พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12251/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน - ขอบเขตความรับผิด - การบังคับคดี - ระยะเวลาบังคับคดี
สัญญาประกันที่ผู้ร้องทำไว้ต่อศาลชั้นต้นมีข้อความระบุว่า "ข้าพเจ้า... ขอทำสัญญาค้ำประกันต่อศาลว่า ถ้าจำเลยแพ้คดีโจทก์และไม่นำเงินมาชำระให้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นเท่าใด ข้าพเจ้ายอมให้บังคับคดีเอาจากหลักประกันในคดีนี้ได้ทันที..." ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นบางส่วนโดยยังคงให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และคดีถึงที่สุดในชั้นอุทธรณ์แล้ว เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดีและมิได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ ผู้ร้องจึงต้องรับผิดตามข้อความที่ระบุในสัญญาประกันดังกล่าว ความรับผิดของผู้ร้องตามสัญญาประกันฉบับนี้จะสิ้นไปก็ต่อเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษากลับให้ยกฟ้อง หรือโจทก์มิได้ร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยและผู้ร้องภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาของศาลชั้นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เมื่อคดียังอยู่ในระยะเวลาสิบปีที่โจทก์จะบังคับคดีได้ตามบทมาตราดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับคดีแก่หลักประกันของผู้ร้องได้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอรับหลักประกันคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3604/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาค้ำประกันเมื่อมีการแยกกิจการ และขอบเขตความรับผิดของธนาคารตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนประกันวินาศภัยของบริษัทอาคเนย์ประกันภัย จำกัด จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ จำเลยที่ 2 สาขาธาตุพนมและสาขาสกลนคร ออกหนังสือสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 จำนวน 2 ฉบับ ต่อบริษัทอาคเนย์ประกันภัย จำกัด และโจทก์ตามลำดับ สำหรับการเป็นตัวแทนในการเก็บเบี้ยประกันภัย ต่อมาบริษัทอาคเนย์ประกันภัย จำกัด ได้แยกธุรกิจประกันวินาศภัยออกจากบริษัทอาคเนย์ประกันภัย จำกัด ด้วยการจัดตั้งบริษัทโจทก์ และโอนทรัพย์สิน หนี้สิน และความรับผิดชอบตามกรมธรรม์ประกันภัย ตลอดทั้งพนักงานและลูกจ้างในส่วนของธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัทอาคเนย์ประกันภัย จำกัด ไปเป็นของบริษัทโจทก์ เพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 127 ในอายุสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 1 เก็บเบี้ยประกันภัยแล้วไม่นำส่งคืนให้แก่บริษัทอาคเนย์ประกันภัย จำกัด และนำเงินดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว โจทก์ทวงถามแล้ว จำเลยที่ 1 จึงทำหนังสือรับสภาพหนี้แก่โจทก์เป็นเงิน 626,649 บาท แต่ผิดนัดไม่ชำระ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในเบี้ยประกันภัยที่ไม่นำส่งคืนให้แก่บริษัทอาคเนย์ประกันภัย จำกัด ตามจำนวนเงินในหนังสือรับสภาพหนี้ ส่วนจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันฉบับที่สอง และต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันฉบับแรกด้วย เนื่องจากการที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ออกหนังสือค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ไว้ตามวัตถุประสงค์ในการทำธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ โดยได้รับผลตอบแทน ย่อมเป็นการค้ำประกันต่อกิจการในส่วนการประกันวินาศภัยนั้น ๆ ไม่ว่าส่วนกิจการประกันวินาศภัยจะถูกแยกไปตั้งเป็นอีกบริษัทหนึ่งหรือไม่ นอกจากนั้นในหนังสือต่ออายุสัญญาค้ำประกันซึ่งทำขึ้นหลังจากแยกกิจการในส่วนประกันวินาศภัยแล้วก็ยังระบุชื่อบริษัทอาคเนย์ประกันภัย จำกัด เป็นคู่สัญญา ซึ่งแสดงว่าจำเลยที่ 2 เองก็ประสงค์ผูกพันตนต่อกิจการประกันวินาศภัยที่จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนอยู่ ทั้งไม่ปรากฏว่าการแยกกิจการดังกล่าวทำให้ภาระหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในการเก็บและส่งเบี้ยประกันภัยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การโอนบรรดาทรัพย์สิน หนี้สิน ความรับผิดชอบตามกรมธรรม์ประกันภัย ตลอดทั้งพนักงานและลูกจ้างในส่วนของธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัทอาคเนย์ประกันภัย จำกัด ไปยังบริษัทโจทก์ ย่อมมีผลให้สิทธิเรียกร้องของบริษัทอาคเนย์ประกันภัย จำกัด ที่มีต่อจำเลยที่ 2 ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันฉบับแรกโอนมายังบริษัทโจทก์ด้วย ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันฉบับแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13267/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันสิ้นผลเมื่อลูกหนี้เลิกกิจการ แต่ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ได้
ตามสัญญาค้ำประกันหนี้สินที่จำเลยทั้งสี่ทำไว้กับบริษัทเงินทุน ย. นั้น เป็นการค้ำประกันเพื่อชำระหนี้ในเมื่อบริษัท ก. ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เมื่อต่อมาบริษัท ก. ลูกหนี้จดทะเบียนเลิกบริษัท อันมีผลให้ลูกหนี้สิ้นสภาพนิติบุคคล สัญญาค้ำประกันที่จำเลยทั้งสี่ทำไว้จึงไม่มีลูกหนี้ที่จำเลยทั้งสี่จะต้องค้ำประกันอีกต่อไป สัญญาค้ำประกันจึงสิ้นผลไปโดยปริยาย แม้เช็คทั้ง 17 ฉบับ จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัท ก. ลูกหนี้จะลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและประทับตราสำคัญของบริษัทก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเช็คดังกล่าวเป็นเช็คของลูกหนี้ ดังนั้นจำเลยที่ 2 และที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดต่อบริษัทเงินทุน ย. ในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาวงเงินขายตั๋วลดเช็คที่เกิดขึ้นภายหลังจากลูกหนี้สิ้นสภาพนิติบุคคลไปแล้ว
จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัท ก. ลูกหนี้ รู้ดีว่าในวันที่จำเลยทั้งสองสั่งจ่ายเช็คทั้ง 17 ฉบับ พร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทนั้น บริษัท ก. ลูกหนี้ได้สิ้นสภาพนิติบุคคลไปแล้ว แต่จำเลยทั้งสองยังถือโอกาสที่บริษัทเงินทุน ย. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่รู้ถึงการบอกเลิกบริษัทของตนนำเช็คที่สั่งจ่ายในนามของบริษัท ก. ไปขายลดให้แก่บริษัทเงินทุน ย. อีก ซึ่งการกระทำดังกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 3 ย่อมได้เงินจากการขายลดเช็ค โดยทราบดีว่าเจ้าหนี้ไม่อาจจะบังคับเอาจากบริษัท ก. ลูกหนี้ได้เพราะลูกหนี้ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทไปก่อนแล้ว อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 5 ซึ่งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเช็คพิพาทเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสี่ได้ยกขึ้นให้การต่อสู้โจทก์ และจำเลยที่ 4 นำสืบในศาลชั้นต้นแล้วไม่ใช่ข้อเท็จจริงใหม่ที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาก่อน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจนำข้อกฎหมายมาปรับวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตได้ จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงไม่อาจอ้างการสิ้นสภาพบุคคลแห่งบริษัท ก. เป็นข้อแก้ตัวเพื่อให้ตนพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้ เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัท ก. ลูกหนี้ รู้ดีว่าในวันที่จำเลยทั้งสองสั่งจ่ายเช็คทั้ง 17 ฉบับ พร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทนั้น บริษัท ก. ลูกหนี้ได้สิ้นสภาพนิติบุคคลไปแล้ว แต่จำเลยทั้งสองยังถือโอกาสที่บริษัทเงินทุน ย. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่รู้ถึงการบอกเลิกบริษัทของตนนำเช็คที่สั่งจ่ายในนามของบริษัท ก. ไปขายลดให้แก่บริษัทเงินทุน ย. อีก ซึ่งการกระทำดังกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 3 ย่อมได้เงินจากการขายลดเช็ค โดยทราบดีว่าเจ้าหนี้ไม่อาจจะบังคับเอาจากบริษัท ก. ลูกหนี้ได้เพราะลูกหนี้ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทไปก่อนแล้ว อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 5 ซึ่งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเช็คพิพาทเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสี่ได้ยกขึ้นให้การต่อสู้โจทก์ และจำเลยที่ 4 นำสืบในศาลชั้นต้นแล้วไม่ใช่ข้อเท็จจริงใหม่ที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาก่อน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจนำข้อกฎหมายมาปรับวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตได้ จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงไม่อาจอ้างการสิ้นสภาพบุคคลแห่งบริษัท ก. เป็นข้อแก้ตัวเพื่อให้ตนพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้ เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10743/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน-ประกาศกระทรวงแรงงาน: ไม่อาจใช้กฎหมายใหม่ย้อนหลังบังคับสัญญาเดิมที่เกิดก่อนประกาศมีผลใช้บังคับ
การค้ำประกันเป็นสิทธิในทางแพ่ง ต้องใช้กฎหมายในขณะเกิดเหตุหรือเกิดความเสียหาย
การที่ประกาศฯ ข้อ 12 ที่ว่านายจ้างที่เรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายจากลูกจ้างเป็นทรัพย์สินหรือให้บุคคลค้ำประกันไว้มีมูลค่าเกินว่า 60 เท่าของค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยอยู่ก่อนวันที่ประกาศฯ มีผลใช้บังคับ ให้นายจ้างดำเนินการให้มีหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานไม่เกินกว่าจำนวนมูลค่าของหลักประกันที่กำหนดไว้ในประกาศฯ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ประกาศฯ มีผลใช้บังคับ เป็นการกำหนดวิธีปฏิบัติให้นายจ้างดำเนินการหลังจากประกาศฯ มีผลใช้บังคับแล้ว ไม่ใช่กรณีที่ให้ประกาศฯ มีผลย้อนหลัง
ตาม ข้อ 2 ระบุให้ประกาศฯ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งมีการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 ก. ลูกจ้างของโจทก์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2551 ก่อนวันที่ประกาศฯ มีผลใช้บังคับ ต้องบังคับตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลย (ผู้ค้ำประกันการทำงานของ ก.) ได้ทำกับโจทก์ไว้
การที่ประกาศฯ ข้อ 12 ที่ว่านายจ้างที่เรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายจากลูกจ้างเป็นทรัพย์สินหรือให้บุคคลค้ำประกันไว้มีมูลค่าเกินว่า 60 เท่าของค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยอยู่ก่อนวันที่ประกาศฯ มีผลใช้บังคับ ให้นายจ้างดำเนินการให้มีหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานไม่เกินกว่าจำนวนมูลค่าของหลักประกันที่กำหนดไว้ในประกาศฯ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ประกาศฯ มีผลใช้บังคับ เป็นการกำหนดวิธีปฏิบัติให้นายจ้างดำเนินการหลังจากประกาศฯ มีผลใช้บังคับแล้ว ไม่ใช่กรณีที่ให้ประกาศฯ มีผลย้อนหลัง
ตาม ข้อ 2 ระบุให้ประกาศฯ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งมีการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 ก. ลูกจ้างของโจทก์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2551 ก่อนวันที่ประกาศฯ มีผลใช้บังคับ ต้องบังคับตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลย (ผู้ค้ำประกันการทำงานของ ก.) ได้ทำกับโจทก์ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18978/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนจำกัดอำนาจ, หนังสือค้ำประกัน, ผู้ค้ำประกันต้องรับผิด, การมอบอำนาจ, สัญญาค้ำประกัน
ข้อตกลงเรื่องอนุญาโตตุลาการและในสัญญาระบุว่า หากมีข้อพิพาทเกี่ยวกับความตกลงนี้ และไม่อาจหาข้อยุติได้ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะใช้วิธีการอนุญาโตตุลาการ เป็นข้อตกลงที่มีผลบังคับใช้กับคู่สัญญา ได้แก่ โจทก์กับบริษัท อ. เท่านั้น ไม่มีผลใช้บังคับกับจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของบริษัท อ. ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในเอกสารและประทับตราสำคัญของบริษัท อ.ทุกครั้ง ในส่วนที่เกี่ยวกับแผนการชำระหนี้ จำเลยที่ 1 ก็กระทำในนามของบริษัท และบริษัทปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นโดยมีการส่งหนังสือยืนยันยอดหนี้และชำระหนี้ให้แก่โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า บริษัท อ. ให้การรับรองในการกระทำของจำเลยที่ 1 ถือเป็นการมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ติดต่อและเจรจาทำความตกลงกับโจทก์แทนบริษัท การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของบริษัทและกระทำไปภายในขอบอำนาจของตัวแทน
หนังสือค้ำประกันที่จำเลยทั้งสองทำไว้แก่โจทก์เพื่อค้ำประกันการชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัท อ. ภายใต้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการซื้อขาย มีเพียงลายมือชื่อของจำเลยทั้งสองผู้ค้ำประกันเท่านั้น ไม่มีลายมือชื่อของโจทก์อยู่ด้วย หนังสือค้ำประกันดังกล่าว จึงเป็นเพียงหลักฐานในการค้ำประกันเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้น ไม่ใช่หนังสือค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง เอกสารดังกล่าวจึงมิใช่ตราสารที่ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 104 ลักษณะ 7 ใช้เป็นพยานหลักฐานได้
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในเอกสารและประทับตราสำคัญของบริษัท อ.ทุกครั้ง ในส่วนที่เกี่ยวกับแผนการชำระหนี้ จำเลยที่ 1 ก็กระทำในนามของบริษัท และบริษัทปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นโดยมีการส่งหนังสือยืนยันยอดหนี้และชำระหนี้ให้แก่โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า บริษัท อ. ให้การรับรองในการกระทำของจำเลยที่ 1 ถือเป็นการมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ติดต่อและเจรจาทำความตกลงกับโจทก์แทนบริษัท การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของบริษัทและกระทำไปภายในขอบอำนาจของตัวแทน
หนังสือค้ำประกันที่จำเลยทั้งสองทำไว้แก่โจทก์เพื่อค้ำประกันการชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัท อ. ภายใต้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการซื้อขาย มีเพียงลายมือชื่อของจำเลยทั้งสองผู้ค้ำประกันเท่านั้น ไม่มีลายมือชื่อของโจทก์อยู่ด้วย หนังสือค้ำประกันดังกล่าว จึงเป็นเพียงหลักฐานในการค้ำประกันเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้น ไม่ใช่หนังสือค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง เอกสารดังกล่าวจึงมิใช่ตราสารที่ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 104 ลักษณะ 7 ใช้เป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13687/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หักกลบลบหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่มีความสัมพันธ์กันตามสัญญาค้ำประกันและเงินฝาก
สัญญาค้ำประกันเบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมาย จ.10 ที่ ค. ผู้ตายค้ำประกันบริษัท ล. จำกัด ผู้เบิกเงินเกินบัญชีต่อธนาคารจำเลย ระบุว่า ข้อ 2 ผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดร่วมกับผู้เบิกเงินเกินบัญชีข้อ 4 ในกรณีที่ผู้เบิกเงินเกินบัญชีผิดนัด ผู้ค้ำประกันยอมสละสิทธิที่จะต่อสู้ให้ธนาคารบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของผู้เบิกเงินเกินบัญชีก่อนเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิด ถ้าธนาคารมิได้รับชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันยินยอมชำระหนี้ที่ค้างโดยพลันถึงแม้การดำเนินการเช่นนั้นธนาคารจะได้แจ้งหรือมิได้แจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบก่อนก็ตาม และถึงแม้จะมิได้เรียกร้องหรือฟ้องร้องผู้ค้ำประกันร่วมกับผู้เบิกเงินเกินบัญชี ดังนี้ ผู้ตายเป็นเจ้าหนี้จำเลยในเงินฝากประจำ 3 เดือน