พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10282/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษทางอาญา: การพิจารณาโทษฐานต่างๆ และข้อยกเว้นการเพิ่มโทษในความผิดร้ายแรง
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 289 (4), 289 (4) ประกอบมาตรา 80, 371 พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 วรรคสาม, 72 ทวิ วรรคสอง เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 โดยให้เพิ่มโทษทุกฐานความผิดกระทงละหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92 แต่ข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนต้องระวางโทษประหารชีวิต ไม่อาจเพิ่มโทษได้ จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ลดโทษให้ทุกฐานความผิดกระทงละกึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 โดยฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนให้จำคุกตลอดชีวิตตาม ป.อ. 52 (2) เมื่อรวมโทษทุกฐานกระทงความผิดแล้ว คงลงโทษจำเลยที่ 1 ตลอดชีวิต
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชัดแจ้งอยู่แล้วว่าให้เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ทุกฐานความผิด เพียงแต่ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนซึ่งต้องโทษประหารชีวิตนั้น ไม่อาจเพิ่มโทษได้เท่านั้น จึงไม่ต้องอธิบายคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อีก
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชัดแจ้งอยู่แล้วว่าให้เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ทุกฐานความผิด เพียงแต่ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนซึ่งต้องโทษประหารชีวิตนั้น ไม่อาจเพิ่มโทษได้เท่านั้น จึงไม่ต้องอธิบายคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8961/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลิตเมทแอมเฟตามีน - การใช้กฎหมายใหม่ (65 วรรคสาม) - การเพิ่มโทษ - ล้างมลทิน
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนจำนวน 50 เม็ด น้ำหนักไม่ปรากฏชัด โดยมิได้บรรยายว่าจำนวนเม็ดของเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวเป็นหน่วยการใช้ด้วย จึงไม่อาจรับฟังได้ว่า เมทแอมเฟตามีนจำนวน 50 เม็ด ดังกล่าวที่จำเลยที่ 1 ผลิต และจำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดฐานผลิตมีปริมาณ 50 หน่วยการใช้หรือมีปริมาณสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไป กรณีจึงต้องรับฟังข้อเท็จจริงให้เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองว่า เมทแอมเฟตามีนจำนวน 50 เม็ด ดังกล่าวมีจำนวนหน่วยการใช้ไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (ใหม่) ซึ่งการผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยการแบ่งบรรจุมีจำนวนหน่วยการใช้ไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตาม พ.ร.บ.บัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (ใหม่) เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.บัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 65 วรรคสาม ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมใหม่และมีเงื่อนไขอันเป็นองค์ประกอบความผิดกับมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ที่เป็นคุณมากกว่ามาตรา 65 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต ดังนั้น จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 3 จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม), 65 วรรคสาม (ใหม่), 66 วรรคหนึ่ง (ใหม่) ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 และจำเลยที่ 2 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม), 65 วรรคสาม (ใหม่) ประกอบ ป.อ. มาตรา 86 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง รวมทั้งแก้ไขโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทความผิดและบทลงโทษในคดีลักทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย และกรรโชกทรัพย์ ศาลจำกัดการเพิ่มโทษ
ความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือมีโทษสถานหนักกว่านั้น แม้จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องได้ต่อเมื่อพยานโจทก์ตามที่นำสืบรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดดังกล่าวจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นรับฟังว่าจำเลยกระทำความผิดและพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง จำเลยก็ยังมีสิทธิอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานของโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิด และขอให้กำหนดโทษให้เบาลงและรอการลงโทษได้กรณีมิใช่เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำรับสารภาพ หรือเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นอุทธรณ์ ซึ่งจะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยเข้าไปกระตุกสร้อยคอของผู้เสียหายที่ 1 จนหลุดออก แล้วได้ตบตีผู้เสียหายที่ 1 การกระตุกสร้อยคอกับการตบตีทำร้ายร่างกาย จึงแยกออกเป็น 2 ตอน จำเลยมิได้ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายที่ 1 เพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 (1) แต่เป็นการใช้กิริยาฉกฉวยเอาสร้อยคอและรูปสัญลักษณ์ศาสนาอิสลามทองคำของผู้เสียหายที่ 1 ไปซึ่งหน้า จึงเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 336
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยฉกฉวยเอาสร้อยคอของผู้เสียหายที่ 1 ไปซึ่งหน้า อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์และคำขอท้ายฟ้องมิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ คงลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (8) วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่ประกอบเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
