พบผลลัพธ์ทั้งหมด 502 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9688/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ จำเลยต้องพิสูจน์ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่ก่อนจึงจะรับผิดชอบได้
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2543 จำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกสิบล้อ เฉี่ยวชนกับรถแท็กซี่ ซึ่งมีนาย ส. เป็นผู้ขับและถึงแก่ความตายหลังเกิดเหตุ จำเลยที่ 5 เป็นผู้รับประกันภัยรถคันที่จำเลยที่ 1 ขับ อุบัติเหตุดังกล่าวทำให้รถบรรทุกสิบล้อที่จำเลยที่ 1 ขับชนท่อประปาของโจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์เสียค่าใช้จ่ายซ่อมแซมเป็นเงิน 92,347 บาท การที่จำเลยทั้งห้าจะรับผิดต่อโจทก์ ข้อเท็จจริงต้องรับฟังได้ว่า เหตุที่รถทั้งสองคันเฉี่ยวชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 หรือนาย ส. แม้โจทก์จะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ยังคงต้องนำสืบให้ได้ความดังกล่าว เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ว่าเหตุที่รถทั้งสองคันเฉี่ยวชนกัน เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์และเป็นเหตุในลักษณะคดีจึงให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อทางละเมิด, ความรับผิดของผู้รับประกันภัย, และดอกเบี้ยค่าเสียหาย
การที่ผู้ตายขับรถถอยหลังโดยไม่ดูให้ดีว่ามีรถคันอื่นอยู่ด้านหลังหรือไม่ และในระยะห่างเพียงใด ย่อมถือว่าผู้ตายขับรถโดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ พฤติการณ์ของผู้ตายที่มีเรื่องเขม่นกันกับคนร้ายมาก่อนแล้วขับรถปาดหน้ากัน ที่ผู้ตายถูกกลุ่มคนร้ายจอดรถขวางหน้าแล้วใช้อาวุธปืนยิงจนผู้ตายต้องขับรถถอยหลังมาชนรถโจทก์ย่อมไม่อาจยกเป็นข้ออ้างได้ว่ามิได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อ ทั้งการกระทำของผู้ตายก็มิใช่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่อาจอ้างเป็นเหตุปฏิเสธความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 449 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 เบิกความรับว่าเป็นผู้ให้ความยินยอมผู้ตายนำรถที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยไปขับ เมื่อเหตุละเมิดอยู่ในระยะเวลาคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องผู้เอาประกันภัยจะมิใช่จำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่เหตุละเมิดเกิดขึ้นในขณะที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาประกันภัยและสัญญาประกันภัยมีผลใช้บังคับ จำเลยที่ 3 หาพ้นความรับผิดไม่
ดอกเบี้ยของค่าสินไหมทดแทน จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องรับผิดนับแต่วันทำละเมิด ส่วนความรับผิดของจำเลยที่ 3 เป็นไปตามสัญญาประกันภัย มิใช่ความรับผิดฐานละเมิด โจทก์จึงชอบที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 3 นับแต่วันที่จำเลยที่ 3 ผิดนัดเมื่อถูกทวงถามแล้วเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระค่าสินไหมทดแทนก่อนฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
จำเลยที่ 1 เบิกความรับว่าเป็นผู้ให้ความยินยอมผู้ตายนำรถที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยไปขับ เมื่อเหตุละเมิดอยู่ในระยะเวลาคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องผู้เอาประกันภัยจะมิใช่จำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่เหตุละเมิดเกิดขึ้นในขณะที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาประกันภัยและสัญญาประกันภัยมีผลใช้บังคับ จำเลยที่ 3 หาพ้นความรับผิดไม่
ดอกเบี้ยของค่าสินไหมทดแทน จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องรับผิดนับแต่วันทำละเมิด ส่วนความรับผิดของจำเลยที่ 3 เป็นไปตามสัญญาประกันภัย มิใช่ความรับผิดฐานละเมิด โจทก์จึงชอบที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 3 นับแต่วันที่จำเลยที่ 3 ผิดนัดเมื่อถูกทวงถามแล้วเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระค่าสินไหมทดแทนก่อนฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6502/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางถนน: การประเมินความประมาทและการแบ่งความรับผิด
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์กระบะหมายเลขทะเบียน ผท 6565 ชลบุรีไว้กับจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัย ในวันเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 ขับรถคันดังกล่าวไปตามถนนสายอ่างศิลามุ่งหน้าไปตลาดอ่างศิลาซึ่งเป็นถนนมีช่องเดินรถ 2 ช่อง แล่นสวนทางกันคนละฝั่ง 1 ช่อง เมื่อถึงหน้าร้านนุชคอหมูย่าง จำเลยที่ 1 จะเลี้ยวซ้ายไปจอดที่ร้านดังกล่าวและเกิดเฉี่ยวชนกันกับรถจักรยานยนต์ที่โจทก์ขับมาทางด้านซ้าย รถของโจทก์เสียหลักไปกระแทกกับรถยนต์ที่จอดอยู่ได้รับความเสียหายและโจทก์ได้รับบาดเจ็บ ต่อมาพนักงานอัยการยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 300 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43, 68, 148, 157 จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (3) (4), 68, 148, 157 และ ป.อ. มาตรา 390 แม้โจทก์ในคดีนี้จะเป็นโจทก์ร่วมในคดีดังกล่าวก็ตาม คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยในคดีดังกล่าวเพียงว่า จำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกและกระทำความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 300 ตามฟ้องหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมกระทำโดยประมาทด้วยหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าววินิจฉัยด้วยว่าโจทก์ร่วมมีส่วนกระทำโดยประมาทด้วย ก็ไม่ได้เป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาดังกล่าว ดังนั้นข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ในคดีนี้ ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น และตามฎีกาของจำเลยทั้งสองก็มิได้ยกขึ้นเป็นข้ออ้างว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่รับฟังว่าพยานหลักฐานที่จำเลยทั้งสองนำสืบมาไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังได้ว่า โจทก์มีส่วนประมาทนั้นไม่ถูกต้องอย่างไร ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ แต่การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นข้ออื่นๆ รวมทั้งค่าเสียหายนั้น ศาลฎีกาเห็นว่า ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยการสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสองเสร็จสิ้นเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นๆ ให้เสร็จสิ้นไปเสียทีเดียวได้ เพื่อมิให้เป็นการล่าช้า ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยในปัญหาว่า จำเลยทั้งสองต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพียงใดไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยก่อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6450/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถ: ผู้ขับแซงตัดหน้าเป็นเหตุให้ชนและเสียหลัก ชนอีแต๋น ผู้ขับไม่ประมาท
ตามฟ้องที่จำเลยให้การรับสารภาพฟังได้ว่า ก่อนเกิดเหตุจำเลยขับรถยนต์บรรทุกพ่วงในทางเดินรถของจำเลย จำเลยไม่ได้ขับล้ำเข้าไปในทางเดินรถสวน ส่วน ร. ขับรถจักรยานยนต์สวนทางมาโดยขับตามหลังรถอีแต๋นที่ บ. เป็นผู้ขับ แต่ ร. ขับแซงขึ้นหน้ารถอีแต๋นล้ำเข้าไปในทางเดินรถของจำเลย เป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์ที่ ร. ขับชนกับรถจำเลย หาก ร. ไม่ขับรถล้ำเข้าไปในทางเดินรถของจำเลย เหตุรถทั้งสองคันชนกันก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ แม้จะฟังว่าจำเลยมิได้ขับรถชิดขอบทางด้านซ้าย แต่ก็ยังขับอยู่ในทางเดินรถของจำเลย และตามรายงานชันสูตรพลิกศพเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องระบุว่า ร. ขับรถตัดหน้ารถจำเลยเป็นเหตุให้ชนกัน แล้วรถจำเลยเสียหลักไปชนรถอีแต๋น แสดงว่า ร. ขับแซงขึ้นหน้ารถอีแต๋นในระยะกระชั้นชิดขณะที่รถจำเลยใกล้จะสวนทางกับรถอีแต๋น การที่รถจำเลยเสียหลักพุ่งชนรถอีแต๋น จึงเป็นผลโดยตรงจาก ร. ขับแซงขึ้นหน้าในระยะกระชั้นชิดเข้าไปในทางเดินรถของจำเลย มิใช่ผลโดยตรงที่จำเลยมิได้ขับรถชิดขอบทางด้านซ้ายหรือไม่ชะลอความเร็ว จะถือว่าจำเลยมีส่วนประมาทด้วยหาได้ไม่ เพราะการที่รถจำเลยเสียการควบคุมไปชนรถอีแต๋นเป็นผลจากความประมาทอย่างร้ายแรงของ ร. ที่ขับแซงขึ้นหน้าในระยะกระชั้นชิด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและรับอันตรายแก่กาย ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และ 225 แต่การที่จำเลยขับรถยนต์บรรทุกพ่วงซึ่งเป็นรถขนาดใหญ่บรรทุกหินเต็มคันรถด้วยความเร็วสูงในทางแคบ ถือได้ว่าเป็นการขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6044/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความประมาทในการขับรถ ศาลวินิจฉัยได้แม้ไม่มีรายละเอียดความเร็ว หากโจทก์นำสืบได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขับรถจักรยานยนต์ถึงบริเวณจุดเลี้ยวกลับรถถนนสาย 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่เกิดเหตุ ด้วยความเร็วสูง โดยจำเลยมีความประสงค์ที่ขับรถจักรยานยนต์แล่นผ่านจุดเลี้ยวกลับรถดังกล่าวตรงไปทางด้านถนนบางนา-ตราด และจำเลยมองเห็นอยู่แล้วว่าในขณะนั้นมี ส. กำลังขับรถยนต์เลี้ยวขวากลับรถบริเวณจุดกลับรถเข้าสู่ถนนสาย 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในช่องเดินรถช่องที่ 2 