื่อสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายจากการขนถ่ายโดยลูกจ้างของจำเลยที่ 3 จะเป็นกรณีที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยเพราะสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายขณะอยู่ในครอบครองของจำเลยที่ 3 หรือลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ไม่ ดังนั้น จำเลยร่วมจึงต้องรับผิดตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ในฐานะนายจ้างของลูกจ้างที่กระทำละเมิดในทางการที่จ้างให้รับผิดต่อโจทก์ผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ถูกทำละเมิด ส่วนจำเลยที่ 3 ขอให้เรียกจำเลยร่วมในฐานะที่เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนความรับผิดของจำเลยที่ 3 เข้ามาเพื่อใช้สิทธิไล่เบี้ยหากจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนั้น จำเลยร่วมจึงต้องเข้ามาร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ในลักษณะลูกหนี้ร่วม โดยโจทก์สามารถบังคับชำระหนี้ละเมิดได้ทั้งจากจำเลยที่ 3 และจำเลยร่วม และหากจำเลยที่ 3 ถูกบังคับชำระหนี้ไปก่อน ก็ต้องใช้สิทธิไล่เบี้ยตามกฎหมายต่อไป
ส่วนข้อยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ไม่คุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลใดๆ ตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 1.2.1 หมายถึง ทรัพย์สินที่เสียหายเป็นทรัพย์สินที่ผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของ หรือทรัพย์สินที่ผู้เอาประกันภัยนำมาใช้ปฏิบัติงานของผู้เอาประกันภัย ข้อ 1.2.2 หมายถึง ทรัพย์สินที่ลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้เอาประกันภัยนำมาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อผู้เอาประกันภัยในระหว่างทางการที่จ้าง หาใช่ว่าเมื่อสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายจากการขนถ่ายโดยลูกจ้างของจำเลยที่ 3 จะเป็นกรณีที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยเพราะสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายขณะอยู่ในครอบครองของจำเลยที่ 3 หรือลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ไม่ ดังนั้น จำเลยร่วมจึงต้องรับผิดตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ในฐานะนายจ้างของลูกจ้างที่กระทำละเมิดในทางการที่จ้างให้รับผิดต่อโจทก์ผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ถูกทำละเมิด ส่วนจำเลยที่ 3 ขอให้เรียกจำเลยร่วมในฐานะที่เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนความรับผิดของจำเลยที่ 3 เข้ามาเพื่อใช้สิทธิไล่เบี้ยหากจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนั้น จำเลยร่วมจึงต้องเข้ามาร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ในลักษณะลูกหนี้ร่วม โดยโจทก์สามารถบังคับชำระหนี้ละเมิดได้ทั้งจากจำเลยที่ 3 และจำเลยร่วม และหากจำเลยที่ 3 ถูกบังคับชำระหนี้ไปก่อน ก็ต้องใช้สิทธิไล่เบี้ยตามกฎหมายต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3284/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทจากการจอดรถกีดขวางทางและงดเว้นการให้สัญญาณ ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ศาลฎีกาวินิจฉัยความรับผิด
จำเลยจอดรถยนต์บรรทุกพ่วงล้ำเข้าไปในช่องเดินรถช่องซ้ายโดยไม่เปิดไฟหรือใช้แสงสว่างของรถหรือให้สัญญาณใดๆ ในขณะที่ที่เกิดเหตุมืด เป็นเหตุให้ ค. ซึ่งขับรถยนต์บรรทุกหกล้อมาทางด้านหลังไม่สามารถมองเห็นรถยนต์บรรทุกพ่วงที่จำเลยจอดไว้ในระยะห่างเพียงพอที่ ค. จะหยุดรถหรือหลบหลีกไปได้ ค. จึงขับรถยนต์บรรทุกหกล้อชนท้ายรถยนต์บรรทุกพ่วงดังกล่าวมีผู้อื่นถึงแก่ความตาย ได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายแก่กาย การที่ ค. ขับรถยนต์บรรทุกหกล้อชนท้ายรถยนต์บรรทุกพ่วงดังกล่าว จึงเป็นผลโดยตรงที่เกิดจากความประมาทของจำเลยที่งดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้น จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291, 300, 390 แต่มิใช่ผลที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการขับรถโดยประมาทของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การประเมินค่าเสียหาย และอายุความฟ้อง