และจำเลยเป็นหนี้ผู้ตายตามสัญญาค้ำประกันเบิกเงินเกินบัญชี ซึ่งผู้ตายและจำเลยต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันโดยมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน และหนี้ทั้งสองรายนั้นถึงกำหนดจะชำระ เมื่อผู้ค้ำประกันตายความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไม่ระงับสิ้นไป ลูกหนี้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งย่อมจะหลุดพ้นจากหนี้ของตนด้วยวิธีหักกลบลบกันได้เพียงเท่าจำนวนที่ตรงกันในมูลหนี้ทั้งสองฝ่ายนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 วรรคหนึ่ง ดังนั้น จำเลยมีสิทธินำเงินฝากของผู้ตายหักชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7130/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์แก้ไขจำนวนหนี้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน, การคำนวณหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยสรุปว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องร่วมรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใด จึงเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์อยู่แล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยและแก้ไขจำนวนเงินที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดดังกล่าวให้ถูกต้องได้หากฟังว่าจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ โดยไม่จำต้องยกเหตุว่าประเด็นดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างเป็นผู้ค้ำประกันในการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในครั้งที่ 1 และครั้งที่ 3 ถึงที่ 5 มียอดหนี้รวมเป็นเงิน 1,080,000 บาท โดยไม่ปรากฏว่ายอดหนี้ดังกล่าวมีดอกเบี้ยค้างชำระ แม้โจทก์จะชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ไปรวมเป็นเงิน 2,000,000 บาท ซึ่งรวมหนี้การกู้เบิกเงินเกินบัญชีในครั้งที่ 2 ของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันด้วย โจทก์ก็ไม่อาจเรียกให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดตามส่วนของจำนวนเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้งหมดของจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 2 คงต้องรับผิดเพียง 540,000 บาท
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างเป็นผู้ค้ำประกันในการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในครั้งที่ 1 และครั้งที่ 3 ถึงที่ 5 มียอดหนี้รวมเป็นเงิน 1,080,000 บาท โดยไม่ปรากฏว่ายอดหนี้ดังกล่าวมีดอกเบี้ยค้างชำระ แม้โจทก์จะชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ไปรวมเป็นเงิน 2,000,000 บาท ซึ่งรวมหนี้การกู้เบิกเงินเกินบัญชีในครั้งที่ 2 ของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันด้วย โจทก์ก็ไม่อาจเรียกให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดตามส่วนของจำนวนเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้งหมดของจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 2 คงต้องรับผิดเพียง 540,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2566/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันสิ้นสุดลงเมื่อผู้ค้ำประกันพ้นจากตำแหน่งกรรมการ และเจ้าหนี้ยินยอมทำสัญญาใหม่โดยไม่รวมผู้ค้ำประกันเดิม
จำเลยที่ 5 เข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 เพียงครั้งเดียว เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2529 ในวงเงิน 3,600,000 บาท ซึ่งขณะนั้นจำเลยที่ 5 ยังเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 อยู่ หลังจากนั้นจำเลยที่ 5 ลาออกจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และที่ประชุมผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 อนุมัติให้ลาออก และให้จำเลยที่ 6 เป็นกรรมการแทน จำเลยที่ 5 จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในกิจการของจำเลยที่ 1 อีกต่อไป นอกจากนี้ยังปรากฏข้อเท็จจริงอีกว่า หลังจากที่จำเลยที่ 5 ลาออกจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญาใช้วงเงินกับโจทก์อีก 6 ครั้ง ซึ่งโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 นำผู้ค้ำประกันคนเดิมรวมทั้งจำเลยที่ 6 มาทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ด้วย แต่คงมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 เท่านั้นที่เข้าทำสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 5 มิได้เข้าทำสัญญาค้ำประกันแต่อย่างใด เนื่องจากมิได้เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์เองมิได้ทักท้วงหรือปฏิเสธไม่ยอมทำสัญญาใช้วงเงินกับจำเลยที่ 1 ในการทำสัญญาครั้งที่ 2 ถึงที่ 7 เช่นนี้ถือว่าโจทก์ได้ทราบถึงเรื่องที่จำเลยที่ 5 ออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 แล้ว และการที่โจทก์ยอมทำสัญญากับจำเลยที่ 1 โดยยอมรับการทำสัญญาค้ำประกันของจำเลยอื่นโดยไม่มีจำเลยที่ 5 เข้าทำสัญญาค้ำประกันนั้นเห็นได้ชัดว่าเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่ 5 ต้องผูกพันตามสัญญาค้ำประกันฉบับแรกอีกต่อไป นอกจากนั้นปรากฏว่า หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้ที่เกิดหลังจากจำเลยที่ 5 พ้นจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 แล้ว ดังนั้นสัญญาค้ำประกันเดิมที่จำเลยที่ 5 ทำไว้กับโจทก์จึงเป็นอันยกเลิกเพิกถอนไปในตัวโดยปริยาย โจทก์ไม่จำต้องทำหนังสือเพิกถอนสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ทำไว้และไม่จำต้องแสดงเจตนาว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 5 หลุดพ้นจากความรับผิดในสัญญาค้ำประกันอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19467/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: ระยะเวลาความรับผิดไม่จำกัด 1 ปี หากมีเจตนาฝากเงินเพื่อประกันหนี้ตลอดไป
สัญญาค้ำประกัน ข้อ 6 ระบุใจความสำคัญว่า โจทก์สัญญาจะฝากเงินประเภทออมทรัพย์กับจำเลยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ของผู้กู้ทุกรายเป็นจำนวนเงินในอัตราร้อยละ 5 ของต้นเงินที่ผู้กู้แต่ละรายกู้ไปจากจำเลย และโจทก์มอบให้จำเลยหักเงินจำนวนหนี้เพื่อชำระหนี้เมื่อผู้กู้รายหนึ่งรายใดหรือทั้งหมดทุกรายผิดสัญญากับจำเลยเป็นคราว ๆ ไปโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า การนับระยะเวลาค้ำประกันให้นับระยะเวลาตามวันทำนิติกรรมของผู้กู้แต่ละราย ประกอบกับทางปฏิบัติที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์เบิกเงินฝากค้ำประกันที่เลยกำหนด 1 ปี รวม 3 ครั้ง โจทก์ยินยอมให้จำเลยกันเงินไว้ทั้ง 3 ครั้ง สำหรับผู้กู้ที่ค้างชำระหนี้จำเลย แสดงให้เห็นว่าข้อสัญญาดังกล่าวเป็นเพียงข้อสัญญาในทางฝากเงินเพื่อเป็นประกันหนี้ในระยะเวลาขั้นต่ำ 1 ปี แต่ระยะเวลาขั้นสูงไม่ได้กำหนดไว้เท่านั้น จึงมิใช่การค้ำประกันจำกัดระยะเวลาความรับผิดไว้เพียง 1 ปี นับแต่วันทำสัญญากู้ของลูกค้าแต่ละราย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3263/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้าง การริบหลักประกันต้องรอผลอนุญาโตตุลาการ
สัญญาจ้าง ข้อ 3 กำหนดให้ผู้รับจ้างคือ ผู้ร้องและบริษัท ฟ. คู่สัญญาร่วมนำหลักประกันเป็นจำนวนเงิน 16,850,000 บาท มามอบให้ผู้ว่าจ้าง คือ ผู้คัดค้าน เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา หลักประกันเป็นเงินสดหรือหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคาร ผู้ร้องและบริษัทคู่สัญญาร่วมได้ดำเนินการตามข้อกำหนดข้อนี้ของสัญญาเรียบร้อยแล้ว สัญญาค้ำประกันจึงเป็นสัญญาที่เกิดขึ้นตามเงื่อนไขของสัญญาจ้าง ซึ่งเป็นสัญญาหลักหรือสัญญาประธาน ต้องถือว่าสัญญาค้ำประกันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้าง หาใช่เป็นสัญญาที่แยกจากสัญญาจ้าง
สัญญาค้ำประกันระบุไว้ชัดเจนว่า ธนาคารผู้ค้ำประกันจะต้องชำระเงินที่ค้ำประกันไว้ตามสิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านในกรณีที่ผู้ร้องหรือบริษัทคู่สัญญาร่วมก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ หรือต้องชำระค่าปรับหรือค่าใช้จ่ายใดๆ หรือผู้ร้องมิได้ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ใดๆ ที่กำหนดในสัญญาจ้าง มีความหมายว่า สิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านที่จะเรียกร้องให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินตามที่ค้ำประกันไว้แก่ผู้คัดค้านจะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้ร้องหรือบริษัทคู่สัญญาร่วมก่อให้เกิดความเสียหาย หรือต้องชำระค่าปรับ หรือค่าใช้จ่าย หรือมิได้ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ใดๆ ที่กำหนดในสัญญา การที่ผู้คัดค้านบอกเลิกสัญญาจ้างโดยอ้างว่าผู้ร้องและบริษัทคู่สัญญาร่วมไม่สามารถสร้างปั้นจั่นยกตู้สินค้าได้ทันภายในกำหนดเวลาในสัญญาจ้างได้ จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องและบริษัทคู่สัญญาร่วมผิดสัญญาจ้างและขอริบหลักประกัน แต่เมื่อผู้ร้องได้ขอบอกเลิกสัญญาจ้างโดยอ้างว่าผู้คัดค้านผิดสัญญาจ้างเช่นกัน จึงเป็นกรณีที่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามสัญญา อันจะต้องเสนอข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อพิจารณาและชี้ขาดตามสัญญาจ้าง ข้อ 20
ผู้ค้ดค้านจะริบหลักประกันตามสัญญาจ้างได้หรือไม่ย่อมขึ้นอยู่ว่าอนุญาโตตุลาการได้พิจารณาและชี้ขาดเสียก่อนว่าผู้ร้องหรือผู้คัดค้านเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้ผู้คัดค้านทวงถามหรือขอรับเงินอันเป็นหลักประกัน การที่ศาลมีหนังสือห้ามมิให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินที่ค้ำประกันแก่ผู้คัดค้าน ย่อมมีความหมายอย่างเดียวกันคือ ห้ามผู้คัดค้านได้รับเงินอันเป็นหลักประกันไว้ชั่วคราวจนกว่าอนุญาโตตุลาการจะพิจารณาชี้ขาดข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทแล้ว จึงมิใช่เป็นการห้ามเกินคำสั่งของศาลชั้นต้นหรือสั่งเกินคำขอของผู้ร้อง
สัญญาค้ำประกันระบุไว้ชัดเจนว่า ธนาคารผู้ค้ำประกันจะต้องชำระเงินที่ค้ำประกันไว้ตามสิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านในกรณีที่ผู้ร้องหรือบริษัทคู่สัญญาร่วมก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ หรือต้องชำระค่าปรับหรือค่าใช้จ่ายใดๆ หรือผู้ร้องมิได้ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ใดๆ ที่กำหนดในสัญญาจ้าง มีความหมายว่า สิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านที่จะเรียกร้องให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินตามที่ค้ำประกันไว้แก่ผู้คัดค้านจะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้ร้องหรือบริษัทคู่สัญญาร่วมก่อให้เกิดความเสียหาย หรือต้องชำระค่าปรับ หรือค่าใช้จ่าย หรือมิได้ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ใดๆ ที่กำหนดในสัญญา การที่ผู้คัดค้านบอกเลิกสัญญาจ้างโดยอ้างว่าผู้ร้องและบริษัทคู่สัญญาร่วมไม่สามารถสร้างปั้นจั่นยกตู้สินค้าได้ทันภายในกำหนดเวลาในสัญญาจ้างได้ จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องและบริษัทคู่สัญญาร่วมผิดสัญญาจ้างและขอริบหลักประกัน แต่เมื่อผู้ร้องได้ขอบอกเลิกสัญญาจ้างโดยอ้างว่าผู้คัดค้านผิดสัญญาจ้างเช่นกัน จึงเป็นกรณีที่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามสัญญา อันจะต้องเสนอข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อพิจารณาและชี้ขาดตามสัญญาจ้าง ข้อ 20
ผู้ค้ดค้านจะริบหลักประกันตามสัญญาจ้างได้หรือไม่ย่อมขึ้นอยู่ว่าอนุญาโตตุลาการได้พิจารณาและชี้ขาดเสียก่อนว่าผู้ร้องหรือผู้คัดค้านเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้ผู้คัดค้านทวงถามหรือขอรับเงินอันเป็นหลักประกัน การที่ศาลมีหนังสือห้ามมิให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินที่ค้ำประกันแก่ผู้คัดค้าน ย่อมมีความหมายอย่างเดียวกันคือ ห้ามผู้คัดค้านได้รับเงินอันเป็นหลักประกันไว้ชั่วคราวจนกว่าอนุญาโตตุลาการจะพิจารณาชี้ขาดข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทแล้ว จึงมิใช่เป็นการห้ามเกินคำสั่งของศาลชั้นต้นหรือสั่งเกินคำขอของผู้ร้อง