ซึ่งเป็นช่องเดินรถช่องเดียวกันกับที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวมา แต่จำเลยไม่ชะลอความเร็วและไม่หักหลบรถยนต์คันที่ ส. ขับมาเข้าไปในช่องเดินรถช่องที่ 1 เป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์ของจำเลยเฉี่ยวชนบริเวณด้านท้ายรถยนต์ของ ส. อย่างแรง ทำให้รถยนต์ของ ส. ได้รับความเสียหาย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยโดยกล่าวถึงคำฟ้องของโจทก์ว่า ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุไว้ชัดเจนว่า จำเลยขับรถด้วยความเร็วสูง ไม่ชะลอความเร็ว ด้วยความประมาทของจำเลยจึงเป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์ของจำเลยเฉี่ยวชนบริเวณด้านท้ายรถยนต์ของ ส. แล้ววินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์ย่อมสามารถนำสืบให้เห็นว่าจำเลยขับรถอย่างไร ด้วยอัตราความเร็วเท่าใดจึงเป็นการขับรถโดยประมาท ซึ่งเป็นรายละเอียดปลีกย่อยและศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าการที่จำเลยขับรถด้วยความเร็วเกินกว่า 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจรได้ เท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยคำฟ้องโจทก์ดังกล่าวข้างต้นแล้วเห็นว่าคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว ส่วนจำเลยขับรถอย่างไร ด้วยอัตราความเร็วเท่าใดนั้น เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ซึ่งศาลย่อมนำข้อนำสืบดังกล่าวมาวินิจฉัยถึงการกระทำผิดของจำเลยได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4491/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการจอดรถกีดขวางการจราจรและไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจราจรทางบก ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ผู้ขับขี่ต้องรับผิดชอบ
โจทก์ฟ้องว่าเหตุละเมิดเกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 ที่จอดรถไว้ในช่องเดินรถช่องทางด่วนซ้ายสุดโดยไม่เปิดไฟฉุกเฉิน ไม่แสดงเครื่องหมายจราจรหรือสัญญาณจราจรอื่นใดไว้บริเวณท้ายรถ ซึ่งตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 61 บัญญัติไว้ว่า ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่ผู้ขับขี่จะมองเห็นรถที่จอดในทางเดินรถได้โดยชัดแจ้งในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร ผู้ขับขี่ซึ่งจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางต้องเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามประเภทลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้นำสืบพยานหลักฐานใดที่จะแสดงให้เป็นไปตามข้ออ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ดังกล่าวแล้ว รวมทั้งไม่นำสืบหักล้างให้เห็นได้ว่า ย. กระทำผิดโดยมีส่วนประมาทด้วยเช่นไร กรณีจึงต้องรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบมาทั้งหมด จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3947/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการถือข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาคดีอาญาในคดีแพ่ง และการประเมินความประมาทของผู้ตาย
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 บัญญัติว่า "ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา" หมายถึงเฉพาะข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาและผูกพันเฉพาะคู่ความโดยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1033/2553 ของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ในคดีนี้เป็นจำเลยในคดีดังกล่าว ผู้ตายมิได้ถูกฟ้องคดีด้วย แม้ศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาท แต่ก็ไม่ได้วินิจฉัยว่า ผู้ตายไม่ได้มีส่วนในความประมาท ดังนั้นข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ตายมีส่วนในความประมาทหรือไม่ จึงไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา คดีนี้ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่า ผู้ตายมีส่วนประมาทหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13439/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยความประมาทร่วมกันในคดีรถชน ศาลฎีกาไม่รับอุทธรณ์ เหตุไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า ในวันเกิดเหตุ ก. ขับรถกระบะหมายเลขทะเบียน กล 1080 ชลบุรี ซึ่งประกันภัยไว้กับผู้คัดค้านทั้งสองแล่นไปตามถนนที่เกิดเหตุ ขณะเดียวกัน อ. ขับรถยนต์หมายเลขทะเบียน สย 3272 กรุงเทพมหานคร โดยมี ห. นั่งโดยสารมาด้วย เมื่อถึงที่เกิดเหตุ รถกระบะที่ ก. ขับเฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่ อ. ขับ รถยนต์ทั้งสองคันเสียหลัก รถกระบะที่ ก. ขับพลิกคว่ำลงร่องกลางถนน และรถยนต์ที่ อ. ขับ แล่นข้ามร่องกลางถนนและข้ามถนนด้านตรงข้ามสำหรับรถแล่นสวนทางมาไปชนแท่งปูนขนาดใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนอย่างแรง เป็นเหตุให้ อ. ถึงแก่ความตาย และ ห. ได้รับอันตรายสาหัส ต่อมาผู้ร้องในฐานะมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ อ. เสนอข้อพิพาทในฐานะผู้เสนอข้อพิพาทที่ 2 ต่ออนุญาโตตุลาการของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยขอให้อนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำร้องคัดค้านว่า เหตุไม่ได้เกิดจากความประมาทของ ก. ฝ่ายเดียว แต่เกิดจากความประมาทของ อ. ด้วย อนุญาโตตุลาการสืบพยานแล้วมีคำชี้ขาดเป็นข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 78/2556 ว่า เหตุเกิดจากความประมาทของ ก. และ อ. ทั้งสองฝ่าย ผู้คัดค้านจึงไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้ร้อง ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้ร้องว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรเพิกถอนหรือไม่ เห็นว่า ปรากฏข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาศาลจังหวัดระยองที่พิพากษาลงโทษ ก. ข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายว่า ศาลจังหวัดระยองพิเคราะห์รายงานการสืบเสาะและพินิจของ ก. และรายงานการสอบสวนของพนักงานสอบสวนแล้ว เห็นว่าเหตุเกิดจากความประมาทของ ก. และ อ. ร่วมกัน ดังนั้น คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการที่ว่าเหตุเกิดจากความประมาทของ ก. และ อ. ทั้งสองฝ่าย จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในสำนวนที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน นอกจากนั้นคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการที่ว่า เมื่อใคร่ครวญโดยอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณแล้วเห็นควรให้ค่าสินไหมทดแทนเป็นพับ ก็เป็นการใช้ดุลพินิจพิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนกำหนดค่าสินไหมทดแทนที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนเช่นกัน กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแพ่งต่อศาลฎีกาได้ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่รับอุทธรณ์ของผู้ร้องไว้วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10534/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าสินไหมทดแทนกรณีอุบัติเหตุทางรถยนต์ ต้องพิจารณาความประมาทของทั้งสองฝ่ายตามกฎหมายแพ่ง
ป.วิ.อ. มาตรา 46 บัญญัติไว้ว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญา คดีนี้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติในคดีส่วนอาญาคงมีเพียงว่า จำเลยกระทำโดยประมาท ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ตายมีส่วนประมาทหรือไม่ และใครประมาทมากกว่ากันอันเป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องนำมาพิจารณาประกอบในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยและจำเลยได้อุทธรณ์ไว้แล้ว เมื่อ ป.วิ.อ. มาตรา 47 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดหรือไม่ และบทบัญญัติอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งในกรณีต่างฝ่ายต่างประมาททำให้เกิดมูลหนี้ละเมิดขึ้นนั้น ป.พ.พ. มาตรา 442 วางหลักให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และมาตรา 438 บัญญัติว่า ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ซึ่งการที่จะกำหนดค่าสินไหมทดแทนแค่ไหน เพียงใดนั้น ศาลย่อมที่จะต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานของโจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 และจำเลยที่นำสืบมาว่าฝ่ายจำเลยหรือผู้ตายประมาทมากน้อยกว่ากันอย่างไรและเพียงใดด้วย จึงจะเป็นการดำเนินการตามอำนาจที่มีอยู่โดยชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14975/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินความประมาทในการขับขี่และการชนเนื่องจากรถเบี่ยงเลน ไม่เข้าข่ายประมาทตามกฎหมายจราจร
แม้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างรถคันหน้าพอสมควรในระยะที่จะหยุดรถได้โดยปลอดภัยในเมื่อจำเป็นต้องหยุดรถ" ก็ตาม แต่ได้ความว่าก่อนเกิดเหตุจำเลยขับรถจักรยานยนต์เยื้องไปทางด้านหลังซ้ายรถยนต์ที่ ร. ขับ ดังนี้ จำเลยจึงขับรถอยู่คนละช่องเดินรถกับรถที่ ร. ขับ และเหตุที่รถที่จำเลยขับชนรถที่ ร. ขับเนื่องมาจาก ร. เบี่ยงรถมาทางด้านซ้าย กรณีจึงถือไม่ได้ว่ารถที่ ร. ขับเป็นรถคันหน้าที่จำเลยต้องขับรถให้ห่างพอสมควรที่จะหยุดรถได้โดยปลอดภัยเมื่อจำเป็นต้องหยุดรถตามบทบัญญัติดังกล่าว ทั้งได้ความว่าจำเลยขับรถด้วยความเร็วเพียง 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยขับรถโดยประมาทอันอาจเกิดอันตรายแก่ทรัพย์สิน จำเลยจึงไม่มีความผิด