จำเลยร่วมที่ 1 ขับรถแซงรถยนต์บรรทุกหกล้อซึ่งแล่นอยู่ข้างหน้าเข้าไปในช่องเดินรถสวนในขณะที่ บ. ขับรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์และ ล. ขับรถยนต์กระบะแล่นสวนทางมาในระยะใกล้ โดยไม่รอให้รถยนต์ยี่ห้อเบนซ์และรถคันที่จำเลยร่วมที่ 1 และ ล. ขับแล่นผ่านไปก่อนถึงแม้รถคันที่จำเลยร่วมที่ 1 ขับไม่ได้ชนกับรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ แต่หากจำเลยร่วมที่ 1 ไม่ขับรถแซงเข้าไปในช่องเดินรถสวนในระยะใกล้เช่นนั้นก็ไม่มีเหตุที่ทำให้ บ. จำต้องขับรถหลบไปด้านซ้ายของถนนเพื่อไม่ให้รถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ถูกชน การที่รถยนต์ยี่ห้อเบนซ์หลบรถจำเลยร่วมที่ 1 แล้วพลิกคว่ำ จึงเป็นผลมาจากการที่จำเลยร่วมที่ 1 ขับรถแซงเข้ามาในช่องเดินรถสวนโดยตรง จำเลยร่วมที่ 1 จึงเป็นฝ่ายขับรถโดยประมาท
รถยนต์ยี่ห้อเบนซ์สามารถซ่อมแซมให้กลับคืนสภาพเดิมได้ในวงเงิน 1,200,000 บาท โจทก์จึงมีหน้าที่จัดการซ่อมรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ให้ผู้เอาประกันภัยแล้วรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องค่าซ่อมจำนวนดังกล่าวจากจำเลยร่วมที่ 1 การที่โจทก์พิจารณาจ่ายค่าเสียหายตามทุนประกัน 2,200,000 บาท ให้แก่ผู้เอาประกันแทนการซ่อมรถให้ผู้เอาประกันเป็นเรื่องที่โจทก์และผู้เอาประกันตกลงกันเองที่ขัดกับหลักปฏิบัติของโจทก์ในกรณีที่รถเอาประกันสามารถซ่อมได้ทางโจทก์จะไม่คืนทุนประกันให้ลูกค้า จึงไม่อาจนำมาเรียกร้องให้จำเลยร่วมที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ได้ จำเลยร่วมที่ 1 คงรับผิดต่อโจทก์ตามความเสียหายที่แท้จริงที่โจทก์จะต้องจ่ายไปในการซ่อมรถให้ผู้เอาประกันภัยในวงเงิน 1,200,000 บาท
โจทก์นำรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ซึ่งได้รับโอนกรรมสิทธิ์มาจากบริษัท ก. ออกขายเพื่อให้ได้เงินมาชดเชยค่าเสียหายตามทุนประกันที่โจทก์ได้จ่ายไปในส่วนที่ยังขาดอยู่ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกระทำได้ ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยร่วมที่ 1 ที่มีต่อโจทก์จะนำมาหักออกจากค่าซ่อมที่จำเลยร่วมที่ 1 มีหน้าที่ต้องจ่ายให้โจทก์ไม่ได้ จำเลยร่วมที่ 1 จึงยังคงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
รถยนต์ยี่ห้อเบนซ์สามารถซ่อมแซมให้กลับคืนสภาพเดิมได้ในวงเงิน 1,200,000 บาท โจทก์จึงมีหน้าที่จัดการซ่อมรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ให้ผู้เอาประกันภัยแล้วรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องค่าซ่อมจำนวนดังกล่าวจากจำเลยร่วมที่ 1 การที่โจทก์พิจารณาจ่ายค่าเสียหายตามทุนประกัน 2,200,000 บาท ให้แก่ผู้เอาประกันแทนการซ่อมรถให้ผู้เอาประกันเป็นเรื่องที่โจทก์และผู้เอาประกันตกลงกันเองที่ขัดกับหลักปฏิบัติของโจทก์ในกรณีที่รถเอาประกันสามารถซ่อมได้ทางโจทก์จะไม่คืนทุนประกันให้ลูกค้า จึงไม่อาจนำมาเรียกร้องให้จำเลยร่วมที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ได้ จำเลยร่วมที่ 1 คงรับผิดต่อโจทก์ตามความเสียหายที่แท้จริงที่โจทก์จะต้องจ่ายไปในการซ่อมรถให้ผู้เอาประกันภัยในวงเงิน 1,200,000 บาท
โจทก์นำรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ซึ่งได้รับโอนกรรมสิทธิ์มาจากบริษัท ก. ออกขายเพื่อให้ได้เงินมาชดเชยค่าเสียหายตามทุนประกันที่โจทก์ได้จ่ายไปในส่วนที่ยังขาดอยู่ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกระทำได้ ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยร่วมที่ 1 ที่มีต่อโจทก์จะนำมาหักออกจากค่าซ่อมที่จำเลยร่วมที่ 1 มีหน้าที่ต้องจ่ายให้โจทก์ไม่ได้ จำเลยร่วมที่ 1 จึงยังคงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์