คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงื่อนไข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 479 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6831/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: การส่งสำเนาคำชี้ขาดเป็นเงื่อนไขสำคัญ
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะพิพาท มาตรา 21 วรรคสี่ บัญญัติว่า เมื่อทำคำชี้ขาดแล้วอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดจะต้องจัดส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงคู่กรณีที่เกี่ยวข้องทุกคน และมาตรา 23 บัญญัติให้คู่กรณีฝ่ายที่ประสงค์จะให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ได้ส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงคู่กรณีตามมาตรา 21 วรรคสี่แล้ว แสดงว่าผู้ร้องจะเกิดสิทธิหรืออำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ก็ต่อเมื่อมีการจัดส่งสำเนาคำชี้ขาดให้แก่ผู้คัดค้านแล้ว แม้อนุญาโตตุลาการจะมีหน้าที่จัดส่งสำเนาคำชี้ขาดให้แก่ผู้คัดค้านดังที่ผู้ร้องอุทธรณ์ แต่ผู้ร้องก็ยังมีหน้าที่นำสืบถึงข้อเท็จจริงข้อนี้ เมื่อพยานหลักฐานของผู้ร้องที่นำสืบมายังไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่ามีการส่งสำเนาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการถึงผู้คัดค้านซึ่งจะต้องถูกบังคับตามคำชี้ขาดแล้ว ผู้ร้องจึงยังไม่มีอำนาจที่จะร้องขอให้ศาลชั้นต้นบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10209/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาและการงดการบังคับคดี: เงื่อนไขและขั้นตอนตามกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 271 ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษามิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาทั้งหมดหรือบางส่วน เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษานั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาโดยอาศัยและตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษานั้น มาตรา 275 บัญญัติว่า ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะขอให้บังคับคดีให้ยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลเพื่อให้ออกหมายบังคับคดี และมาตรา 276 ก็บัญญัติไว้เพียงว่าถ้าศาลเห็นว่าคำบังคับที่ขอให้บังคับนั้นได้ส่งให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาและระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้เพื่อให้ปฏิบัติตามคำบังคับนั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว ให้ศาลออกหมายบังคับคดีได้ทันที ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวหาได้มีข้อจำกัดว่าจะต้องส่งคำบังคับให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาทุกคนก่อน ศาลจึงจะออกหมายบังคับคดีได้ และเมื่อพิจารณาคำขอออกหมายบังคับคดีของโจทก์ก็ปรากฏว่ามีข้อความกล่าวถึงคำพิพากษาที่จะขอให้มีการบังคับคดี รวมถึงวิธีการบังคับคดี และได้ระบุไว้แล้วว่า "จำเลยทั้งสี่ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา ชำระหนี้ให้โจทก์แต่ประการใด" อันแสดงว่าในขณะที่โจทก์ขอออกหมายบังคับคดียังมีหนี้ค้างชำระอยู่เต็มจำนวนตามคำพิพากษา ถือได้ว่าคำขอของโจทก์ได้ระบุจำนวนหนี้ที่ยังมิได้ชำระตาม ป.วิ.พ. มาตรา 275 (2) แล้ว คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ที่ให้ออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
การขอทุเลาการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 ต้องเป็นกรณีที่ยังไม่มีการบังคับคดีตามคำพิพากษา แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามคำร้องขอให้งดการบังคับคดีและคำร้องขอให้เพิกถอนการอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ว่า ขณะที่ยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 แล้ว การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องดังกล่าวเข้ามา จึงถือได้ว่าเป็นการขอให้งดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (2) ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศที่จะมีคำสั่งว่าสมควรให้งดการบังคับคดีหรือไม่ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศสั่งยกคำร้องฉบับนี้ของจำเลยที่ 2 โดยไม่ได้ส่งคำร้องให้ศาลฎีกาเป็นผู้พิจารณาสั่งจึงชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9106/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงลดหนี้และการผ่อนชำระ ไม่ถือเป็นการประนีประนอมยอมความ หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข โจทก์มีสิทธิเรียกร้องหนี้เดิมได้
