พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9325/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: การฟ้องขอเปิดทางเมื่อที่ดินถูกล้อมรอบ และการชดใช้ค่าทดแทนที่เหมาะสม
การฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็นโจทก์จะฟ้องได้ต่อเมื่อที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1349 แต่หากเป็นกรณีแบ่งแยกที่ดินแปลงเดียวกัน ทำให้ที่ดินที่แบ่งแยกนั้นแปลงใดไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะซึ่งหมายถึงทางสาธารณะที่มีอยู่ในขณะแบ่งแยกนั้นแล้ว ก็จะเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1350 เมื่อปรากฏว่า การแบ่งแยกที่ดินพิพาทกับที่ดินของโจทก์ออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 1275 กระทำกันในปี 2531 ก่อนมีถนนพุทธมณฑลสาย 1 ในปี 2541 กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1350 มาบังคับได้
ทางจากที่ดินของโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะทั้ง 3 ทาง เป็นเส้นทางที่ต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นและไม่ปรากฏว่าเป็นทางสาธารณะ อีกทั้งไม่ใช่ทางที่เป็นภารยทรัพย์ของที่ดินของโจทก์ ซึ่งเจ้าของอาจจะอนุญาตให้โจทก์ใช้ทางดังกล่าวหรือไม่ก็ได้ และแม้เจ้าของที่ดินนั้นจะยินยอมให้โจทก์ผ่านที่ดินของตนได้ก็ไม่ใช่สิทธิตามกฎหมาย ประกอบกับมีระยะทางจากที่ดินของโจทก์ไปสู่ทางสาธารณะไกลไม่สะดวก จึงฟังได้ว่า ที่ดินของโจทก์ถูกล้อมรอบด้วยที่ดินของผู้อื่นจนไม่อาจออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้ แต่การที่จะเปิดทางจำเป็นนั้น ต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็นของโจทก์โดยคำนึงถึงประโยชน์การใช้สอยที่ดินพิพาทให้เสียหายน้อยที่สุด
จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนเป็นเงิน 2,000,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ชำระเป็นเงิน 420,000 บาทแล้ว จำเลยฎีกาขอให้ชดใช้เป็นเงินจำนวนตามที่ขอในฟ้องและชำระค่าขึ้นศาลเต็มจำนวนดังกล่าวมา อันเป็นการชำระค่าขึ้นศาลเกินมา จึงให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ชำระเกินมาให้แก่จำเลย
??
??
??
??
1/1
ทางจากที่ดินของโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะทั้ง 3 ทาง เป็นเส้นทางที่ต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นและไม่ปรากฏว่าเป็นทางสาธารณะ อีกทั้งไม่ใช่ทางที่เป็นภารยทรัพย์ของที่ดินของโจทก์ ซึ่งเจ้าของอาจจะอนุญาตให้โจทก์ใช้ทางดังกล่าวหรือไม่ก็ได้ และแม้เจ้าของที่ดินนั้นจะยินยอมให้โจทก์ผ่านที่ดินของตนได้ก็ไม่ใช่สิทธิตามกฎหมาย ประกอบกับมีระยะทางจากที่ดินของโจทก์ไปสู่ทางสาธารณะไกลไม่สะดวก จึงฟังได้ว่า ที่ดินของโจทก์ถูกล้อมรอบด้วยที่ดินของผู้อื่นจนไม่อาจออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้ แต่การที่จะเปิดทางจำเป็นนั้น ต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็นของโจทก์โดยคำนึงถึงประโยชน์การใช้สอยที่ดินพิพาทให้เสียหายน้อยที่สุด
จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนเป็นเงิน 2,000,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ชำระเป็นเงิน 420,000 บาทแล้ว จำเลยฎีกาขอให้ชดใช้เป็นเงินจำนวนตามที่ขอในฟ้องและชำระค่าขึ้นศาลเต็มจำนวนดังกล่าวมา อันเป็นการชำระค่าขึ้นศาลเกินมา จึงให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ชำระเกินมาให้แก่จำเลย
??
??
??
??
1/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7109/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาเดิมต่อผู้รับโอนสิทธิ และการครอบครองที่ดินพิพาท
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 5770 เป็นของ ส. เมื่อปี 2534 ส. ฟ้องจำเลยที่ 1 อ้างว่าจำเลยที่ 1 บุกรุกที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทอยู่นอกเขตที่ดินของ ส. จึงฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ส. คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพัน ส. และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวก็ตาม แต่โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทมาจาก ส. โจทก์จึงไม่ใช่บุคคลภายนอกเพราะคำว่าบุคคลภายนอกที่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) นั้น ย่อมหมายถึงบุคคลทั่วไปนอกคดีที่จะยกขึ้นพิสูจน์ต่อสู้ได้ว่าตนมีสิทธิในที่ดินดีกว่าผู้ครอบครอง ดังนั้น คดีดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิจาก ส.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6784/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการครอบครองที่ดินพิพาท การแย่งการครอบครอง และอำนาจฟ้องเกินกำหนด
จำเลยที่ 2 ให้การและฟ้องแย้งว่าที่โจทก์อ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามหนังสือขายที่ดินท้ายฟ้องนั้นเป็นเท็จ ส. ไม่เคยสละการครอบครองที่ดินพิพาท ไม่เคยขออาศัยหรือเช่าจากโจทก์ เมื่อ ส. ถึงแก่ความตายในปี 2541 จำเลยที่ 2 ก็ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยสิทธิของจำเลยที่ 2 เอง ดังนี้ คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 มิได้ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ตั้งแต่แรก หากแต่ต่อสู้อ้างสิทธิของ ส. ผู้เป็นมารดาและสิทธิของตนเมื่อ ส. ถึงแก่ความตาย ฉะนั้น ที่จำเลยที่ 2 ให้การต่อมาว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์และโจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองเกิน 1 ปี จึงขัดแย้งกับข้อความตอนแรก เพราะการแย่งการครอบครองจะมีขึ้นได้แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทและโจทก์ฟ้องเอาคืนเกินกำหนดหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3706-3718/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้วินิจฉัยว่าการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสิบสามและบริวารที่เข้าไปบุกรุกที่ดินพิพาท ให้ออกจากที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสิบสามให้การว่า จำเลยแต่ละคนครอบครองโดยสุจริต สงบ และเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมานาน โจทก์ไม่เคยเกี่ยวข้องหรือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท เอกสารสิทธิของที่ดินพิพาทออกโดยไม่ชอบ คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยทั้งสิบสาม แม้จำเลยทั้งสิบสามจะให้การว่า จำเลยแต่ละคนและบริวารทั้งชาวบ้านในหมู่บ้านเดียวกันกับชาวบ้านในหมู่บ้านใกล้เคียงได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่หลายพันไร่มานานตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย ก็ไม่อาจแปลได้ว่า ที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นที่สาธารณะ การที่จำเลยทั้งสิบสามนำสืบว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะ จึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ทั้งไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบหรือมีกฎหมายบังคับให้ต้องแสดง ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยไม่ได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 ที่ศาลล่างทั้งสองนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะจึงเป็นการไม่ชอบ แม้คดีนี้จะขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาเฉพาะในส่วนฟ้องแย้ง และคดีตามฟ้องเดิมของโจทก์ทั้งสิบสามสำนวนจะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานนอกข้อต่อสู้ในคำให้การ และนอกประเด็นข้อพิพาทอันเป็นประเด็นสำคัญในฟ้องเดิม มีผลทำให้การวินิจฉัยคดีในส่วนฟ้องแย้งที่ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาคลาดเคลื่อนไปจากความจริง จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม และเมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยและเห็นควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องในส่วนฟ้องเดิมและฟ้องแย้งเสียทั้งหมด แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247 เพราะข้อเท็จจริงตามฟ้องเดิมและฟ้องแย้งเป็นเรื่องเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10544/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่สมบูรณ์ ผู้ซื้อไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่
ตามหนังสือสัญญาซื้อขายระบุว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อได้ชำระราคาที่ดินพิพาทให้แก่ พ. ซึ่งเป็นผู้ขายไป 2,000,000 บาท ครบถ้วนแล้ว และ พ. ให้โจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่วันทำสัญญา แต่จากคำเบิกความของโจทก์ได้ความว่าโจทก์ชำระราคาไปเพียง 1,000,000 บาท ส่วนที่เหลือชำระเมื่อโอนชื่อกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งโจทก์อธิบายว่าที่ดินพิพาทไม่มีเอกสารสิทธิแต่มีใบ ภ.บ.ท. 5 ที่ พ. และ จ. นำมาให้ดูว่าเป็นหลักฐานแสดงการครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์จึงตกลงซื้อ ที่โจทก์เบิกความถึงการโอนชื่อ จึงหมายถึงการเปลี่ยนชื่อผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ในเอกสารดังกล่าวมาเป็นชื่อของโจทก์ ดังที่ได้ความจาก พ. ว่า วันที่ไปโอนที่ดินพิพาทที่ซื้อจาก น. ได้มีการเปลี่ยนชื่อผู้เสียภาษีที่ดินในใบ ภ.บ.ท. 5 มาเป็นชื่อของ พ. ดังนี้ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ฝ่าย พ. ผู้จะขายไม่ติดใจเรียกร้องให้โจทก์ผู้จะซื้อชำระราคาส่วนที่เหลือจะถือว่าฝ่าย พ. สละการครอบครองในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทหากโจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทก็เป็นการครอบครองแทนฝ่าย พ. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9696/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท การออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบ และสิทธิของผู้อยู่อาศัยเดิม
การฟ้องคดีเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1374 โจทก์ผู้ครอบครองที่ดินพิพาทจะต้องถูกรบกวนโดยการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากฝ่ายจำเลย การที่ฝ่ายจำเลยเพียงแต่ไปขอออกโฉนดที่ดินพิพาทยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการรบกวนการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ที่โจทก์จะต้องฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินภายใน 1 ปี นับแต่วันออกโฉนดที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การพิพากษาตามเนื้อที่ดินที่รังวัดจริง แม้คำฟ้องประมาณการ
คำฟ้องของโจทก์ที่ระบุว่าโจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทเนื้อที่ประมาณ 45 ไร่เศษ ตามแผนที่ท้ายคำฟ้อง เป็นเพียงแต่การกะประมาณเนื้อที่ดินที่โจทก์ครอบครองตามสัดส่วนของตนเท่านั้น ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นมีการรังวัดทำแผนที่พิพาท ปรากฏว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ครอบครองมีเนื้อที่ 50 ไร่ 41 ตารางวา อยู่ภายในกรอบเส้นสีเขียวตามแผนที่พิพาท โดยโจทก์และจำเลยต่างมิได้คัดค้าน จึงต้องถือว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ฟ้องอยู่ภายในกรอบเส้นสีเขียวทั้งหมด การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเนื้อที่ 50 ไร่ 41 ตารางวา ไม่เป็นการพิพาทเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 796/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากการขายทอดตลาด & สิทธิรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง กรณีจำเลยปลูกสร้างก่อนการขายทอดตลาด
ขณะจำเลยปลูกสร้างบ้านลงบนที่ดินพิพาทและบนที่ดินของจำเลยอีกแปลงหนึ่งที่อยู่ติดกันนั้น จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินทั้งสองแปลง จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะปลูกสร้างได้ในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ กรณีจึงมิใช่การปลูกโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1312 ครั้นต่อมาเมื่อที่ดินพิพาทถูกบังคับคดีนำออกขายทอดตลาดโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาดแม้โจทก์จะรู้หรือไม่รู้ว่ามีบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างอยู่ในที่ดินพิพาท แต่ที่ดินพิพาทก็เป็นของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา จึงถือว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต สิทธิของโจกท์ที่ได้ที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดย่อมไม่เสียไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 โจทก์จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และหลังจากโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดแล้วไม่ปรากฏว่า