คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรโชกทรัพย์ด้วยการข่มขู่ใช้ปืน ทวงหนี้แทนเจ้าหนี้ แม้มีหนี้สิน แต่ไม่ทำให้การกระทำเป็นความผิด
ผู้เสียหายเป็นหนี้มารดาของจำเลย และผิดนัดไม่ชำระหนี้อันเป็นกรณีที่มารดาของจำเลยถูกโต้แย้งสิทธิและต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้ผู้เสียหายให้ชำระหนี้ตามที่บัญญัติในมาตรา 55 และบทบัญญัติทั้งปวงแห่ง ป.วิ.พ.ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยในการข่มขืนใจผู้เสียหายให้ยอมหรือจะยอมชำระหนี้นั้นให้มารดาจำเลย และไม่ทำให้การกระทำของจำเลยที่เป็นความผิดฐานกรรโชกตาม ป.อ. มาตรา 337 กลายเป็นการกระทำที่ไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4817/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องหนี้สินที่ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ แม้มีการฟ้องร้องคู่กัน เนื่องจากข้อหาและประเด็นข้อพิพาทแตกต่างกัน
แม้โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างก็ฟ้องขอให้บังคับอีกฝ่ายหนึ่งรับผิดชำระหนี้โดยอ้างสัญญากู้ยืมเงิน และบันทึกข้อตกลงปลอดจำนองที่ดินหลักประกันก็ตาม แต่ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 26197/2541 นั้น โจทก์ (จำเลยที่ 1 ในคดีนี้) ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลย (โจทก์ในคดีนี้) ผิดข้อตกลงที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลงปลอดจำนองที่ดินหลักประกันทำให้โจทก์ (จำเลยที่ 1 ในคดีนี้) ไม่สามารถนำโฉนดที่ดินไปให้เจ้าพนักงานที่ดินตรวจสอบประทับตราอนุญาตให้จัดสรรที่ดินและโอนให้แก่ผู้ซื้อได้ ส่วนในคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 กับพวก รับผิดชำระเงินที่กู้ยืมคืนโจทก์โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 กับพวกไม่ชำระเงินที่กู้ยืมคืนภายในกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมเงิน ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีนี้จึงแตกต่างกับในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 26197/2541 กรณีจึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่วินิจฉัยชี้ขาดมาแล้ว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวกในคดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายต้องมีหนี้สินส่วนตัว การฝากเงินเป็นสัญญาส่วนตัวระหว่างผู้ฝากและผู้รับฝาก
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 9 (2) เจ้าหนี้จะฟ้องบุคคลธรรมดาให้ล้มละลายได้บุคคลนั้นจะต้องมีความผูกพันเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์อยู่ การที่โจทก์ทั้ง 150 คน เป็นสมาชิกมีเงินฝากออมทรัพย์ฝากไว้กับกองทุนเงินสวัสดิการออมทรัพย์ของกองพันทหารราบมณฑลทหารบกที่ 11 เงินที่ฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับฝาก ผู้รับฝากคงมีหน้าที่คืนเงินให้ครบจำนวนนั้นเท่านั้น เงินจำนวน 8,443,700 บาท ที่ฝากไว้และจำเลยยักยอกไปมิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้ง 150 คน จำเลยจึงมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ตามมาตรา 420 จำเลยไม่มีความผูกพันเป็นหนี้โจทก์ โจทก์ทั้ง 150 คน จึงไม่อาจฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยเป็นกรรมเดียว
โจทก์แยกบรรยายฟ้องเป็นลำดับไปว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุ จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1 แปลง อันเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับภรรยาให้แก่ ส. และ ศ. ตามลำดับ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้โจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของภรรยาจำเลยและได้ยื่นฟ้องภรรยาจำเลยให้ชำระหนี้เงินกู้ต่อศาลไว้แล้วบังคับชำระหนี้เอาจากสินสมรสดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วน แต่กลับปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้แก่ ส. ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยแต่เพียงผู้เดียว หาได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ ศ. ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาด้วยไม่ ทั้งการที่จำเลยจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นเพื่อโกงเจ้าหนี้ของภรรยาจำเลยนั้น จำเลยย่อมสามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้เพียงครั้งเดียว ไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์ได้หลายครั้ง ดังนั้นจึงเชื่อว่าที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยจดทะเบียนโอนกรรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ ศ. ด้วยนั้นเป็นการบรรยายฟ้องไม่ถูกต้องและข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้แก่ ส. เท่านั้น ซึ่งการที่จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินสินสมรสเพียงแปลงเดียวให้แก่ ส. โดยมีเจตนาเพื่อมิให้โจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งแม้จะเป็นเจ้าหนี้ของภรรยาจำเลยต่างรายกันบังคับชำระหนี้เอาจากสินสมรสดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วน การกระทำของจำเลยก็คงเป็นความผิดกรรมเดียว หาใช่เป็นความผิดต่างกรรมกันไม่
การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมาย มุ่งแต่จะรักษาประโยชน์ส่วนตนโดยมิชอบและไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนเสียหายของผู้เป็นเจ้าหนี้ ซึ่งหากปล่อยให้ผู้กระทำความผิดกระทำการตามอำเภอใจเช่นนี้ ย่อมทำให้บรรดาเจ้าหนี้เสื่อมศรัทธาต่อการใช้สิทธิทางศาลในการที่จะฟ้องบังคับชำระหนี้เอาแก่ลูกหนี้ของตน รวมทั้งขัดขวางการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล ซึ่งส่งผลกระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมส่วนรวม แม้จำเลยจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ 2 ไปบ้างแล้ว แต่ก็เป็นจำนวนเล็กน้อยยังคงค้างชำระหนี้อยู่เป็นจำนวนมาก พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องร้ายแรงไม่สมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมและการฟ้องล้มละลาย: ความรับผิดชอบหนี้สินที่ยังไม่ชำระ
จำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอม โดยจำเลยทั้งสองยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์แยกเป็นต้นเงินจำนวน 1,000,000 บาท และดอกเบี้ยจำนวน 187,093 บาท และโจทก์ตกลงให้จำเลยทั้งสองผ่อนชำระรวม 10 งวด หากจำเลยทั้งสองผิดนัดยอมให้คิดเบี้ยปรับอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม การที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าว กรณีจึงเป็นลูกหนี้ร่วมซึ่งโจทก์จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้คนใดคนหนึ่งโดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ลูกหนี้ร่วมยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 เมื่อจำเลยที่ 2 ยังมิได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงยังคงต้องรับผิดชำระหนี้ตามคำพิพากษาจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้น โจทก์จึงนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8820/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของทายาทและคู่สมรสผู้ค้ำประกันในหนี้สิน, การลดเบี้ยปรับ, อายุความหนี้
การที่จำเลยที่ 2 คู่สมรสทำหนังสือให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมของ ส. สามี ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า ส. ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไม่ใช่นิติกรรมที่จำต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส เมื่อจำเลยที่ 2 ให้ความยินยอมไว้เป็นการทั่วไป จึงเป็นการแสดงเจตนารับรู้และไม่คัดค้านที่ ส. สามีไปทำนิติกรรม จึงมิใช่เป็นการให้สัตยาบันของคู่สมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 25/2561)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2656/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการรับมรดก: การคำนวณมูลค่าทรัพย์สิน หนี้สิน และการงด/ลดเบี้ยปรับ
กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 มาตรา 26 วรรคห้า เป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งที่ศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจขยายได้โดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17
พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ไม่ได้นิยามความหมายของคำว่า มรดก ไว้ จึงต้องพิจารณาความหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 ซึ่งบัญญัติว่า กองมรดกของผู้ตายได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ โดยมาตรา 1599 บัญญัติให้มรดกนั้นตกทอดแก่ทายาททันทีเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ดังนั้น วันที่ได้รับมรดกที่เป็นเหตุให้ผู้รับมรดกมีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกจึงหมายถึงวันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย เพราะหากถือวันที่ผู้รับมรดกได้รับเอามรดกตามจริง นอกจากไม่เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วก็ยังจะเป็นผลให้เกิดความไม่แน่นอนในการจัดเก็บภาษีที่ขึ้นอยู่กับอำเภอใจของผู้รับมรดกว่าจะรับเอามรดกเมื่อใด ซึ่งยากต่อการบังคับใช้กฎหมายของทุกฝ่าย ดังนี้ การคำนวณมูลค่าของเงินฝากหรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะทำนองเดียวกันตามบัญชีเงินฝากธนาคารพิพาทที่เจ้ามรดกมีสิทธิเรียกถอนคืนหรือมีสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงิน ซึ่งตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณมูลค่าของทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2559 ข้อ 5 ให้ถือเอาตามมูลค่าของเงินฝากหรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะทำนองเดียวกันรวมทั้งดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์อื่นใดที่จะได้รับจากเงินดังกล่าวในวันที่ได้รับมรดกนั้นจึงต้องถือเอาตามมูลค่าของเงินฝากรวมทั้งดอกเบี้ยที่ได้รับจากเงินดังกล่าวที่พึงมีในวันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ดังนั้น รายการฝาก รายการดอกเบี้ย และรายการเงินปันผลที่มีขึ้นหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายซึ่งไม่อาจฟังได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เจ้ามรดกมีสิทธิได้รับในขณะถึงแก่ความตาย ตลอดจนรายการหนี้สินต่าง ๆ ที่มีขึ้นหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายซึ่งฟังไม่ได้ว่าเป็นหนี้ของกองมรดกในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จึงไม่ต้องนำมารวมคำนวณและหักมูลค่าเพื่อเสียภาษีการรับมรดก
การจัดเก็บภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 57 ทวิ เป็นการเก็บภาษีจากกองมรดกของเจ้ามรดกที่มีหลักเกณฑ์เป็นการเฉพาะ แต่การจัดเก็บภาษีตาม พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 เป็นการเก็บภาษีจากทายาทผู้รับมรดกซึ่งเป็นคนละหน่วยภาษีกัน โดย พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 บัญญัติถึงกรณีการเสียภาษีการรับมรดกของทายาทไว้โดยเฉพาะ ไม่จำต้องถือตาม ป.รัษฎากร มาตรา 57 ทวิ
เจ้ามรดกเป็นเจ้าของหุ้นกู้ของบริษัท ซ. ซึ่งในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย หุ้นกู้ดังกล่าวยังไม่ครบกำหนดไถ่ถอน ทรัพย์มรดกที่โจทก์ได้รับขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตายคือหุ้นกู้และสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้นั้น ไม่ใช่เงินฝากจากเงินค่าไถ่ถอนหุ้นกู้ที่เข้ามาในบัญชีเงินฝากธนาคารหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย การคำนวณมูลค่าของหุ้นกู้ที่เป็นทรัพย์มรดกจึงต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 มาตรา 15 (3) และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณมูลค่าของทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2559 ข้อ 3 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลาย: หนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน และข้อสันนิษฐานเรื่องหนี้สินล้นพ้นตัว
หนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ค่าเงินยืมเพื่อทดรองจ่ายในกิจกรรมส่งเสริมการขายและค่าสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์ เป็นหนี้ที่สามารถกำหนดจำนวนได้แน่นอนและนำมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายได้โดยไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีแพ่งหรือให้ศาลในคดีแพ่งมีคำพิพากษาก่อน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 (3) บัญญัติเพียงว่า หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน มิได้บัญญัติว่าหนี้นั้นศาลจะต้องมีคำพิพากษากำหนดจำนวนให้แน่นอนเสียก่อน จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในมูลหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้ โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แล้วสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ตามมาตรา 8 (9) จำเลยมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว แต่พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบมาไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ ข้อเท็จจริงจึงฟังว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว พฤติการณ์ของจำเลยที่ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ ทั้งยังจดทะเบียนเลิกบริษัท กรณีจึงไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3416/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม และการตีความสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อพิสูจน์หนี้สิน