ข้อตกลงในรายงานกระบวนพิจารณาที่โจทก์และจำเลยทั้งห้าเคยตกลงกันว่าโจทก์ตกลงลดหย่อนต้นเงินและลดต้นเงินเหลือ 10,000,000 บาท หากจำเลยทั้งห้าชำระครบถ้วน โจทก์จะถอนฟ้องให้ เป็นเพียงข้อตกลงที่โจทก์ยอมลดยอดหนี้และยอมให้จำเลยทั้งห้าผ่อนชำระหนี้เท่านั้น โดยจำเลยทั้งห้าจะต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์อันเป็นเงื่อนไขที่จำเลยทั้งห้าต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนเสียก่อน โจทก์จึงถอนฟ้องให้หากจำเลยทั้งห้าไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลง โจทก์ไม่มีความผูกพันที่จะต้องถอนฟ้องกรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่โจทก์และจำเลยทั้งห้าตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่หรือที่จะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปในทันทีด้วยต่างผ่อนผันให้แก่กัน อันจะถือเป็นการประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8640/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความโดยมีเงื่อนไขชำระหนี้ การระงับสิทธิฟ้องคดีอาญา
เมื่อโจทกและจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า ถ้าจำเลยชำระเงินครบถ้วนแล้ว โจทก์จะดำเนินการถอนฟ้องคดียักยอกที่ศาลชั้นต้นที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยไว้ ทั้งโจทก์ไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญากับจำเลยอันเป็นคดีที่เกี่ยวพันกับบริษัท ป. อีกต่อไป จึงเป็นการยอมความโดยมีเงื่อนไขที่ให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์เสียก่อน โจทก์จึงจะไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลย การยอมความในลักษณะเช่นนี้จะมีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปต่อเมื่อจำเลยชดใช้เงินให้แก่โจทก์ครบตามจำนวนแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยนำเงินมาวางที่ศาลเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์มีความผูกพันที่จะต้องถอนฟ้องคดียักยอกที่ศาลชั้นต้นให้แก่จำเลยตามข้อตกลง กรณีจึงเป็นผลเป็นการยอมความในคดีอาญา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8469/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขการฟ้องคดีล้มละลายโดย บสท. ต้องเข้าหลักเกณฑ์หนี้สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย แม้ไม่ให้ความร่วมมือ
พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ฯ มิได้มีบทบัญญัติยกเว้นหลักเกณฑ์ของ พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 9 และมาตรา 10 ทั้ง พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ฯ มาตรา 58 วรรคสี่ ก็บัญญัติให้ศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย กรณีจึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยเงื่อนไขในการฟ้องคดีล้มละลายมาใช้บังคับด้วย มาตรา 58 วรรคสี่ จึงเป็นบทบัญญัติในส่วนวิธีพิจารณาที่ใช้แทนการฟ้องคดีล้มละลายทั่วไปและเป็นบทบัญญัติที่ให้ดุลพินิจแก่ศาลที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเมื่อเข้าหลักเกณฑ์อันเป็นเงื่อนไขของการฟ้องคดีล้มละลายครบถ้วนแล้วเท่านั้น เมื่อตามคำร้องปรากฏว่าลูกหนี้เป็นหนี้ บสท. อันมีจำนวนไม่ถึง 1,000,000 บาท ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 9 (2) ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7199/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินมีเงื่อนไข ผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิครอบครองแทนทายาท สิทธิเรียกร้องยังไม่ขาดอายุความ
ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมเขียนเองระบุว่า เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้วบ้านและที่ดินพิพาทนั้น เจ้ามรดกขอยกให้สิทธิอยู่อาศัยและสิทธิเก็บกินแก่จำเลยมีอำนาจครอบครองและเก็บกินได้จนตลอดชีวิต แต่ถ้าจำเลยถึงแก่ความตายลงเมื่อใดแล้ว ให้บ้านและที่ดินดังกล่าวนี้ตกเป็นกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์แก่บุตรที่เกิดจาก ฉ. ทุกคน โดยให้บุตรของ ฉ. ทุกคนมีส่วนกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินดังกล่าวนี้เท่ากัน ข้อกำหนดในพินัยกรรมดังกล่าว เจ้ามรดกมิได้ยกกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย เพียงแต่ให้สิทธิอยู่อาศัยและเก็บกินตลอดชีวิตแก่จำเลยเท่านั้น สิทธิของจำเลยในฐานะผู้รับพินัยกรรมก็มีเพียงตามที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมเท่านั้น ส่วนกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทจะต้องตกทอดได้แก่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นบุตรของ ฉ. เมื่อจำเลยถึงแก่ความตายแล้วตามเงื่อนไขบังคับก่อนที่ผู้ทำพินัยกรรมระบุให้พินัยกรรมมีผลบังคับให้เรียกร้องกันได้ภายหลังตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1673 ประกอบมาตรา 1674 วรรคสอง จึงต้องถือว่านับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายและข้อกำหนดในพินัยกรรมเฉพาะส่วนของจำเลยมีผลนั้นก็มีผลเพียงให้จำเลยมีสิทธิอยู่อาศัยและเก็บกินในบ้านและที่ดินพิพาทจนตลอดชีวิตของจำเลยเท่านั้น จึงต้องถือว่าจำเลยครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสามผู้รับพินัยกรรมซึ่งมีเงื่อนไขบังคับก่อนและเงื่อนไขนั้นยังไม่สำเร็จเท่านั้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสามได้ ทั้งนี้เพราะมาตรา 1755 รับรองสิทธิของบุคคลที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่เฉพาะบุคคลซึ่งเป็นทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทหรือโดยผู้จัดการมรดกเท่านั้น
จำเลยไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำขอรับมรดกบ้านและที่ดินพิพาทมาเป็นของตน เนื่องจากบ้านและที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมระบุยกให้แก่โจทก์ทั้งสามแล้ว เพียงแต่เงื่อนไขบังคับก่อนที่กำหนดให้บ้านและที่ดินพิพาทตกทอดได้แก่โจทก์ทั้งสามยังไม่สำเร็จเพราะจำเลยยังไม่ถึงแก่ความตายเท่านั้น บ้านและที่ดินพิพาทจึงมิใช่ทรัพย์นอกพินัยกรรมอันจะตกทอดแก่จำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1620

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3851/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอุทธรณ์ตรงต่อศาลฎีกาต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ หากมีคู่ความอื่นคัดค้าน
ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาได้ ในกรณีที่ไม่มีคู่ความอื่นยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 และจำเลยอุทธรณ์มิได้คัดค้านคำร้องดังกล่าวต่อศาลภายในกำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ คดีนี้โจทก์ได้ยื่นคำแถลงคัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกามาพร้อมคำแก้อุทธรณ์ กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8722/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ สัญญาประกันชีวิต: แม้ทำพร้อมกัน แต่เป็นสัญญาแยกต่างหาก หากมีข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ต่างกัน
เมื่อสัญญาประกันชีวิตที่ฟ้องในคดีนี้กับคดีก่อนเป็นสัญญาคนละฉบับซึ่งมีข้อกำหนดและเงื่อนไขแยกจากกันได้เช่นนี้ กรณีจึงถือได้ว่าฟ้องโจทก์คดีนี้มิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4852/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำพิพากษาล้มละลายต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด หากไม่เข้าข้อยกเว้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การอุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลล้มละลายคู่ความสามารถอุทธรณ์ได้เฉพาะกรณีที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 วรรคสอง (1) ถึง (5) มิฉะนั้นจะอุทธรณ์ได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา คดีนี้จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลล้มละลายกลางที่พิพากษาให้จำเลยล้มละลาย กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 24 วรรคสอง (1) ถึง (5) จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ทั้งศาลฎีกาพิจารณาแล้วไม่มีกรณีจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดตามมาตรา 26 วรรคสี่ ที่ศาลล้มละลายกลางสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยมานั้น เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4823/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินให้พี่ชายโดยมีเงื่อนไขปฏิสังขรณ์วัด ข้อกำหนดนั้นเป็นโมฆะ แต่พินัยกรรมยังใช้บังคับได้
พินัยกรรมที่ผู้ตายทำมีข้อความว่า ผู้ตายขอทำคำสั่งเป็นพินัยกรรมไว้ว่าถ้าผู้ตายถึงแก่กรรมเมื่อใด ขอมอบทรัพย์สินของผู้ตายทั้งหมดบรรดาที่มีอยู่ในขณะถึงแก่กรรมให้ท่านเจ้าคุณ ญ. ผู้เป็นพี่ชายของผู้ตายองค์เดียว แม้พินัยกรรมฉบับดังกล่าวจะมีข้อกำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์สินโดยข้อ 1 ให้ปฏิสังขรณ์พระธาตุวัดไชยมงคล ข้อ 2 ให้ปฏิสังขรณ์โบสถ์ 1 หลัง (วัดไชยมงคลก็ได้) ข้อ 3 ถ้าเหลือจากสองข้อข้างต้น สุดแท้แต่ท่านเจ้าคุณจะจัดการอย่างไรต่อไปก็ตาม ก็ถือว่าเงื่อนไขนั้นเป็นอันไม่มีเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1707 พินัยกรรมในส่วนที่ผู้ตายยกทรัพย์สินให้แก่ท่านเจ้าคุณ ญ. จึงไม่เป็นโมฆะใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
of 48