คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เวนคืน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 555 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2423/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การสำรวจปักแนวเขตไม่ถือเป็นการครอบครองและไม่ทำให้เจ้าของที่ดินเสียสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดในเขตเทศบาลอยู่ในบริเวณที่จะต้องถูกเวนคืนเพื่อสร้างและขยายทางหลวงฯตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอเมืองขอนแก่น ฯลฯ พ.ศ. 2505 เทศบาลฯ จำเลยได้เข้ายึดถือครองเอาเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยตลอดมา แต่หาได้ชดใช้เงินค่าเวนคืนที่ดินให้แก่โจทก์ไม่ ทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ขอให้เทศบาลจำเลยชดใช้ค่าเสียหาย ทางพิจารณาได้ความว่า การดำเนินการสำรวจปักแนวเขตถนนที่จะขยายตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินฯ พ.ศ. 2505 ดังกล่าวเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกามอบหมายให้นายช่างเทศบาลฯ พนักงานของจำเลยไปดำเนินการสำรวจไว้ จำเลยมิได้มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรงแต่อย่างใดทั้งการสำรวจปักแนวเขตก็เป็นการปฏิบัติตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 มาตรา 44 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2497 มาตรา 12 เท่านั้น มิใช่เห็นการเข้าไปครอบครอง เมื่อต่อมามิได้มีพระราชบัญญัติเวนคืนจนล่วงพ้นกำหนดอายุในพระราชกฤษฎีกาการสำรวจดังกล่าวก็เป็นอันสิ้นสภาพไปในตัว กรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่พิพาทจึงยังคงอยู่กับโจทก์ตลอดมา เมื่อโจทก์ไม่มีพยานนำสืบว่าจำเลยได้เข้าไปเกี่ยวข้องรบกวนการครอบครองของโจทก์ คดีก็ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: สิทธิในการรับค่าทำขวัญ, การหักราคาที่ดินที่สูงขึ้น, และดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาล ทำให้ที่ดินส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเป็นพิเศษ กรณีนี้พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 ไม่มีบทบัญญัติโดยเฉพาะ มาตรา 42 บัญญัติให้บังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งมาตรา 14บัญญัติให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักกับค่าทดแทน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำราคาที่ดินที่ทวีขึ้นเพราะการตัดถนนตามพระราชบัญญัติเวนคืนมาหักกับเงินค่าทำขวัญซึ่งจะจ่ายแก่โจทก์ได้
การเรียกเงินค่าทำขวัญตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 กับการขอรับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เป็นคนละกรณีกัน เพราะตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 นั้น เจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ แม้จะยังไม่ได้ชำระค่าทำขวัญ และการกำหนดค่าทำขวัญ มาตรา 53 ก็ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาเวนคืน แต่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนได้ก็ต่อเมื่อได้ใช้เงินหรือวางเงินทดแทน การกำหนดค่าทดแทนก็ให้ตกลงราคากันก่อนตามมาตรา 22 หากตกลงกันไม่ได้ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือกำหนดราคาเด็ดขาดไปให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบตามมาตรา 23 ถ้าไม่มีคำสนองรับจากเจ้าของที่ดิน แต่ละฝ่ายจึงมีสิทธิขอเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการ ถ้าผู้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนไม่เสนอขอตั้งอนุญาโตตุลาการดังกล่าวภายในหกเดือน จึงให้ถือราคาเด็ดขาดที่เจ้าหน้าที่เสนอเป็นค่าทดแทนตามมาตรา 24 การกำหนดค่าทดแทนมีวิธีการเป็นลำดับดังกล่าวแล้ว ซึ่งเป็นคนละอย่างกับวิธีการเรียกเงินค่าทำขวัญ ฉะนั้น ในการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาล จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 จะนำบทบัญญัติมาตรา 23 และ 24 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มาใช้บังคับหาได้ไม่
การเรียกดอกเบี้ยตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 นั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่ใช้ค่าทดแทน จะนำมาบังคับในกรณีเรียกค่าทำขวัญมิได้ แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทำขวัญที่ดินจากจำเลยและโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามกำหนดเวลาให้จำเลยชำระเงินแล้ว จำเลยไม่ยอมชำระ จึงเป็นฝ่ายผิดนัด โจทก์ย่อมคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: สิทธิการหักราคาที่ดินที่สูงขึ้นจากค่าทำขวัญ และดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาล ทำให้ที่ดินส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเป็นพิเศษ กรณีนี้พระราชบัญญัติทางหลวงพ.ศ. 2482 ไม่มีบทบัญญัติโดยเฉพาะ มาตรา 42 บัญญัติให้บังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งมาตรา 14บัญญัติให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักกับค่าทดแทน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำราคาที่ดินที่ทวีขึ้นเพราะการตัดถนนตามพระราชบัญญัติเวนคืนมาหักกับเงินค่าทำขวัญซึ่งจะจ่ายแก่โจทก์ได้
การเรียกเงินค่าทำขวัญตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482กับการขอรับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2497 เป็นคนละกรณีกัน เพราะตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 นั้น เจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นได้แม้จะยังไม่ได้ชำระค่าทำขวัญ และการกำหนดค่าทำขวัญ มาตรา 53 ก็ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาเวนคืนแต่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนได้ก็ต่อเมื่อได้ใช้เงินหรือวางเงินทดแทน การกำหนดค่าทดแทนก็ให้ตกลงราคากันก่อนตามมาตรา 22 หากตกลงกันไม่ได้ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือกำหนดราคาเด็ดขาดไปให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบตามมาตรา 23 ถ้าไม่มีคำสนองรับจากเจ้าของที่ดิน แต่ละฝ่ายจึงมีสิทธิขอเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการ ถ้าผู้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนไม่เสนอขอตั้งอนุญาโตตุลาการดังกล่าวภายในหกเดือน จึงให้ถือราคาเด็ดขาดที่เจ้าหน้าที่เสนอเป็นค่าทดแทนตามมาตรา 24 การกำหนดค่าทดแทนมีวิธีการเป็นลำดับดังกล่าวแล้ว ซึ่งเป็นคนละอย่างกับวิธีการเรียกเงินค่าทำขวัญ ฉะนั้น ในการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาล จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 จะนำบทบัญญัติมาตรา 23 และ 24 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2497 มาใช้บังคับหาได้ไม่
การเรียกดอกเบี้ยตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 นั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่ใช้ค่าทดแทนจะนำมาบังคับในกรณีเรียกค่าทำขวัญมิได้ แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทำขวัญที่ดินจากจำเลยและโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามกำหนดเวลาให้จำเลยชำระเงินแล้ว จำเลยไม่ยอมชำระ จึงเป็นฝ่ายผิดนัด โจทก์ย่อมคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิการเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการเป็นของทั้งสองฝ่าย
ที่ดินของผู้คัดค้านอยู่ในเขตเวนคืนกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์กับผู้คัดค้านไม่ตกลงกันในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ผู้บัญชาการทหารบกผู้ร้อง ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงได้มีหนังสือถึงผู้คัดค้านกำหนดราคาเด็ดขาดสำหรับค่าทดแทนที่ดิน หากผู้คัดค้านไม่สนองรับภายใน 15 วัน ผู้ร้องจะขอให้ตั้งอนุญาโตตุลาการต่อไป ผู้คัดค้านมีหนังสือตอบมาภายใน 15 วัน ว่าไม่ยินยอมตกลงตามราคาที่ผู้ร้องกำหนดมา และขอใช้สิทธิตั้งอนุญาโตตุลาการตามกฎหมายเช่นเดียวกัน แสดงว่าผู้คัดค้านเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการตามกฎหมายแล้ว ผู้ร้องจะอ้างว่าผู้คัดค้านไม่ประสงค์ใช้สิทธิตั้งอนุญาโตตุลาการ และนำเงินค่าทดแทนมาวางศาลเพื่อจะเข้าครอบครองที่ดินหาได้ไม่ เพราะพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มิได้บังคับว่าการเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการจะต้องระบุข้อบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 211 ไว้ด้วย และการดำเนินการตั้งอนุญาโตตุลาการต่อไปนั้น มิได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ จึงเป็นหน้าที่ของทั้งสองฝ่ายในอันที่จะดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1316-1319/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินตาม พ.ร.บ.เฉพาะ และการกำหนดราคาค่าทดแทนตามราคาซื้อขายล่าสุดของที่ดินในบริเวณเดียวกัน
ที่ดินของผู้ร้องคัดค้านถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี และตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พ.ศ.2509 เพื่อจัดสร้างพุทธมณฑลตามความประสงค์ของรัฐบาล และตามมาตรา 5แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า เงินค่าทดแทนที่จะให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนให้ถือเอาราคาในวันที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองรายสุดท้ายในบริเวณพุทธมณฑลได้มอบอสังหาริมทรัพย์ให้กระทรวงมหาดไทยเข้าครอบครองเป็นเกณฑ์คำนวณทุกราย การจัดสร้างพุทธมณฑลนั้นเป็นโครงการของรัฐบาลกำหนดขึ้นโดยมีความมุ่งหมายที่จะให้เป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญสืบไป ถือว่าเป็นประโยชน์ของรัฐอย่างหนึ่ง รัฐบาลได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการจัดสร้างพุทธมณฑล มีหน้าที่จัดสร้างพุทธมณฑลให้เป็นผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล คณะกรรมการได้ดำเนินการวางโครงการ แผนผัง หารายได้ และจัดซื้อที่ดินเข้าปลูกสร้างสิ่งต่างๆ ตามโครงการ ตลอดจนเสนอรัฐบาลในการแต่งตั้งกรรมการสาขาเพื่อปฏิบัติงานแยกเป็นสัดส่วนไป โดยมีข้าราชการสังกัดต่างกระทรวงกันเป็นประธานคณะกรรมการเหล่านั้นทุกคณะ กิจการที่ดำเนินไปเป็นการกระทำในนามของรัฐบาลที่จัดให้ข้าราชการกระทรวงต่างๆ เข้าดำเนินงานรับผิดชอบคณะกรรมการได้แต่งตั้งกรรมการสาขาขึ้นคณะหนึ่งเรียกว่าคณะกรรมการดำเนินการและประสานงานจัดสร้างพุทธมณฑล มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานและคณะกรรมการสาขานี้ได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ขึ้นคณะหนึ่ง มีรองอธิบดีกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าคณะ ให้มีหน้าที่ดำเนินการจัดซื้อที่ดินโดยรับช่วงหน้าที่จากคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินสร้างพุทธมณฑลชุดก่อนมา และมีหน้าที่จัดสร้างถนน ขุดคูปลูกต้นไม้ในบริเวณพุทธมณฑล เจ้าหน้าที่คณะนี้ได้ดำเนินการจัดซื้อที่ดินและปลูกสร้างสิ่งต่างๆ ตามหน้าที่ตลอดมา อันแสดงว่าการซื้อและเข้าครอบครองที่ดินบริเวณจัดสร้างพุทธมณฑลในส่วนที่ซื้อไว้แล้วเป็นหน้าที่ของข้าราชการกระทรวงมหาดไทยดำเนินการ จึงถือได้ว่าเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยในการรับมอบและเข้าครอบครองที่ดินในบริเวณพุทธมณฑลตามความหมายของมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว โดยไม่จำต้องคำนึงถึงว่ากรมใดจะมีหน้าที่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินของรัฐแห่งนี้ และเงินที่ใช้จ่ายจะได้มาจากงบประมาณแผ่นดินหรือไม่
เมื่อกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับมอบและเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณพุทธมณฑลที่คณะกรรมการซื้อมา และราคาซื้อขายรายสุดท้ายก่อนที่เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะแจ้งจำนวนเงินค่าทดแทนให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนทราบ ปรากฏตามทะเบียนของสำนักงานที่ดินว่าเป็นรายที่ บ. ขายให้กรมการศาสนาในราคาไร่ละ 1,500 บาท กรณีจึงกำหนดเงินค่าทดแทนแน่นอนได้ตามราคาที่ดินรายสุดท้ายดังกล่าวการที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลศาลายาอำเภอนครชัยศรี และตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมพ.ศ.2509 มาตรา 5 ได้บัญญัติเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาใช้บังคับได้ เมื่อเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้แจ้งให้ผู้ร้องคัดค้านซึ่งมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไปรับเงินค่าทดแทนซึ่งกำหนดไว้แน่นอนตามกฎหมายแล้ว ผู้ร้องคัดค้านปฏิเสธไม่ยอมรับ เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิที่จะวางเงินค่าทดแทนเพื่อมีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินนั้นได้ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกคืนที่ดินเวนคืนเพื่อกิจการรถไฟ แม้จะไม่ได้ใช้ประโยชน์จริง เจ้าของไม่มีสิทธิเรียกร้องคืน