จำเลยพูดขอเงินกับผู้เสียหายที่ 2 ว่า หากไม่ให้เงินจะทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 ต่อไป เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายที่ 2 ให้ยอมให้เงินจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกตาม ป.อ. มาตรา 337 (1) วรรคสอง แต่ไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ผู้เสียหายที่ 2 ตามฟ้องศาลพิพากษาลงโทษในความผิดฐานดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวและโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจึงปรับบทความผิดและบทลงโทษให้ถูกต้องได้ แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 337 (1) วรรคสอง อีกกรรมหนึ่งได้เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
จำเลยเข้าไปกระตุกสร้อยคอของผู้เสียหายที่ 1 จนหลุดออก แล้วได้ตบตีผู้เสียหายที่ 1 การกระตุกสร้อยคอกับการตบตีทำร้ายร่างกาย จึงแยกออกเป็น 2 ตอน จำเลยมิได้ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายที่ 1 เพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 (1) แต่เป็นการใช้กิริยาฉกฉวยเอาสร้อยคอและรูปสัญลักษณ์ศาสนาอิสลามทองคำของผู้เสียหายที่ 1 ไปซึ่งหน้า จึงเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 336
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยฉกฉวยเอาสร้อยคอของผู้เสียหายที่ 1 ไปซึ่งหน้า อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์และคำขอท้ายฟ้องมิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ คงลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (8) วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่ประกอบเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
จำเลยพูดขอเงินกับผู้เสียหายที่ 2 ว่า หากไม่ให้เงินจะทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 ต่อไป เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายที่ 2 ให้ยอมให้เงินจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกตาม ป.อ. มาตรา 337 (1) วรรคสอง แต่ไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ผู้เสียหายที่ 2 ตามฟ้องศาลพิพากษาลงโทษในความผิดฐานดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวและโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจึงปรับบทความผิดและบทลงโทษให้ถูกต้องได้ แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 337 (1) วรรคสอง อีกกรรมหนึ่งได้เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11849/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษทางอาญาและการใช้กฎหมายล้างมลทินย้อนหลัง: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม เนื่องจากกฎหมายมีผลบังคับใช้หลังคดีถึงที่สุด
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้ลงโทษและเพิ่มโทษจำเลยจนคดีถึงที่สุดไปแล้ว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2549 ก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 ใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งกรณีไม่อาจนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ซึ่งเป็นเรื่องที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดมาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่แต่งตั้งทนายความตามกฎหมาย และผลกระทบของ พ.ร.บ.ล้างมลทิน ต่อการเพิ่มโทษ
เมื่อปรากฏตามคำร้องของจำเลยว่าจำเลยได้ขอให้ศาลชั้นต้นแต่งตั้งทนายความให้ตลอดมาจนกระทั่งสืบพยานจำเลยเสร็จ แต่ศาลชั้นต้นก็ไม่ได้แต่งตั้งทนายความให้จำเลย ซึ่งหากจำเลยเห็นว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง จำเลยต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องเพื่อให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันทราบกระบวนพิจารณานั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด คำร้องของจำเลยย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องว่า ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ว่าจะรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย ได้มี พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ พ.ศ.2550 ใช้บังคับ ขอให้งดเพิ่มโทษ โดยจำเลยยื่นคำร้องหลังจากที่ศาลชั้นต้น อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 และก่อนที่จำเลยจะยื่นฎีกา เมื่อคำร้องดังกล่าวเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี มิใช่เป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลล่างที่มีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้พิจารณาและพิพากษาคดีใหม่และไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นต้องพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าว หากศาลชั้นต้นสั่งเป็นประการใดแล้ว จำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อมาได้เป็นลำดับ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับเป็นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฎีกาของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225
เมื่อความผิดที่ศาลชั้นต้นจำคุกจำเลยที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยได้พ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ.ล้างมลทิน ฯ พ.ศ.2550 ใช้บังคับ จำเลยย่อมได้รับประโยชน์ตาม มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าว จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้
จำเลยยื่นคำร้องว่า ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ว่าจะรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย ได้มี พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ พ.ศ.2550 ใช้บังคับ ขอให้งดเพิ่มโทษ โดยจำเลยยื่นคำร้องหลังจากที่ศาลชั้นต้น อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 และก่อนที่จำเลยจะยื่นฎีกา เมื่อคำร้องดังกล่าวเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี มิใช่เป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลล่างที่มีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้พิจารณาและพิพากษาคดีใหม่และไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นต้องพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าว หากศาลชั้นต้นสั่งเป็นประการใดแล้ว จำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อมาได้เป็นลำดับ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับเป็นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฎีกาของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225
เมื่อความผิดที่ศาลชั้นต้นจำคุกจำเลยที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยได้พ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ.ล้างมลทิน ฯ พ.ศ.2550 ใช้บังคับ จำเลยย่อมได้รับประโยชน์ตาม มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าว จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7235/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกาย แม้ไม่ได้ลงมือเองโดยตรง และผลกระทบของ พ.ร.บ. ล้างมลทิน ต่อการเพิ่มโทษ
กรณีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 299 นั้น ต้องเป็นการชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป และมีบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป และมีบุคคลได้รับอันตรายสาหัสโดยไม่ทราบว่าผู้ใดหรือผู้ใดร่วมกับใครทำร้ายจนได้รับอันตรายสาหัส แต่หากสามารถรู้และแบ่งฝ่ายแบ่งพวกกันได้ ทั้งรู้ว่าผู้ใดหรือฝ่ายใดเป็นผู้ลงมือทำร้ายย่อมลงโทษผู้นั้นกับพวกได้ตามเจตนาและผลของการกระทำ เมื่อข้อเท็จจริงในคดีนี้ได้ความว่าจำเลยกับพวกฝ่ายหนึ่งและผู้เสียหายกับพวกฝ่ายหนึ่งวิวาทต่อสู้กัน แล้วพวกของจำเลยเป็นผู้ใช้มีดฟันทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ย่อมมิใช่กรณีตาม ป.อ. มาตรา 299 และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ที่ใช้มีดฟันทำร้ายผู้เสียหาย คือ น. ซึ่งเป็นพวกของจำเลยที่เข้าร่วมในการทะเลาะวิวาทกับผู้เสียหายด้วย จำเลยซึ่งมีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายย่อมต้องรับผลอันเป็นธรรมดา ย่อมเกิดขึ้นจากการนั้นในฐานเป็นตัวการแม้มิได้เป็นผู้ลงมือใช้มีดฟันทำร้ายผู้เสียหายด้วยตนเองก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพชั้นจับกุมแม้ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ แต่ข้อเท็จจริงในคำให้การนำสืบได้ และการเพิ่มโทษจำกัดด้วยกฎหมายล้างมลทิน
แม้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย จะบัญญัติมิให้นำคำรับสารภาพชั้นจับกุมเป็นพยานหลักฐานก็ตาม แต่ข้อความอื่นซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำให้การรับสารภาพนั้น กฎหมายมิได้ห้ามนำมารับฟังเสียทีเดียว มิฉะนั้นแล้วคงไม่ต้องทำบันทึกการจับกุม และสอบถามคำให้การของผู้ถูกจับไว้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3030/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พ.ร.บ.ล้างมลทิน: การเพิ่มโทษหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้ มิชอบ
พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ มาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ. ฉบับนี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณความผิดนั้นๆ ดังนั้น เมื่อความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ได้ต้องโทษและพ้นโทษแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับอันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว แม้ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และคดีจำเลยที่ 1 จะถึงที่สุดไปก่อนวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ปัญหาว่าเมื่อมี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ ใช้บังคับแล้วจะเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่ เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีเพื่อบังคับให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่อย่างใด กรณีมีเหตุที่จะไม่เพิ่มโทษจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พ.ร.บ.ล้างมลทินมีผลย้อนหลังทำให้ไม่สามารถเพิ่มโทษจำเลยได้ แม้คดีถึงที่สุดก่อนบังคับใช้
พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปริมนทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ มาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีมีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ ดังนั้น เมื่อความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุที่ขอให้เพิ่มโทษ จำเลยที่ 3 ได้ต้องโทษและพ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับ อันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จำเลยที่ 3 ย่อมได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ โดยมิต้องคำนึงว่าเป็นกรณีตาม ป.อ. มาตรา 3 หรือไม่ ทั้งปัญหาว่าเมื่อ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ ใช้บังคับแล้วจะเพิ่มโทษจำเลยที่ 3 ได้หรือไม่ เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีเพื่อบังคับให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวและไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่อย่างใด กรณีจึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2045/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพและการสืบพยานประกอบคำรับสารภาพในคดีอาญา รวมถึงการเพิ่มโทษจากคดีก่อน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 240, 244 และ 341 เมื่อปรากฏว่าความผิดตาม ป.อ. มาตรา 240 มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป โจทก์จึงต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 แต่คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพและโจทก์จำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ดังนี้ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดดังกล่าว แต่ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 244 และ 351 ไม่ใช่คดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ศาลไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์เสียก่อน จึงลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้