พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบพ.ร.บ.ล้างมลทินต่อการเพิ่มโทษจำเลยในคดีซ้ำ และดุลพินิจศาลในการรอการลงโทษ
แม้ก่อนคดีนี้ จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 5 ปี ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ตามคดีอาญาหมายแดงที่ 925/2545 ของศาลจังหวัดสุพรรณบุรี และจำเลยกลับมากระทำความผิดในคดีนี้ขึ้นอีกภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษก็ตามแต่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกามี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มาตรา 4 ที่บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ ดังนั้น เมื่อความผิดที่ศาลชั้นต้นจำคุกจำเลยที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยได้พ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติข้างต้นใช้บังคับ จำเลยย่อมได้รับประโยชน์ตาม มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 770/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะตามมาตรา 92 การคำนวณโทษ และการลงโทษจำคุกหรือปรับ
การเพิ่มโทษตาม ป.อ. มาตรา 92 เป็นการเพิ่มโทษหนึ่งในสามของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลังเมื่อจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (7) วรรคสอง ประกอบมาตรา 336 ทวิ จึงต้องระวางโทษตามมาตรา 335 วรรคสอง มาคำนวณประกอบกับระวางโทษตามมาตรา 336 ทวิ เพื่อกำหนดโทษสำหรับความผิดในคดีนี้ แล้วจึงเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 92
ความผิดที่จำเลยกระทำกฎหมายกำหนดให้ลงโทษทั้งจำคุกและปรับ ถ้าศาลเห็นสมควรจะลงแต่โทษจำคุกเพียงสถานเดียวก็ได้แต่ลงโทษปรับเพียงสถานเดียวไม่ได้ ตามป.อ. มาตรา 20
ความผิดที่จำเลยกระทำกฎหมายกำหนดให้ลงโทษทั้งจำคุกและปรับ ถ้าศาลเห็นสมควรจะลงแต่โทษจำคุกเพียงสถานเดียวก็ได้แต่ลงโทษปรับเพียงสถานเดียวไม่ได้ ตามป.อ. มาตรา 20
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5561/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายยาเสพติด: ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ลงโทษจำเลย และวินิจฉัยข้อกฎหมายเกี่ยวกับการเพิ่มโทษ
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางและขอให้เพิ่มโทษจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธ แต่มิได้ให้การรับว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ อีกทั้งโจทก์มิได้นำสืบว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาก่อน และได้กระทำความผิดในคดีนี้อีกภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ ถือว่าโจทก์มิได้นำสืบแสดงพยานหลักฐานในข้อที่ขอให้เพิ่มโทษจำเลย จึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยได้ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4474/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีทำลายทรัพยากรธรรมชาติ: ข้อจำกัดการเพิ่มโทษจากข้อผิดพลาดของศาลชั้นต้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ จำเลยทั้งสามร่วมกันทำไม้ยาง โดยใช้เลื่อยโซ่รถยนต์ภายในบริเวณป่าทะเลน้อย ซึ่งเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ร่วมกันมีไม้ยางอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง ร่วมกันแปรรูปไม้ยางและร่วมกันมีไม้ยางแปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 6, 7, 11, 48, 69, 73, 74, 74 ทวิ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ มาตรา 42, 54, 63 ป.อ. มาตรา 32, 33, 83, 91 ริบของกลาง จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 11, 48 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคสอง, 73 วรรคสอง พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ มาตรา 42 วรรคสอง, 54 วรรคหนึ่ง ป.อ. มาตรา 83 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 ฐานร่วมกันทำไม้ยางโดยไม่ได้รับอนุญาตในเขตสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า อันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุกคนละ 2 ปี ฐานร่วมกันมีไม้ยางอันยังมิได้แปรรูป โดยไม่มีรอยตราค่าภาคหลวง จำคุกคนละ 2 ปี ฐานร่วมกันแปรรูปไม้ยางโดยไม่ได้รับอนุญาตจำคุกคนละ 2 ปี รวมจำคุกคนละ 8 ปี
จากคำพิพากษาศาลชั้นต้นปรากฏว่า ศาลชั้นต้นมิได้ระบุความผิดฐานร่วมกันมีไม้ยางแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและกำหนดโทษไว้ในคำพิพากษา คงระบุไว้เพียง 3 ฐานความผิด แต่รวมโทษจำคุกเป็นคนละ 8 ปี ซึ่งน่าจะเป็นความผิดหลงหรือความพลั้งเผลอของศาลชั้นต้นที่มิได้ระบุความผิดฐานดังกล่าวเอาไว้ในคำพิพากษา ทั้งโจทก์และจำเลยก็มิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ จำเลยทั้งสามคงอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษเท่านั้น และศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็มิได้แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหานี้ เพียงแต่เติมข้อความไว้ในวงเล็บต่อท้ายความผิดฐานร่วมกันแปรรูปไม้ยางจำคุกคนละ 2 ปี ในคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า "ที่ถูกฐานร่วมกันมีไม้ยางแปรรูป จำคุกคนละ 2 ปี ด้วย" ข้อความดังกล่าวเป็นเพียงข้อความที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ปรับบทฐานความผิดให้ตรงตามคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสามตามฟ้องและถูกต้องตรงตามโทษจำคุกที่ศาลชั้นต้นวางไว้ก่อนที่จะลดโทษให้แก่จำเลยทั้งสาม โดยศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสามให้สูงขึ้นแต่อย่างใด ตรงกันข้ามศาลอุทธรณ์ภาค 8 ได้แก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยทั้งสามลดลงจากโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสามอีกด้วย คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212 และไม่เป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และวรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 215
จากคำพิพากษาศาลชั้นต้นปรากฏว่า ศาลชั้นต้นมิได้ระบุความผิดฐานร่วมกันมีไม้ยางแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและกำหนดโทษไว้ในคำพิพากษา คงระบุไว้เพียง 3 ฐานความผิด แต่รวมโทษจำคุกเป็นคนละ 8 ปี ซึ่งน่าจะเป็นความผิดหลงหรือความพลั้งเผลอของศาลชั้นต้นที่มิได้ระบุความผิดฐานดังกล่าวเอาไว้ในคำพิพากษา ทั้งโจทก์และจำเลยก็มิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ จำเลยทั้งสามคงอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษเท่านั้น และศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็มิได้แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหานี้ เพียงแต่เติมข้อความไว้ในวงเล็บต่อท้ายความผิดฐานร่วมกันแปรรูปไม้ยางจำคุกคนละ 2 ปี ในคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า "ที่ถูกฐานร่วมกันมีไม้ยางแปรรูป จำคุกคนละ 2 ปี ด้วย" ข้อความดังกล่าวเป็นเพียงข้อความที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ปรับบทฐานความผิดให้ตรงตามคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสามตามฟ้องและถูกต้องตรงตามโทษจำคุกที่ศาลชั้นต้นวางไว้ก่อนที่จะลดโทษให้แก่จำเลยทั้งสาม โดยศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสามให้สูงขึ้นแต่อย่างใด ตรงกันข้ามศาลอุทธรณ์ภาค 8 ได้แก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยทั้งสามลดลงจากโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสามอีกด้วย คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212 และไม่เป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และวรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 215
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4189/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษเพื่อใช้สิทธิฎีกาในคดีอาญา ต้องรวมการเพิ่มโทษด้วย
การที่จะพิจารณาว่าคดีใดต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาเป็นรายกระทงความผิดและกำหนดโทษสุดท้ายที่จำเลยได้รับ ซึ่งการเพิ่มโทษจำเลยในความผิดใด โทษที่เพิ่มขึ้นก็ย่อมรวมเป็นโทษที่ศาลจะนำไปกำหนดโทษสุดท้ายที่จำเลยได้รับในความผิดนั้น ดังนั้น จึงต้องนำการเพิ่มโทษมาคำนวณในการใช้สิทธิฎีกาด้วย ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดโทษสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 ได้รับให้จำคุกแต่ละกระทงเกิน 5 ปี จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2550)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2550)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยในคดีอนาจารและการพรากเด็ก: ศาลฎีกาพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายของการเพิ่มโทษซ้ำซ้อน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 278 วรรคแรก, 310 วรรคแรก, 317 วรรคสาม ประกอบมาตรา 92 ฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี จำคุก 1 ปี 4 เดือน ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร จำคุก 8 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 4 ปี 8 เดือน การที่ศาลชั้นต้นอ้างบทเพิ่มโทษตาม ป.อ. มาตรา 92 ในคำพิพากษาจึงเป็นกรณีศาลชั้นต้นได้เพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามแล้ว เพียงแต่ศาลชั้นต้นไม่ได้ระบุข้อความว่าให้เพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามซึ่งเป็นเพียงการไม่สมบูรณ์ชัดเจนเท่านั้น หาทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยเหตุที่ยังมิได้เพิ่มโทษจำเลยดังที่โจทก์ขอมาแต่อย่างใดไม่ ที่ศาลอุทธรณ์เพิ่มโทษจำเลยอีกจึงเป็นการไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ดีที่ถูกศาลชั้นต้นต้องกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยในแต่ละฐานความผิดเสียก่อน แล้วจึงเพิ่มโทษจำเลยแต่ละฐานความผิดหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 54
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยให้เพิ่มเติมโทษจำเลยอีกหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92 เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และยังคงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษอันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยให้เพิ่มเติมโทษจำเลยอีกหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92 เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และยังคงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษอันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์โดยใช้อาวุธปืนจนผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลฎีกายืนโทษจำคุกตลอดชีวิต และวินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องการเพิ่มโทษ