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 32กำหนดให้เจ้าของเดิมหรือทายาทหรือผู้รับโอนมีสิทธิเรียกทรัพย์สินคืนได้เฉพาะแต่ในกรณีที่เวนคืนมาเพื่อการสาธารณูปโภคหรือการเหมืองแร่แต่ถ้าเวนคืนมาเพื่อใช้ในกิจการของรถไฟ และที่ดินที่เวนคืนได้ตกเป็นของรถไฟโดยโดยชอบแล้ว แม้รถไฟจะมิได้เคยใช้หรือกำลังใช้ในกิจการของรถไฟ เจ้าของหรือทายาทหรือผู้รับโอนก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกทรัพย์สินนั้นคืนได้ตามมาตรา 32 นี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกคืนที่ดินเวนคืนเพื่อกิจการรถไฟ แม้ยังมิได้ใช้ประโยชน์ ย่อมไม่มีสิทธิเรียกคืนได้ตาม พ.ร.บ.เวนคืน
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 32 กำหนดให้เจ้าของเดิมหรือทายาทหรือผู้รับโอนมีสิทธิเรียกทรัพย์สินคืนได้เฉพาะแต่ในกรณีที่เวนคืนมาเพื่อการสาธารณูปโภคหรือการเหมืองแร่แต่ถ้าเวนคืนมาเพื่อใช้ในกิจการของรถไฟ และที่ดินที่เวนคืนได้ตกเป็นของรถไฟโดยโดยชอบแล้ว แม้รถไฟจะมิได้เคยใช้หรือกำลังใช้ในกิจการของรถไฟ เจ้าของหรือทายาทหรือผู้รับโอนก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกทรัพย์สินนั้นคืนได้ตามมาตรา 32 นี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการวางเงินค่าทดแทนเวนคืน: ศาลต้องวินิจฉัยสถานะเจ้าของก่อนจ่ายเงิน
ผู้ร้องในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ยื่นคำร้องขอวางเงินค่าทดแทนตามที่เห็นสมควรต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มาตรา 28 เพราะผู้ร้องคัดค้านมิใช่เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืน ส่วนผู้ร้องคัดค้านทั้งสองฝ่ายต่างคัดค้าน เป็นปรปักษ์กันเองว่าต่างคนต่างเป็นเจ้าของแต่ผู้ร้องคัดค้านทั้งสองเห็นว่าเงินค่าทดแทนยังไม่เป็นธรรม ผู้ร้องไม่มีสิทธิวางเงินต่อศาล ขอให้ยกคำร้องคดีจึงมีประเด็นว่าผู้ร้องมีสิทธิวางเงินรายนี้ได้หรือไม่ และถ้ามีสิทธิวางได้ ผู้ร้องคัดค้านทั้งสองจะมีสิทธิรับเงินที่วางได้เพียงไรหรือไม่ แต่ในการพิจารณา ศาลเพียงแต่สอบถามคู่ความเมื่อไม่ตกลงกันก็มีคำสั่งให้คู่กรณีไปดำเนินการต่อไปตามกฎหมาย โดยมิได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นที่พิพาท ผู้ร้องคัดค้านจึงยังไม่อยู่ในฐานะที่จะมีสิทธิรับเงินรายนี้ได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการวางเงินค่าทดแทนเวนคืนและการรับเงินเมื่อสถานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ยังไม่ชัดเจน
ผู้ร้องในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ยื่นคำร้องขอวางเงินค่าทดแทนตามที่เห็นสมควรต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาตรา 28 เพราะผู้ร้องคัดค้านมิใช่เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืน ส่วนผู้ร้องคัดค้านทั้งสองฝ่ายต่างคัดค้านเป็นปรปักษ์กันเองว่าต่างคนต่างเป็นเจ้าของ แต่ผู้ร้องคัดค้านทั้งสองเห็นว่าเงินค่าทดแทนยังไม่เป็นธรรม ผู้ร้องไม่มีสิทธิวางเงินต่อศาล ขอให้ยกคำร้อง คดีจึงมีประเด็นว่าผู้ร้องมีสิทธิวางเงินรายนี้ได้หรือไม่ และถ้ามีสิทธิวางได้ ผู้ร้องคัดค้านทั้งสองจะมีสิทธิรับเงินที่วางได้เพียงไรหรือไม่ แต่ในการพิจารณา ศาลเพียงแต่สอบถามคู่ความ เมื่อไม่ตกลงกันก็มีคำสั่งให้คู่กรณีไปดำเนินการต่อไปตามกฎหมาย โดยมิได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นที่พิพาท ผู้ร้องคัดค้านจึงยังไม่อยู่ในฐานะที่จะมีสิทธิรับเงินรายนี้ได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการวางเงินค่าทดแทนเวนคืน: เจ้าของกรรมสิทธิ์ยังไม่ชัดเจน ศาลยังไม่วินิจฉัยสิทธิรับเงิน
ผู้ร้องในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ. ยื่นคำร้องขอวางเงินค่าทดแทนตามที่เห็นสมควรต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาตรา 28. เพราะผู้ร้องคัดค้านมิใช่เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืน. ส่วนผู้ร้องคัดค้านทั้งสองฝ่ายต่างคัดค้านเป็นปรปักษ์กันเองว่าต่างคนต่างเป็นเจ้าของ. แต่ผู้ร้องคัดค้านทั้งสองเห็นว่าเงินค่าทดแทนยังไม่เป็นธรรม. ผู้ร้องไม่มีสิทธิวางเงินต่อศาล. ขอให้ยกคำร้อง. คดีจึงมีประเด็นว่าผู้ร้องมีสิทธิวางเงินรายนี้ได้หรือไม่. และถ้ามีสิทธิวางได้. ผู้ร้องคัดค้านทั้งสองจะมีสิทธิรับเงินที่วางได้เพียงไรหรือไม่. แต่ในการพิจารณา ศาลเพียงแต่สอบถามคู่ความ. เมื่อไม่ตกลงกัน.ก็มีคำสั่งให้คู่กรณีไปดำเนินการต่อไปตามกฎหมาย โดยมิได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นที่พิพาท. ผู้ร้องคัดค้านจึงยังไม่อยู่ในฐานะที่จะมีสิทธิรับเงินรายนี้ได้ตามกฎหมาย.
of 56