พบผลลัพธ์ทั้งหมด 497 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7423/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: ผู้ร้องไม่ต้องบรรยายสถานะบุคคลภายนอกของคู่กรณีในคำร้อง
ในชั้นยื่นคำร้องขอครอบครองปรปักษ์ ผู้ร้องเพียงแต่บรรยายให้ปรากฏว่า ผู้ร้องได้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 5 ปี หรือ 10 ปี แล้วแต่กรณี ก็ถือว่าเป็นคำร้องที่ได้บรรยายโดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนผู้คัดค้านจะเป็นบุคคลภายนอกและได้ทรัพย์ที่ผู้ร้องร้องขอครอบครองปรปักษ์มาโดยสุจริตหรือไม่ ไม่ใช่สภาพแห่งข้อหาหรือข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ไม่จำต้องบรรยายมาในคำร้องขอ
ผู้ร้องและผู้คัดค้านอุทธรณ์และฎีกาขอให้ศาลสูงพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลล่าง แต่เมื่อผลของคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 และศาลฎีกามีเพียงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่หรือไม่เท่านั้น จึงเป็นการขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันมิอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าชึ้นศาลเพียง 200 บาท
ผู้ร้องและผู้คัดค้านอุทธรณ์และฎีกาขอให้ศาลสูงพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลล่าง แต่เมื่อผลของคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 และศาลฎีกามีเพียงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่หรือไม่เท่านั้น จึงเป็นการขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันมิอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าชึ้นศาลเพียง 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5767/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการบังคับคดี: ผู้ร้องยื่นคำร้องล่าช้าเกิน 15 วันตามกฎหมาย
คำร้องของผู้ร้องทั้งสองที่กล่าวอ้างว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 79812 และ 79813 พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของจำเลย ไม่ใช่ทรัพย์สินในกองมรดกที่โจทก์ฟ้องขอแบ่ง เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินดังกล่าวเป็นการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนกฎหมาย จึงขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการบังคับคดีที่ผิดระเบียบ มีความหมายว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ขอให้ศาลเพิกถอนเสีย ซึ่งการยื่นคำร้องตามมาตรานี้อาจกระทำได้ไม่ว่าในเวลาใดก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสาม เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ 79812 และ 79813 พร้อมสิ่งปลูกสร้างเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2544 ต่อมาวันที่ 4 กันยายน 2544 ทนายผู้ร้องทั้งสองยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลย จึงขอคัดถ่ายเอกสารในสำนวนเพื่อดำเนินการต่อไป แสดงว่าผู้ร้องทั้งสองทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นแล้วนับแต่วันที่ 4 กันยายน 2544 เป็นอย่างช้า ผู้ร้องทั้งสองเพิ่งมายื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2545 จึงพ้นระยะเวลา 15 วันตามที่กฎหมายกำหนด คำร้องของผู้ร้องทั้งสองเป็นคำร้องที่ไม่ชอบและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4660/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: ผู้มีส่วนได้เสียต้องคัดค้านเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อนยื่นคำร้องต่อศาล
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 158 บัญญัติว่า "ผู้มีส่วนได้เสียคนใดเห็นว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีสิทธิยึดทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด ให้คัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับคำคัดค้านแล้วให้สอบสวนและมีคำสั่ง ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ให้ถอนการยึด ผู้นั้นมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลภายในกำหนดเวลา 14 วัน นับแต่วันได้ทราบคำสั่งนั้น..." ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ต่อศาลล้มละลายกลางโดยไม่ได้คัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสียก่อนจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้องตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ ศาลล้มละลายกลางชอบที่จะยกคำร้องของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: หนังสือมอบอำนาจครอบคลุมการยื่นคำร้องขอพิจารณาการประเมินใหม่
หนังสือมอบอำนาจระบุว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ผ. เป็นผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีโรงเรือนและที่ดินในนามโจทก์...จนเสร็จการ โดยเฉพาะถ้อยคำที่ระบุว่า "...จนเสร็จการ" พอแปลความได้แล้วว่า นอกจากจะให้ ผ. เป็นตัวแทนในการยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนโจทก์แล้ว ยังถือว่าให้มีอำนาจรวมไปถึงการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ได้ด้วย จึงถือได้ว่า โจทก์ได้มอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรให้ ผ. เป็นตัวแทนลงนามในคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 37 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3736/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องขอคืนของกลางที่ผู้ร้องไม่มาศาลตามนัด การพิจารณาเหตุสมควร และการไต่สวนเพื่อหาข้อเท็จจริง
ผู้ร้องไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนคำร้องขอคืนของกลางต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 166 ประกอบมาตรา 181 ศาลชั้นต้นชอบที่จะยกฟ้อง และผู้ร้องมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องทราบนัดแล้วไม่มาศาลถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาศาลและให้ยกคำร้องจึงเป็นการไม่ชอบ แม้ศาลชั้นต้นจะยกคำร้องของผู้ร้องโดยถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบ ก็ไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้ร้องที่จะยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีภาษีอากรต้องยื่นคำร้องขอพิจารณาการประเมินใหม่โดยผู้มีอำนาจ หรือมีเอกมอบอำนาจที่ถูกต้องตามกฎหมาย มิฉะนั้นขาดอำนาจฟ้อง
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ มาตรา 26 กำหนดให้คำร้องขอพิจารณาการประเมินใหม่ต้องเขียนลงในแบบพิมพ์และผู้รับประเมินต้องลงนาม หากผู้รับประเมินต้องการให้ตัวแทนลงนามแทนต้องมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 37 เมื่อผู้ลงนามเป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ในนามโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าเป็นผู้แทนซึ่งมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ และไม่ปรากฏว่าผู้ลงนามได้รับมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรให้ลงนามเป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่แทนโจทก์ ทั้งเป็นกรณีที่โจทก์ไม่อาจให้สัตยาบันภายหลังได้ กรณีถือว่าโจทก์ยังไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 7 (1) และมาตรา 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรต้องมีหลักฐานการยื่นคำร้องขอพิจารณาการประเมินใหม่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
คำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ต้องเขียนลงในแบบพิมพ์และผู้รับประเมินต้องลงนามตามที่พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ มาตรา 26 กำหนด แต่ถ้าต้องการให้ตัวแทนลงนามแทนก็ต้องมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรตามมาตรา 37 จากข้อเท็จจริง ช. ซึ่งเป็นผู้จัดการได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ในนามโจทก์โดยไม่ปรากฏว่า ช. เป็นผู้แทนซึ่งมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ และได้รับมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรให้ลงนามเป็นผู้ยื่นคำร้องขอฯแทนโจทก์ ทั้งเป็นกรณีที่โจทก์ไม่อาจให้สัตยาบันในภายหลังได้ จึงถือว่าโจทก์ยังไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 7 (1) และมาตรา 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต้องยื่นภายใน 14 วันนับจากวันขายทอดตลาด มิเช่นนั้นศาลชอบยกคำร้อง
ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคสี่ บัญญัติว่า "ในกรณีที่ยึดทรัพย์สินเพื่อขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น คำขอเช่นว่านี้ให้ยื่นก่อนสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่ขายทอดตลาด หรือจำหน่ายได้ในครั้งนั้น ๆ" คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดไปเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ วันที่ 4 สิงหาคม 2548 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ จึงต้องถือว่าวันขายทอดตลาดคือวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 หาใช่วันที่คดีเกี่ยวกับคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดถึงที่สุดดังที่ผู้ร้องเข้าใจไม่ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมาย ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องเสีย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องคัดค้านการบังคับคดีต้องยื่นภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบข้อเท็จจริง การไม่ยื่นตามกำหนดทำให้คำร้องไม่ชอบ
คำร้องของจำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมายเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต้องเสียหายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง การยื่นคำร้องของจำเลยที่ 1 จึงต้องกระทำก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 179 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2546 โดยให้งดการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 2067 และ 2068 ไว้เนื่องจากไม่มีผู้เสนอราคา จำเลยที่ 1 ย่อมทราบดีว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องนำที่ดินโฉนดเลขที่ 2067 และ 2068 ออกขายทอดตลาดในครั้งต่อไปตามประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งประกาศให้ทราบทั่วกันล่วงหน้าก่อนแล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2546 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องวันที่ 19 พฤศจิกายน 2546 ช้ากว่าสิบห้าวัน นับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นแล้ว คำร้องของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการแสดงกรรมสิทธิ์บ้านบนที่ดินของผู้อื่น ต้องมีกฎหมายรองรับชัดเจน จึงจะยื่นคำร้องต่อศาลได้
บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) จะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้นๆ ได้ แต่กรณีตามคำร้องขอของผู้ร้องซึ่งร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าบ้านที่ผู้ร้องปลูกอยู่ในที่ดินของผู้อื่นเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องนั้น ไม่มีกฎหมายใดสนับสนุนรับรองให้ผู้ร้องกระทำเช่นนั้นได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทต่อศาล หากผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่เกี่ยวกับบ้านหลังดังกล่าว ผู้ร้องก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้อย่างคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ส่วน ป.ที่ดิน มาตรา 78 และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2497) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติถึงวิธีการจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1382 มิใช่กฎหมายใกล้เคียงที่นำมาใช้แก่กรณีของผู้ร้อง