คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าทดแทน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 634 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าครองชีพที่จ่ายให้ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจถือเป็นค่าจ้าง จึงต้องนำมาคำนวณค่าทดแทนกรณีประสบอันตรายจากการทำงาน
เมื่อปรากฏว่าโจทก์จ่ายเงินค่าครองชีพให้ลูกจ้างทุกเดือนมีจำนวนแน่นอนไม่แตกต่างไปจากการจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้าง ถือได้ว่าเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานเงินค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2
เมื่อเงินค่าครองชีพที่โจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าจ้างจึงต้องนำมาคำนวณเป็นค่าทดแทนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าครองชีพเป็นค่าจ้างตามกฎหมาย: การคำนวณค่าทดแทนกรณีประสบอันตรายจากการทำงาน
เมื่อปรากฏว่าโจทก์จ่ายเงินค่าครองชีพให้ลูกจ้างทุกเดือนมีจำนวนแน่นอนไม่แตกต่างไปจากการจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้าง ถือได้ว่าเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานเงินค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2
เมื่อเงินค่าครองชีพที่โจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าจ้างจึงต้องนำมาคำนวณเป็นค่าทดแทนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3470/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าทดแทนกรณีสูญเสียสมรรถภาพการมองเห็นบางส่วนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
การที่ลูกจ้างประสบอันตรายขณะทำงานเป็นเหตุให้ตาขวาสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานร้อยละสามสิบนั้นประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทนฯข้อ1(15) กำหนดว่า ถ้าสูญเสียสมรรถภาพในการมองเห็นร้อยละเก้าสิบขึ้นไป ให้มีระยะเวลาจ่ายค่าทดแทน สองปี หนึ่งเดือน และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 54 กำหนดว่า การประสบอันตรายซึ่งเป็นเหตุให้สูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะไปเพียงบางส่วน ให้คำนวณเทียบอัตราส่วนร้อยละจากจำนวนระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการสูญเสียอวัยวะประเภทนั้นดังนั้น กรณีนี้จึงมีกำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนเท่ากับสองปีหนึ่งเดือน คูณด้วย 30 หารด้วย 100 มิใช่สองปีหนึ่งเดือนคูณด้วย 30 หารด้วย 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3470/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าทดแทนกรณีสูญเสียสมรรถภาพการมองเห็นบางส่วนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
การที่ลูกจ้างประสบอันตรายขณะทำงานเป็นเหตุให้ตาขวาสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานร้อยละสามสิบนั้นประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทนฯ ข้อ1(15) กำหนดว่า ถ้าสูญเสียสมรรถภาพในการมองเห็นร้อยละเก้าสิบขึ้นไป ให้มีระยะเวลาจ่ายค่าทดแทน สองปี หนึ่งเดือน และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 54 กำหนดว่า การประสบอันตรายซึ่งเป็นเหตุให้สูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะไปเพียงบางส่วน ให้คำนวณเทียบอัตราส่วนร้อยละจากจำนวนระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการสูญเสียอวัยวะประเภทนั้นดังนั้น กรณีนี้จึงมีกำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนเท่ากับสองปีหนึ่งเดือน คูณด้วย 30 หารด้วย 100 มิใช่สองปีหนึ่งเดือน คูณด้วย 30 หารด้วย 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3434/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาค่าทดแทนกรณีลูกจ้างถูกฆ่าตายก่อนเริ่มทำงาน และการพิสูจน์ความเชื่อมโยงกับการทำงาน
ผู้ตายเป็นพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย มีหน้าที่เป็นพนักงานกำกับการเดินรถ เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่เวลา 00.00นาฬิกาถึง 8.00 นาฬิกา ในวันรุ่งขึ้น วันเกิดเหตุผู้ตาย ไปถึงย่านปล่อยรถเวลา 21 นาฬิกาเศษ เพื่อรอโดยสารรถยนต์ของเพื่อนร่วมงานไปยังหอควบคุมการเดินรถซึ่งอยู่ห่างไปประมาณ 600 เมตร รออยู่จนกระทั่ง 22 นาฬิกาก็ยังไม่มาผู้ตายจึงเดินไปเอง หลังจากนั้นประมาณ 5 นาทีผู้ตายถูกยิงถึงแก่ความตาย ดังนี้ ถือว่าผู้ตายถูกยิงตายก่อนเริ่มลงมือทำงาน ถือไม่ได้ว่าผู้ตายถูกฆ่าตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3434/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาค่าทดแทนกรณีลูกจ้างถูกฆ่าตายก่อนเริ่มทำงาน และความเชื่อมโยงกับการทำงานหรือป้องกันประโยชน์ให้นายจ้าง
ผู้ตายเป็นพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย มีหน้าที่เป็นพนักงานกำกับการเดินรถ เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่เวลา 00.00นาฬิกา ถึง 8.00 นาฬิกา ในวันรุ่งขึ้น วันเกิดเหตุผู้ตาย ไปถึงย่านปล่อยรถเวลา 21 นาฬิกาเศษ เพื่อรอโดยสารรถยนต์ของเพื่อนร่วมงานไปยังหอควบคุมการเดินรถซึ่งอยู่ห่างไปประมาณ 600 เมตร รออยู่จนกระทั่ง 22 นาฬิกาก็ยังไม่มาผู้ตายจึงเดินไปเอง หลังจากนั้นประมาณ 5 นาทีผู้ตายถูกยิงถึงแก่ความตาย ดังนี้ ถือว่าผู้ตายถูกยิงตายก่อนเริ่มลงมือทำงาน ถือไม่ได้ว่าผู้ตายถูกฆ่าตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2911/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนกรณีลูกจ้างถึงแก่ความตายจากการทำงาน ต้องพิสูจน์ความเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างงานและโรค/การเจ็บป่วย
โรคหรือการเจ็บป่ายอย่างอื่นที่ทำให้ลูกจ้างถึงแก่ความตาย อันเป็นผลให้นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โรคซึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับการทำงาน ฯ ข้อ 22 จะต้องเป็นโรคหรือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น สืบเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างโดยตรง หรืออีกนัยหนึ่งก็คืองานที่ลูกจ้างทำนั้นเป็นมูลให้เกิดโรค หรือการเจ็บป่วยขึ้น และเป็นเหตุให้ลูกจ้างถึงแก่ความตายด้วยโรคและการเจ็บป่วยดังกล่าว ปกติลูกจ้างผู้ตายมีหน้าที่คุมประแจ ทำความสะอาดสถานีรถไฟและแขวนพ่วงทางสะดวก มิใช่เป็นงานที่ก่อให้เกิดโรคหรือการเจ็บป่วยเป็นลมในปัจจุบัน เมื่อปรากฏว่าผู้ตายมิได้ทำงานตรากตรำ แต่ทำงานทุกวันโดยไม่มีวันหยุด และถึงแก่ความตายทันทีทันใดที่ปฏิบัติหน้าที่ และกำลังปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ยังถือไม่ได้ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการเจ็บป่วย ซึ่งเป็นผลเนื่องจากการทำงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2911/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตจากการทำงาน ต้องพิสูจน์ความเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างงานและโรคที่เป็นเหตุ
โรคหรือการเจ็บป่วยอย่างอื่นที่ทำให้ลูกจ้างถึงแก่ ความตาย อันเป็นผลให้นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องโรคซึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับการทำงานฯ ข้อ 22 จะต้องเป็นโรคหรือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างโดยตรงหรืออีกนัยหนึ่งก็คืองานที่ลูกจ้างทำนั้นเป็นมูลให้เกิดโรคหรือการเจ็บป่วยขึ้นและเป็นเหตุให้ลูกจ้างถึงแก่ความตายด้วยโรคและการเจ็บป่วยดังกล่าวปกติลูกจ้างผู้ตายมีหน้าที่คุมประแจทำความสะอาดสถานีรถไฟและแขวนห่วงทางสะดวกมิใช่เป็นงานที่ก่อให้เกิดโรคหรือการเจ็บป่วยเป็นลมในปัจจุบันเมื่อปรากฏว่าผู้ตายมิได้ทำงานตรากตรำแต่ทำงานทุกวันโดยไม่มีวันหยุดและถึงแก่ความตายทันทีทันใดที่ปฏิบัติหน้าที่และกำลังปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ยังถือไม่ได้ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการเจ็บป่วยซึ่งเป็นผลเนื่องจากการทำงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าทดแทนกรณีประสบอันตรายจากการทำงาน ศาลต้องวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงในคำฟ้องเท่านั้น
สำนักงานกองทุนเงินทดแทนขึ้นอยู่ในกรมแรงงาน การปฏิบัติงานของสำนักงานนี้ดำเนินการโดยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ซึ่งมีอธิบดีกรมแรงงานเป็นประธานต้องรับผิดในการกระทำของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนนั้นด้วย โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องกรมแรงงานได้ ไม่ต้องฟ้องกรรมการทุกคน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน และให้กรมแรงงานจำเลยจ่ายเงินทดแทนและค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนเงินทดแทนอ้างว่าโจทก์เดินไปเข้าห้องส้วมตามกระดานที่นายจายพาดไว้ไม่เรียบร้อย โจทก์หกล้มเป็นอัมพาต แต่ทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์เป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว มาทำงานล่วงเวลาหลายวันทำให้เกิดความเคร่งเครียด โรคความดันโลหิตสูงทวีความรุนแรงขึ้น ในที่สุดล้มป่วยลงขณะทำงานให้นายจ้างและเป็นอัมพาต ดังนี้ จะวินิจฉัยว่าโจทก์ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานมิได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานมาตรา 52 ไม่เข้าข้อยกเว้นในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมจะพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอบังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 182/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดนายจ้างต่อค่าทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตระหว่างเดินทางกลับจากทำงาน โดยใช้รถบริการของนายจ้าง
ลูกจ้างเลิกทำงานประจำวันตามหน้าที่แล้วและออกจากโรงงานมานั่งรถยนต์เพื่อเดินทางกลับบ้าน ระหว่างทางเกิดอุบัติเหตุรถยนต์แล่นตกลงข้างถนนและทับลูกจ้างถึงแก่ความตาย ดังนี้ แม้รถที่ลูกจ้างนั่งจะเป็นรถยนต์บริการที่นายจ้างจัดรับส่งพนักงาน ก็เป็นเพียงสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้เพื่อความสะดวกแก่พนักงานในการเดินทางกลับบ้านเท่านั้น ลูกจ้างมิได้นั่งรถไปหรือกลับจากการทำงานตามคำสั่งหรือภายใต้การควบคุมบังคับบัญชาของนายจ้าง จึงถือไม่ได้ว่าการตายของลูกจ้างเกี่ยวข้องกับการทำงานให้แก่นายจ้าง นายจ้างไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าทดแทนและค่าทำศพแก่ลูกจ้าง
of 64