การตีความสัญญาต้องเป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 368 คือต้องถือหลักตามความเข้าใจของทั้งสองฝ่ายจะถือเอาเจตนาของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียวไม่ได้ นอกจากนี้ การตีความสัญญาเพื่อให้เห็นถึงการแสดงเจตนาของคู่สัญญานั้นให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรืออักษรตามมาตรา 171 สัญญาประนีประนอมยอมความเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 2 กำหนดให้บุคคลฝ่ายโจทก์ผู้มีสิทธิได้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทจากฝ่ายจำเลยไล่เรียงกันไป ก. (โจทก์ในคดีแพ่ง) ท. และโจทก์ ขึ้นอยู่กับการมีชีวิตอยู่ของบุคคลนั้น ๆ ในขณะที่ฝ่ายจำเลยโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกพิพาทให้ นอกจากนี้ ข้อ 3 ก็กำหนดให้ฝ่ายจำเลยแบ่งแยกที่ดินอีกแปลงหนึ่งให้แก่ฝ่ายโจทก์ไล่เรียงลำดับกันไปโดยมีเงื่อนไขเดียวกันกับข้อ 2 แสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายว่าบุคคลฝ่ายโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 2 เป็นลำดับไป การตีความข้อความตอนท้ายของสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 2 ที่ว่า "…หากว่าจำเลยที่ 2 (หมายถึงจำเลย) ไม่ไปดำเนินการซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืนจากบุคคลภายนอกและโอนให้แก่โจทก์ภายในกำหนดจำเลยที่ 2 (หมายถึงจำเลย) ยินยอมชำระเงินคืนให้แก่โจทก์เป็นเงินจำนวน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน)" คำว่า "โจทก์" ดังกล่าว จึงต้องแปลความหมายว่าฝ่ายโจทก์ ซึ่งรวมถึงโจทก์ในคดีนี้ด้วยเนื่องจาก ก. และ ท. ได้ถึงแก่ความตายแล้วก่อนครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินคืนแก่โจทก์ 1,000,000 บาท เมื่อจำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงเป็นหนี้โจทก์เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาทตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 (2)
เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์ได้ร้องขอต่อศาลให้บังคับคดีตามคำพิพากษาโดยศาลได้ออกหมายบังคับคดี และโจทก์สืบหาทรัพย์สินของจำเลยพบว่าจำเลยมีที่ดินโฉนดเลขที่ 6329 มีราคาประเมินเพียง 58,800 บาท ไม่เพียงพอที่จะยึดมาชำระหนี้ได้กรณีจึงเข้าข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 (5) ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว จำเลยมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว จำเลยให้การและส่งบันทึกถ้อยคำว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 6329 มีราคาซื้อขายในท้องตลาดไม่ต่ำกว่า 400,000 บาท แต่ไม่ได้ส่งหลักฐานใด ๆ จึงเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง เมื่อพิจารณาพยานหลักฐานทั้งหมดแล้ว จำเลยไม่สามารถนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ จึงฟังว่าจำเลยมีหนี้สินพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 (1)
แม้จำเลยจะรับราชการตำรวจและเคยเสนอจะโอนที่ดินตีใช้หนี้โจทก์ก็ตาม แต่ที่ดินที่จำเลยเสนอตีโอนใช้หนี้นั้นมีราคาประเมินเพียง 58,800 บาท ประกอบกับจำเลยไม่เคยชำระหนี้คืนให้แก่โจทก์เลย กรณีจึงไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2833/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกกรณีหนี้สินค่าสินสอด: สิทธิเรียกร้องของกองมรดกต่อลูกหนี้และการแบ่งทรัพย์สินให้ทายาท
หนังสือแจ้งความจำนงชำระเงินที่ยืมมีข้อความว่า ธ. ได้ยืมเงินจากผู้ตาย จำนวน 1,000,000 บาท โดยผู้ตายให้ ธ. ผ่อนชำระเดือนละ 4,000 บาท จนเดือนสิงหาคม 2561 ผู้ตายถึงแก่ความตาย ธ. ผ่อนชำระไปแล้ว 48,000 บาท คงเหลือ 952,000 บาท และจะขอผ่อนชำระกับโจทก์ทั้งสอง (ภริยาผู้ตาย) เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2561 เป็นต้นไปจนกว่าจะครบ และ ธ. ได้เบิกความยอมรับว่าเป็นผู้ทำเอกสารดังกล่าวด้วยตนเองโดยทำขึ้นหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว เหตุที่ทำเอกสารดังกล่าวเนื่องจากโจทก์ทั้งสองทวงถามเงินจาก ธ. เมื่อ ธ. มีความรับผิดที่จะต้องชำระหนี้แก่ผู้ตายในขณะที่ผู้ตายถึงแก่ความตายจึงเป็นหนี้สินซึ่งค้างชำระอยู่แก่กองมรดกที่จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกหรือทายาทอื่นจะเรียกให้ชำระแก่กองมรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1736 วรรคสอง จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีเพียงสิทธิเรียกร้องให้ ธ. ชำระหนี้แก่กองมรดกเท่านั้น สิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่อาจแบ่งแยกแก่โจทก์ทั้งสองได้ ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตาย ธ. ได้ชำระเงินคืนแก่กองมรดกเพียงใด จึงยังไม่มีตัวเงินที่จะแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสอง กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกต้องไปว่ากล่าวเรียกร้องให้ ธ. ชำระหนี้แก่กองมรดกเพื่อรวบรวมและแบ่งปันให้แก่โจทก์ทั้งสองต่อไป
of 48