พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2763/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าลีสซิ่งไม่ใช่เช่าซื้อ, การพิพากษาล้มละลาย, หนี้สินล้นพ้นตัว
สัญญาเช่าทรัพย์แบบลีสซิ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาเช่าทรัพย์อย่างหนึ่งที่โจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์ที่เช่าให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้เช่าเมื่อครบกำหนดการเช่าแล้ว และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่ายังไม่ตกเป็นของผู้เช่าจนกว่าจะแสดงเจตนารับคำมั่นของผู้ให้เช่าจนเกิดเป็นสัญญาซื้อขาย เงินค่าเช่าก็ไม่อาจถือว่ารวมค่าแห่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าไว้ด้วย และผู้เช่าไม่อาจบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดการเช่าได้ เมื่อสัญญาเช่าทรัพย์แบบลีสซิ่งดังกล่าวมิใช่สัญญาเช่าซื้อ การที่ศาลล้มละลายกลางนำบทบัญญัติมาตรา 574 แห่ง ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 5 เช่าซื้อ มาปรับใช้แก่มูลหนี้ตามฟ้องแล้ววินิจฉัยว่ามูลหนี้ตามฟ้องยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน และพิพากษายกฟ้องนั้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าเช่าตั้งแต่งวดที่ 3 ถึง 19 และยังคงค้างชำระค่าเช่ารวม 6,881,401.90 บาท ดังนี้ แม้มูลหนี้ดังกล่าวจะยังมิได้คำนวณเบี้ยปรับตามสัญญา จำเลยที่ 1 ก็เป็นหนี้โจทก์เป็นจำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและไม่จำกัดจำนวนต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าเช่าที่ค้างชำระดังกล่าวต่อโจทก์ หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ตามสัญญาที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนแล้ว
จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าเช่าตั้งแต่งวดที่ 3 ถึง 19 และยังคงค้างชำระค่าเช่ารวม 6,881,401.90 บาท ดังนี้ แม้มูลหนี้ดังกล่าวจะยังมิได้คำนวณเบี้ยปรับตามสัญญา จำเลยที่ 1 ก็เป็นหนี้โจทก์เป็นจำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและไม่จำกัดจำนวนต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าเช่าที่ค้างชำระดังกล่าวต่อโจทก์ หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ตามสัญญาที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2343/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนแล้วไม่ชำระคืน ถือเป็นคำให้การขัดแย้ง ไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และภริยาโจทก์ช่วยชำระค่าปรับ 1,451,450 บาท ในข้อหามียาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบไว้ในครอบครองเกินกว่า 500 กรัม ต่อกรมสรรพสามิตแทนจำเลยที่ 1 โดยจำเลยทั้งสองตกลงจะร่วมกันนำเงินดังกล่าวมาชำระคืนให้แก่โจทก์และภริยาในภายหลัง จำเลยทั้งสองให้การในตอนแรกว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้ขอให้โจทก์ชำระหนี้ค่าปรับแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นผู้ชำระค่าปรับเองแต่จำเลยทั้งสองกลับให้การในตอนหลังว่า หนี้ค่าปรับมิใช่เงินของโจทก์ ถ้าทางพิจารณาฟังได้ว่าเป็นเงินของโจทก์ซึ่งเป็นการชำระหนี้แทน ฟ้องโจทก์ก็ขาดอายุความ กรณีจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าหนี้ค่าปรับที่ชำระแก่กรมสรรพสามิตเป็นเงินของจำเลยที่ 1 หรือเป็นเงินของโจทก์ และเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเองไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองให้การยอมรับหรือปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยชัดแจ้ง จึงไม่มีสิทธินำพยานของตนเข้าสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14712/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารการกู้ยืมเงินต้องแสดงเจตนาชัดเจนว่ามีหนี้สินเกิดขึ้น จึงใช้ฟ้องร้องได้
แม้เอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินไม่จำเป็นต้องระบุชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้โจทก์ แต่เอกสารที่จะเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินจะต้องมีข้อความแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีหนี้สินอันจะพึงต้องชำระให้แก่โจทก์ จึงจะนำสืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายว่าหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นเป็นหนี้อันเกิดจากนิติสัมพันธ์ในเรื่องกู้ยืมเงินได้ เอกสารที่โจทก์อ้างมีข้อความเพียงว่า "ได้รับเงินจำนวน 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน)" ไม่ได้ความว่าโจทก์เป็นผู้จ่ายเงินและจำเลยต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ อันมีลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือมีหนี้จะต้องชำระแก่โจทก์แต่อย่างใด เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินที่จะใช้ฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14712/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารกู้ยืมเงินต้องแสดงเจตนาชัดเจนว่ามีหนี้สินเกิดขึ้น