พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2832/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งหนังสือทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงภูมิลำเนาของนิติบุคคล ถือเป็นการแจ้งโดยชอบตามกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 68 บัญญัติว่า "ภูมิลำเนาของนิติบุคคลได้แก่ถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือถิ่นอันเป็นที่ตั้งที่ทำการ..." และ ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "หมายเรียก หนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรหรือหนังสืออื่นซึ่งมีถึงบุคคลใดตามลักษณะนี้ ให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือให้เจ้าพนักงานสรรพากรนำไปส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ หรือสำนักงานของบุคคลนั้น... ถ้าไม่พบผู้รับ ณ ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือสำนักงานของผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่หรือทำงานในบ้านหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็นของผู้รับนั้นก็ได้" ตามหนังสือรับรองของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ตั้งแต่ปี 2543 จนถึงปี 2553 จำเลยมิได้จดทะเบียนเลิกกิจการหรือเปลี่ยนแปลงที่ทำการ จึงถือว่าจำเลยยังคงมีภูมิลำเนาอยู่ที่เดิม เมื่อโจทก์ส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่จำเลยโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับภายในประเทศไปยังภูมิลำเนาของจำเลยและมีผู้ลงลายมือชื่อรับไว้ในฐานะเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ซึ่งจำเลยนำสืบยอมรับว่ามีการจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัทจำเลยไว้ จึงต้องถือว่าจำเลยได้ทราบหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยชอบด้วยมาตรา 8 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10340/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่มจากผลประโยชน์ตอบแทนและภาษีสรรพสามิต: การรวมภาษีสรรพสามิตเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ทำสัญญาอนุญาตให้บริษัท อ. ดำเนินกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วประเทศ ซึ่งโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มโดยนำรายรับจากผลประโยชน์ตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากบริษัท อ. ทั้งจำนวนมาคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ต่อมาได้มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตดังนี้ เงินจำนวนเท่าภาษีสรรพสามิตซึ่งเรียกเก็บจากการให้บริการตามสัญญาอนุญาตดังกล่าวย่อมจะต้องนำมารวมเป็นมูลค่าของฐานภาษีดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 79 วรรคหนึ่ง เป็นการเฉพาะแล้ว ส่วนที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการเพื่อให้มีการหักค่าภาษีสรรพสามิตออกจากส่วนแบ่งรายได้ที่คู่สัญญาต้องนำส่งให้โจทก์ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ เห็นว่า คู่สัญญาภาคเอกชนจะต้องชำระผลประโยชน์ตอบแทนจนเต็มจำนวนตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญา ทั้งนี้ คู่สัญญาภาคเอกชนมีสิทธินำเงินค่าภาษีที่ได้ชำระแล้วดังกล่าวตลอดทั้งปี (ไม่รวมดอกเบี้ย ค่าปรับ หรือเงินเพิ่มใด ๆ) มาหักออกจากจำนวนเงินผลประโยชน์ตอบแทนที่ต้องจ่ายให้คู่สัญญาภาครัฐเมื่อสิ้นปีดำเนินการได้นั้น มิได้มีผลทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาในเรื่องการลดจำนวนเงินผลประโยชน์ตอบแทนที่บริษัทคู่สัญญาต้องจ่ายแก่โจทก์ และแม้บริษัท อ. จะใช้วิธีนำค่าภาษีสรรพสามิตที่ชำระให้แก่กรมสรรพสามิตไปแล้วมาหักออกจากผลประโยชน์ตอบแทนที่จ่ายให้โจทก์ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับเงินสดส่วนนี้ แต่การหักหนี้กันเองเช่นนี้ย่อมส่งผลให้สิทธิเรียกร้องของบริษัทคู่สัญญาในอันที่จะนำเงินค่าภาษีสรรพสามิตมาหักออกจากเงินผลประโยชน์ตอบแทนที่ต้องจ่ายให้โจทก์เมื่อตอนสิ้นปีดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีนั้นระงับลง ประโยชน์จากการหักหนี้ดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นประโยชน์ใด ๆ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินที่โจทก์ได้รับแล้วอันเป็นส่วนหนึ่งของฐานภาษีตามมาตรา 79 วรรคสอง มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางดำเนินการระหว่างคู่สัญญาด้วยกันเอง จึงเป็นคนละส่วนกับความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ขณะที่โจทก์ได้รับชำระค่าบริการ ตามมาตรา 78/1 (1) มติคณะรัฐมนตรีจึงมิได้มีผลเป็นการลบล้างหรือเปลี่ยนแปลงความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายของโจทก์ เงินค่าภาษีสรรพสามิตที่บริษัทคู่สัญญาหักออกจากเงินผลประโยชน์ตอบแทนที่ต้องจ่ายแก่โจทก์ จึงย่อมเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าของฐานภาษีมูลค่าเพิ่มและถือเป็นรายรับที่โจทก์ได้รับจริงแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9483/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นโดยชอบตามกฎหมาย และสิทธิของผู้รับโอนในการขอจดทะเบียนแก้ไขสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น
การโอนหุ้นระหว่าง ภ. กับโจทก์มีการทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้โอนกับผู้รับโอนโดยมีพยาน 2 คน ลงชื่อรับรองลายมือนั้น ๆ ด้วย จึงถือว่าการโอนหุ้นดังกล่าวได้กระทำตามแบบที่กำหนดไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง และตามข้อบังคับของบริษัทจำเลยมิได้กำหนดว่าการโอนหุ้นต้องได้รับความยินยอมของบริษัท ดังนั้น การโอนหุ้นระหว่าง ภ. กับโจทก์จึงไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทจำเลยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1129 วรรคหนึ่ง
หนังสือที่ทนายโจทก์แจ้งไปยังกรรมการของบริษัทจำเลยมีข้อความสรุปได้ว่า โจทก์ในฐานะผู้รับโอนขอบอกกล่าวให้บริษัทจำเลยดำเนินการใส่ชื่อโจทก์ลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลย หรือหากไม่ดำเนินการ โจทก์ก็มีความประสงค์ที่จะขายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งที่มีความประสงค์จะซื้อ ตามหนังสือดังกล่าวเห็นได้ว่า ความประสงค์ของโจทก์ก็คือต้องการจะได้หุ้นที่ ภ. โอนให้ โดยให้จำเลยใส่ชื่อโจทก์ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเป็นลำดับแรก ถือว่าโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยจดทะเบียนแก้ไขการโอนหุ้นนั้นลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นแล้ว
เมื่อการโอนหุ้นระหว่าง ภ. กับโจทก์เป็นการโอนที่ชอบ และจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนแก้ไขการโอนหุ้นนั้นลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นตามที่ทนายโจทก์มีหนังสือแจ้งตามการกระทำของจำเลยถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
หนังสือที่ทนายโจทก์แจ้งไปยังกรรมการของบริษัทจำเลยมีข้อความสรุปได้ว่า โจทก์ในฐานะผู้รับโอนขอบอกกล่าวให้บริษัทจำเลยดำเนินการใส่ชื่อโจทก์ลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลย หรือหากไม่ดำเนินการ โจทก์ก็มีความประสงค์ที่จะขายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งที่มีความประสงค์จะซื้อ ตามหนังสือดังกล่าวเห็นได้ว่า ความประสงค์ของโจทก์ก็คือต้องการจะได้หุ้นที่ ภ. โอนให้ โดยให้จำเลยใส่ชื่อโจทก์ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเป็นลำดับแรก ถือว่าโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยจดทะเบียนแก้ไขการโอนหุ้นนั้นลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นแล้ว
เมื่อการโอนหุ้นระหว่าง ภ. กับโจทก์เป็นการโอนที่ชอบ และจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนแก้ไขการโอนหุ้นนั้นลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นตามที่ทนายโจทก์มีหนังสือแจ้งตามการกระทำของจำเลยถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4284/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ตัดสิทธิลูกจ้างที่ลาออกโดยไม่ออกจากงานชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ทั้งสามลาออกจากการเป็นสมาชิกของจำเลยโดยไม่ออกจากงาน จำเลยจ่ายเงินสะสมและผลประโยชน์อันเกิดจากเงินสะสมให้โจทก์ทั้งสาม แต่ไม่จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบให้
พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (8) ที่แก้ไขใหม่ มีผลใช้บังคับในวันที่ 28 มกราคม 2551 แต่นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพรับจดทะเบียนการแก้ไขข้อบังคับของจำเลยที่ว่าสมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพด้วยเหตุลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงานไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบ ทำให้การแก้ไขข้อบังคับมีผลใช้บังคับได้ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2550 ตามมาตรา 9 วรรคสอง โจทก์ที่ 1 ลาออกจากการเป็นสมาชิกของจำเลยโดยไม่ออกจากงานในวันที่ 1 สิงหาคม 2550 จึงตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ตามข้อบังคับที่มีผลใช้บังคับในขณะนั้น โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบตามข้อบังคับที่แก้ไขนั้น
เดิมบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ผู้เป็นนายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินบำเหน็จเป็นสวัสดิการแก่พนักงานเมื่อตายหรือออกจากงาน ต่อมามีการจัดตั้งจำเลยโดยศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าสาเหตุการจัดตั้งจำเลยก็เพื่อนำมาใช้ทดแทนการจ่ายเงินบำเหน็จที่ยกเลิกไป และข้อบังคับของจำเลยทุกฉบับมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมให้สมาชิกมีการออมทรัพย์ ตลอดจนเป็นหลักประกันให้แก่สมาชิกและครอบครัวเมื่อสมาชิกถึงแก่ความตาย หรือไร้ความสามารถ หรือลาออก หรือครบเกษียณอายุ หรือพ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้าง ยืนยันให้เห็นว่าจำเลยถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการแก่พนักงานของบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด เมื่อออกจากงานเท่านั้น การที่จำเลยแก้ไขข้อบังคับให้สมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพด้วยเหตุลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงานไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบ แต่ยังคงมีสิทธิได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์อันเกิดจากเงินสะสมในส่วนของตนจนเต็มจำนวน จึงเป็นการแก้ไขให้ตรงตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งจำเลยตามที่ปรากฏในข้อบังคับ ไม่ใช่เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพที่ตัดสิทธิของลูกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร การแก้ไขข้อบังคับของจำเลยในส่วนนี้จึงชอบด้วยมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (8) ที่แก้ไขใหม่ โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ลาออกจากการเป็นสมาชิกของจำเลยโดยไม่ออกจากงานหลังจากมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (8) ที่แก้ไขใหม่ มีผลใช้บังคับจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบเช่นกัน
แม้มาตรา 5 ที่แก้ไขใหม่ บัญญัติว่ากองทุนจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้างลาออกซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุนก็ตาม แต่การจ่ายเงินให้ลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพต้องปฏิบัติตามมาตรา 23 ที่แก้ไขใหม่ ที่บัญญัติให้ผู้จัดการกองทุนต้องจ่ายเงินจากกองทุนให้ลูกจ้างตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน ผู้จัดการกองทุนของจำเลยจึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับคือไม่จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบให้สมาชิกที่ลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงาน โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงานจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบ
พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (8) ที่แก้ไขใหม่ มีผลใช้บังคับในวันที่ 28 มกราคม 2551 แต่นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพรับจดทะเบียนการแก้ไขข้อบังคับของจำเลยที่ว่าสมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพด้วยเหตุลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงานไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบ ทำให้การแก้ไขข้อบังคับมีผลใช้บังคับได้ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2550 ตามมาตรา 9 วรรคสอง โจทก์ที่ 1 ลาออกจากการเป็นสมาชิกของจำเลยโดยไม่ออกจากงานในวันที่ 1 สิงหาคม 2550 จึงตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ตามข้อบังคับที่มีผลใช้บังคับในขณะนั้น โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบตามข้อบังคับที่แก้ไขนั้น
เดิมบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ผู้เป็นนายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินบำเหน็จเป็นสวัสดิการแก่พนักงานเมื่อตายหรือออกจากงาน ต่อมามีการจัดตั้งจำเลยโดยศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าสาเหตุการจัดตั้งจำเลยก็เพื่อนำมาใช้ทดแทนการจ่ายเงินบำเหน็จที่ยกเลิกไป และข้อบังคับของจำเลยทุกฉบับมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมให้สมาชิกมีการออมทรัพย์ ตลอดจนเป็นหลักประกันให้แก่สมาชิกและครอบครัวเมื่อสมาชิกถึงแก่ความตาย หรือไร้ความสามารถ หรือลาออก หรือครบเกษียณอายุ หรือพ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้าง ยืนยันให้เห็นว่าจำเลยถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการแก่พนักงานของบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด เมื่อออกจากงานเท่านั้น การที่จำเลยแก้ไขข้อบังคับให้สมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพด้วยเหตุลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงานไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบ แต่ยังคงมีสิทธิได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์อันเกิดจากเงินสะสมในส่วนของตนจนเต็มจำนวน จึงเป็นการแก้ไขให้ตรงตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งจำเลยตามที่ปรากฏในข้อบังคับ ไม่ใช่เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพที่ตัดสิทธิของลูกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร การแก้ไขข้อบังคับของจำเลยในส่วนนี้จึงชอบด้วยมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (8) ที่แก้ไขใหม่ โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ลาออกจากการเป็นสมาชิกของจำเลยโดยไม่ออกจากงานหลังจากมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (8) ที่แก้ไขใหม่ มีผลใช้บังคับจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบเช่นกัน
แม้มาตรา 5 ที่แก้ไขใหม่ บัญญัติว่ากองทุนจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้างลาออกซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุนก็ตาม แต่การจ่ายเงินให้ลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพต้องปฏิบัติตามมาตรา 23 ที่แก้ไขใหม่ ที่บัญญัติให้ผู้จัดการกองทุนต้องจ่ายเงินจากกองทุนให้ลูกจ้างตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน ผู้จัดการกองทุนของจำเลยจึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับคือไม่จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบให้สมาชิกที่ลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงาน โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงานจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3857/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำพิพากษาอนุญาโตตุลาการต้องยื่นต่อศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ยกคำอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 45 วรรคสอง บัญญัติว่า การอุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาหรือศาลปกครองสูงสุดแล้วแต่กรณี จึงเป็นกรณีที่กฎหมายวางหลักเกณฑ์ในเรื่องของการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้โดยเฉพาะว่าให้อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาหรือศาลปกครองสูงสุด การที่ผู้คัดค้านยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 และศาลอุทธรณ์ภาค 8 ยกอุทธรณ์ของผู้คัดค้านนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่มีกรณีที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งให้รับคำอุทธรณ์ของผู้คัดค้านไว้หรือให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านทำอุทธรณ์ขึ้นมาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นโดยชอบและการปฏิเสธการจดทะเบียน: การโต้แย้งสิทธิผู้ถือหุ้น
การโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับ ภ. ได้มีการทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน โดยมีพยาน 2 คน ลงชื่อรับรองลายมือนั้น จึงถือว่าได้กระทำตามแบบที่กำหนดไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง และตามข้อบังคับของบริษัทจำเลยก็มิได้กำหนดไว้ว่า การโอนหุ้นต้องได้รับความยินยอมของบริษัท ดังนั้น การโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับ ภ. จึงไม่ต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคหนึ่ง ไม่ได้เป็นการโอนหุ้นกันโดยมีเจตนาลวง เมื่อการโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับ ภ. เป็นการโอนที่ชอบ และจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนแก้ไขการโอนหุ้นนั้นลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยดำเนินการแจ้งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท จังหวัดปทุมธานี เปลี่ยนแปลงบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยแทน ภ. จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3365/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเรียกค่าเสียหายและการมอบอำนาจดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่ปฏิรูปที่ดิน ชอบด้วยกฎหมาย
ฟ้องเดิมโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปลูกต้นปาล์มน้ำมันและเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมันและปลูกสร้างอาคารสำนักงาน และที่พักคนงานและลูกจ้าง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ ทั้งไม่มีสิทธิใด ๆ และไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับกรมป่าไม้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และโจทก์ หลังจากนั้นโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยพร้อมบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่สามารถนำที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินมาทำการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามอำนาจหน้าที่ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ การแก้ไขคำฟ้องอันสืบเนื่องมาจากการกระทำตามฟ้องเดิม จึงเป็นการแก้ไขคำฟ้องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเข้าด้วยกันได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 โดยหาจำต้องแก้ไขข้อหาหรือข้ออ้างได้เฉพาะการสละข้อหาในฟ้องเดิมบางข้อหรือเพิ่มเติมฟ้องให้บริบูรณ์ไม่ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องเกี่ยวกับการเรียกค่าเสียหายนั้นชอบแล้ว
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 7 บัญญัติให้โจทก์เป็นทบวง มีฐานะเทียบเท่ากรม โจทก์จึงเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 7 เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นผู้แทนโจทก์ย่อมมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินคดีแทนได้ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 38 และคำสั่งของโจทก์ที่ 767/2548 เรื่องมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ระบุแจ้งชัดว่า หากผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรก็จะมอบอำนาจให้ปฏิรูปที่ดินจังหวัดปฏิบัติราชการแทนก็ได้ ดังนั้น การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีมอบอำนาจช่วงให้โจทก์ดำเนินคดีแก่จำเลยเป็นคดีนี้จึงชอบแล้ว
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 7 บัญญัติให้โจทก์เป็นทบวง มีฐานะเทียบเท่ากรม โจทก์จึงเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 7 เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นผู้แทนโจทก์ย่อมมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินคดีแทนได้ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 38 และคำสั่งของโจทก์ที่ 767/2548 เรื่องมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ระบุแจ้งชัดว่า หากผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรก็จะมอบอำนาจให้ปฏิรูปที่ดินจังหวัดปฏิบัติราชการแทนก็ได้ ดังนั้น การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีมอบอำนาจช่วงให้โจทก์ดำเนินคดีแก่จำเลยเป็นคดีนี้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2751/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีรื้อถอนและการชำระค่าเสียหายเป็นสิทธิแยกต่างหาก การบังคับคดีชอบแล้ว
ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกานอกจากจะบังคับให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองจนกว่าจะรื้อถอนตึกแถวส่วนที่รุกล้ำแล้ว ยังมีหนี้ที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวส่วนที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์ พร้อมขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสองด้วย อันเป็นคำพิพากษาที่ให้จำเลยกระทำการแยกต่างหากจากหนี้ในส่วนหลังที่ให้จำเลยชำระค่าเสียหายรายเดือนแก่โจทก์ทั้งสอง มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยมีสิทธิที่จะชำระค่าเสียหายรายเดือนให้แก่โจทก์ทั้งสองได้จนกว่าจำเลยจะรื้อถอนตึกแถวส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสอง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยให้รื้อถอนตึกแถวส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสองชอบแล้ว ไม่มีการพิจารณาใดที่ผิดระเบียบอันเป็นเหตุจะให้เพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11103/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจำหน่ายทรัพย์สินด้อยคุณภาพของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ตาม พ.ร.ก. 2544 ชอบด้วยกฎหมาย แม้เป็นการดำเนินการเอง
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวว่า การที่จำเลยนำทรัพย์จำนองตามฟ้องออกขายทอดตลาดชอบด้วย พ.ร.ก. บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 หรือไม่ และจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่า ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.ก. บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 5 มีวัตถุประสงค์ในการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการเงินที่ให้อำนาจแก่จำเลยเป็นพิเศษที่จะดำเนินการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่รับโอนมาตามวิธีการที่กำหนดไว้ เพื่อประโยชน์แก่การฟื้นฟูเศรษฐกิจหรือความมั่นคงของประเทศ อันเป็นวัตถุประสงค์ที่ให้มีการจัดตั้งจำเลยขึ้น และจำเลยต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้น หากจำเลยดำเนินการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. อาจไม่เสร็จทันเวลาตามที่กฎหมายกำหนด การที่จำเลยดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองที่ดินพิพาทที่เป็นหลักประกัน แล้วขอให้จดทะเบียนระงับจำนอง กับจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลยแทนการจำหน่าย จึงชอบด้วย พ.ร.ก. บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 แล้ว
จำเลยมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.ก. บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 5 มีวัตถุประสงค์ในการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการเงินที่ให้อำนาจแก่จำเลยเป็นพิเศษที่จะดำเนินการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่รับโอนมาตามวิธีการที่กำหนดไว้ เพื่อประโยชน์แก่การฟื้นฟูเศรษฐกิจหรือความมั่นคงของประเทศ อันเป็นวัตถุประสงค์ที่ให้มีการจัดตั้งจำเลยขึ้น และจำเลยต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้น หากจำเลยดำเนินการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. อาจไม่เสร็จทันเวลาตามที่กฎหมายกำหนด การที่จำเลยดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองที่ดินพิพาทที่เป็นหลักประกัน แล้วขอให้จดทะเบียนระงับจำนอง กับจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลยแทนการจำหน่าย จึงชอบด้วย พ.ร.ก. บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18032/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งนายกฯ ตามมาตรา 17 ธรรมนูญ 2515 ชอบด้วยกฎหมาย แม้เป็นการลงโทษทางอาญาและถอดถอนข้าราชการ
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น มาตรา 17 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า "ในระหว่างที่ใช้ธรรมนูญการปกครองนี้ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน หรือการกระทำอันเป็นการก่อกวนหรือคุกคามความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือการกระทำอันเป็นการทำลายทรัพยากรของประเทศ หรือเป็นการบั่นทอนสุขภาพอนามัยของประชาชน ทั้งนี้ ไม่ว่าการกระทำจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันประกาศธรรมนูญการปกครองนี้ และไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้นายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใด ๆ ได้ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้นรวมถึงการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งหรือการกระทำหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมาย" และมาตรา 17 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า "เมื่อนายกรัฐมนตรีได้สั่งการหรือกระทำการใดไปตามความในวรรคหนึ่งแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีแจ้งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทราบ" ดังนั้น การที่นายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีออกคำสั่งลงวันที่ 4 ตุลาคม 2516 สั่งว่าโจทก์มีความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการและลงโทษจำคุกโจทก์ 7 ปี เป็นการกระทำไปตามที่ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีฐานะสูงสุดในขณะนั้นให้อำนาจไว้ แม้จะเป็นคำสั่งที่ว่าโจทก์กระทำความผิดทางอาญาข้อหาทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และลงโทษจำคุกโจทก์ 7 ปี ทั้งออกคำสั่งโดยไม่ได้มีการพิจารณาพิพากษาคดีโดยศาลก็ตาม คำสั่งดังกล่าวก็เป็นคำสั่งที่มีผลบังคับได้ตามบทบัญญัติในกฎหมาย ซึ่งเมื่อไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นที่สุด และด้วยผลของคำสั่งดังกล่าวกระทรวงกลาโหมจำเลยที่ 2 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจำเลยที่ 3 ในขณะนั้นได้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยผู้ซึ่งไม่สมควรจะดำรงอยู่ในยศทหารและบรรดาศักดิ์ พ.ศ.2507 โดยออกคำสั่งกระทรวงกลาโหมให้โจทก์ออกจากประจำการ ถอดยศทหาร และย้ายประเภททหาร อันเป็นการปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการที่กำหนดอำนาจหน้าที่ให้กระทำเช่นนั้นได้ไว้ การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ที่บัญญัติในกฎหมาย โดยไม่อาจถือว่าเป็นการล่วงละเมิดต่อโจทก์ได้