คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เวนคืน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 555 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2911/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางหลวงรวมถึงสิ่งอุปกรณ์งานทาง การเวนคืนชอบด้วยกฎหมาย
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 2 บัญญัติว่า ทางหลวง หมายความถึงอาคารหรือสิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์งานทางบรรดาที่ได้จัดไว้ในเขตทางหลวงและเพื่อประโยชน์แก่งานทางนั้นด้วย ดังนั้น ที่ทำการพัสดุทางหลวงซึ่งจำเลยเคยปลูกสร้างลงในที่พิพาทเป็นอาคารที่เก็บของวัสดุที่ใช้ในกิจการงานทางเพื่อประโยชน์แก่ทางหลวงแผ่นดินสายธนบุรี - ปากท่อ จึงอยู่ในความปลอดภัยของคำว่า ทางหลวงตามบทนิยามข้างต้นคำว่าเขตทางหลวงตามบทนิยมย่อมมีความหมายครอบคลุมถึงเขตที่ดินที่สร้างพัสดุทางหลวงด้วย หาใช่เฉพาะเขตที่ดินที่ใช้สร้างทางเพื่อการจราจรไม่ การเวนคืนที่พิพาทในเขตโฉนดของโจทก์จึงเป็นไปโดยชอบตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 225 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2515 ข้อ 1 แล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเอาคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตั๋วแลกเงิน: สิทธิเรียกร้องเงิน, ดอกเบี้ย, และผลของการเวนคืนตั๋ว
กฎหมายมิได้บังคับให้ต้องนำผู้แปลเอกสารภาษาต่างประเทศมาสืบเพื่อรับรองความถูกต้องของคำแปล เมื่อจำเลยเห็นว่าคำแปลตอนไหนไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไรจำเลยก็ชอบที่จะโต้แย้งหรือแสดงคำแปลที่ถูกต้องได้
การที่โจทก์ผู้สั่งจ่ายและต้องรับผิดเมื่อจำเลยผู้จ่ายซึ่งได้รับรองตั๋วแลกเงินแล้วไม่ยอมจ่ายเงินนั้น ได้เข้าถือเอาตั๋วแลกเงินโดยผู้รับเงินและตัวแทนสละตั๋วแลกเงินนั้นให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 970 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาเงินตามตั๋วแลกเงินและดอกเบี้ยในจำนวนเงินนั้นคิดอัตราร้อยละห้าต่อปีนับแต่วันที่ได้ใช้เงินไปได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 969
เมื่อหนี้ตามตั๋วแลกเงินมีกำหนดระยะเวลาชำระแน่นอนอยู่แล้วโจทก์ไม่จำต้องบอกกล่าวทวงถามอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่เจ้าหน้าที่เวนคืนและการผูกพันตามสัญญาค่าทดแทนที่ดิน
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายนครสวรรค์ - ตากฯ พ.ศ.2509 บัญญัติให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกรมทางหลวงจำเลยที่ 1 ได้แต่งตั้งกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว กรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นจึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในฐานะอธิบดีกรมทางหลวงและเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้
กรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหน้าที่ไกล่เกลี่ยเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนให้ตกลงกันในเรื่องจำนวนเงินค่า ทดแทนตามมาตรา 18, 22, 25, 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 จึงเห็นได้ว่ากรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีหน้าที่กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน กรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้ประชุมกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ ตารางวาละ 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 399,000 บาท โจทก์ตกลงยอมรับ และคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์กับโจทก์ได้ทำสัญญาจ่ายเงินค่าทดแทนกันไว้แล้ว กรมทางหลวงจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามนั้น จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้อนุมัติตามข้อตกลง และยับยั้งไม่จ่ายเงินดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่เจ้าหน้าที่เวนคืนและผลผูกพันสัญญาค่าทดแทน เมื่อเจ้าของที่ดินยอมรับ
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายนครสวรรค์-ตากฯ พ.ศ.2509บัญญัติให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกรมทางหลวงจำเลยที่ 1 ได้แต่งตั้งกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว กรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นจึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในฐานะอธิบดีกรมทางหลวงและเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้
กรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหน้าที่ไกล่เกลี่ยเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนให้ตกลงกันในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนตามมาตรา18,22,25, 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 จึงเห็นได้ว่ากรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีหน้าที่กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน กรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้ประชุมกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ตารางวาละ 1000 บาท รวมเป็นเงิน 399,000 บาท โจทก์ตกลงยอมรับ และคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์กับโจทก์ได้ทำสัญญาจ่ายเงินค่าทดแทนกันไว้แล้ว กรมทางหลวงจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามนั้น จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้อนุมัติตามข้อตกลง และยับยั้งไม่จ่ายเงินดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินเวนคืน: กรมชลประทานมีสิทธิขับไล่ผู้รบกวนการครอบครอง แม้มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์
ที่พิพาทอยู่ในเขตเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลบางหลวงฯ แม้กระทรวงการคลังจะเป็นผู้ซื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนรวมทั้งที่พิพาทแล้วมอบให้กรมชลประทานโจทก์สร้างเขื่อน อันเป็นการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับดังกล่าว ก็เป็นการดำเนินการและพิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินเป็นของรัฐ เมื่อโจทก์ได้เข้าดำเนินการสร้างเขื่อนตามโครงการแล้วจึงเป็นผู้ครอบครองดูแลรักษาที่พิพาท แม้โจทก์จะไม่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ก็ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยและบริวาร ซึ่งเข้าไปตั้งปั๊มน้ำมันเป็นการรบกวนการครอบครองของโจทก์ให้ออกไปจากที่พิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองของรัฐในการเวนคืนที่ดินและการรบกวนการครอบครอง
ที่พิพาทอยู่ในเขตเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลบางหลวงฯ แม้กระทรวงการคลังจะเป็นผู้ซื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนรวมทั้งที่พิพาทแล้วมอบให้กรมชลประทานโจทก์สร้างเขื่อนอันเป็นการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับดังกล่าว ก็เป็นการดำเนินการและพิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินเป็นของรัฐ เมื่อโจทก์ได้เข้าดำเนินการสร้างเขื่อนตามโครงการแล้วจึงเป็นผู้ครอบครองดูแลรักษาที่พิพาท แม้โจทก์จะไม่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ก็ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารซึ่งเข้าไปตั้งปั๊มน้ำมันเป็นการรบกวนการครอบครองของโจทก์ให้ออกไปจากที่พิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะวัดเมื่อมีการเวนคืนและย้ายที่ตั้ง: ธรณีสงฆ์ยังคงเป็นสิทธิของวัด
เดิมวัดโจทก์ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้ว ต่อมาที่ตั้งวัดถูกทางราชการเวนคืน จึงย้ายไปตั้งในที่ดินที่มีผู้จัดซื้อถวาย ห่างที่ตั้งวัดเดิมประมาณ 1 กิโลเมตรเศษโบสถ์หลังเดิมยังอยู่ พระสงฆ์ยังใช้ทำสังฆกรรมตลอดมา วัดโจทก์จึงมีฐานะเป็นวัดอยู่เช่นเดิม หาใช่เป็นสำนักสงฆ์ไม่ ที่พิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 401/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสร้างทางหลวงและการเวนคืนที่ดิน: การขุดคูไม่เป็นการละเมิดสิทธิใช้ถนน
ที่ดินที่ขุดคูพิพาทเป็นที่ดินที่ถูกเวนคืนมาเป็นของรัฐบาลเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินกรมทางหลวงจำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจที่จะดำเนินการสร้างทางหลวงบนที่ดินที่ถูกเวนคืนนั้นเพื่อประโยชน์การจราจรสาธารณะทางบกได้ ซึ่งรวมถึงการทำรางระบายน้ำ รองน้ำ กำแพงกั้นดิน ฯลฯ ตาม พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2482 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2497 มาตรา 3 แม้การขุดคูของจำเลยทั้งสามขวางหน้าที่ดินโจทก์ ทำให้โจทก์ไม่ได้ความสะดวกที่จะใช้ถนนแต่สิทธิในการใช้ถนนกับความไม่สะดวกในการใช้ถนนเป็นคนละอย่าง คนละเรื่องกัน หากโจทก์ขัดข้องไม่ได้ความสะดวกเกี่ยวกับการใช้อย่างไรก็ชอบที่จะปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2482 เมื่อจำเลยไม่เคยหวงห้ามโจทก์มิให้ใช้ถนน และการขุดคูก็ได้ทำไปเพื่อประโยชน์แก่งานทางหลวงเพราะเป็นความจำเป็นเพื่อทดแทนทางน้ำเดิมที่สูญไป การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์เกี่ยวกับการใช้ถนนหลวง และไม่ต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1337 โจทก์จะฟ้องขอให้จำเลยกลบคูคลองที่จำเลยขุดขึ้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 401/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวง และขอบเขตการรบกวนการใช้ประโยชน์ที่ดินเดิม
ที่ดินที่ขุดคูพิพาทเป็นที่ดินที่ถูกเวนคืนมาเป็นของรัฐเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน กรมทางหลวงจำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจที่จะดำเนินการสร้างทางหลวงบนที่ดินที่ถูกเวนคืนนั้นเพื่อประโยชน์การจราจรสาธารณะทางบกได้ซึ่งรวมถึงการทำรางระบายน้ำ ร่องน้ำ กำแพงกั้นดิน ฯลฯ ตาม พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2482 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2497 มาตรา 3 แม้การขุดคูของจำเลยทั้งสามขวางหน้าที่ดินโจทก์ ทำให้โจทก์ไม่ได้ความสะดวกที่จะใช้ถนน แต่สิทธิในการใช้ถนนกับความไม่สะดวกในการใช้ถนนเป็นคนละอย่างคนละเรื่องกัน หากโจทก์ขัดข้องไม่ได้ความสะดวกเกี่ยวกับการใช้อย่างไร ก็ชอบที่จะปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรา30 แห่ง พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2482 เมื่อจำเลยไม่เคยหวงห้ามโจทก์มิให้ใช้ถนน และการขุดคูก็ได้ทำไปเพื่อประโยชน์แก่งานทางหลวงเพราะเป็นความจำเป็นเพื่อทดแทนทางน้ำเดิมที่สูญไป การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์เกี่ยวกับการใช้ถนนหลวงและไม่ต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 โจทก์จะฟ้องขอให้จำเลยกลบคูคลองที่จำเลยขุดขึ้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2423/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์ยังคงอยู่หากไม่มีการเวนคืนจริงและจำเลยมิได้รบกวนการครอบครอง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดในเขตเทศบาลอยู่ในบริเวณที่จะต้องถูกเวนคืนเพื่อสร้างและขยายทางหลวงฯตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอเมืองขอนแก่น ฯลฯ พ.ศ. 2505 เทศบาลฯ จำเลยได้เข้ายึดถือครองเอาเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยตลอดมา แต่หาได้ชดใช้เงินค่าเวนคืนที่ดินให้แก่โจทก์ไม่ ทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ขอให้เทศบาลจำเลยชดใช้ค่าเสียหาย ทางพิจารณาได้ความว่าการดำเนินการสำรวจปักแนวเขตถนนที่จะขยายตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินฯ พ.ศ. 2505 ดังกล่าวเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกามอบหมายให้นายช่างเทศบาลฯ พนักงานของจำเลยไปดำเนินการสำรวจไว้ จำเลยมิได้มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรงแต่อย่างใดทั้งการสำรวจปักแนวเขตก็เป็นการปฏิบัติตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 มาตรา 44 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2497 มาตรา 12 เท่านั้น มิใช่เห็นการเข้าไปครอบครอง เมื่อต่อมามิได้มีพระราชบัญญัติเวนคืนจนล่วงพ้นกำหนดอายุในพระราชกฤษฎีกาการสำรวจดังกล่าวก็เป็นอันสิ้นสภาพไปในตัว กรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่พิพาทจึงยังคงอยู่กับโจทก์ตลอดมา เมื่อโจทก์ไม่มีพยานนำสืบว่าจำเลยได้เข้าไปเกี่ยวข้องรบกวนการครอบครองของโจทก์ คดีก็ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
of 56