คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 497 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเกี่ยวกับการบังคับคดี ต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่มีอำนาจบังคับคดีในคดีเดิม มิใช่ฟ้องเป็นคดีใหม่
การเสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอต่อศาลที่มีอำนาจบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7 (2) ต้องเสนอต่อศาลในคดีเดิม มิใช่ยื่นคำฟ้องต่อศาลดังกล่าวเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการบังคับคดี: ต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่มีอำนาจบังคับคดีเดิม ไม่ใช่ฟ้องเป็นคดีใหม่
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลแพ่งธนบุรีและคดีดังกล่าวถึงที่สุด โดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ฟ้องของโจทก์เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีในคดีหมายเลขแดงที่ 459/2543 ของศาลแพ่ง ซึ่งออกหมายบังคับคดีส่งให้ไปศาลจังหวัดเพชรบุรีบังคับคดีแทน และจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้อง กรณีต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 7 (2) ประกอบมาตรา 15 วรรคท้าย และมาตรา 302 วรรคหนึ่งและวรรคท้าย โจทก์จะต้องเสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีคือยื่นต่อศาลแพ่งซึ่งเป็นศาลที่ออกหมายบังคับคดี หรืออาจยื่นต่อศาลจังหวัดเพชรบุรีซึ่งเป็นศาลที่บังคับคดีแทน ดังนั้น โจทก์จึงต้องเสนอคดีนี้โดยทำเป็นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นในคดีเดิมคือศาลแพ่งในคดีหมายเลขแดงที่ 459/2543 ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดี หาใช่ยื่นคำฟ้องต่อศาลชั้นต้น (ศาลแพ่ง) เป็นคดีใหม่ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10693/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยทรัพย์บังคับคดี: ระยะเวลาการยื่นคำร้องและการอายัดทรัพย์โดยเจ้าพนักงานบังคับคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา โดยสั่งอายัดเงินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิจะได้รับจากบริษัท ส. และบริษัท ส. ได้ส่งเงินตามคำสั่งอายัดต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2548 ต่อมาวันที่ 7 มิถุนายน 2549 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ โดยในคำพิพากษามิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ศาลสั่งไว้ในระหว่างการพิจารณา คำสั่งอายัดเงินชั่วคราวก่อนพิพากษาจึงยังคงมีผลให้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็น เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) เมื่อโจทก์ขอให้ออกหมายบังคับคดีและศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2549 อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ จึงมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง และได้มีการชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีนับตั้งแต่วันที่ศาลออกหมายบังคับคดีแล้ว ทั้งนี้ไม่เกี่ยวกับว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าพนักงานศาลหรือเป็นเจ้าพนักงานในสังกัดกรมบังคับคดีดังที่ผู้ร้องอ้างในอุทธรณ์ ผู้ร้องจึงต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ดังกล่าวเสียก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2549 ซึ่งเป็นวันที่ศาลออกหมายบังคับคดี อันถือได้ว่าเป็นวันที่มีการชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคห้า หาใช่นับแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีหนังสือส่งเงินอันเป็นทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดังที่ผู้ร้องเข้าใจไม่ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งล่วงพ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ถือว่าบริษัท ส. ส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ คำร้องของผู้ร้องจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคห้า ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรา 234 และการคืนค่าขึ้นศาลกรณีคำร้องไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 หากจำเลยที่ 3 ประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งก็ต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง แม้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จะเป็นเรื่องที่ขอให้ศาลรับค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์เกี่ยวเนื่องกับการขอขยายระยะเวลาวางค่าธรรมเนียมศาลดังกล่าว แต่ก็เป็นการยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว เมื่อมีการอุทธรณ์ย่อมทำให้การบังคับคดีต้องล่าช้าออกไป อาจเสียหายแก่โจทก์ผู้ชนะคดีได้ จำเลยที่ 3 จึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรา 234 ในกรณีเช่นนี้ให้ครบถ้วนด้วย การที่จำเลยที่ 3 ยกเหตุคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับค่าธรรมเนียมศาลทั้งสองครั้งรวมมาในคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ หามีผลทำให้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรา 234 ไม่
จำเลยที่ 3 ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์โดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วน เป็นผลให้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องนำค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนมาวางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 157 แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงเงินที่จะต้องชำระตามคำพิพากษา
ฎีกาของจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 3 มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ซึ่งจำเลยที่ 3 นำมาวางศาลด้วยนั้นเป็นปัญหาตามอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 3 ยื่นอุทธรณ์โดยทำเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งและเสียค่าขึ้นศาลมา 200 บาท ซึ่งที่ถูกต้องแล้วต้องทำเป็นอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งฉบับดังกล่าวมีผลเท่ากับเป็นการสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในส่วนนี้แก่จำเลยที่ 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเฉลี่ยทรัพย์หลังการขายทอดตลาดเกินกำหนด และการขอเฉลี่ยทรัพย์สิ่งของอื่นที่ไม่ระบุในคำร้อง
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 และขายทอดตลาดได้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2545 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2545 จึงเกินระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่มีการขายทอดตลาด แม้โจทก์นำยึดสิ่งของต่าง ๆ ของจำเลยภายในบ้านเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2544 อีกคราวหนึ่งและไม่ได้มีการขายทอดตลาดก่อนที่ผู้ร้องยื่นคำร้องนี้ ผู้ร้องก็มีสิทธิเฉลี่ยทรัพย์สิ่งของต่าง ๆ ของจำเลยภายในบ้านได้ แต่ผู้ร้องมิได้กล่าวไว้ในคำร้องและมิได้มีคำขอเฉลี่ยทรัพย์สิ่งของดังกล่าวมาในท้ายคำร้องด้วย ศาลฎีกาจึงไม่อาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องเฉลี่ยทรัพย์สิ่งของภายในบ้านได้ เป็นการเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8367/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอเพิกถอนการขายทอดตลาดหลังการขายเสร็จสิ้น กรณีอ้างกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ และการยื่นคำร้องไม่ทันตามกฎหมาย
ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ยื่นคำร้องขอปล่อยทรัพย์ที่ยึดต่อศาลก่อนเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไปก่อนแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 829/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลเกี่ยวกับคำร้องตั้งผู้จัดการทรัพย์สินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307: คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
คำว่า "คำสั่งของศาลตามมาตรานี้" ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 วรรคสอง มีความหมายว่า หากมีกรณียื่นคำร้องตามมาตรา 307 วรรคหนึ่งแล้ว คำสั่งใด ๆ ที่เกี่ยวกับคำร้องดังกล่าวย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า "คำสั่งศาลตามมาตรานี้" ทั้งสิ้น เมื่อจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอเลื่อนการไต่สวนคำร้องขอตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ อ้างว่าจำเลยที่ 2 ป่วย จึงเป็นคำร้องตามมาตรา 307 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี และมีคำสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน จึงเป็นที่สุด ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 307 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6201/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์และการดำเนินการทางกฎหมายหลังศาลอุทธรณ์จำหน่ายคดี การยื่นคำร้องแทนฎีกาไม่ชอบ
หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยยื่นอุทธรณ์ ในระหว่างส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์ จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ คดีเสร็จการพิจารณาจากศาลอุทธรณ์แล้ว จึงไม่มีคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ที่จะให้จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งได้ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีเสร็จสิ้นการพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แล้ว หากจำเลยประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปก็มีสิทธิยื่นฎีกาได้ตามกฎหมายและให้ยกคำร้องของจำเลยจึงชอบแล้ว
ป.วิ.พ. มาตรา 18 ให้อำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะตรวจคำคู่ความและมีคำสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความนั้นได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะมีคำสั่งคำร้องของจำเลยที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ โดยไม่จำต้องได้รับมอบหมายจากศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้แล้ว คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เมื่อจำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึงไม่อาจสั่งเองได้ ต้องส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องที่จำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์ต่อไป ซึ่งแตกต่างกับกรณีที่จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลอุทธรณ์หลังจากที่ศาลอุทธรณ์จำหน่ายคดีไปแล้ว ไม่เป็นกรณีที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องส่งคำร้องดังกล่าวให้ศาลอุทธรณ์สั่ง
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำหน่ายคดีของจำเลยออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ หากจำเลยไม่เห็นพ้องด้วย จำเลยมีสิทธิยื่นเป็นคำฟ้องฎีกาภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 แต่จำเลยหาได้ยื่นฎีกาไม่ กลับโต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลอุทธรณ์โดยการยื่นคำร้องแทน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5544/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และการยื่นคำร้อง
หลังจากเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 แล้ว ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด และพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ล้มละลาย ในการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ต่อไปได้ และเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ เมื่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 6 บัญญัติว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หมายความตลอดถึงบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ปฏิบัติการแทน ดังนั้น การขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หากจำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายก็ชอบที่จะยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องในคดีล้มละลาย ไม่ใช่ยื่นคำร้องในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4197/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องยื่นภายในกำหนด หากมีเหตุสุดวิสัยต้องแจ้งเหตุโดยละเอียดและระบุวันที่ทราบคำบังคับ
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 (เดิม) (ปัจจุบัน มาตรา 199 จัตวา, 207) คำขอให้พิจารณาใหม่ ให้ยื่นต่อศาลภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากาษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลย ถ้าคู่ความที่ขาดนัดไม่สามารถยื่นคำขอภายในระยะเวลาดังกล่าว โดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ คู่ความฝ่ายนั้นอาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง แต่ในกรณีที่ยื่นคำขอล่าช้าต้องกล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงเหตุแห่งการที่ล่าช้านั้นด้วย ข้อเท็จจริงปรากฏว่า เจ้าพนักงานศาลส่งคำบังคับแก่จำเลยที่ 1 ด้วยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2540 ซึ่งการส่งคำบังคับมีผลใช้ได้วันที่ 22 ธันวาคม 2540 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่วันที่ 1 มีนาคม 2544 จึงเป็นการล่วงพ้นกำหนดเวลา 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาแก่จำเลยที่ 1 แล้ว แม้จำเลยที่ 1 จะอ้างในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ว่าจำเลยที่ 1 ถูกคนร้ายยิงเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2520 จนร่างกายพิการต้องหลบหนีไปอาศัยอยู่ตามวัดแถบภาคอีสานเป็นเวลาหลายปี จำเลยที่ 1 เพิ่งทราบเรื่องที่ถูกฟ้องและทราบว่าศาลออกคำบังคับแล้ว อันเป็นการอ้างเหตุที่จำเลยที่ 1 ไม่อาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันส่งคำบังคับเพราะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้กล่าวมาในคำร้องว่าจำเลยที่ 1 ทราบคำบังคับตั้งแต่วันที่เท่าใด เพื่อให้ทราบว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อใด จึงไม่อาจเริ่มต้นนับกำหนด 15 วัน ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้นได้ ถือว่าจำเลยที่ 1 มิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงกรณีที่ยื่นคำขอล่าช้าและเหตุแห่งการที่ล่าช้านั้น คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบ
of 50