จำเลยชิงทรัพย์โดยใช้อาวุธปืนและเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย การที่ ป.อ. มาตรา 340 ตรี บัญญัติให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 339 โดยใช้อาวุธปืน ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 339 กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นเรื่องการเพิ่มโทษไม่ จะนำ ป.อ. มาตรา 51 มาเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุก 50 ปี เพื่อระวางโทษหนักขึ้นอีกกึ่งหนึ่งไม่ได้ จึงนำ ป.อ. มาตรา 340 ตรี มาปรับด้วยไม่ได้ จำเลยคงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3888/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยซ้ำในความผิดฐานฉ้อโกงและการลงโทษตามกฎหมายที่หนักที่สุด
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ส่วนคดีนี้ศาลล่างพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี ป.อ. มาตรา 343 วรรคแรก (เดิม) ถึงแม้ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนอันเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 343 วรรคแรก (เดิม) ด้วย แต่ศาลลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองคนหางานโดยเฉพาะ มิได้ลงโทษและกำหนดโทษจำเลยในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์แต่อย่างใด ฉะนั้น ในกรณีเช่นนี้จะเพิ่มโทษจำเลยกึ่งหนึ่งเพราะได้กระทำความผิดซ้ำในอนุมาตราเดียวกัน ตาม ป.อ. มาตรา 93 (13) ไม่ได้ ต้องเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92 และถึงแม้คดีนี้ โจทก์จะขอเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 93 ซึ่งเป็นบทหนักมาก็ตาม ศาลก็มีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 92 ซึ่งเป็นบทเบากว่าได้ ไม่เกินคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษทางอาญาซ้ำซ้อน: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เรื่องการเพิ่มโทษและแก้ไขโทษฐานพยายามฆ่า
คดีนี้แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าการกระทำของจำเลยในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานพยายามฆ่าตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 แต่ศาลอุทธรณ์ก็ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าอันเป็นความผิดต่อชีวิต ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90 มิได้ลงโทษและกำหนดโทษจำเลยในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์แต่อย่างใด เช่นนี้จึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 93 ได้ แต่เมื่อภายในห้าปีนับแต่วันพ้นโทษคดีก่อน จำเลยกลับมากระทำความผิดคดีนี้ จึงต้องเพิ่มโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 92 และถึงแม้คดีนี้โจทก์จะขอเพิ่มโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 93 ซึ่งเป็นบทหนักมา ศาลก็มีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 92 ซึ่งเบากว่าได้ ไม่เกินคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8970/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิ่มโทษจำเลยไม่ได้เนื่องจากเคยต้องโทษในคดีก่อนและพ้นโทษแล้วก่อนบังคับใช้ พ.ร.บ.ล้างมลทิน
ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยกระทำความผิดในคดีก่อนเมื่ออายุ 14 ปีเศษและจำเลยได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้นั้น แม้จำเลยจะมิได้หยิบยกปัญหาข้อนี้ขึ้นกล่าวอ้างในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงสามารถหยิกยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ขณะกระทำความผิดในคดีก่อนจำเลยมีอายุ 14 ปีเศษ เมื่อความผิดที่ได้กระทำในขณะมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี ไม่ถือว่าเป็นความผิดเพื่อการเพิ่มโทษตาม ป.อ. มาตรา 94 ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยจึงไม่ชอบ ประกอบกับโจทก์ฟ้องว่าจำเลยพ้นโทษในคดีดังกล่าวแล้วกลับมากระทำความผิด คดีนี้อีกเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2548 แสดงให้เห็นว่าจำเลยพ้นโทษในคดีก่อนตั้งแต่ก่อนวันที่ 24 มีนาคม 2548 แล้ว เมื่อ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มาตรา 2 บัญญัติให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป และมาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินแก่บรรดาผู้ต้องโทษในคดีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ ดังนั้นเมื่อความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยต้องโทษและพ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จำเลยจึงได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย จึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยได้
ขณะกระทำความผิดในคดีก่อนจำเลยมีอายุ 14 ปีเศษ เมื่อความผิดที่ได้กระทำในขณะมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี ไม่ถือว่าเป็นความผิดเพื่อการเพิ่มโทษตาม ป.อ. มาตรา 94 ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยจึงไม่ชอบ ประกอบกับโจทก์ฟ้องว่าจำเลยพ้นโทษในคดีดังกล่าวแล้วกลับมากระทำความผิด คดีนี้อีกเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2548 แสดงให้เห็นว่าจำเลยพ้นโทษในคดีก่อนตั้งแต่ก่อนวันที่ 24 มีนาคม 2548 แล้ว เมื่อ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มาตรา 2 บัญญัติให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป และมาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินแก่บรรดาผู้ต้องโทษในคดีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ ดังนั้นเมื่อความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยต้องโทษและพ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จำเลยจึงได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย จึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยได้