พบผลลัพธ์ทั้งหมด 479 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์: สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขโอนกรรมสิทธิ์เมื่อชำระเงินครบถ้วน มิใช่การซื้อขายตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34
จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งแต่เพียงว่าสำเนาให้โจทก์ว่าจะคัดค้านหรือไม่ โดยไม่ได้สั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยพอแปลได้ความว่าศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยมีเงื่อนไขว่าหากการชำระเงินตามสัญญายังไม่เสร็จสิ้น เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ระบุในสัญญายังคงเป็นสมบัติของโจทก์ โจทก์มีสิทธินำกลับในสภาพสมบูรณ์ได้ทุกเวลา ดังนี้สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 459 เมื่อจำเลยผิดสัญญาซื้อขาย โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์และจำเลยย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยต้องคืนเครื่องจักรผลิตน้ำร้อนพร้อมอุปกรณ์แก่โจทก์ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเครื่องจักรผลิตน้ำร้อนพร้อมอุปกรณ์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา จึงเป็นกรณีที่โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดตามเอาทรัพย์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความ กรณีไม่ใช่เรื่องโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยมีเงื่อนไขว่าหากการชำระเงินตามสัญญายังไม่เสร็จสิ้น เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ระบุในสัญญายังคงเป็นสมบัติของโจทก์ โจทก์มีสิทธินำกลับในสภาพสมบูรณ์ได้ทุกเวลา ดังนี้สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 459 เมื่อจำเลยผิดสัญญาซื้อขาย โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์และจำเลยย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยต้องคืนเครื่องจักรผลิตน้ำร้อนพร้อมอุปกรณ์แก่โจทก์ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเครื่องจักรผลิตน้ำร้อนพร้อมอุปกรณ์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา จึงเป็นกรณีที่โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดตามเอาทรัพย์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความ กรณีไม่ใช่เรื่องโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขโอนกรรมสิทธิ์เมื่อชำระเงินครบถ้วน การฟ้องเรียกคืนทรัพย์สินไม่ขาดอายุความ
สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่มีเงื่อนไขว่าหากการชำระเงินตามสัญญายังไม่เสร็จสิ้น เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ระบุในสัญญายังคงเป็นสมบัติของโจทก์ โจทก์มีสิทธินำกลับในสภาพสมบูรณ์ได้ทุกเวลา เป็นสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 459 เมื่อจำเลยผิดสัญญาซื้อขาย โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์และจำเลยย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยต้องคืนเครื่องจักรผลิตน้ำร้อนพร้อมอุปกรณ์แก่โจทก์ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเครื่องจักรผลิตน้ำร้อนพร้อมอุปกรณ์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา จึงเป็นกรณีที่โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดตามเอาทรัพย์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามมาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2496/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์ยังไม่โอน จนกว่าชำระราคาสิ้นสุด สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข
ขณะที่ผู้ร้องและจำเลยทำสัญญาซื้อขายรถยนต์ของกลางกันจำเลยยังไม่ได้ส่งมอบรถยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้องและผู้ร้องยังค้างชำระราคาเป็นเงิน 50,000 บาท โดยจำเลยจะส่งมอบรถยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้องในวันที่ได้รับชำระราคาส่วนที่เหลือ จึงเป็นสัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 459 กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของกลางยังไม่โอนไปจนกว่าผู้ร้องจะได้ชำระราคาและโอนทะเบียนกัน ผู้ร้องจึงไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลางที่แท้จริง ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางตาม ป.อ. มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1786/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนจนกว่าชำระราคาครบถ้วน แม้เช็คไม่สามารถเรียกเก็บได้
การซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์และจำเลยมีใบส่งสินค้าซึ่งมีข้อความว่า สินค้าตามรายการข้างต้น แม้จะได้ส่งมอบต่อผู้ซื้อแล้ว ก็ยังเป็นทรัพย์สินของผู้ขายอยู่จนกว่าผู้ซื้อได้ชำระเงินเสร็จเรียบร้อยแล้ว แม้ใบส่งสินค้าจะไม่ปรากฏลายมือชื่อของผู้รับสินค้าและผู้ส่งของ แต่เอกสารดังกล่าวเป็นสำเนาภาพถ่ายตรงกับเอกสารท้ายฟ้องซึ่งโจทก์ได้กล่าวในคำฟ้องและนำสืบถึงข้อความในเอกสารดังกล่าวไว้ชัดแจ้งแล้วสำหรับต้นฉบับสูญหาย โดยจำเลยให้การรับว่า ได้ซื้อสินค้าจากโจทก์ตามเอกสารดังกล่าวจริง และไม่ได้ให้การปฏิเสธกับนำสืบโต้แย้งว่าไม่รู้เห็นด้วยกับข้อความในเอกสารดังกล่าว จึงฟังได้ว่า สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยมีเงื่อนไขกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายยังไม่โอนไปจนกว่าการจะได้เป็นไปตามเงื่อนไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 459 ดังนี้ เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระราคาสินค้า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายจึงยังอยู่กับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการวางค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามคำพิพากษา
การที่จำเลยยกเหตุคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับค่าธรรมเนียมศาลทั้งสองครั้งรวมมาในคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ หามีผลทำให้จำเลยไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของบทบัญญัติมาตรา 234 ไม่ และแม้ว่าจำเลยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์โดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนเป็นผลให้จำเลยไม่ต้องนำค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนมาวางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 157 ก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงเงินที่จะต้องชำระตามคำพิพากษา เมื่อจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์โดยไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของบทบัญญัติมาตรา 234 ให้ครบถ้วน คำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรา 234 และการคืนค่าขึ้นศาลกรณีคำร้องไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 หากจำเลยที่ 3 ประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งก็ต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง แม้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จะเป็นเรื่องที่ขอให้ศาลรับค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์เกี่ยวเนื่องกับการขอขยายระยะเวลาวางค่าธรรมเนียมศาลดังกล่าว แต่ก็เป็นการยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว เมื่อมีการอุทธรณ์ย่อมทำให้การบังคับคดีต้องล่าช้าออกไป อาจเสียหายแก่โจทก์ผู้ชนะคดีได้ จำเลยที่ 3 จึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรา 234 ในกรณีเช่นนี้ให้ครบถ้วนด้วย การที่จำเลยที่ 3 ยกเหตุคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับค่าธรรมเนียมศาลทั้งสองครั้งรวมมาในคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ หามีผลทำให้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรา 234 ไม่
จำเลยที่ 3 ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์โดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วน เป็นผลให้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องนำค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนมาวางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 157 แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงเงินที่จะต้องชำระตามคำพิพากษา
ฎีกาของจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 3 มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ซึ่งจำเลยที่ 3 นำมาวางศาลด้วยนั้นเป็นปัญหาตามอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 3 ยื่นอุทธรณ์โดยทำเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งและเสียค่าขึ้นศาลมา 200 บาท ซึ่งที่ถูกต้องแล้วต้องทำเป็นอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งฉบับดังกล่าวมีผลเท่ากับเป็นการสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในส่วนนี้แก่จำเลยที่ 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 3 ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์โดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วน เป็นผลให้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องนำค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนมาวางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 157 แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงเงินที่จะต้องชำระตามคำพิพากษา
ฎีกาของจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 3 มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ซึ่งจำเลยที่ 3 นำมาวางศาลด้วยนั้นเป็นปัญหาตามอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 3 ยื่นอุทธรณ์โดยทำเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งและเสียค่าขึ้นศาลมา 200 บาท ซึ่งที่ถูกต้องแล้วต้องทำเป็นอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งฉบับดังกล่าวมีผลเท่ากับเป็นการสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในส่วนนี้แก่จำเลยที่ 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8388/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงระงับข้อพิพาทที่มีเงื่อนไขไม่สมบูรณ์ ไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้จำเลยยังมีความรับผิด
