พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,515 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่: สิทธิเจ้าของที่ดินฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกหลังศาลพิพากษาถึงที่สุด
ในคดีหมายเลขดำที่ ม.395/2549 โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายอาญาด้วยการใช้อุปกรณ์งัดประตูรั้วบ้านและประตูบ้านของโจทก์และบุกรุกเข้าไปครอบครองบ้านของโจทก์โดยละเมิด ทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้จำเลยกับพวกชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามาจากจำเลยกระทำผิดต่อกฎหมายอาญาเป็นละเมิดต่อโจทก์ และขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีหมายเลขดำที่ ม.395/2549 นั้น โจทก์ยังไม่ได้เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินพิพาท เนื่องจากยังเป็นประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำลังพิจารณาอยู่ในคดีหมายเลขดำที่ 8822/2548 ว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของบ้านและที่ดินพิพาท ส่วนการที่โจทก์ในคดีนี้ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินพิพาทตามที่ศาลฎีกาได้พิพากษาชี้ขาดมาในคดีหมายเลขดำที่ 8822/2548 แล้ว จำเลยเข้ามาอยู่ในบ้านพิพาทโดยไม่มีสิทธิ ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไป ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้มาจากโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามที่ศาลฎีกาได้พิพากษาชี้ขาดมา โจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยและบริวารอยู่ในบ้านและที่ดินของโจทก์อีกต่อไป ดังนั้นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีซ้ำในความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 144 และขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ยังมีคดีหมายเลขดำที่ 8822/2548 กำลังพิจารณาอยู่ว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของบ้านและที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีหมายเลขดำที่ ม.395/2549 ชั่วคราวก่อน เพื่อรอฟังผลการชี้ขาดในคดีหมายเลขดำที่ 8822/2548 ก่อน ขณะนั้นโจทก์ยังไม่ได้รับการตัดสินว่าเป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาท จึงไม่อยู่ในฐานะที่สามารถฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารได้ การที่จะให้โจทก์ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดแล้วให้โจทก์มีคำขอบังคับให้ขับไล่จำเลยเข้ามาด้วย ย่อมไม่ชอบ เพราะข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเป็นคนละเรื่องกัน ส่วน ป.วิ.พ. มาตรา 142 นั้น ก็เป็นบทบัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิจได้ว่าในคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี เมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยก็ได้ ไม่ใช่บทบัญญัติที่บังคับให้โจทก์ต้องมีคำขอให้บังคับเข้ามาในคำฟ้องแต่อย่างใด ฟ้องโจทก์ในคดีนี้สภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแตกต่างจากคดีหมายเลขดำที่ ม.395/2549 จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน โจทก์เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินพิพาทตามคำพิพากษาศาลฎีกา ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีทำให้เสียทรัพย์: เจ้าของทรัพย์ต้องเป็นผู้แจ้งความ หากไม่ใช่ ผู้เสียหายไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้
ป.อ. มาตรา 358 บัญญัติถึงความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ว่า "ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์" เห็นได้ว่า องค์ประกอบความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์นั้น ต้องกระทำต่อทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ซึ่งคำว่า "ทรัพย์ของผู้อื่น" นั้น ย่อมหมายความรวมถึงบุคคลที่ได้รับมอบหมายโดยตรงจากเจ้าของทรัพย์ให้เป็นผู้ครอบครองดูแลรักษาทรัพย์นั้น
เมื่อรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุเป็นของ ล. และผู้เสียหายยืมจากเพื่อนรุ่นน้องมาใช้ โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ล. ซึ่งเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุได้มอบหมายโดยตรงให้ผู้เสียหายเป็นผู้ครอบครองดูแลรักษารถจักรยานยนต์คันดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของทรัพย์ได้ ผู้เสียหายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ เมื่อ ล. ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงไม่ได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ การที่พนักงานสอบสวนสอบสวนจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานนี้ และผู้เสียหายไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการซ่อมรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุแก่ผู้เสียหายได้
เมื่อรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุเป็นของ ล. และผู้เสียหายยืมจากเพื่อนรุ่นน้องมาใช้ โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ล. ซึ่งเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุได้มอบหมายโดยตรงให้ผู้เสียหายเป็นผู้ครอบครองดูแลรักษารถจักรยานยนต์คันดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของทรัพย์ได้ ผู้เสียหายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ เมื่อ ล. ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงไม่ได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ การที่พนักงานสอบสวนสอบสวนจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานนี้ และผู้เสียหายไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการซ่อมรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุแก่ผู้เสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 29/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน: การสอบสวนโดยไม่มีคำร้องทุกข์ และการวินิจฉัยพยานหลักฐาน
ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง บัญญัติเพียงว่า เฉพาะคดีความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้นที่พนักงานสอบสวนจะดำเนินการสอบสวนได้จะต้องมีคำร้องทุกข์เสียก่อน เมื่อคดีความผิดที่โจทก์ฟ้องเป็นความผิดอาญาแผ่นดินทุกฐานความผิด พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจสอบสวนโดยลำพังตนเองหากพบว่ามีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้น โดยเฉพาะคดีนี้ ผู้เสียหายโทรศัพท์แจ้งเหตุต่อพนักงานสอบสวน เท่ากับว่าได้มีการกล่าวโทษซึ่งทำให้พนักงานสอบสวนทราบว่ามีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้นแล้ว พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจเริ่มต้นการสอบสวนได้ในทันทีด้วยการออกไปตรวจสถานที่เกิดเหตุและรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ ตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 130 บัญญัติไว้ ถือได้ว่าคดีนี้มีการสอบสวนในความผิดตามฟ้องโดยชอบแล้ว พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2884/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนมือกรรมสิทธิ์จากการขายทอดตลาด ทำให้โจทก์หมดอำนาจฟ้องเรียกค่าส่วนกลางจากจำเลยเดิม
ธนาคาร อ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลย ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ ต่อมาธนาคาร อ. ขอให้ยึดห้องชุดพิพาท บริษัท บ. เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนธนาคาร อ. โดยขออนุญาตเข้าซื้อห้องชุดพิพาทในนามของตนเอง และแถลงขอให้หักค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่จำเลยค้างชำระ ซึ่งตามประกาศขายทอดตลาดมีการระบุยอดค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ค้างชำระไว้ด้วย มีคำเตือนผู้ซื้อได้จะต้องตรวจสอบภาระหนี้สินก่อน และผู้ซื้อต้องเป็นผู้ชำระหนี้สินค้างชำระต่อนิติบุคคลอาคารชุดก่อนจึงจะโอนกรรมสิทธิ์ได้ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 18, 29 และมาตรา 41 ซึ่งถือว่าเงื่อนไขดังกล่าวเป็นข้อมูลสำคัญที่ผู้เข้าประมูลซื้อห้องชุดจะต้องตรวจสอบและนำมาประกอบการตัดสินใจเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาด ต่อมาบริษัท บ. ผู้สวมสิทธิแทนธนาคาร อ. เป็นผู้ประมูลซื้อได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำรายงานแสดงรายการรับจ่ายครั้งที่ 1 การที่บริษัท บ. เข้าร่วมประมูลซื้อทรัพย์เท่ากับตกลงยอมรับข้อกำหนดเงื่อนไขในประกาศขายทอดตลาดดังกล่าว เมื่อจำเลยมีหนี้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางค้างชำระแก่โจทก์ บริษัท บ. ย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของร่วมเดิม และมีหน้าที่ที่จะต้องรับภาระหนี้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเกี่ยวกับหนี้ค่าส่วนกลางจากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบุพการี & ข้อผิดพลาดฟ้อง - ศาลควรให้แก้ไขก่อนยกฟ้อง
ป.วิ.อ. มาตรา 161 บัญญัติว่า "ถ้าฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ให้ศาลสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง หรือยกฟ้องหรือไม่ประทับฟ้อง" และมาตรา 158 บัญญัติว่า "ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมี ฯลฯ (7) ลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง" ตามฟ้องของโจทก์ทั้งสามปรากฏว่า โจทก์ทั้งสามได้ลงลายมือชื่อแล้วโดยผู้รับมอบอำนาจโจทก์ที่ 1 และในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 แทนโจทก์ทั้งสาม เหตุที่ไม่ปรากฏลายมือชื่อผู้เรียงและผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้องน่าจะเป็นเพราะโจทก์ทั้งสามพิมพ์แบบพิมพ์คำขอท้ายฟ้องมาไม่ครบถ้วน โดยพิมพ์เฉพาะด้านหน้ามิได้พิมพ์แบบพิมพ์ด้านหลังซึ่งจะมีรายการให้ลงลายมือชื่อผู้เรียงหรือผู้พิมพ์ฟ้องไว้มาด้วย จึงเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ซึ่งสามารถแก้ไขได้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสามสำหรับจำเลยที่ 2 เพราะเหตุดังกล่าวโดยไม่สั่งให้โจทก์ทั้งสามแก้ไขก่อน และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนมานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 727/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่สมบูรณ์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง รังวัดที่ดินไม่ชัดเจน
ตามบันทึกตกลงไว้เป็นหลักฐานได้ความว่า วันที่ 21 พฤษภาคม 2562 โจทก์และจำเลยกับพวกตกลงกันได้โดยโจทก์ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ 1,500,000 บาท ในวันดังกล่าว แล้วจำเลยกับพวกต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในที่ดินทั้ง 3 แปลง ออกไปภายใน 15 วัน โดยวันที่ 23 พฤษภาคม 2562 เวลา 8 นาฬิกา ต้องให้ช่างรังวัดจากสำนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรสงครามรังวัดที่ดินทั้ง 3 แปลง (รวมที่ดินโฉนดเลขที่ 40775) เพื่อให้ทราบแนวเขตที่ชัดเจน เมื่อได้แนวเขตที่ชัดเจนแล้ว โจทก์และจำเลยตกลงเป็นอันยุติตามผลการรังวัด และต่างฝ่ายจะไม่เข้ายุ่งเกี่ยวในที่ดินของกันและกันอีกต่อไป บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยให้เสร็จไปโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 จึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลย แสดงว่าโจทก์และจำเลยทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวโดยมุ่งที่จะรังวัดที่ดินเพื่อให้ทราบแนวเขตที่ดินให้ชัดเจนเป็นสำคัญ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าได้มีการรังวัดที่ดินเพื่อให้ทราบแนวเขตที่ดินที่ชัดเจนตามที่ได้ตกลงกันไว้ และในข้อนี้ได้ความจากนายช่างรังวัดชำนาญงาน สำนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม ผู้ทำแผนที่พิพาท เบิกความตอบคำถามค้านว่า ในการรังวัดจัดทำแผนที่พิพาทไม่พบหลักหมุดของที่ดินทั้งหมด เช่นนี้ ย่อมไม่อาจทราบได้ว่าบ้านหลังดังกล่าวจะอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 40775 หรือไม่ เนื่องจากยังไม่ทราบแนวเขตที่ดินที่แน่นอน กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ยังไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวซึ่งเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความให้ครบถ้วน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การต่อสู้และยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมยกขึ้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบมาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5579/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีชู้สาว: โจทก์ทราบความสัมพันธ์ชู้สาวแต่ทำสัญญาแยกกันอยู่และฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูภายหลัง ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เมื่อพิจารณาจากคำฟ้องในคดีนี้ประกอบกับคดีที่โจทก์ฟ้อง ล. เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู จึงเห็นได้ว่าโจทก์ทราบมานานแล้วว่า ล. มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับหญิงอื่นหลายคนรวมทั้งจำเลยในคดีนี้ สอดคล้องกับที่โจทก์เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่า ในช่วงปี 2559 ล. เลี้ยงดูผู้หญิงหลายคน และ ร. พยานโจทก์ที่เบิกความว่าได้สมัครทำงานเป็นเชฟให้แก่ ล. เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2560 พยานเป็นผู้ส่งภาพถ่ายแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ล. กับจำเลย รวมทั้งคลิปวิดีโอต่าง ๆ ให้แก่โจทก์ พฤติการณ์ที่โจทก์ทราบดีว่า ล. มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับผู้หญิงหลายคน รวมทั้งจำเลยในคดีนี้ แต่โจทก์กลับมิได้ใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนในการกระทำดังกล่าวจากจำเลย แต่กลับทำสัญญาแยกกันอยู่กับ ล. สองฉบับดังกล่าวข้างต้นและให้ ล. จ่ายเงินค่าเลี้ยงดูให้แก่โจทก์ ตลอดจนให้ใช้บัตรเครดิตอย่างไม่จำกัดวงเงิน ต่อมาโจทก์กลับมาฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยในคดีนี้เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2563 เป็นจำนวนเงินสูงถึง 300,000,000 บาท หรือการที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจาก ล. เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2563 จำนวน 78,600,000 บาท อันเป็นระยะเวลาภายหลังจากที่โจทก์ทราบถึงเหตุดังกล่าวและแยกกันอยู่กับ ล. เมื่อปี 2557 เป็นเวลาถึงเกือบ 6 ปี จึงเชื่อว่าเกิดจากโจทก์ที่โกรธแค้นจำเลยและ ล. ที่ ล. ไม่จ่ายเงินค่าเลี้ยงดูให้แก่โจทก์อีกต่อไป รวมทั้งยกเลิกการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ หาใช่มาจากจำเลย แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับ ล. สามีโจทก์ในทำนองชู้สาวตามที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ไม่ ซึ่งสอดคล้องกับที่โจทก์เบิกความตอบทนายโจทก์ถามว่า ในช่วงที่บัตรเครดิตของโจทก์หมดอายุ ได้มีการส่งบัตรเครดิตใหม่ไปให้ที่ที่พักของ ล. สามี จำเลยเห็นจึงบอกให้ ล. ตัดบัตรทิ้ง ทั้ง ป.พ.พ. มาตรา 5 บัญญัติว่า "ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต" การที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยในคดีนี้ จึงสืบเนื่องมาจากการที่ ล. ระงับการจ่ายเงินค่าเลี้ยงดูและการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ตามข้อตกลงเป็นสำคัญ มิได้มีเจตนาที่จะใช้บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง มาเรียกค่าทดแทนจากจำเลยอย่างแท้จริง การฟ้องคดีของโจทก์ดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดให้กระทำได้ อีกทั้งยังเป็นการใช้สิทธิฟ้องจำเลยโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 ด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลฎีกามีสิทธิยกขึ้นในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) มาตรา 246 และมาตรา 252 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตา 182/1 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงิน: อำนาจฟ้องและการพิสูจน์การชำระหนี้
