คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความประมาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 502 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14023/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางจราจร: การประเมินความประมาทของผู้เสียหายและจำเลยเพื่อกำหนดสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
แม้ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ มาตรา 44/1 ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น แต่คดีในส่วนอาญาได้มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดไปก่อนแล้วจึงมีการพิจารณาพิพากษาคดีในส่วนแพ่งในภายหลัง เช่นนี้ปัญหาว่าผู้ร้องมีส่วนประมาทด้วยมีผลทำให้ผู้ร้องไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 หรือไม่ จึงไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญา แต่เป็นข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณาในคดีส่วนแพ่ง การที่ผู้ร้องมีส่วนประมาทซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบมาตรา 223 ศาลต้องพิเคราะห์พฤติการณ์ว่าฝ่ายใดเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรนั้น มิได้ทำให้ความเป็นผู้เสียหายของผู้ร้องในอันที่เรียกเอาค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ที่ยื่นไว้ในคดีส่วนอาญาซึ่งถึงที่สุดแล้วสูญสิ้นไปแต่อย่างใด ผู้ร้องยังมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยได้ตามบทบัญญัติดังกล่าวทุกประการ เพียงแต่จะเรียกได้มากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับพฤติการณ์ว่าผู้ร้องกับจำเลยฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเท่านั้น ดังนั้น ที่จำเลยอ้างว่าผู้ร้องประมาทด้วยจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยและไม่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจึงฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13675/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางแพ่งจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ แม้คำพิพากษาคดีอาญาตัดสินว่าทั้งสองฝ่ายประมาท ศาลแพ่งยังสามารถพิจารณาความประมาทเลิศร้ายได้
แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 46 จะบัญญัติว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา แต่ในกรณีนี้ข้อเท็จจริงที่ฟังในคดีอาญาคงมีแต่เพียงว่า ทั้งผู้ตายและจำเลยที่ 1 ต่างกระทำโดยประมาท แต่ผู้ใดประมาทมากกว่ากันไม่ปรากฏ ดังนั้น ในการดำเนินคดีแพ่ง ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ย่อมสามารถนำสืบให้เห็นได้ว่าใครประมาทมากกว่ากัน และควรจะได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ เพียงใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11076/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การประเมินความประมาทของคู่กรณีและการบังคับคดีค่าฤชาธรรมเนียม
ที่จำเลยทั้งสามฎีกาว่า ย. ขับรถที่โจทก์รับประกันภัยด้วยความเร็วสูงในขณะฝนตก โดยไม่ลดความเร็วลงทั้งที่บริเวณที่เกิดเหตุเป็นทางลงเขาและโค้ง ทำให้รถแหกโค้งเหวี่ยงมาในช่องเดินรถและเฉี่ยวชนรถที่จำเลยที่ 1 ขับ เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทของ ย. และจำเลยที่ 1 ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ค่าเสียหายจึงตกเป็นพับ โจทก์จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิมาฟ้องนั้น เป็นฎีกาที่เมื่อพิจารณาฎีกาทั้งฉบับของจำเลยทั้งสามแล้ว กรณีไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงผลตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฎีกาของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นสาระอันควรแก่การพิจารณา ศาลฎีกาไม่รับคดีไว้พิจารณาพิพากษา ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ 2,100 บาท โดยไม่ได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมอื่น เป็นการไม่ชอบเพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม แม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใด ก็เป็นหน้าที่ของศาลต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7955/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อทางละเมิด: การพิจารณาความรับผิดชอบของผู้ขับขี่เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางถนน
การพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 ต่างกระทำโดยประมาททั้งสองฝ่าย แต่โจทก์ที่ 2 มีสิทธิที่จะนำสืบและฎีกาได้ว่า เหตุนี้เกิดขึ้นเกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 มากกว่า ซึ่งตามพฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนประมาทมากกว่าโจทก์ที่ 2 และแม้คดีนี้ฎีกาของโจทก์ที่ 1 จะต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อผลของคดีนี้ในชั้นฎีกาแตกต่างขัดกันกับในชั้นอุทธรณ์ จึงให้ถือตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่สูงกว่าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 146 จึงให้มีผลถึงโจทก์ที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7941/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อในการขับรถ รถฉุกเฉิน ผู้ขับรถมีหน้าที่ระมัดระวังและชะลอความเร็วเพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ
คดีนี้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำสืบว่า ระหว่างจำเลยที่ 1 ขับรถตู้คันเกิดเหตุนำ จ. จากโรงพยาบาลตาลสุมไปส่งโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จำเลยที่ 1 เปิดสัญญาณไฟวับวาบ ไซเรน และไฟกะพริบตลอดทาง โจทก์ไม่นำสืบโต้แย้งข้อเท็จจริงดังกล่าว เพียงแต่อ้างว่าโจทก์ได้รับสัญญาณไฟจราจรสีเขียว จึงขับรถเข้าไปในสี่แยกที่เกิดเหตุ กรณีจึงเชื่อว่า ขณะที่จำเลยที่ 1 ขับรถตู้มาถึงสี่แยกที่เกิดเหตุได้ใช้สัญญาณไฟวับวาบ ไซเรน และเปิดไฟกะพริบ ซึ่งสัญญาณดังกล่าวอยู่ในวิสัยที่โจทก์จะรับรู้และเข้าใจได้ว่าเป็นรถฉุกเฉิน และผู้ที่ขับรถฉุกเฉินจะต้องขับรถด้วยความเร่งรีบ ทั้งโจทก์เองก็อ้างว่าเพิ่งออกจากบ้านซึ่งอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 100 เมตร กำลังจะไปสนามกีฬาซึ่งอยู่ห่างออกไป 1 กิโลเมตร ก็ควรที่จะชะลอความเร็วรถลงเพื่อเปิดโอกาสให้รถที่มีเหตุจำเป็นฉุกเฉินผ่านไปก่อน การที่โจทก์ไม่ชะลอความเร็วรถลงหรือหยุดรถจนเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนกับรถยนต์ตู้คันเกิดเหตุที่เป็นรถฉุกเฉิน ซึ่งลักษณะการชนตามภาพเป็นลักษณะที่รถยนต์ของโจทก์พุ่งเข้าชนรถตู้ แสดงให้เห็นว่าโจทก์มีส่วนขับรถด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังเช่นกัน ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงเกิดจากโจทก์เป็นผู้ก่อด้วยไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5452/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้าม กรณีจำเลยไม่โต้แย้งประเด็นความประมาทในชั้นอุทธรณ์แล้วมาฎีกาใหม่ โดยอ้างคำพิพากษาคดีอาญา
การพิพากษาคดีส่วนแพ่งที่ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 นั้น เป็นกรณีที่ศาลในคดีส่วนแพ่งจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงในประเด็นที่คู่ความยังคงโต้แย้งกันอยู่และเป็นประเด็นเดียวกันกับที่ศาลในคดีส่วนอาญาจะต้องวินิจฉัย ทั้งนี้เพื่อให้การรับฟังข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันเป็นไปในทางเดียวกัน เมื่อคดีในส่วนอาญาศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยมีส่วนกระทำการโดยประมาท คดีส่วนแพ่งจึงต้องรับฟังข้อเท็จจริงตามและพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายตามสัดส่วนแห่งความประมาทของตน การที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งเฉพาะดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหาย โดยมิได้อุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้มีส่วนประมาทด้วยแต่อย่างใด แม้ต่อมาความจะปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ภาค 6 ในคดีส่วนอาญาได้พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจจะฎีกาได้ เนื่องจากประเด็นดังกล่าวได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ทั้งเป็นการต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19300/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเข้าร่วมเป็นโจทก์ของผู้เสียหาย: ผลกระทบจากความประมาทของผู้ตายต่อการเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
การที่โจทก์ร่วมทั้งสี่ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 เป็นการยื่นคำร้องโดยอาศัยสิทธิตามคำฟ้องของพนักงานอัยการ เมื่อคำฟ้องของพนักงานอัยการบรรยายว่าผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ด้วยความประมาทด้วย โจทก์ร่วมทั้งสี่จึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำฟ้องโดยไม่จำต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบว่าผู้ตายมีส่วนประมาทด้วยหรือไม่ เมื่อคำฟ้องของโจทก์ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ตายมีส่วนประมาทด้วย ผู้ตายจึงมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด เช่นนี้ ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ร่วมทั้งสี่ย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายและยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) และ 30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16104/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานในคดีแพ่งหลังคดีอาญาถึงที่สุด ศาลต้องเปิดโอกาสให้สืบพยานเพื่อพิสูจน์ความประมาทของจำเลยร่วม แม้คำพิพากษาอาญาจะยังไม่ยุติ
ในคดีส่วนอาญา พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ก. และจำเลยที่ 1 ในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 291 และข้อหาตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 โจทก์คดีนี้เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเหตุที่เกิดขึ้นเพราะความประมาทของ ก. เพียงฝ่ายเดียว จึงลงโทษ ก. และยกฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย โจทก์และโจทก์ร่วมในคดีอาญาอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 โดยไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย ส่วน ก. อุทธรณ์ว่าตนไม่มีความผิด ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลชั้นต้นทราบว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย จึงจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาแต่อุทธรณ์ของ ก. แล้ววินิจฉัยว่า ก. เป็นฝ่ายขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ดังนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าเหตุที่เกิดขึ้นเพราะความประมาทของ ก. เพียงฝ่ายเดียว แต่โจทก์และโจทก์ร่วมในคดีอาญายังอุทธรณ์อยู่ จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายเสียก่อนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะได้วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทหรือไม่ ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นในคดีส่วนอาญาพิพากษาจึงยังไม่ยุติ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งสำหรับจำเลยที่ 1 ศาลจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลชั้นต้น และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาก็เป็นการพิพากษาในส่วนของ ก. เท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือร่วมกับ ก. ทำละเมิด แม้ ก. ขับรถโดยประมาทเลินเล่อก็ไม่ทำให้โจทก์หมดสิทธิที่จะสืบพยานให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6024/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ศาลแพ่งผูกพันตามข้อเท็จจริงคดีอาญา แต่ไม่ผูกพันประเด็นส่วนประมาทของผู้ตาย
คดีส่วนอาญาข้อเท็จจริงฟังยุติว่า จำเลยขับรถด้วยความประมาทโดยขับเร็วล้ำเข้าไปเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ของผู้ตายทั้งสองในช่องเดินรถของผู้ตายทั้งสอง คดีในส่วนแพ่งศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา กล่าวคือต้องฟังว่าจำเลยขับรถด้วยความประมาท ที่ศาลในคดีส่วนอาญาฟังข้อเท็จจริงต่อไปว่า ผู้ตายทั้งสองมีส่วนกระทำประมาทด้วย ไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสองเพราะไม่ใช่เป็นประเด็นโดยตรงในคดีส่วนอาญา เป็นเพียงการวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพื่อประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษจำเลยให้เบาลง ดังนั้นในคดีส่วนแพ่งผู้ตายทั้งสองมีส่วนกระทำประมาทด้วยหรือไม่ และจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่เพียงใด จำเลยมีหน้าที่ต้องพิสูจน์
ผู้เสียหายที่มิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เฉพาะในคดีอาญาเท่านั้นไม่มีผลถึงอำนาจฟ้องคดีแพ่ง โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจโจทก์ร่วมและประเด็นความประมาทของผู้ขับขี่ กรณีรถชน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยและผู้ตายต่างขับรถมาด้วยความประมาท ตามคำฟ้องของโจทก์ถือว่าผู้ตายมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ส. โจทก์ร่วมซึ่งเป็นภรรยาของผู้ตาย จึงไม่มีอำนาจเข้ามาจัดการแทนผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) และไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์เดิมได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ ส. เข้าร่วมเป็นโจทก์จึงไม่ชอบ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
of 51