พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2048/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนของผู้อื่นและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลแก้ไขโทษและยกเลิกการนับโทษต่อ
เครื่องกระสุนปืนตามฟ้องคือกระสุนซึ่งเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนตามฟ้อง ซึ่งเป็นอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่น ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 วรรคสาม เท่านั้น และศาลล่างทั้งสองก็มิได้ปรับบทความผิดและลงโทษจำเลยตามมาตรา 7, 72 วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งเป็นเพียงกรณีมีเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมาย ฎีกาของจำเลยที่โต้แย้งว่าการมีเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนย่อมไม่เป็นความผิดนั้นจึงไม่อาจหักล้างเป็นอย่างอื่นและเปลี่ยนแปลงผลคดีไปได้ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาในคดีก่อนของศาลจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งพิพากษาลงโทษจำเลย จำคุก 9 ปี และปรับ 75 บาท จำเลยยังต้องถูกบังคับตามคำพิพากษาอยู่ แม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุดและอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ ก็ไม่ใช่เหตุที่จะนำมานับโทษจำเลยต่อไม่ได้
จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาในคดีก่อนของศาลจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งพิพากษาลงโทษจำเลย จำคุก 9 ปี และปรับ 75 บาท จำเลยยังต้องถูกบังคับตามคำพิพากษาอยู่ แม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุดและอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ ก็ไม่ใช่เหตุที่จะนำมานับโทษจำเลยต่อไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1631/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โทษจำคุกผู้ขับรถที่เสพยาเสพติด: การใช้บทกฎหมายที่เหมาะสมและการแก้ไขโทษ
พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 127 ทวิ วรรคสอง ไม่ใช่บทเพิ่มโทษ แต่เป็นบทที่กำหนดโทษผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถเสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอีกหนึ่งในสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15064/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดโทษพยายามฆ่า - ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องตามอัตราโทษสองในสามของโทษฆ่า
โทษฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 กำหนดโทษไว้เป็น 3 ประการ คือ โทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต และจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี โดยให้ศาลเลือกพิจารณาลงโทษตามความเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี ในคดีนี้เป็นการพยายามกระทำความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้นซึ่งศาลชั้นต้นได้พิจารณาเลือกกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยที่ 1 คือ โทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ฉะนั้น โทษสูงสุดของอัตราโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ 20 ปี ดังกล่าวที่สามารถจะลงโทษในข้อหาฐานพยายามได้ในกรณีนี้คือ 13 ปี 4 เดือน การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ข้อหาฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น 15 ปี และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน จึงเป็นการลงโทษเกินสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ ปัญหานี้แม้จำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์หรือฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10765/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำเลยตามกฎหมายทางหลวงที่แก้ไขใหม่ แม้โจทก์มิได้อ้างบทบัญญัติใหม่ แต่ศาลมีอำนาจลงโทษตามกฎหมายที่ถูกต้อง
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยโดยอ้างบทมาตราซึ่งถูกยกเลิกและแก้ไขใหม่แล้ว แต่มิได้อ้างมาตราที่แก้ไขใหม่ ซึ่งบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ยังคงถือเป็นความผิด ดังนั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ การที่โจทก์ยังคงขอให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายเดิม เป็นเพียงการอ้างบทบัญญัติกฎหมายผิดพลาดไปเท่านั้น แม้โจทก์จะไม่อ้างบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ แต่เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้ ตามป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วตามคำขอท้ายฟ้องจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบขึ้นมาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5404/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน ตัดโค่นไม้-ครอบครองของป่าหวงห้าม ศาลฎีกาแก้ไขโทษ
ความผิดฐานร่วมกันตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและฐานร่วมกันเก็บหาของป่าหวงห้ามเป็นการกระทำที่สามารถแยกเจตนาของจำเลยทั้งหกออกจากความผิดฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน เพราะเมื่อจำเลยทั้งหกร่วมกันตัด โค่น ทำลายต้นไม้และเก็บหาของป่าหวงห้ามแล้วย่อมเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองทันทีโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าจำเลยทั้งหกจะได้ครอบครองของป่าหวงห้ามหรือไม่ การกระทำของจำเลยทั้งหกจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ส่วนที่จำเลยทั้งหกฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบานั้น คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งหกฐานร่วมกันตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ฐานร่วมกันเก็บหาของป่าหวงห้าม ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนด เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกคนละ 6 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งแล้ว คงจำคุกคนละ 3 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยทั้งหกเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ลงโทษฐานร่วมกันตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ จำคุกคนละ 3 ปี และฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนด จำคุกคนละ 1 ปี รวมจำคุกคนละ 4 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกคนละ 2 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยทั้งหก เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นคดีที่จำเลยทั้งหกฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายก็ตาม หากศาลฎีกาเห็นว่าศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลงโทษจำเลยทั้งหกหนักเกินไป ก็ย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งหกให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
ส่วนที่จำเลยทั้งหกฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบานั้น คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งหกฐานร่วมกันตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ฐานร่วมกันเก็บหาของป่าหวงห้าม ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนด เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกคนละ 6 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งแล้ว คงจำคุกคนละ 3 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยทั้งหกเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ลงโทษฐานร่วมกันตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ จำคุกคนละ 3 ปี และฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนด จำคุกคนละ 1 ปี รวมจำคุกคนละ 4 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกคนละ 2 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยทั้งหก เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นคดีที่จำเลยทั้งหกฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายก็ตาม หากศาลฎีกาเห็นว่าศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลงโทษจำเลยทั้งหกหนักเกินไป ก็ย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งหกให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4858/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันฐานทำไม้และมีไม้หวงห้าม การปรับบทความผิดและการแก้ไขโทษ
การะกระทำความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ฐานมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง และฐานมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองนั้น ลักษณะของความผิดในแต่ละข้อหาอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันได้ ทั้งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปกับไม้หวงห้ามแปรรูปของกลางเป็นคนละชนิดและคนละจำนวนกัน แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 และที่ 4 จะกระทำความผิดในคราวเดียวกันก็ตาม การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสามดังกล่าว ก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 กับพวกร่วมกันมีไม้นนทรี ไม้ติ้ว ไม้โมง อันยังมิได้แปรรูป รวมจำนวน 21 ท่อน ซึ่งเกินกว่า 20 ท่อน ไว้ในครอบครอง จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้การรับสารภาพ จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันมีไม้หวงห้ามดังกล่าวอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองเกิน 20 ท่อน ดังที่โจทก์ฟ้อง การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ มาตรา 69 วรรคสอง (2) ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ มาตรา 69 วรรคหนึ่ง จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง แต่เนื่องจากโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขกำหนดอัตราโทษได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 และปัญหาการปรับบทดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 และที่ 6 จะมิได้ฎีกา แต่เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาแก้ไขให้มีผลตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 6 ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบ 225
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 กับพวกร่วมกันมีไม้นนทรี ไม้ติ้ว ไม้โมง อันยังมิได้แปรรูป รวมจำนวน 21 ท่อน ซึ่งเกินกว่า 20 ท่อน ไว้ในครอบครอง จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้การรับสารภาพ จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันมีไม้หวงห้ามดังกล่าวอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองเกิน 20 ท่อน ดังที่โจทก์ฟ้อง การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ มาตรา 69 วรรคสอง (2) ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ มาตรา 69 วรรคหนึ่ง จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง แต่เนื่องจากโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขกำหนดอัตราโทษได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 และปัญหาการปรับบทดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 และที่ 6 จะมิได้ฎีกา แต่เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาแก้ไขให้มีผลตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 6 ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4857/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดกรรมเดียวหลายบทเกี่ยวกับเลื่อยโซ่ยนต์, การแปรรูปไม้ และการบุกรุกป่าสงวน ศาลแก้ไขโทษและบทที่ใช้ลงโทษ
ความผิดฐานร่วมกันมีเลื่อยโซ่ยนต์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต กับความผิดฐานร่วมกันรับไว้ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์โดยรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรมีลักษณะที่เกี่ยวเนื่องเป็นการกระทำเดียวกัน จึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 90 เมื่อความผิดตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 17 วรรคหนึ่ง ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิ ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจำทั้งปรับ และการพิจารณาว่ากฎหมายบทใดมีโทษหนักกว่ากันให้ถือตามบทที่มีอัตราโทษขั้นสูงกว่าเป็นเกณฑ์ เมื่อความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว มีระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีเท่ากัน แต่คดีนี้ราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเป็นเงิน 3,030 บาท หากมีการลงโทษปรับสูงสุดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิ จะลงโทษปรับได้เป็นเงิน 12,120 บาท แต่ตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ มาตรา 17 วรรคหนึ่ง ลงโทษปรับได้สูงสุดหนึ่งแสนบาท จึงถือว่าโทษปรับตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ มาตรา 17 วรรคหนึ่ง เป็นบทที่มีโทษหนักกว่า
ความผิดฐานร่วมกันก่นสร้าง แผ้วถางป่า ยึดถือครอบครองทำประโยชน์อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ กับความผิดฐานร่วมกันทำไม้หวงห้าม โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับเวลาในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวให้ชัดแจ้งว่าเป็นการกระทำความผิดฐานใดในวันเวลาใด จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดในคราวเดียวกัน เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 11 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคสอง (1) พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 14, 31 วรรคสอง (1) มิใช่เป็นการกระทำความผิดคนละคราวอันจะเป็นความผิดหลายกรรม ต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 11 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคสอง (1) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90
ความผิดฐานร่วมกันก่นสร้าง แผ้วถางป่า ยึดถือครอบครองทำประโยชน์อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ กับความผิดฐานร่วมกันทำไม้หวงห้าม โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับเวลาในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวให้ชัดแจ้งว่าเป็นการกระทำความผิดฐานใดในวันเวลาใด จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดในคราวเดียวกัน เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 11 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคสอง (1) พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 14, 31 วรรคสอง (1) มิใช่เป็นการกระทำความผิดคนละคราวอันจะเป็นความผิดหลายกรรม ต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 11 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคสอง (1) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายยาเสพติด: การบรรยายฟ้องต้องระบุปริมาณสารบริสุทธิ์ การปรับบทกฎหมาย และการแก้ไขโทษ
ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง (เดิม) เมทแอมเฟตามีนที่จำหน่ายต้องมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินหนึ่งร้อยกรัม หรือตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสองและวรรคสาม (ที่แก้ไขใหม่) เมทแอมเฟตามีนจะต้องมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 375 มิลลิกรัม เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด แม้ตามรายงานการตรวจพิสูจน์ที่โจทก์นำสืบจะระบุปริมาณสารบริสุทธิ์ ศาลก็ไม่อาจลงโทษตามมาตรา 66 วรรคสองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ทั้งยังเป็นการรับฟังเป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสอง จึงต้องลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) อันเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3576/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษคดีประมาท และการบวกโทษคดีที่รอการลงโทษ: ศาลฎีกาแก้ไขโทษที่ศาลอุทธรณ์บวกโทษคดีก่อน
แม้คดีนี้ศาลจะลงโทษจำคุกจำเลย แต่เป็นความผิดที่จำเลยกระทำโดยประมาท จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก ที่จะนำโทษจำคุกของจำเลยที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 นำโทษจำคุกของจำเลยที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3541-3542/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี: การรับฟังพยานหลักฐานและแก้ไขโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 ไว้ในข้อ 1 ว่า "เมื่อระหว่างตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2544 เวลากลางวัน จนถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2544 เวลากลางคืนหลังเที่ยง วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยได้บังอาจกระทำชำเราเด็กหญิง ส. อายุ 12 ปีเศษ (เกิดวันที่ 27 ตุลาคม 2532) ซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปี และมิใช่ภริยาของจำเลย โดยเด็กหญิง ส. ยินยอม เหตุเกิดที่แขวงใดเขตใดไม่ปรากฏชัด ในกรุงเทพมหานคร" คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ พอที่จะทำให้จำเลยที่ 2 เข้าใจข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยที่ 2 กระทำความผิดเป็นวันเวลาใด และจำเลยที่ 2 กระทำความผิดที่ใด โดยโจทก์หาต้องบรรยายระบุวัน เวลาที่แน่ชัดว่าจะต้องเป็นวันที่เท่าใด เดือนใด เวลาอะไรที่แน่นอน และหาต้องบรรยายระบุเหตุเกิดที่แขวงใด เขตใดที่แน่นอนในกรุงเทพมหานคร คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
ป.วิ.อ. มาตรา 237 ทวิ เป็นบทบัญญัติในหมวด 2 พยานบุคคล ที่กำหนดให้ศาลชั้นต้นที่ได้รับคำร้องจากพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนให้สืบพยานไว้ก่อนฟ้องคดีต่อศาล เมื่อมีเหตุจำเป็นอื่นอันเป็นการยากแก่การนำพยานนั้นมาสืบในภายหน้า เช่น อาจจะมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นแก่ผู้เสียหาย หรือมีเหตุจูงใจบางอย่างที่จะทำให้ผู้เสียหายไม่สามารถมาเบิกความเป็นพยานในภายหน้าได้ เป็นต้น การสืบพยานดังกล่าวจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 172 วรรคสอง และคดีนี้ปรากฏว่าในวันนัดสืบพยานก่อนฟ้องคดีต่อศาล พนักงานอัยการได้แจ้งวันนัดสืบพยานให้จำเลยที่ 3 ทราบแล้ว แต่จำเลยที่ 3 ไม่มาศาลและไม่แต่งตั้งทนายความ แสดงว่าจำเลยที่ 3 ไม่ติดใจที่จะถามค้านผู้เสียหาย การสืบพยานผู้เสียหายก่อนฟ้องคดีต่อศาลจึงชอบด้วยกฎหมาย
ป.วิ.อ. มาตรา 237 ทวิ เป็นบทบัญญัติในหมวด 2 พยานบุคคล ที่กำหนดให้ศาลชั้นต้นที่ได้รับคำร้องจากพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนให้สืบพยานไว้ก่อนฟ้องคดีต่อศาล เมื่อมีเหตุจำเป็นอื่นอันเป็นการยากแก่การนำพยานนั้นมาสืบในภายหน้า เช่น อาจจะมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นแก่ผู้เสียหาย หรือมีเหตุจูงใจบางอย่างที่จะทำให้ผู้เสียหายไม่สามารถมาเบิกความเป็นพยานในภายหน้าได้ เป็นต้น การสืบพยานดังกล่าวจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 172 วรรคสอง และคดีนี้ปรากฏว่าในวันนัดสืบพยานก่อนฟ้องคดีต่อศาล พนักงานอัยการได้แจ้งวันนัดสืบพยานให้จำเลยที่ 3 ทราบแล้ว แต่จำเลยที่ 3 ไม่มาศาลและไม่แต่งตั้งทนายความ แสดงว่าจำเลยที่ 3 ไม่ติดใจที่จะถามค้านผู้เสียหาย การสืบพยานผู้เสียหายก่อนฟ้องคดีต่อศาลจึงชอบด้วยกฎหมาย