การอ้างหลักฐานที่ไม่นำสืบในชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินไม่จำเป็นต้องระบุชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้โจทก์ แต่เอกสารที่จะเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินจะต้องมีข้อความแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีหนี้สินอันจะพึงต้องชำระให้แก่โจทก์ จึงจะนำสืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายว่าหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นเป็นหนี้อันเกิดจากนิติสัมพันธ์ในเรื่องกู้ยืมเงินได้ เอกสารหมาย จ.1 ที่โจทก์อ้างมีข้อความเพียงว่า "ได้รับเงินจำนวน 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน)" ไม่ได้ความว่าโจทก์เป็นผู้จ่ายเงินและจำเลยต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ อันมีลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือมีหนี้จะต้องชำระแก่โจทก์แต่อย่างใด เอกสารหมาย จ.1 จึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินที่จะใช้ฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้
สำเนาสมุดบันทึกของโจทก์ซึ่งเขียนชื่อและนามสกุลจำเลยพร้อมเงินจำนวน 300,000 บาท ที่จำเลยกู้ยืมและรับเงินไปจากโจทก์ในเดือนพฤศจิกายน 2532 นั้น โจทก์มิได้นำสืบแสดงพยานหลักฐานดังกล่าวในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น และเป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองรู้เห็นของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว โจทก์จึงไม่อาจนำเสนอเอกสารดังกล่าวในชั้นศาลฎีกาได้
สำเนาสมุดบันทึกของโจทก์ซึ่งเขียนชื่อและนามสกุลจำเลยพร้อมเงินจำนวน 300,000 บาท ที่จำเลยกู้ยืมและรับเงินไปจากโจทก์ในเดือนพฤศจิกายน 2532 นั้น โจทก์มิได้นำสืบแสดงพยานหลักฐานดังกล่าวในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น และเป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองรู้เห็นของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว โจทก์จึงไม่อาจนำเสนอเอกสารดังกล่าวในชั้นศาลฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10588/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยทับซ้อนในสัญญากู้ยืม และขอบเขตความรับผิดของทายาทต่อหนี้สินของผู้ตาย
โจทก์นำเอาต้นเงินกับดอกเบี้ยค้างชำระมารวมไว้ในสัญญากู้ยืมเงินฉบับใหม่และคิดดอกเบี้ยในหนี้ต้นเงินใหม่ดังกล่าว การคิดดอกเบี้ยจากดอกเบี้ยที่นำมาทบต้นจึงเป็นการคิดดอกเบี้ยที่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง เมื่อดอกเบี้ยตามฟ้องได้รวมเอาดอกเบี้ยที่ต้องห้ามตามกฎหมายไว้ด้วย แต่โจทก์ไม่สามารถแยกดอกเบี้ยที่ต้องห้ามดังกล่าวออกมาให้ทราบได้ ฉ. จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เฉพาะต้นเงินที่กู้ยืมเท่านั้น โดยให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามสัญญานับแต่เวลาที่ ฉ. ผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10484/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทมีอำนาจฟ้องเรียกหนี้จากลูกหนี้ของผู้ตาย แม้มีผู้จัดการมรดก
แม้จำเลยที่ 2 และ ฉ. จะเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. แล้ว ก็หาทำให้สิทธิของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ อ. ที่จะฟ้องเรียกทรัพย์มรดกคืนจากบุคคลภายนอกหรือลูกหนี้ของ อ. สิ้นไปแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะไม่มีบทกฎหมายบัญญัติห้ามหรือตัดสิทธิไว้ เมื่อ อ. ถึงแก่ความตายทรัพย์มรดกย่อมตกเป็นของทายาทรวมทั้งโจทก์ทั้งสองด้วย หนี้เงินกู้ที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมไปจาก อ. ก็ตกเป็นสิทธิของทายาทของ อ. รวมทั้งโจทก์ทั้งสองด้วยเช่นกัน โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ถือว่ามีผลประโยชน์ขัดกับกองมรดกจำเลยที่ 2 เพิกเฉยไม่ฟ้องจำเลยที่ 1 ทั้งไม่ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 กลับกล่าวอ้างว่ามิได้เป็นหนี้ตามสัญญากู้เงินอีก หากทายาทไม่มีอำนาจฟ้องย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8788/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: ความรับผิดในการจ่ายเงินสะสมให้ลูกจ้าง แม้มีหนี้สินกับนายจ้าง
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งได้จดทะเบียนตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ จำเลยที่ 2 และมีบริษัทหลักทรัพย์ บ. เป็นผู้บริหารกองทุน จำเลยที่ 1 จ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้าง โจทก์จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนจำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2540 ถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2546 เป็นจำนวนเงิน 33,858.84 บาท มีระเบียบของจำเลยที่ 2 ว่าจำเลยที่ 2 จะต้องจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์เมื่อออกจากงาน จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์วันที่ 23 พฤศจิกายน 2546 เป็นผลให้โจทก์สิ้นสุดสมาชิกภาพ ตามหลักเกณฑ์การจ่ายเงินตามระเบียบของจำเลยที่ 2 โจทก์มีสิทธิได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ที่จ่ายเข้ากองทุนทั้งหมดคืนเป็นจำนวน 33,858.84 บาท ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่โจทก์สิ้นสมาชิกภาพ ดังนี้ การเรียกเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งจดทะเบียนแล้ว ต้องฟ้องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งจดทะเบียนแล้วเป็นจำเลยให้จ่ายเงินสะสมและผลประโยชน์ให้ ไม่ว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือผู้จัดการกองทุนจะได้ส่งเงินและผลประโยชน์คืนให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างไปแล้วหรือไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสะสมให้แก่โจทก์ จำนวน 33,858.84 บาท การที่จำเลยที่ 2 ชำระเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์โดยจ่ายเป็นเช็คธนาคาร ก. สาขาสีลม และส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อติดต่อให้โจทก์มารับไป แต่โจทก์มีภาระหนี้ค้างชำระแก่จำเลยที่ 1 จำนวน 979,820 บาท จำเลยที่ 1 จึงใช้สิทธิยึดหน่วงเงินจำนวน 33,858.84 บาท โดยครอบครองเช็คที่จำเลยที่ 2 จ่ายให้โจทก์ไว้ไม่ส่งมอบแก่โจทก์ จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่นำเช็คไปชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย จำเลยที่ 2 จึงยังไม่หลุดพ้นจากหนี้ เพราะโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ เงินจำนวน 33,858.84 บาท เป็นหนี้เงินที่จำเลยที่ 2 ต้องจ่ายให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่จ่ายภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันสิ้นสุดสมาชิกภาพตามข้อบังคับของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดและต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 828/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรื่องค่าชดเชยจาก พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิมเรื่องหนี้สิน
มูลหนี้ตามฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์พร้อมกับทำสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันการชำระหนี้ ต่อมาจำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้และสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับโจทก์เพื่อขยายเวลาชำระหนี้ แต่จำเลยผิดนัด ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวกับขอให้บังคับจำนอง ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องอ้างว่า ภาระหนี้ของจำเลยที่มีต่อโจทก์ตามฟ้องเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพประเภทจัดชั้นสงสัยจะสูญ แต่โจทก์ไม่โอนให้แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยภายในกำหนดเวลาที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยกำหนด โจทก์ต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยฯ ขอให้บังคับโจทก์นำเงินค่าชดเชยมาหักชำระหนี้ของจำเลยดังกล่าว แม้ข้ออ้างของจำเลยตามฟ้องแย้งจะเกี่ยวกับหนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์ตามฟ้อง แต่ก็เป็นเรื่องขอให้โจทก์รับผิดจ่ายค่าชดเชยเพราะเหตุไม่โอนหนี้ดังกล่าวให้แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมาย ซึ่งการกระทำของโจทก์ดังกล่าวจะเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยหรือไม่นั้นเป็นคนละส่วนกับมูลหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องคดีเดิมที่จะรวมพิจารณาพิพากษาไปในคดีเดียวกัน ชอบที่จะนำคดีไปฟ้องร้องเป็นอีกกรณีหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6008/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยระบุรายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 เช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้เฉพาะราย
ป.พ.พ. มาตรา 328 บัญญัติว่า "ถ้าลูกหนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย และถ้าการที่ลูกหนี้ชำระหนี้นั้นไม่เพียงพอจะเปลื้องหนี้สินได้หมดทุกรายไซร้ เมื่อทำการชำระหนี้ ลูกหนี้ระบุว่าชำระหนี้สินรายใด ก็ให้หนี้สินรายนั้นเป็นอันได้เปลื้องไป ถ้าลูกหนี้ไม่ระบุ ท่านว่าหนี้สินรายใดถึงกำหนด ก็ให้รายนั้นเป็นอันได้เปลื้องไปก่อน..." แสดงว่ากฎหมายให้สิทธิแก่ลูกหนี้ที่จะระบุว่าจะชำระหนี้รายใดรายหนึ่งก็ได้ หรือไม่ระบุก็ได้ หากระบุไว้ก็ต้องชำระหนี้รายที่ระบุไว้นั้นตามความประสงค์ของลูกหนี้ เมื่อฟังว่าจำเลยออกเช็คตามใบส่งของอันเป็นการระบุโดยปริยายไว้แล้วว่าให้ชำระหนี้รายใดตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 328
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขืนใจเรียกทรัพย์จากผู้มีหนี้สินของมารดา ไม่เป็นเหตุให้การกระทำไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าผู้เสียหายเป็นหนี้มารดาของจำเลยและผิดนัดไม่ชำระหนี้ ก็เป็นกรณีที่มารดาของจำเลยถูกโต้แย้งสิทธิและต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับผู้เสียหายให้ชำระหนี้ตามที่บัญญัติในมาตรา 55 และบทบัญญัติทั้งปวงแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหาก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยในการข่มขืนใจผู้เสียหายยอมหรือจะยอมชำระหนี้นั้นไม่ และไม่ทำให้การกระทำของจำเลยที่เป็นความผิดฐานกรรโชกตาม ป.อ. มาตรา 337 กลายเป็นการกระทำที่ไม่เป็นความผิด