ข้อตกลงที่มีข้อความว่า หากโจทก์ได้รับเงินจำนวนตามที่ระบุไว้ครบถ้วน โจทก์ก็ไม่ติดใจเรียกร้องไม่ว่าทางแพ่งหรือทางอาญาหรือไม่ติดใจเอาความอีก และจำเลยต้องนำข้อตกลงนี้ไปเสนอต่อกรรมการของจำเลยร่วมก่อน ข้อตกลงดังกล่าวย่อมไม่ได้ระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไปทีเดียว จึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า เอกสารหมาย จ.9 มีผลบังคับใช้เช่นเดียวกับสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้สิทธิที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดจากจำเลยที่ 2 ระงับ พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีไปฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ (เอกสารหมาย จ.9) แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ว่า เอกสารหมาย จ.9 ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า เอกสารหมาย จ.9 ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ ความรับผิดในมูลละเมิดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ยังคงมีอยู่ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีไปฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความใหม่ไม่ชอบ ปัญหาว่าเอกสารหมาย จ.9 เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่จึงเกี่ยวกับอำนาจฟ้องที่โจทก์จะนำคดีไปฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีใหม่โดยอาศัยเอกสารหมาย จ.9 ได้หรือไม่ จึงเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า เอกสารหมาย จ.9 มีผลบังคับใช้เช่นเดียวกับสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้สิทธิที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดจากจำเลยที่ 2 ระงับ พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีไปฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ (เอกสารหมาย จ.9) แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ว่า เอกสารหมาย จ.9 ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า เอกสารหมาย จ.9 ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ ความรับผิดในมูลละเมิดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ยังคงมีอยู่ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีไปฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความใหม่ไม่ชอบ ปัญหาว่าเอกสารหมาย จ.9 เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่จึงเกี่ยวกับอำนาจฟ้องที่โจทก์จะนำคดีไปฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีใหม่โดยอาศัยเอกสารหมาย จ.9 ได้หรือไม่ จึงเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5136/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดผู้ขนส่งทางอากาศ: การไม่แจ้งราคาสินค้าถือเป็นการยอมรับเงื่อนไขจำกัดความรับผิด
การรับขนของทางอากาศเป็นการขนส่งประเภทหนึ่ง จึงต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 625 มาใช้บังคับ ซึ่งตามมาตรา 625 บัญญัติว่า "ใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่น ๆ ทำนองนั้นก็ดี ซึ่งผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งนั้น ถ้ามีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งประการใด ท่านว่าความนั้นเป็นโมฆะ เว้นแต่ผู้ส่งจะได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น" ดังนั้น ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งจะต้องรับผิดเพียงใด จึงต้องวินิจฉัยตามบทกฎหมายดังกล่าว
จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนของบริษัท ฮ. ผู้ส่งสินค้าได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 ทำการขนส่งสินค้าตามใบรับขนทางอากาศ เอกสารหมาย จ.4 ดังนั้น บริษัท ฮ. ผู้ส่งสินค้าซึ่งเป็นตัวการย่อมมีความผูกพัน ต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนได้กระทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทน ส่วนผู้รับตราส่งแม้ไม่ได้แสดงความตกลงในการจำกัดความรับผิดตามใบรับขนทางอากาศ เอกสารหมาย จ.4 แต่เมื่อสิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนนั้นตกไปได้แก่ผู้รับตราส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 627 ดังนั้น ข้อตกลงการจำกัดความรับผิดดังกล่าวนอกจากใช้ยัน บริษัท ฮ. ผู้ส่งได้แล้วยังใช้ยันผู้รับตราส่งตลอดจนผู้รับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งได้ด้วย
จำเลยทั้งสองต่างเป็นสมาชิกของสมาคมผู้ขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศและต่างยอมผูกพันตนตามข้อกำหนดของสมาคมดังกล่าวเกี่ยวกับการจำกัดความรับผิด กล่าวคือ ในเรื่องความรับผิดต่อความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าหรือทรัพย์สินที่ขนส่งจะมีข้อกำหนดให้บรรดาสมาชิกปฏิบัติไปในทางเดียวกัน คือ หากไม่แจ้งราคาสินค้าและไม่ชำระค่าระวางตามราคาสินค้าที่แจ้งแล้วเกิดความสูญหายหรือเสียหายต่อสินค้าดังกล่าวซึ่งผู้ขนส่งจะต้องรับผิดชอบ ความรับผิดชอบจะถูกจำกัดไว้เพียงไม่เกิน 20 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม โดยคำนวณจากน้ำหนักสุทธิของสินค้าที่สูญหาย การขนส่งที่จำเลยที่ 1 มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ตามเอกสารหมาย จ.4 นั้น จึงอยู่ภายใต้การจำกัดความรับผิดดังกล่าว เมื่อผู้ส่งสินค้าไม่แจ้งราคาสินค้าเพื่อการขนส่ง ทำให้ผู้ส่งสินค้าไม่ต้องเสียค่าระวางพาหนะเพิ่มเท่ากับเป็นการเลือกที่จะยอมรับการจำกัดความรับผิดที่ระบุอยู่ด้านหลังใบรับขนทางอากาศนั้นเอง จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ส่งสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยโดยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง เป็นเงิน 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม การจัดความรับผิดดังกล่าวย่อมมีผลใช้บังคับได้ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 625
ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองยอมรับกันรับฟังเป็นยุติได้ว่าเลนส์แว่นตาพิพาทได้สูญหายไปในระหว่างที่เลนส์แว่นตาพิพาทอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำเลนส์แว่นตาพิพาทไป จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายเพื่อการสูญหายของเลนส์แว่นตาพิพาทเท่านั้น โจทก์ไม่อาจมีคำขอให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบเลนส์แว่นตาพิพาทคืนได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนของบริษัท ฮ. ผู้ส่งสินค้าได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 ทำการขนส่งสินค้าตามใบรับขนทางอากาศ เอกสารหมาย จ.4 ดังนั้น บริษัท ฮ. ผู้ส่งสินค้าซึ่งเป็นตัวการย่อมมีความผูกพัน ต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนได้กระทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทน ส่วนผู้รับตราส่งแม้ไม่ได้แสดงความตกลงในการจำกัดความรับผิดตามใบรับขนทางอากาศ เอกสารหมาย จ.4 แต่เมื่อสิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนนั้นตกไปได้แก่ผู้รับตราส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 627 ดังนั้น ข้อตกลงการจำกัดความรับผิดดังกล่าวนอกจากใช้ยัน บริษัท ฮ. ผู้ส่งได้แล้วยังใช้ยันผู้รับตราส่งตลอดจนผู้รับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งได้ด้วย
จำเลยทั้งสองต่างเป็นสมาชิกของสมาคมผู้ขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศและต่างยอมผูกพันตนตามข้อกำหนดของสมาคมดังกล่าวเกี่ยวกับการจำกัดความรับผิด กล่าวคือ ในเรื่องความรับผิดต่อความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าหรือทรัพย์สินที่ขนส่งจะมีข้อกำหนดให้บรรดาสมาชิกปฏิบัติไปในทางเดียวกัน คือ หากไม่แจ้งราคาสินค้าและไม่ชำระค่าระวางตามราคาสินค้าที่แจ้งแล้วเกิดความสูญหายหรือเสียหายต่อสินค้าดังกล่าวซึ่งผู้ขนส่งจะต้องรับผิดชอบ ความรับผิดชอบจะถูกจำกัดไว้เพียงไม่เกิน 20 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม โดยคำนวณจากน้ำหนักสุทธิของสินค้าที่สูญหาย การขนส่งที่จำเลยที่ 1 มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ตามเอกสารหมาย จ.4 นั้น จึงอยู่ภายใต้การจำกัดความรับผิดดังกล่าว เมื่อผู้ส่งสินค้าไม่แจ้งราคาสินค้าเพื่อการขนส่ง ทำให้ผู้ส่งสินค้าไม่ต้องเสียค่าระวางพาหนะเพิ่มเท่ากับเป็นการเลือกที่จะยอมรับการจำกัดความรับผิดที่ระบุอยู่ด้านหลังใบรับขนทางอากาศนั้นเอง จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ส่งสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยโดยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง เป็นเงิน 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม การจัดความรับผิดดังกล่าวย่อมมีผลใช้บังคับได้ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 625
ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองยอมรับกันรับฟังเป็นยุติได้ว่าเลนส์แว่นตาพิพาทได้สูญหายไปในระหว่างที่เลนส์แว่นตาพิพาทอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำเลนส์แว่นตาพิพาทไป จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายเพื่อการสูญหายของเลนส์แว่นตาพิพาทเท่านั้น โจทก์ไม่อาจมีคำขอให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบเลนส์แว่นตาพิพาทคืนได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลชั้นต้นเมื่อได้รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และผลของการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอุทธรณ์
เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 ไม่มีหน้าที่ตรวจสั่งไม่รับเหมือนอย่างชั้นรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตามความในมาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จึงไม่ชอบ แต่อย่างใดก็ตามเมื่อจำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบกรณีศาลชั้นต้นไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง และศาลชั้นต้นได้ส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์และสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนด 15 วัน ทั้งมิได้นำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้องจึงมีผลเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสองยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นโดยวินิจฉัยถึงเหตุเดียวกัน คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1434/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมให้ที่ดินมีเงื่อนไข เมื่อผู้รับบริจาคไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้
หนังสือแสดงความประสงค์เรื่อง การอุทิศที่ดินให้กับทางราชการหรือยินยอมให้ทางราชการเข้าไปดำเนินการเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทำขึ้นระหว่างโจทก์ทั้งสองในฐานะผู้บริจาคกับจำเลยในฐานะผู้รับบริจาค แม้จะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ย่อมมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสองและจำเลยในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามข้อสัญญาที่ระบุไว้ในหนังสือแสดงความประสงค์ดังกล่าว เมื่อการยกให้ แก่จำเลยเป็นการยกให้โดยมีเงื่อนไข ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจะตกเป็นของทางราชการและตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ต่อเมื่อจำเลยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแล้ว จำเลยไม่ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ภายในระยะเวลาตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหนังสือแสดงความประสงค์ ก็ต้องถือว่าที่ดินพิพาทยังไม่ตกเป็นของทางราชการและไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงได้