พบผลลัพธ์ทั้งหมด 610 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้: การทวงหนี้และผลกระทบต่อความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ ตามสัญญากู้ที่กำหนดเวลาชำระไว้แน่นอน คือ ภายในวันที่ 25 กันยายน 2500 เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระโจทก์ไม่ได้ทวงถามจำเลย แต่กลับมีหนังสือลงวันที่ 1 ตุลาคม 2500 ถึงลูกหนี้ให้นำเงินมาชำระภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2500 ดังนี้ หนังสือนั้นเป็นหนังสือทวงหนี้บอกกล่าวกำหนดวันให้นำเงินมาชำระ ไม่มีข้อความกล่าวถึงเรื่องผ่อนเวลาชำระหนี้ จึงเป็นเพียงเรื่องที่ผู้กู้ผิดนัดและผู้ให้กู้ไม่ฟ้องร้องทันทีเท่านั้นหาใช่เป็นเรื่องผ่อนเวลาชำระหนี้ไม่
การที่เจ้าหนี้ผู้ให้กู้มิได้บรรยายในฟ้องที่ฟ้องลูกหนี้ผู้กู้ว่าจะฟ้องผู้ค้ำประกันในภายหลังนั้น ไม่มีผลให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิด ผู้ค้ำประกันจะพ้นความรับผิดก็ต่อเมื่อสัญญาค้ำประกันระงับสิ้นไป
การที่เจ้าหนี้ผู้ให้กู้มิได้บรรยายในฟ้องที่ฟ้องลูกหนี้ผู้กู้ว่าจะฟ้องผู้ค้ำประกันในภายหลังนั้น ไม่มีผลให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิด ผู้ค้ำประกันจะพ้นความรับผิดก็ต่อเมื่อสัญญาค้ำประกันระงับสิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, อายุความหนี้เงินกู้, และการรับสภาพหนี้หลังการเสียชีวิตของลูกหนี้
กรณีลูกหนี้ของธนาคารทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีให้ไว้แก่ธนาคารในวงเงินที่กำหนดไว้และมีระยะเวลา 2 เดือน นับแต่วันทำสัญญา ส่วนจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีไปนั้น กำหนดให้ถือตามบัญชีกระแสรายวันของธนาคารแล้วมีผู้ค้ำประกันเข้าทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวนั้นจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ดังนี้ คำว่า "เบิกเงินเกินบัญชี" ย่อมหมายความเป็นการเบิกเงินเกินจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่เป็นลูกหนี้ธนาคารอยู่ทั้งหมด การเข้าค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของลูกหนี้ จึงเป็นการค้ำประกันหนี้ที่มีอยู่และหนี้ในอนาคตในวงเงินที่ค้ำประกันในระยะ 2 เดือนนั้นด้วย
แม้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะมีข้อความว่า ถ้าผู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ส่งดอกเบี้ย (ในอัตราร้อยละ 8ต่อปี) ผู้เบิกเงินเกินบัญชียอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับทบเข้ากับจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีทันทีที่ค้างชำระเป็นคราวๆ ไปก็ดี แต่ข้อสัญญานี้เป็นข้อตกลงในการเบิกเงินเกินบัญชีจะนำไปใช้ในกรณีที่มีการผิดนัดไม่ชำระหนี้มาได้ไม่ การที่ธนาคารโจทก์เจ้าหนี้ขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของลูกหนี้รับผิดใช้ดอกเบี้ยทบต้นต่อไปนับแต่วันฟ้องนั้น เป็นการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสองห้ามไว้
กรณีลูกหนี้ของธนาคารตายลง แล้วผู้เป็นทายาทได้ทำหนังสือรับสารภาพหนี้ให้ธนาคารเจ้าหนี้ไว้ อายุความเรียกร้องขอธนาคารเจ้าหนี้อันมีต่อลูกหนี้เจ้ามรดกก็ได้เปลี่ยนมาเป็นอายุความเรียกร้องอันมีต่อทายาทผู้รับสารภาพหนี้นั้น อายุความตามมาตรา 1754 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่มิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่ความตายของเจ้ามรดกจึงสะดุดหยุดลง อายุความสำหรับสิทธิเรียกร้องของธนาคารเจ้าหนี้จึงต้องตั้งต้นนับใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้
การที่ลูกหนี้ของธนาคารนำเงินเข้าบัญชีและถอนออกไปในระยะเวลาที่ยังมีการเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ หาเป็นการชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชีต่อธนาคารไม่
ข้อสัญญาค้ำประกันที่ว่า เมื่อลูกหนี้ตาย ผู้ค้ำประกันยอมเข้าเป็นลูกหนี้ร่วม ย่อมมีความหมายว่าผู้ค้ำประกันยอมเข้าเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ของลูกหนี้ซึ่งจะตกทอดไปยังทายาทของลูกหนี้นั้นตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าทายาทของลูกหนี้ได้ทำหนังสือรับสารภาพหนี้ให้เจ้าหนี้ไว้ก่อนที่อายุความ 1 ปีได้สิ้นสุดลง ผู้ค้ำประกันก็ย่อมเป็นลูกหนี้ร่วมกับทายาทนั้นต่อไปตามจำนวนหนี้ที่ค้ำประกันไว้ และใช้อายุความตามมูลหนี้นั้น
แม้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะมีข้อความว่า ถ้าผู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ส่งดอกเบี้ย (ในอัตราร้อยละ 8ต่อปี) ผู้เบิกเงินเกินบัญชียอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับทบเข้ากับจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีทันทีที่ค้างชำระเป็นคราวๆ ไปก็ดี แต่ข้อสัญญานี้เป็นข้อตกลงในการเบิกเงินเกินบัญชีจะนำไปใช้ในกรณีที่มีการผิดนัดไม่ชำระหนี้มาได้ไม่ การที่ธนาคารโจทก์เจ้าหนี้ขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของลูกหนี้รับผิดใช้ดอกเบี้ยทบต้นต่อไปนับแต่วันฟ้องนั้น เป็นการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสองห้ามไว้
กรณีลูกหนี้ของธนาคารตายลง แล้วผู้เป็นทายาทได้ทำหนังสือรับสารภาพหนี้ให้ธนาคารเจ้าหนี้ไว้ อายุความเรียกร้องขอธนาคารเจ้าหนี้อันมีต่อลูกหนี้เจ้ามรดกก็ได้เปลี่ยนมาเป็นอายุความเรียกร้องอันมีต่อทายาทผู้รับสารภาพหนี้นั้น อายุความตามมาตรา 1754 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่มิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่ความตายของเจ้ามรดกจึงสะดุดหยุดลง อายุความสำหรับสิทธิเรียกร้องของธนาคารเจ้าหนี้จึงต้องตั้งต้นนับใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้
การที่ลูกหนี้ของธนาคารนำเงินเข้าบัญชีและถอนออกไปในระยะเวลาที่ยังมีการเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ หาเป็นการชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชีต่อธนาคารไม่
ข้อสัญญาค้ำประกันที่ว่า เมื่อลูกหนี้ตาย ผู้ค้ำประกันยอมเข้าเป็นลูกหนี้ร่วม ย่อมมีความหมายว่าผู้ค้ำประกันยอมเข้าเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ของลูกหนี้ซึ่งจะตกทอดไปยังทายาทของลูกหนี้นั้นตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าทายาทของลูกหนี้ได้ทำหนังสือรับสารภาพหนี้ให้เจ้าหนี้ไว้ก่อนที่อายุความ 1 ปีได้สิ้นสุดลง ผู้ค้ำประกันก็ย่อมเป็นลูกหนี้ร่วมกับทายาทนั้นต่อไปตามจำนวนหนี้ที่ค้ำประกันไว้ และใช้อายุความตามมูลหนี้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1841/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ค้ำประกันสัญญาเช่าและการบอกเลิกสัญญาค้ำประกันก่อนครบกำหนด
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าอาคารและที่ดินของโจทก์มีข้อความว่า เช่ามีกำหนด 1 ปี เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว ถ้าไม่มีการทำสัญญาเช่ากันใหม่ ผู้เช่าจะต้องขนย้ายออกจากที่เช่าภายใน 30 วัน ถ้าไม่ขนย้ายออกไปจะต้องเสียค่าเสียหายเป็นรายวัน ๆ ละ 100 บาท ให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันเงินค่าเช่าและค่าเสียหายซึ่งโจทก์จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ในการที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่าดังนี้ จำเลยที่ 2 จะบอกเลิกการค้ำประกันเมื่อครบกำหนด 1 ปี โดยไม่ยอมรับผิดในค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระเพราะไม่ออกไปจากที่เช่าไม่ได้ เพราะรูปคดีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 699
แม้จะระบุไว้ในสัญญาเช่าว่า เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้ว ผู้เช่าไม่ออกไป จะต้องเสียค่าเสียหายผู้ให้เช่าวันละ 200 บาทก็ดี เมื่อศาลเห็นว่าค่าเสียหายสูงไป ก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าตามควรแก่พฤติการณ์ได้
แม้จะระบุไว้ในสัญญาเช่าว่า เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้ว ผู้เช่าไม่ออกไป จะต้องเสียค่าเสียหายผู้ให้เช่าวันละ 200 บาทก็ดี เมื่อศาลเห็นว่าค่าเสียหายสูงไป ก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าตามควรแก่พฤติการณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกัน, การผิดนัดชำระหนี้, และการบังคับชำระหนี้ตามสัญญา
ใบมอบอำนาจระบุว่ามอบอำนาจให้ ช.ทวงถามเงินกู้จากจ.และย. แต่งตั้งทนายฟ้องร้องคดีจนถึงที่สุด ดังนี้เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวกระทำการอันเดียว มอบครั้งเดียว มอบให้กระทำการครั้งเดียว เมื่อปิดอากรแสตมป์ 5 บาท ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้
การปิดแสตมป์ในตราสารเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งประมวลรัษฎากรมิได้บัญญัติว่าต้องปิดก่อนหรือระหว่างการนำสืบ
ตามสัญญาได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระตามกำหนด ก็ตกเป็นผู้ผิดนัด เมื่อลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้จึงชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้แต่นั้นไม่จำต้องฟ้องลูกหนี้ก่อน และเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ค้ำประกันขอให้เรียกลูกหนี้ชำระก่อน ทั้งผู้ค้ำประกันยังเบิกความว่าไม่ทราบว่าลูกหนี้อยู่ที่ไหนจะมีเงินพอชำระหนี้ได้หรือไม่ ดังนี้ ผู้ค้ำประกันไม่อาจจะอ้างได้ว่าเจ้าหนี้ต้องฟ้องลูกหนี้ก่อนจึงจะฟ้องตนได้
เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้เงิน ลูกหนี้ก็ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีตามกฎหมาย และเมื่อจำเลยค้ำประกันโดยมิได้จำกัดจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องรับผิดการค้ำประกันนี้จึงคุ้มถึงดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ค้างชำระด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าเจ้าหนี้จะมีหลักฐานในการทวงถามจำเลยหรือไม่ จะพอฟังว่าได้ทวงถามแล้วหรือไม่ก็ตาม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยโดยระบุเงินต้นอัตราระยะเวลาและจำนวนรวมมาด้วย แต่จำนวนที่ขอมานั้นต่ำกว่าจำนวนที่ควรจะคำนวณได้ ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยตามอัตราและระยะเวลาที่โจทก์ขอ แต่จำกัดไว้ด้วยว่าไม่เกินจำนวนที่โจทก์ระบุขอมา (เจ้าหนี้ฟ้องผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ตามสัญญาที่ลูกหนี้ทำไว้แก่เจ้าหนี้ โดยมิได้ฟ้องลูกหนี้ด้วย ไม่ว่าเจ้าหนี้จะได้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้นั้นก่อนฟ้องหรือไม่ก็ตาม ผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดเพื่อใช้ค่าฤชาธรรมเนียมความที่ตนถูกเจ้าหนี้ฟ้องนั้น)
การปิดแสตมป์ในตราสารเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งประมวลรัษฎากรมิได้บัญญัติว่าต้องปิดก่อนหรือระหว่างการนำสืบ
ตามสัญญาได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระตามกำหนด ก็ตกเป็นผู้ผิดนัด เมื่อลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้จึงชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้แต่นั้นไม่จำต้องฟ้องลูกหนี้ก่อน และเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ค้ำประกันขอให้เรียกลูกหนี้ชำระก่อน ทั้งผู้ค้ำประกันยังเบิกความว่าไม่ทราบว่าลูกหนี้อยู่ที่ไหนจะมีเงินพอชำระหนี้ได้หรือไม่ ดังนี้ ผู้ค้ำประกันไม่อาจจะอ้างได้ว่าเจ้าหนี้ต้องฟ้องลูกหนี้ก่อนจึงจะฟ้องตนได้
เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้เงิน ลูกหนี้ก็ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีตามกฎหมาย และเมื่อจำเลยค้ำประกันโดยมิได้จำกัดจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องรับผิดการค้ำประกันนี้จึงคุ้มถึงดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ค้างชำระด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าเจ้าหนี้จะมีหลักฐานในการทวงถามจำเลยหรือไม่ จะพอฟังว่าได้ทวงถามแล้วหรือไม่ก็ตาม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยโดยระบุเงินต้นอัตราระยะเวลาและจำนวนรวมมาด้วย แต่จำนวนที่ขอมานั้นต่ำกว่าจำนวนที่ควรจะคำนวณได้ ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยตามอัตราและระยะเวลาที่โจทก์ขอ แต่จำกัดไว้ด้วยว่าไม่เกินจำนวนที่โจทก์ระบุขอมา (เจ้าหนี้ฟ้องผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ตามสัญญาที่ลูกหนี้ทำไว้แก่เจ้าหนี้ โดยมิได้ฟ้องลูกหนี้ด้วย ไม่ว่าเจ้าหนี้จะได้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้นั้นก่อนฟ้องหรือไม่ก็ตาม ผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดเพื่อใช้ค่าฤชาธรรมเนียมความที่ตนถูกเจ้าหนี้ฟ้องนั้น)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนองเพื่อค้ำประกันสัญญาซื้อขาย: ไม่เป็นโมฆะหากผู้ขายยังไม่ผิดสัญญา
ผู้ซื้อกับผู้ขายทำสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทกันเป็นเงิน 14,000 บาท ผู้ขายได้รับชำระค่าที่ดินไปเกือบหมดแล้ว ผู้ซื้อก้ได้เข้าครอบครองปลูกเรือนลงในที่ดินนั้นเรียบร้อยแล้ว ยังแต่ผู้ขายจะไปทำการแบ่งแยกโฉนดที่ดินพิพาทให้เป็นของผู้ซื้อเท่านั้น ในระหว่างจะแบ่งแยกโฉนด ผู้ซื้อกลัวว่าผู้ขายจะโกงบิดพลิ้วไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้ภายหลัง จึงขอร้องให้ผู้ขายไปทำสัญญาจำนองเป็นประกันเงินราคาที่ดิน ที่ซื้อขายกันซึ่งได้ชำระไปแล้วนั้นไปอีก โดยผู้ซื้อจะไม่คิดเอาดอกเบี้ย แก่ ผู้ขายในการจำนองนี้ เว้นแต่ผู้ขายบิดพลิ้ว โกงไม่ยอมโอนขายที่ดินให้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ทำกันไว้แล้ว จึงจะเอาสัญญาจำนองมาฟ้องบังคับเรียกราคาที่ดินที่ได้ชำระไปแล้วคืนจากผู้ขาย ดังนี้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญา ส่วนสัญญาจำนองไม่ใช่นิติกรรมอำพราง แต่เป็นนิติกรรมอีกอันหนึ่งที่คู่กรณีสมัครใจตกลงทำขึ้นเพื่อเป็นการค้ำประกันเงินที่ผู้ซื้อได้ชำระราคาที่ดิน ไปแล้วตามสัญญาจะซื้อขายสัญญาจำนอง จึงไม่เป็นโมฆะ และตราบใดที่ผู้ขายยังมิได้ผิดสัญญาจะซื้อขาย โดยผู้ขายมิได้บิดพลิ้วไม่ยอมโอนขายที่ดินให้ผู้ซื้อแล้ว ผู้ซื้อก็จะนำสัญญาจำนองมาฟ้องบังคับผู้ขายยังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินและสัญญาจำนองเป็นประกัน: สัญญาจำนองไม่เป็นโมฆะหากเป็นการค้ำประกันราคาซื้อขาย
ผู้ซื้อกับผู้ขายทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกันผู้ขายได้รับชำระค่าที่ดินไปเกือบหมดแล้ว และผู้ซื้อก็ได้เข้าครอบครองปลูกเรือนลงในที่ดินนั้นเรียบร้อยแล้ว ยังแต่ผู้ขายจะไปทำการแบ่งแยกโฉนดที่พิพาทให้เป็นของผู้ซื้อเท่านั้น ผู้ซื้อกลัวว่าผู้ขายจะโกงบิดพลิ้วไม่ยอมโอนที่พิพาทในภายหลังจึงขอร้องให้ผู้ขายไปทำสัญญาจำนองเป็นประกันเงินราคาที่ดินที่ซื้อขายกันซึ่งได้ชำระไปแล้วให้อีก โดยผู้ซื้อไม่คิดเอาดอกเบี้ยในการจำนองเว้นแต่ผู้ขายบิดพลิ้วโกงไม่ยอมโอนขายที่ดินให้ตามสัญญาจะซื้อขายจึงจะเอาสัญญาจำนองมาฟ้องบังคับเรียกราคาที่ดินที่ได้ชำระไปแล้วคืนจากผู้ขายดังนี้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญา แต่สัญญาจำนองก็ไม่ใช่นิติกรรมอำพรางหากเป็นนิติกรรมอีกอันหนึ่งที่คู่กรณีสมัครใจตกลงทำขึ้นเพื่อเป็นการค้ำประกันเงินที่ผู้ซื้อได้ชำระราคาที่ดินไปแล้ว สัญญาจำนองจึงไม่เป็นโมฆะแต่ตราบใดที่ผู้ขายยังมิได้ผิดสัญญาจะซื้อขาย โดยผู้ขายยังมิได้บิดพลิ้ว ไม่ยอมโอนขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อแล้วผู้ซื้อก็จะนำสัญญาจำนองมาฟ้องบังคับผู้ขายยังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 315/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ เช็คลงวันที่ล่วงหน้าไม่ผูกพันเจ้าหนี้ ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิด
สัญญากู้เงินมิได้ตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้กันไว้แต่ลูกหนี้ได้ออกเช็คล่วงหน้าให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้ นั้นหาเป็นการตกลงให้การกำหนดเวลาการชำระหนี้ให้แน่นอนขึ้นอย่างไรไม่ ผู้ค้ำประกันจึงยังคงต้องผูกพันรับผิดต่อเจ้าหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตลอดไปตามสัญญาค้ำประกันแม้ลูกหนี้จะได้ออกเช็คใหม่ ลงวันล่วงหน้าต่อไปอีกให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้แทนเช็คใบเก่าก็ไม่เป็นการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากการรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันที่ระบุการรับผิดแม้ลูกหนี้เสียชีวิตเกิน 1 ปี ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย และไม่เป็นการขยายอายุความ
ข้อความซึ่งระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันว่า แม้ลูกหนี้ตายเกิน 1 ปีผู้ค้ำประกันก็คงยอมรับใช้แทน นั้น ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และไม่เป็นการขยายอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1569/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้หลังเจ้ามรดกเสียชีวิต และผลของการสละสิทธิอายุความมรดก
การแปลงหนี้โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350นั้น ลูกหนี้เดิมจะต้องมีตัวอยู่และจะต้องกระทำโดยไม่ขืนใจลูกหนี้เดิม ถ้าลูกหนี้เดิมตายไปเสียแล้ว กรณีก็ไม่ใช่การแปลงหนี้
เมื่อลูกหนี้เงินกู้ตายไปแล้ว จำเลยได้ทำสัญญาให้โจทก็ไว้ในแบบพิมพ์สัญญาค้ำประกันให้ไว้ต่อเจ้าหนี้ว่า ตามที่ลูกหนี้ได้กู้เงินไปนั้น ลูกหนี้ตายไปแล้ว จำเลยยอมใช้ต้นเงินดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้ ดังนี้ เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่จะค้ำประกันหนี้
การที่จำเลยได้กำหนดเวลาชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาซึ่งเกินกว่า 1 ปีนับแต่วันที่ลูกหนี้ตาย เป็นการสละข้อต่อสู้ในเรื่องอายุความมรดกซึ่งทายาทจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ ฉะนั้น แม้เจ้าหนี้จะหมดสิทธิเรียกร้องจากทายาทเพราะคดีขาดอายุความแล้ว ก็หาทำให้จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้หรือหลุดพ้นความรับผิดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ด้วยไม่
เมื่อลูกหนี้เงินกู้ตายไปแล้ว จำเลยได้ทำสัญญาให้โจทก็ไว้ในแบบพิมพ์สัญญาค้ำประกันให้ไว้ต่อเจ้าหนี้ว่า ตามที่ลูกหนี้ได้กู้เงินไปนั้น ลูกหนี้ตายไปแล้ว จำเลยยอมใช้ต้นเงินดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้ ดังนี้ เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่จะค้ำประกันหนี้
การที่จำเลยได้กำหนดเวลาชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาซึ่งเกินกว่า 1 ปีนับแต่วันที่ลูกหนี้ตาย เป็นการสละข้อต่อสู้ในเรื่องอายุความมรดกซึ่งทายาทจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ ฉะนั้น แม้เจ้าหนี้จะหมดสิทธิเรียกร้องจากทายาทเพราะคดีขาดอายุความแล้ว ก็หาทำให้จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้หรือหลุดพ้นความรับผิดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1569/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต และผลของการสละสิทธิอายุความมรดก
การแปลงหนี้โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 350 นั้น ลูกหนี้เดิมจะต้องมีตัวอยู่และจะต้องกระทำโดยไม่ขืนใจลูกหนี้เดิม ถ้าลูกหนี้เดิมตายไปเสียแล้ว กรณีก็ไม่ใช่การแปลงหนี้
เมื่อลูกหนี้เงินกู้ตายไปแล้ว จำเลยได้ทำสัญญาให้โจทก์ไว้ในแบบพิมพ์สัญญาค้ำประกันด้านหลังสัญญากู้รายนี้ ความว่า ขอทำสัญญาค้ำประกันให้ไว้ต่อเจ้าหนี้ว่า ตามที่ลูกหนี้ได้กู้เงินไปนั้น ลูกหนี้ตายไปแล้ว จำเลยยอมใช้ต้นเงินดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้ ดังนี้ เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่จะค้ำประกันหนี้
การที่จำเลยได้กำหนดเวลาชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาซึ่งเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่ลูกหนี้ตาย เป็นการสละข้อต่อสู้ในเรื่องอายุความมรดกซึ่งทายาทจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ ฉะนั้น แม้เจ้าหนี้จะหมดสิทธิเรียกร้องจากทายาทเพราะคดีขาดอายุความแล้ว ก็หาทำให้จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้หรือหลุดพ้นความรับผิดไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา698 ด้วยไม่
เมื่อลูกหนี้เงินกู้ตายไปแล้ว จำเลยได้ทำสัญญาให้โจทก์ไว้ในแบบพิมพ์สัญญาค้ำประกันด้านหลังสัญญากู้รายนี้ ความว่า ขอทำสัญญาค้ำประกันให้ไว้ต่อเจ้าหนี้ว่า ตามที่ลูกหนี้ได้กู้เงินไปนั้น ลูกหนี้ตายไปแล้ว จำเลยยอมใช้ต้นเงินดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้ ดังนี้ เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่จะค้ำประกันหนี้
การที่จำเลยได้กำหนดเวลาชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาซึ่งเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่ลูกหนี้ตาย เป็นการสละข้อต่อสู้ในเรื่องอายุความมรดกซึ่งทายาทจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ ฉะนั้น แม้เจ้าหนี้จะหมดสิทธิเรียกร้องจากทายาทเพราะคดีขาดอายุความแล้ว ก็หาทำให้จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้หรือหลุดพ้นความรับผิดไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา698 ด้วยไม่