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การทำนองเดียวกันว่าหนี้เงินกู้เป็นการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกันเพื่อใช้เป็นเงินทุนในกิจการของจำเลยที่ 1 ปัจจุบันมีการชำระหนี้แล้ว และชั้นพิจารณาจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำสืบทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจตัดสินใจ ในการบริหารงานของจำเลยที่ 1 การตัดสินใจขึ้นอยู่กับ ป. จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกู้ยืมเงินกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อตามที่ ป. สั่ง จึงมิได้กระทำการในนามตนเองและมิได้รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ เงินที่กู้ยืมนำไปใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่ามีการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จริงยิ่งกว่านั้นการที่ ป. ลงลายมือชื่อทั้งในช่องผู้กู้และช่องผู้ให้กู้ตามสัญญากู้ยืมเงินและใบรับเงินกู้เอกสารหมาย จ.6 ลงลายมือชื่อช่องผู้ให้กู้ตามสัญญากู้เงินและใบรับเงินกู้เอกสารหมาย จ.7 และลงลายมือชื่ออนุมัติกรณีจำเลยที่ 1 ขอกู้ยืมเงิน 25,500,000 บาท เพื่อนำมาใช้ในการโอนที่ดิน อีกทั้ง ป. ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็ค 2 ฉบับ จากบัญชีโจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 แล้วมีการเบิกถอนเงินตามเช็คไปแล้ว แสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปจากโจทก์แล้ว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติได้ว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์จริง กรณีนี้ไม่จำต้องอาศัยหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญมาแสดงต่อศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่าได้ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว จำเลยที่ 1 มีภาระการพิสูจน์ในเรื่องนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 แต่ตามทางนำสืบของจำเลยที่ 1 คงมีแต่ตัวจำเลยที่ 2 เป็นพยานเพียงปากเดียวเบิกความลอย ๆ ว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้เงินกู้ครบถ้วนแล้ว แต่โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ จึงมีรายการหนี้เงินกู้ของโจทก์ค้างอยู่ในงบการเงินของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดตามที่ระบุไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง มาแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว พยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว
เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่าได้ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว จำเลยที่ 1 มีภาระการพิสูจน์ในเรื่องนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 แต่ตามทางนำสืบของจำเลยที่ 1 คงมีแต่ตัวจำเลยที่ 2 เป็นพยานเพียงปากเดียวเบิกความลอย ๆ ว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้เงินกู้ครบถ้วนแล้ว แต่โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ จึงมีรายการหนี้เงินกู้ของโจทก์ค้างอยู่ในงบการเงินของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดตามที่ระบุไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง มาแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว พยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4770/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์เงินฝาก ความเสียหายจากการปลอมแปลงเอกสาร และอำนาจฟ้องคดีลักทรัพย์
เงินที่โจทก์นำมาฝากเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร ท. อยู่ในความครอบครองของธนาคาร ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ท. ซึ่งธนาคารผู้รับฝากย่อมมีสิทธิในการบริหารจัดการเงินฝากจำนวนดังกล่าว ธนาคารผู้รับฝากคงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินตามจำนวนที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกค้านำเข้าฝากไว้เท่านั้น ธนาคารผู้รับฝากไม่จำเป็นต้องคืนเงินเป็นจำนวนอันเดียวกับที่โจทก์ฝากไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 เงินจำนวนดังกล่าวที่จำเลยรับไปจึงเป็นเงินของธนาคาร ท. ผู้รับฝาก มิใช่เงินของโจทก์ การที่จำเลยทำใบถอนเงินที่ปลอมขึ้นมาเบิกถอนจากบัญชีเงินฝากของโจทก์แล้วเอาเงินจำนวนดังกล่าวไปเข้าบัญชีธนาคารของจำเลย ธนาคาร ท. ผู้รับฝากจึงเป็นผู้เสียหายโดยตรง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่แท้จริงในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3681/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องผู้จัดการมรดกร่วม กรณีมีมติร่วมกันฟ้องเรียกทรัพย์คืน
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 มรดก ลักษณะ 4 วิธีการจัดการและปันทรัพย์มรดก หมวด 1 ผู้จัดการมรดก ว่าด้วยการจัดตั้งผู้จัดการมรดกคนเดียวหรือหลายคน และวิธีการจัดการมรดก ซึ่งมาตรา 1726 บัญญัติเกี่ยวกับกรณีผู้จัดการมรดกหลายคนซึ่งต้องตกลงกันด้วยเสียงข้างมาก เมื่อตกลงกันได้แล้วจึงดำเนินการรวบรวมจำหน่ายทรัพย์มรดกเป็นตัวเงิน ทำการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้กองมรดก กับการแบ่งปันทรัพย์มรดก ตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 2 ว่าด้วยการรวบรวมจำหน่ายทรัพย์มรดกเป็นตัวเงิน และการชำระหนี้กับแบ่งปันทรัพย์มรดก ซึ่งมาตรา 1736 วรรคสอง บัญญัติว่า ในระหว่างเวลาเช่นว่านั้น ผู้จัดการมรดกชอบที่จะทำการใด ๆ ในทางจัดการตามที่จำเป็นได้ เช่นฟ้องคดีหรือแก้ฟ้องในศาลและอื่น ๆ ดังนี้ จะเห็นได้ว่า การกระทำในทางธรรมชาติของการจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดกหลายคนนั้น บางกรณีไม่อาจกระทำได้ด้วยผู้จัดการมรดกพร้อมกันทุกคน เช่น การครอบครองทรัพย์มรดก การจัดทำบัญชีทรัพย์มรดก การขอถอนผู้จัดการมรดก และไม่จำต้องกระทำการพร้อมกันทุกคน เช่น การทำนิติกรรม การรับชำระหนี้จากลูกหนี้ การชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ การฟ้องร้องและการต่อสู้คดี เป็นต้น ทั้งตามบทกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าการกระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกหลายคนนั้น ต้องร่วมกันทำหรือร่วมกันลงชื่อในนิติกรรมพร้อมกันทุกคนทุกคราวไป เพียงแต่ต้องกระทำการด้วยตนเอง เว้นแต่จะกระทำการโดยตัวแทนได้ตามอำนาจที่ให้ไว้ชัดแจ้งหรือโดยปริยายในพินัยกรรมหรือโดยคำสั่งศาล เนื่องเพราะผู้จัดการมรดกทุกคนต้องร่วมรับผิดต่อทายาทและบุคคลภายนอกดังเช่นตัวแทน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1720 และ 1723 ฉะนั้น การกระทำใดของผู้จัดการมรดกคนหนึ่งหรือหลายคนโดยมีผู้เห็นด้วยเป็นส่วนมาก หรือได้รับความยินยอมของผู้จัดการมรดกคนอื่นแล้ว ก็ต้องถือว่าเป็นการจัดการมรดกร่วมกันโดยเสียงข้างมาก หาจำต้องให้ผู้จัดการมรดกเสียงส่วนข้างน้อยเข้าร่วมจัดการด้วยไม่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า หลังจากศาลมีคำสั่งตั้ง บ. ซึ่งเป็นผู้ร้อง และโจทก์ซึ่งเป็นผู้คัดค้าน ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกของ ว. ผู้ตาย ตามคำสั่งศาลแพ่ง คดีหมายเลขแดงที่ พ 364/2562 แล้ว ต่อมา บ. ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนโจทก์ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก และฝ่ายโจทก์ยื่นคำคัดค้านและขอให้ศาลมีคำสั่งถอน บ. ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกเช่นกัน ศาลนัดไต่สวนคำร้อง และปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแพ่ง ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2562 ว่า นัดไต่สวนคำร้องวันนี้ ผู้ร้อง ป. ผู้รับมอบอำนาจผู้ร้อง ทนายผู้ร้อง ผู้คัดค้าน และทนายผู้คัดค้านมาศาล โดยได้ความตามคำร้องขอแก้ไขคำร้อง ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2562 ของ บ. ผู้ร้องโดย อ. ทนายความผู้ร้อง เป็นผู้ลงนามในคำร้องและเป็นผู้เรียงคำร้องดังกล่าว ในหน้าที่ 5 มีข้อความว่า "กรณีผู้คัดค้านกล่าวอ้างว่า มีทรัพย์สินหลายรายการอยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอกนั้น ซึ่งทรัพย์สินตามที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้างเหล่านั้น ไม่ปรากฏชื่อของผู้คัดค้านหรือชื่อของผู้ตายเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่อย่างใด ดังนั้น การใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินดังกล่าวคืนสู่กองมรดกนั้น ผู้คัดค้านสามารถใช้สิทธิทางกฎหมายเพื่อติดตามเอาทรัพย์สินคืนในนามส่วนของตนเองได้โดยตรง ผู้ร้องยินดีให้ความร่วมมือและไม่คัดค้านแต่ประการใด" นอกจากนี้ในคำร้องดังกล่าวในหน้าที่ 3 มีข้อความอีกว่า "...ปัจจุบันผู้ร้องและทายาทโดยธรรมของผู้ตายทุกคน พักอาศัยอยู่ที่ต่างประเทศ โดยผู้ร้องพักอาศัยอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย ซึ่งในการยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ผู้ร้องได้แต่งตั้งให้ทนายความ และบุคคลอื่นให้เป็นผู้รับมอบอำนาจในการดำเนินการจัดการรวบรวมทรัพย์มรดกตามคำสั่งศาลนี้แทนผู้ร้องโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว เพื่อความสะดวกในการจัดการมรดกร่วมกันกับผู้คัดค้านแทนผู้ร้อง และผู้คัดค้านสามารถติดต่อทนายความหรือผู้รับมอบอำนาจของผู้ร้องได้ตลอดเวลา.." จากข้อความดังกล่าว จึงฟังได้ว่า บ. ได้แต่งตั้งให้ ป. เป็นผู้รับมอบอำนาจของตนในการดำเนินคดี และมีการแต่งตั้ง อ. เป็นทนายความของตน ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการมรดกของผู้ตาย ถือได้ว่า บ. ในฐานะผู้จัดการมรดกร่วมได้แต่งตั้งให้ทนายความและบุคคลอื่น ให้เป็นผู้รับมอบอำนาจในการดำเนินการจัดรวบรวมทรัพย์มรดกตามคำสั่งศาลนี้แทนตนโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ทั้งนี้ ก็เพื่อความสะดวกในการจัดการมรดกร่วมกันกับโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วม อีกคนหนึ่ง ซึ่งเป็นเวลาก่อนวันที่ 14 กันยายน 2562 ที่จะมีการประชุมผู้จัดการมรดก ดังนั้น เมื่อได้ความตามบันทึกการประชุม ระบุว่า "..ผู้จัดการมรดกของ ว. ตามคำสั่งศาลแพ่งคดีหมายเลขแดงที่ พ 364/2562 โดยมีผู้ร่วมประชุมคือ 1) นางสาว ร. (ซึ่งก็คือโจทก์) และ 2) อ. และ ป. ตัวแทน บ." ซึ่งก็คือทนายความและผู้รับมอบอำนาจของ บ. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับโจทก์ในกองมรดกของผู้ตาย ได้ทำหน้าที่ของตนในฐานะเป็นตัวแทนของ บ. ในการประชุมผู้จัดการมรดกดังกล่าวนั่นเอง เมื่อพิจารณาประกอบบันทึกการประชุมผู้จัดการมรดก เพื่อปรึกษาการจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตาย กลุ่มที่ 3 ซึ่งอยู่ในชื่อตัวแทน 4 คน ที่ยังไม่สามารถเรียกคืนได้และอีกหนึ่งคนตกลงคืนแล้ว ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติให้ดำเนินการฟ้องเรียกทรัพย์คืน โดยฝ่ายทายาทไม่ประสงค์จะเข้าร่วม ในท้ายรายงานการประชุมดังกล่าวได้แนบบัญชีทรัพย์สินในกลุ่มที่ 3 ระบุชื่อจำเลยจำนวน 2 รายการ คือ อันดับที่ 19 ที่ดินและบ้านพิพาท และอันดับที่ 20 เงินพิพาท จึงถือได้ว่า อ. ทนายความ และ ป. ผู้รับมอบอำนาจของ บ. เป็นตัวแทนของ บ. ในฐานะผู้จัดการมรดกร่วม ได้ร่วมประชุมจัดการมรดกและมีมติให้มีการดำเนินคดีแก่ผู้ที่ถือครองทรัพย์สินซึ่งเป็นมรดกคืนสู่กองมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1723 และเกี่ยวกับคดีนี้ก็คือการร่วมรู้เห็นและยินยอมให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ เพื่อรวบรวมทรัพย์สินของผู้ตายเข้าสู่กองมรดกนำไปแบ่งปันให้แก่ทายาทตามกฎหมาย อันถือได้ว่าเป็นการจัดการมรดกร่วมกันโดยเสียงข้างมากตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1726 ข้างต้นแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกที่ดินและบ้านพร้อมเงินพิพาทส่วนของผู้ตายคืนจากจำเลยได้