พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงคนหางานไปทำงานต่างประเทศเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม ขึ้นอยู่กับเจตนาและลักษณะการกระทำ
การกระทำความผิดฐานหลอกลวงคนหางานว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้จะเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของการกระทำที่มีเจตนามุ่งกระทำเพื่อให้เกิดผลต่อผู้เสียหายเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้งมิได้พิจารณาจากการที่จำเลยกับพวกจัดหางานให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาตต่อเนื่องกันหรือไม่ซึ่งเป็นความผิดอีกส่วนหนึ่ง เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า ระหว่างช่วงเดือนสิงหาคม 2545 ถึงวันที่ 3 มกราคม 2546 ทั้งเวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยกับพวกหลอกลวงประชาชนว่าจำเลยกับพวกได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลางและสามารถจัดหางานและส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศที่ประเทศ ม. ได้ จนผู้เสียหายทั้งสามหลงเชื่อ ทำให้จำเลยกับพวกได้เงินไปจากผู้เสียหายทั้งสาม เหตุเกิดที่ตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ ตำบลอาโพน อำเภอบัวเชด และตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ส่วนคดีก่อนโจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างเดือนเมษายน 2545 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2545 ทั้งเวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยกับพวกหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสิบแปดว่าจำเลยกับพวกสามารถจัดส่งผู้เสียหายทั้งสิบแปดไปทำงานที่ประเทศ ม. ได้ จนผู้เสียหายทั้งสิบแปดหลงเชื่อ ยอมให้จำเลยกับพวกได้ไปซึ่งเงินจากผู้เสียหายทั้งสิบแปด เหตุเกิดที่ตำบลจรัส ตำบลอาโพน อำเภอบัวเชด ตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ และตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์การกระทำความผิดของจำเลยคดีนี้กับคดีก่อนจึงมีวันกระทำความผิดต่างกันในเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม 2545 และเดือนมกราคม 2546 และความผิดดังกล่าวจำเลยมีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายต่างคนกันด้วย การกระทำของจำเลยกับพวกแม้จะเป็นการหลอกลวงด้วยเจตนาในการกระทำผิดอย่างเดียวกัน มีการดำเนินการและจ่ายเงินให้แก่จำเลยกับพวกเหมือนกัน แต่จำเลยกับพวกหลอกลวงต่อบุคคลต่างราย เกิดขึ้นคนละสถานที่และต่างวันเวลากัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2318/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการเล่นแชร์เป็นองค์ประกอบสำคัญ หากจำเลยเพียงหลอกลวงเพื่อเอาเงิน ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เล่นแชร์
การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 4, 6 (1) (2), 17 ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาจัดให้มีการเล่นแชร์หรือเป็นนายวงแชร์ที่แท้จริง ดังนี้ แม้ตามคำฟ้องตอนต้นระบุว่า จำเลยเป็นนายวงแชร์ 7 วง อันเป็นการจัดให้มีการเล่นแชร์มากกว่าสามวงและมีสมาชิกวงแชร์รวมกันทุกวงมากกว่าสามสิบคน และกระทำความผิดฐานฉ้อโกงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งเกี่ยวกับการจัดตั้งวงแชร์ของจำเลยต่อผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 7 และประชาชนทั่วไป แต่ในคำฟ้องต่อไปได้อธิบายถึงพฤติการณ์ของจำเลยว่า ความจริงจำเลยไม่มีสมาชิกครบตามจำนวนวงแชร์ดังที่จำเลยแจ้งต่อผู้เสียหายทั้งเจ็ดและผู้อื่น แต่จำเลยอ้างหรือจัดตั้งชื่อผู้มีชื่อขึ้นมาเป็นสมาชิกเพื่อให้ครบตามจำนวนสมาชิกวงแชร์ อันเป็นความเท็จ โดยจำเลยมีเจตนาทุจริตเพื่อให้ผู้เสียหายทั้งเจ็ดและผู้อื่นหลงเชื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิกวงแชร์เพื่อให้จำเลยได้เงินค่างวดแชร์จากผู้เสียหายแต่ละคน แสดงว่าจำเลยเพียงแต่อ้างการจัดให้มีการเล่นแชร์มาเป็นข้อหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินค่างวดแชร์ จำเลยมิได้มีเจตนาจัดให้มีการเล่นแชร์อันเป็นองค์ประกอบความผิดตามที่โจทก์ระบุในตอนต้นของคำฟ้อง ทั้งตามฟ้องโจทก์มิได้บรรยายชัดแจ้งว่าบุคคลที่เข้าร่วมเล่นแชร์กับจำเลยและผู้เสียหายทั้งเจ็ดในแต่ละวงที่แท้จริงมีจำนวนเท่าใด จึงยังฟังไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปตกลงกันเป็นสมาชิกวงแชร์อันจะเป็นการเล่นแชร์ตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 4 ดังนี้ แม้จำเลยให้การรับสารภาพ เมื่อพฤติการณ์ของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องไม่อาจถือเป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15505/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน: การหลอกลวงเฉพาะกลุ่มไม่เข้าข่ายความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน
ป.อ. มาตรา 343 บัญญัติว่า "ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 341 ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนหรือด้วยการปกปิดความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน" คำว่า "ประชาชน" หมายถึงบุคคลทั่วไปไม่จำกัดตัวว่าเป็นผู้ใด แต่คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายทั้งหกซึ่งเป็นคนต่างด้าวและคนต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านซึ่งจำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้น โดยคนต่างด้าวดังกล่าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยชั่วคราว แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาหลอกลวงเฉพาะคนต่างด้าวกลุ่มดังกล่าวเท่านั้น อันเป็นการจำกัดตัวผู้ถูกหลอกลวงว่าเป็นผู้ใดมิใช่หลอกลวงบุคคลทั่วไป การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 คงมีความผิดตามมาตรา 341 ตามที่จำเลยให้การรับสารภาพเท่านั้น ซึ่งความผิดดังกล่าวเป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏจากคำเบิกความของผู้เสียหายทั้งหกว่าจำเลยได้ชดใช้เงินให้แก่ผู้เสียหายทั้งหกแล้ว และผู้เสียหายทั้งหกไม่ติดใจดำเนินคดีนี้แก่จำเลยอีก ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนี้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวย่อมระงับไปตาม .ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10552/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นผู้อื่น แม้หลอกลวงมารดาผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายก็ได้รับความเสียหายโดยตรง
แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่า จำเลยโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและด้วยการแสดงตนเป็นบุคคลอื่น แต่ตามทางพิจารณาที่ได้ความนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยหลอกลวง ส. มารดาผู้เสียหายที่ 2 มิใช่หลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของเงินก็ตาม แต่เมื่อผู้เสียหายที่ 2 เป็นเจ้าของเงินที่ให้กู้ และเป็นผู้ทำสัญญากู้ในฐานะผู้ให้กู้เงินที่จำเลยผู้กู้นำโฉนดที่ดินของบุคคลอื่นมาหลอกลวงดังกล่าว เพื่อให้ได้เงินที่กู้ยืมไป ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยแล้ว
จำเลยหลอกลวงด้วยการทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นบุคคลเดียวกับ ป. ผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินที่จำเลยนำมาเป็นหลักประกันในการกู้เงินจากผู้เสียหายที่ 2 จากการหลอกลวงดังกล่าวทำให้ได้ไปซึ่งเงินจากผู้เสียหายที่ 2 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
จำเลยหลอกลวงด้วยการทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นบุคคลเดียวกับ ป. ผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินที่จำเลยนำมาเป็นหลักประกันในการกู้เงินจากผู้เสียหายที่ 2 จากการหลอกลวงดังกล่าวทำให้ได้ไปซึ่งเงินจากผู้เสียหายที่ 2 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10552/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อโกงแม้หลอกลวงบุคคลอื่น แต่ผู้เสียหายเป็นเจ้าของเงินกู้ ย่อมเป็นผู้เสียหายในคดี
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยข้อหาฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะบรรยายว่าจำเลยโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและด้วยการแสดงตนเป็นบุคคลอื่นเพื่อขอกู้เงินจากผู้เสียหายที่ 2 แต่ตามทางพิจารณาได้ความว่าเป็นเรื่องหลอกลวงมารดาผู้เสียหายที่ 2 มิใช่หลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ก็ตาม แต่เมื่อผู้เสียหายที่ 2 เป็นเจ้าของเงินที่ให้กู้และเป็นผู้ทำสัญญากู้ในฐานะผู้ให้กู้เงิน ซึ่งจำเลยผู้กู้นำโฉนดที่ดินของบุคคลอื่นมาหลอกลวง เพื่อให้ได้เงินที่กู้ยืมไป ดังนั้น ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยแล้ว จึงเป็นผู้เสียหายในคดีฉ้อโกงด้วยคนหนึ่ง ข้อแตกต่างดังกล่าวนี้จึงไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ จึงฟังลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10090/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำ (ฟ้องซ้อน) คดีหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศ: พิจารณาช่วงเวลา ผู้เสียหาย และสถานที่
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างเดือนมกราคม 2545 ถึงเดือนมีนาคม 2545 ทั้งเวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยกับพวกหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสี่ว่าสามารถหางานให้ผู้เสียหายทั้งสี่ไปทำงานในต่างประเทศ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาได้จนผู้เสียหายทั้งสี่หลงเชื่อ ทำให้จำเลยกับพวกได้เงินไปจากผู้เสียหายทั้งสี่ เหตุเกิดที่ตำบลเทพรักษา ตำบลดม อำเภอสังขะ และตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เกี่ยวพันกัน ส่วนคดีอาญาหมายเลขดำที่ 197/2549 ของศาลชั้นต้นโจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างเดือนมกราคม 2545 ถึงวันที่ 17 กรกฎาคม 2546 ทั้งเวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยกับพวกหลอกลวงประชาชนว่าจำเลยกับพวกสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกาประเภทงานเกษตรกรรมได้ จนผู้เสียหายทั้งสองหลงเชื่อ ทำให้จำเลยกับพวกได้ไปซึ่งเงินจากผู้เสียหายทั้งสอง เหตุเกิดที่ตำบลท่าสว่าง อำเภอเฉนียง และตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เกี่ยวพันกัน และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1015/2549 ของศาลชั้นต้น โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างต้นเดือนมกราคม 2545 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2545 ทั้งเวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยกับพวกหลอกลวงประชาชนว่าจำเลยกับพวกสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในตำแหน่งเกี่ยวกับงานเกษตรได้ จนผู้เสียหายทั้งแปดหลงเชื่อ ทำให้จำเลยกับพวกได้ไปซึ่งเงินจากผู้เสียหายทั้งแปด เหตุเกิดที่ตำบลดม อำเภอสังขะ และตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เกี่ยวพันกัน การกระทำความผิดของจำเลยคดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 197/2549 และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1015/2549 ของศาลชั้นต้น จึงมีวันกระทำความผิดต่างกันในเดือนเมษายน 2545 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2545 และเดือนเมษายน 2545 ถึงวันที่ 17 กรกฎาคม 2546 และความผิดดังกล่าวจำเลยมีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายต่างคนกันด้วย การกระทำของจำเลยกับพวกแม้จะเป็นการหลอกลวงด้วยเจตนาในการกระทำผิดอย่างเดียวกันและการดำเนินการของจำเลยต่อผู้เสียหายเหมือนดังที่จำเลยฎีกา แต่จำเลยกับพวกหลอกลวงต่อบุคคลต่างราย เกิดขึ้นคนละสถานที่และต่างวันเวลากัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 197/2549 และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1015/2549 ของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8490/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้โฉนดที่ดินปลอมหลอกลวงเพื่อหวังผลประโยชน์ การกระทำผิดกรรมเดียว
จำเลยกับพวกร่วมกันวางแผนโดยใช้โฉนดที่ดินพิพาทปลอมที่มีรอยตราปลอมประทับอยู่ ไปแลกเอาโฉนดที่ดินพิพาทฉบับจริงของผู้เสียหายมา อันเป็นการเอาไปเสียซึ่งเอกสารและลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย แล้วนำโฉนดที่ดินพิพาทฉบับจริงพร้อมหนังสือมอบอำนาจปลอมของผู้เสียหาย ไปใช้แสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินสำนักงานที่ดินจังหวัดปทุมธานี อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 188 มาตรา 252 ประกอบมาตรา 251 และมาตรา 335 (7) วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 การกระทำทั้งหมดล้วนมีจุดประสงค์เพียงอย่างเดียวคือ การทำให้สามารถขายหรือขายฝากที่ดินพร้อมอาคารพิพาทของผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 90 อันได้แก่ความผิดฐานใช้โฉนดที่ดินซึ่งเป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 266 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการจดทะเบียนรถยนต์คันที่ได้มาจากการหลอกลวง และความรับผิดของหน่วยงานที่ปล่อยปละละเลย
โจทก์ฟ้องมีใจความว่า จำเลยที่ 3 เจ้าพนักงานบังคับคดีในสังกัดของจำเลยที่ 5 กระทรวงยุติธรรม ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองจ่าศาลมีอำนาจหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและคำสั่งของจำเลยที่ 5 ส่วนจำเลยที่ 4 กรมบังคับคดีเป็นกรมหนึ่งในสังกัดของจำเลยที่ 5 มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล จำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ร่วมกันปลอมเอกสารเกี่ยวกับการยึดทรัพย์และการขายทอดตลาดรถยนต์พิพาทของศาล โดยไม่มีการยึดและขายทอดตลาดกันจริง แล้วร่วมกันปลอมหนังสือและปลอมลายมือชื่อผู้พิพากษาแจ้งไปยังสำนักงานขนส่งให้จดทะเบียนรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ร่วมกันโอนขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจประจำศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถ กองบัญชาการตำรวจนครบาลได้ยึดรถยนต์พิพาทไปจากโจทก์ เนื่องจากรถยนต์พิพาทเป็นรถที่มีการลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากร การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ดังกล่าวเป็นการหลอกลวงฉ้อโกงโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มเติมคำว่า "และผู้มีชื่ออื่น" ต่อท้ายจำเลยที่ 3 ทุกแห่งก็ตาม ก็ยังไม่อาจจะแปลได้ว่าผู้มีชื่ออื่นนั้นหมายถึง ภ. ที่มีตำแหน่งเป็นรองจ่าศาลประจำศาลในขณะเกิดเหตุอีกคนหนึ่งด้วย เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องและจำเลยที่ 5 ไม่ได้ให้การถึง ภ. แต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ต้องร่วมกับ ภ. รับผิดต่อโจทก์หรือไม่ การที่โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงถึง ภ. ย่อมเป็นการนำสืบนอกประเด็น เมื่อฟังว่าจำเลยที่ 3 มิได้กระทำละเมิดซึ่งทำให้จำเลยที่ 5 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และข้อเท็จจริงดังกล่าวยุติไปแล้วโดยโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์และฎีกา ย่อมไม่มีทางที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาในประเด็นความรับผิดของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ที่โจทก์ฎีกาข้างต้นให้เป็นคุณแก่โจทก์ได้
รถยนต์พิพาทเป็นรถที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากรอันเป็นการกระทำผิดต่อ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2499 เจ้าพนักงานตำรวจจึงย่อมมีอำนาจหน้าที่ต้องไปดำเนินการยึดรถยนต์พิพาทมาไว้เป็นของกลางเพื่อดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2499 ไม่ว่ารถยนต์ของกลางนั้นจะอยู่ในความครอบครองของผู้ใด การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจประจำศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมที่ไปยึดรถยนต์ของกลางจากโจทก์ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายโดยชอบ ไม่ถือเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 7 กรมตำรวจซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวจึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ แม้โจทก์จะรับซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริตจากพ่อค้าซึ่งประกอบธุรกิจซื้อขายรถยนต์ก็ตาม แต่เมื่อรถยนต์พิพาทต้องถูกยึดไปดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2499 โจทก์ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองเพราะไม่ใช่เป็นกรณีที่เจ้าของที่แท้จริงติดตามเอาทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. 1332
ตามเอกสารเกี่ยวกับการยึดและขายทอดตลาดรถยนต์พิพาทที่จำเลยที่ 1 นำไปยื่นขอจดทะเบียนมีราคาขายทอดตลาดเพียง 200,000 บาท โดยแนบสำเนาภาพถ่ายรถยนต์ไปด้วยแต่รถยนต์พิพาทที่จำเลยที่ 1 นำไปให้ตรวจสภาพรถและขอจดทะเบียนเป็นรถยนต์ที่มีสภาพค่อนข้างใหม่และมีราคาสูง จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำไปขายให้โจทก์ได้ราคาถึง 1,750,000 บาท แสดงว่ามีสภาพแตกต่างจากที่ระบุไว้ดังกล่าวมาก หากพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 6 ตรวจสอบเอกสารและตรวจสภาพรถยนต์พิพาทให้ถี่ถ้วนรอบคอบก็จะทราบถึงความแตกต่างของสภาพรถที่นำมาตรวจเพื่อขอจดทะเบียนกับสภาพรถที่ปรากฏในเอกสารได้โดยไม่ยาก และคงไม่รับจดทะเบียน การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 6 จดทะเบียนรถยนต์พิพาทให้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยความประมาทเลินเล่อ ทำให้เกิดความเสียหายโดยตรงแก่โจทก์ เนื่องจากโจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทที่ซื้อไว้โดยสุจริตจำเลยที่ 6 ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย
รถยนต์พิพาทเป็นรถที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากรอันเป็นการกระทำผิดต่อ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2499 เจ้าพนักงานตำรวจจึงย่อมมีอำนาจหน้าที่ต้องไปดำเนินการยึดรถยนต์พิพาทมาไว้เป็นของกลางเพื่อดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2499 ไม่ว่ารถยนต์ของกลางนั้นจะอยู่ในความครอบครองของผู้ใด การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจประจำศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมที่ไปยึดรถยนต์ของกลางจากโจทก์ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายโดยชอบ ไม่ถือเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 7 กรมตำรวจซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวจึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ แม้โจทก์จะรับซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริตจากพ่อค้าซึ่งประกอบธุรกิจซื้อขายรถยนต์ก็ตาม แต่เมื่อรถยนต์พิพาทต้องถูกยึดไปดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2499 โจทก์ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองเพราะไม่ใช่เป็นกรณีที่เจ้าของที่แท้จริงติดตามเอาทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. 1332
ตามเอกสารเกี่ยวกับการยึดและขายทอดตลาดรถยนต์พิพาทที่จำเลยที่ 1 นำไปยื่นขอจดทะเบียนมีราคาขายทอดตลาดเพียง 200,000 บาท โดยแนบสำเนาภาพถ่ายรถยนต์ไปด้วยแต่รถยนต์พิพาทที่จำเลยที่ 1 นำไปให้ตรวจสภาพรถและขอจดทะเบียนเป็นรถยนต์ที่มีสภาพค่อนข้างใหม่และมีราคาสูง จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำไปขายให้โจทก์ได้ราคาถึง 1,750,000 บาท แสดงว่ามีสภาพแตกต่างจากที่ระบุไว้ดังกล่าวมาก หากพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 6 ตรวจสอบเอกสารและตรวจสภาพรถยนต์พิพาทให้ถี่ถ้วนรอบคอบก็จะทราบถึงความแตกต่างของสภาพรถที่นำมาตรวจเพื่อขอจดทะเบียนกับสภาพรถที่ปรากฏในเอกสารได้โดยไม่ยาก และคงไม่รับจดทะเบียน การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 6 จดทะเบียนรถยนต์พิพาทให้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยความประมาทเลินเล่อ ทำให้เกิดความเสียหายโดยตรงแก่โจทก์ เนื่องจากโจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทที่ซื้อไว้โดยสุจริตจำเลยที่ 6 ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงร่วมกัน: การกระทำที่ร่วมกันหลอกลวงให้เกิดความเสียหายทางการเงิน และประเด็นอายุความ
ใบจองหุ้นสามัญเป็นเพียงหลักฐานให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิในการเป็นผู้ซื้อหุ้นที่บริษัท ห. จะจัดสรรให้เมื่อมีการจดทะเบียนเพิ่มทุนแล้ว แม้โจทก์จะทำสัญญาจองซื้อหุ้นเป็นเวลานานเป็นปีแล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้รับใบหุ้นและพยายามทวงถามจำเลยทั้งสองก็ตาม โจทก์ย่อมไม่ทราบว่าถูกจำเลยทั้งสองหลอกลวงหรือไม่ เพราะอาจมีปัญหาเกี่ยวกับบริษัทโดยตรงที่ไม่สามารถจดทะเบียนเพิ่มทุนได้ ระหว่างที่รอโจทก์จึงไม่สามารถทราบได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาฉ้อโกงโจทก์ จนกระทั่งวันที่ 20 มีนาคม 2541 จำเลยทั้งสองยอมรับกับโจทก์ว่าไม่มีการจดทะเบียนเพิ่มทุน จึงไม่มีหุ้นโอนให้โจทก์ พร้อมคืนเงินค่าจองหุ้นและชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์รวมเป็นเงิน 2,000,000 บาท เพื่อไม่ให้โจทก์ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง โจทก์จึงทราบว่าจำเลยทั้งสองหลอกลวงโจทก์ในวันดังกล่าว เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8575/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์สินค้ายังไม่โอน การหลอกลวงเอาสินค้าไปเป็นความเสียหายต่อเจ้าของสินค้าเดิม
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ประกอบอาชีพรับจ้างขนส่งสินค้า ได้รับมอบสินค้าจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮ. เพื่อนำไปส่งให้แก่ร้าน ห. ลูกค้า ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. จึงเป็นตัวแทนของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮ. และได้ความจาก ม. พนักงานของห้างหุ้นส่วน ฮ. พยานโจทก์ว่า ร้าน ห. ได้สั่งซื้อสินค้าทางโทรศัพท์ และเมื่อลูกค้าได้รับสินค้าแล้วจึงจะชำระเงิน แสดงว่าการส่งมอบสินค้าดังกล่าวจะเป็นไปตามที่ลูกค้าต้องการหรือไม่ยังไม่แน่นอน เพราะต้องให้ลูกค้าตรวจสอบก่อน หากใช่ตามที่ต้องการตกลงซื้อขายกันแล้วจึงจะชำระเงิน เมื่อสินค้าดังกล่าวยังไม่มีการชำระราคา และยังไม่ได้ส่งมอบให้แก่ร้าน ห. กรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าวจึงยังเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮ. การที่มีผู้โทรศัพท์มาหลอกลวง ส. ซึ่งเป็นพนักงานของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. และมารับสินค้าไป ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮ. ซึ่งเป็นตัวการและเป็นเจ้าของสินค้าย่อมได้รับความเสียหาย ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮ. จึงเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย มีสิทธิร้องทุกข์ขอให้ดำเนินคดีแก่ผู้หลอกลวงในความผิดฐานฉ้อโกงได้