โจทก์ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทได้ก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินเป็นคุณแก่จำเลย โดยยอมให้จำเลยเป็นเจ้าของบ้านและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินของโจทก์ต่อไป และโจทก์ในฐานะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมมีแดนแห่งกรรมสิทธิ์ที่ดินและมีสิทธิใช้สอย จำหน่าย ได้ดอกผลกับมีสิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1335 และมาตรา 1336 เมื่อโจทก์ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินไม่ประสงค์จะให้จำเลยปลูกบ้านและสิ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินโจทก์อีกต่อไป และบอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนออกจากที่ดินพิพาทแล้วจำเลยเพิกเฉย จึงเป็นการละเมิดทำให้โจทก์ไม่อาจใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้ โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีอำนาจขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านและสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์ได้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตอย่างใด และกรณีมิใช่ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีอันจะต้องอาศัยเพียงบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาวินิจฉัยคดีตามมาตรา 4 แห่ง ป.พ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5658/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทที่เป็นกรรมสิทธิ์รวม และประเด็นการใช้สิทธิฟ้องคดีโดยสุจริต
แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ยกปัญหาว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยสุจริตหรือไม่ขึ้นอ้างในศาลล่างทั้งสอง แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์กับจำเลยที่ 2 คนละครึ่ง การที่จำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่โจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ครึ่งหนึ่งได้
ที่จำเลยทั้งสองอ้างข้อเท็จจริงตามหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัท ล. มาท้ายฎีกานั้น จำเลยทั้งสองเพิ่งกล่าวอ้างขึ้นในชั้นฎีกา เป็นการนำพยานเอกสารเข้าสู่สำนวนความโดยไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 และโจทก์ไม่มีโอกาสซักค้านเกี่ยวกับเอกสารนี้ ข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังไม่ได้
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์กับจำเลยที่ 2 คนละครึ่ง การที่จำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่โจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ครึ่งหนึ่งได้
ที่จำเลยทั้งสองอ้างข้อเท็จจริงตามหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัท ล. มาท้ายฎีกานั้น จำเลยทั้งสองเพิ่งกล่าวอ้างขึ้นในชั้นฎีกา เป็นการนำพยานเอกสารเข้าสู่สำนวนความโดยไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 และโจทก์ไม่มีโอกาสซักค้านเกี่ยวกับเอกสารนี้ ข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3179-3181/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้สร้างวัด การครอบครองแทนเจ้าของ และการเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ทั้งสองยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสามเพื่อใช้สร้างวัด จำเลยทั้งสามมิได้ได้ที่ดินพิพาทมาโดยการซื้อขาย จำเลยทั้งสามครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสองเพื่อรอการส่งมอบให้แก่วัด เมื่อวัดนั้นได้จัดตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วกรณียังถือไม่ได้ว่าการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งสามเป็นการแย่งการครอบครองของโจทก์ทั้งสอง เพราะไม่ได้ความว่าจำเลยทั้งสามได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ทั้งสองแต่ประการใด ดังนั้น แม้จำเลยทั้งสามจะครอบครองที่ดินพิพาทนานเท่าใด จำเลยทั้งสามก็ไม่ได้สิทธิครอบครองหรือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท การฟ้องคดีของโจทก์ทั้งสองจึงมิใช่กรณีการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เมื่อจนถึงปัจจุบันวัด ม. หรือสำนักสงฆ์ ม. มิได้เป็นวัดตามกฎหมาย กรณีจึงยังไม่มีวัดซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จะถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามเจตนารมณ์ของโจทก์ทั้งสอง เมื่อโจทก์ทั้งสองทวงถามที่ดินพิพาทคืน จำเลยทั้งสามจึงต้องคืนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสอง