พบผลลัพธ์ทั้งหมด 687 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดค่าจ้างหลังสัญญาจ้างหมดอายุ: สัญญาจ้างใหม่ยึดเงื่อนไขเดิม
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นเวลา 3 เดือน เมื่อครบกำหนดตามสัญญาจำเลยไม่เลิกจ้างโจทก์ แต่ลดค่าจ้างโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ทำให้ยอดการขายตก ดังนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้ตกลงด้วยจำเลยก็หาอาจลดค่าจ้างโจทก์ได้ไม่เพราะการที่โจทก์ทำให้ยอดการขายตกลงนั้นเป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องว่ากล่าวกับโจทก์อีกส่วนหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 223-235/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิสัญญาจ้างจากนายจ้างเดิมสู่นายจ้างใหม่ และหน้าที่จ่ายค่าชดเชย
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าโรงภาพยนตร์จากจำเลยร่วมโดยมีข้อสัญญาว่าจำเลยที่ 1 ตกลงรับช่วงจ้างคนงานจากจำเลยร่วมให้ทำงานกับจำเลยที่ 1 ต่อไป ลูกจ้างของจำเลยร่วมจึงเปลี่ยนมาเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 สัญญาจ้างระหว่างจำเลยร่วมกับลูกจ้างจึงเป็นอันระงับ อันเป็นกรณีนายจ้างเดิมโอนสิทธิของตนให้แก่นายจ้างใหม่ โดยความยินยอมของลูกจ้าง เพราะลูกจ้างได้ทำงานให้แก่จำเลยที่1 จนถึงวันเลิกจ้างเป็นเวลาสองเดือนเศษดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เลิกจ้างลูกจ้าง จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกเลิกจ้างล่วงหน้า และแม้ต่อมาจำเลยที่ 1 จะได้เลิกสัญญากับจำเลยร่วม ก็ไม่มีผลทำให้หน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อลูกจ้างต้องเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทนายความ แม้ไม่มีข้อตกลงเรื่องค่าจ้าง ก็มีผลผูกพัน โดยพิจารณาตามปกติประเพณี
จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความฟ้องคดี และโจทก์ได้ทำการงานสำเร็จแล้ว แม้จะมิได้ตกลงกันในเรื่องสินจ้าง ก็มีสัญญาผูกพันจำเลยที่จะต้องจ่ายสินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่ทำนั้น และการคิดจำนวนสินจ้างในกรณีดังกล่าว จำเป็นต้องตีความสัญญาให้เป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทนายความ แม้ไม่มีข้อตกลงเรื่องค่าจ้าง ก็มีผลผูกพัน จ่ายค่าจ้างตามสุจริตและปกติประเพณี
จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความฟ้องคดี และโจทก์ได้ทำการงานสำเร็จแล้ว แม้จะมิได้ตกลงกันในเรื่องสินจ้าง ก็มีสัญญาผูกพันจำเลยที่จะต้องจ่ายสินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่ทำนั้น และการคิดจำนวนสินจ้างในกรณีดังกล่าว จำเป็นต้องตีความสัญญาให้เป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2113/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทดลองปฏิบัติงานเกิน 180 วัน ไม่เป็นโมฆะ ประกาศกระทรวงมหาดไทยเป็นข้อยกเว้นค่าชดเชย
กำหนดเวลาทดลองปฏิบัติงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 วรรคสุดท้าย นั้น เป็นเพียงข้อยกเว้นว่าถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำที่นายจ้างได้แจ้งให้ทราบเป็นหนังสือ เมื่อเริ่มเข้าทำงานแล้วว่าจะทดลองปฏิบัติงานมีกำหนดไม่เกิน 180 วัน และนายจ้างได้บอกเลิกจ้างภายในกำหนดระยะเวลา 180 วันที่ให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงานนั้น นายจ้างก็ไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชย มิใช่เป็นเรื่องห้ามมิให้จ้างทดลองปฏิบัติงานเกิน 180 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2113/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทดลองงานเกิน 180 วัน ไม่โมฆะ ประกาศกระทรวงมหาดไทยเป็นข้อยกเว้นค่าชดเชย
กำหนดเวลาทดลองปฏิบัติงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 วรรคสุดท้าย นั้น เป็นเพียงข้อยกเว้นว่าถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำที่นายจ้างได้แจ้งให้ทราบเป็นหนังสือเมื่อเริ่มเข้าทำงานแล้วว่าจะทดลองปฏิบัติงานมีกำหนดไม่เกิน 180 วัน และนายจ้างได้บอกเลิกจ้างภายในกำหนดระยะเวลา 180 วันที่ให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงานนั้น นายจ้างก็ไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชย มิใช่เป็นเรื่องห้ามมิให้จ้างทดลองปฏิบัติงานเกิน 180 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2104-2105/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างรายปีหลังเกษียณ: ไม่ถือเป็นการขยายสัญญาเดิม, นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่จำเลยตกลงจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างต่อไปเป็นรายปีหลังจากมีคำสั่งอนุมัติให้โจทก์ออกจากหน้าที่ เพราะเกษียณอายุตามกฎหมายแล้วนั้น มิใช่เป็นการขยายกำหนดเวลาการทำงานของโจทก์ออกต่อไป หากแต่เป็นการตกลงทำสัญญาจ้างกันใหม่ จึงเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ดังนั้น เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้าง และโจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยเนื่องจากถูกจำเลยเลิกจ้างตามสัญญาใหม่นี้จำเลยจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2104-2105/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างหลังเกษียณ: การจ้างรายปีหลังเกษียณถือเป็นสัญญาจ้างใหม่ มิใช่การขยายสัญญาเดิม นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่จำเลยตกลงจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างต่อไปเป็นรายปีหลังจากมีคำสั่งอนุมัติให้โจทก์ออกจากหน้าที่เพราะเกษียณอายุตามกฎหมายแล้วนั้น มิใช่เป็นการขยายกำหนดเวลาการทำงานของโจทก์ออกต่อไปหากแต่เป็นการตกลงทำสัญญาจ้างกันใหม่ จึงเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนดังนั้น เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างและโจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยเนื่องจากถูกจำเลยเลิกจ้างตามสัญญาใหม่นี้จำเลยจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างคนต่างด้าว - หน้าที่ขออนุญาตทำงาน - การคิดค่าเสียหายจากความผิดสัญญา
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ที่จำเลยรับจะจัดการขออนุญาตทำงานให้แก่โจทก์ลูกจ้างซึ่งเป็นคนต่างด้าว เป็นเพียงแต่จำเลยรับจะเป็นผู้ไปดำเนินการติดต่อกับพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ได้มาซึ่งใบอนุญาตของโจทก์เท่านั้น เป็นคนละเรื่องกับการเป็นผู้ขออนุญาตนั้นไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 มาตรา 10
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างอันเนื่องมาจากความผิดของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยต้องร่วมกันรับผิดจ่ายเงินเดือนและค่าครองชีพให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือนและค่าครองชีพนั่นเอง ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจ้างให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงหาเป็นการพิพากษาเกินคำขอ หรือนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างอันเนื่องมาจากความผิดของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยต้องร่วมกันรับผิดจ่ายเงินเดือนและค่าครองชีพให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือนและค่าครองชีพนั่นเอง ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจ้างให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงหาเป็นการพิพากษาเกินคำขอ หรือนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างคนต่างด้าว ความรับผิดของผู้จ้างในการขออนุญาตทำงาน และการพิพากษาค่าเสียหายที่สอดคล้องกับคำฟ้อง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ที่จำเลยรับจะจัดการขออนุญาตทำงานให้แก่โจทก์ลูกจ้างซึ่งเป็นคนต่างด้าว เป็นเพียงแต่จำเลยรับจะเป็นผู้ไปดำเนินการติดต่อกับพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ได้มาซึ่งใบอนุญาตของโจทก์เท่านั้นเป็นคนละเรื่องกับการเป็นผู้ขออนุญาตนั้นไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 มาตรา 10
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างอันเนื่องมาจากความผิดของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยต้องร่วมกันรับผิดจ่ายเงินเดือนและค่าครองชีพให้แก่โจทก์ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือนและค่าครองชีพนั่นเองที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจ้างให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์จึงหาเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างอันเนื่องมาจากความผิดของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยต้องร่วมกันรับผิดจ่ายเงินเดือนและค่าครองชีพให้แก่โจทก์ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือนและค่าครองชีพนั่นเองที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจ้างให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์จึงหาเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือนอกฟ้องนอกประเด็นไม่