คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเด็นข้อพิพาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 517 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 488/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทจำกัดตามที่คู่ความตกลงในชั้นพิจารณา ศาลต้องวินิจฉัยตามประเด็นที่จำกัดนั้น
เมื่อคู่ความตกลงประเด็นกับในรายงานพิจารณาแล้ว ศาลจะไปถือตามประเด็นในฟ้องแลคำให้การไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 608/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานนอกประเด็น และการตีความการสลักหลังเอกสารรับฝากเงิน
ในคดีที่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยได้ชำระเงินให้โจทก์แล้วหรือยัง ถ้าโจทก์นำสืบถึงพฤตติการณ์ประกอบข้ออ้างของตนและจำเลยมีโอกาศสืบหักล้างได้แล้วไม่เรียกว่าเป็นการนอกประเด็น การสลักหลังเอกสารลงจำนวนเงินไว้นั้นมิได้มีกฎหมายบทใดบัญญัติว่าให้ถือเป็นเงินสดเสมอไปย่อมเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบได้ คดีแพ่งทุนทรัพย์ไม่เกิน 2000 บาทถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ฎีกาได้ฉะเพาะข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2477

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยประเด็นนอกเหนือจากที่คู่ความต่อสู้คดี และการพิพากษาเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
ประเด็นซึ่งคู่ความิได้โต้เถียงกันมาแต่ต้นนั้น+หลักวิธีพิจารณาความส่งศาลสูงไม่มีอำนาจ+ยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 701/2474

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทใหม่ในชั้นฎีกา และการยกเว้นประเด็นที่ไม่สำคัญ
ปัญหาที่ไม่ได้เถียงกันมาในชั้นศาลล่างจะมาเถียงชั้นฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของที่ดินมีอำนาจฟ้องขับไล่แม้รู้เห็นการปลูกสร้างบนที่ดินของตนได้ ศาลต้องวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่คู่ความยกขึ้น
เจ้าของที่ดินรู้เห็นในการที่ผู้อื่นปลูกตึกลงในที่ดินนั้นยังคงมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้ลักษณะพะยานคำให้การนอกประเด็นศาลไม่รับฟัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีเดิมและคดีใหม่มีประเด็นข้อพิพาทและคู่ความเดียวกัน แม้มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
คดีก่อนโจทก์ที่ 1 ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แต่ละคนให้ออกจากที่ดินพิพาท คดีทั้งสามอยู่ระหว่างการพิจารณา โจทก์ทั้งสองได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่เป็นคดีนี้ แม้โจทก์ที่ 2 ไม่ได้เป็นโจทก์ฟ้องในทั้งสามคดีดังกล่าว แต่โจทก์ทั้งสองมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทร่วมกัน การที่โจทก์ที่ 1 ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นการที่เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ ใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมด้วย จึงถือว่าโจทก์ที่ 2 เป็นโจทก์ในคดีก่อน ส่วนจำเลยที่ 4 ได้เข้าเป็นจำเลยร่วมในทั้งสามคดีตามที่จำเลยแต่ละคดีขอให้ศาลมีหมายเรียก ซึ่งมีผลให้จำเลยที่ 4 ในฐานะจำเลยร่วมอาจถูกบังคับตามคำฟ้องได้ มีผลเท่ากับว่าจำเลยที่ 4 ถูกฟ้องเป็นจำเลยทั้งสามคดีด้วย จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 4 ได้เข้าเป็นคู่ความในทั้งสามคดีดังกล่าวแล้วเช่นกัน ดังนั้น คู่ความในคดีนี้กับคู่ความในคดีทั้งสามจึงเป็นคู่ความเดียวกัน เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน และจำเลยทั้งสี่ให้การต่อสู้ทำนองเดียวกันกับคดีทั้งสามว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เช่าจากจำเลยที่ 4 ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้กับคดีทั้งสามจึงมีอย่างเดียวกันว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองหรือเป็นของจำเลยที่ 4 โจทก์คดีก่อนอาจเรียกค่าเสียหายอย่างที่เรียกคดีนี้ได้จากคดีก่อนอยู่แล้ว การที่โจทก์ทั้งสองนำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีนี้ในระหว่างที่คดีทั้งสามยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล อันเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันอีก ฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีทั้งสาม ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6092/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ประเด็นข้อพิพาทเคยถูกวินิจฉัยในคดีก่อนแล้ว แม้มีการเปลี่ยนคำฟ้องก็ถือเป็นการรื้อร้องคดีเดิม
คำฟ้องในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 277/2551 ของศาลชั้นต้น จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยว่า โจทก์ผิดสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดินซึ่งเป็นสัญญาฉบับเดียวกับที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องจำเลยคดีนี้ โดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์ชำระราคาค่างวดตามสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดิน 3 งวด แต่ละงวดชำระไม่ครบตามสัญญาและค้างชำระ 2,250,000 บาท โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาและให้โจทก์กับบริวารออกไปจากที่ดินแล้ว โจทก์ให้การต่อสู้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา คดีดังกล่าวจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระค่างวดให้ถูกต้องตามสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดินหรือไม่ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยเพิกเฉยไม่ส่งมอบที่ดินที่เหลืออีก 20 ไร่ ตามสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดินแก่โจทก์ โจทก์มีสิทธิยึดหน่วงไม่ชำระค่างวดที่เหลือ 780,000 บาท แก่จำเลย จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาดังนี้ สิทธิเรียกร้องตามข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์คดีนี้ จึงมิใช่หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ หากแต่เป็นเรื่องที่ต่างอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาทั้งในคดีดังกล่าวนอกจากโจทก์จะให้การว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้ว โจทก์ยังให้การเรื่องที่ดินที่เหลือตามสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดินอีก 20 ไร่ ว่าโจทก์ถูกรอนสิทธิและจำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวน 832,000 บาท แก่โจทก์ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถหยิบยกขึ้นต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้องของจำเลยได้ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 277/2551 เมื่อคดีแพ่งดังกล่าวโจทก์กับจำเลยประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีและศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว โดยโจทก์และจำเลยไม่ติดใจเรียกร้องใด ๆ ต่อกันอีกอันมีผลให้คดีดังกล่าวได้มีคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีโดยคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคดีถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาตามยอมจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความเดียวกันในคดีนี้ การที่โจทก์นำข้ออ้างที่สามารถหยิบยกเป็นข้อต่อสู้แก้คำฟ้องของจำเลยได้ในคดีหมายเลขแดงที่ 277/2551 มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก จึงถือว่าคู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4768/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและผลผูกพันตามคำพิพากษาในคดีเกี่ยวพันกัน
คดีนี้และคดีก่อนมีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญา เมื่อคดีก่อนศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นนี้แล้ว คำฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 แต่คดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด หากในชั้นที่สุดศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยคดีนี้เป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญา ผลของคำพิพากษาในคดีก่อนย่อมผูกพันทั้งโจทก์และจำเลยในคดีนี้ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ทำให้คดีนี้ยังมีประเด็นต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยต้องชำระค่าก่อสร้างงวดที่ 7 ถึง 9 แก่โจทก์หรือไม่เพียงใด จึงควรรอฟังผลคดีดังกล่าวให้ถึงที่สุดเสียก่อนแล้วพิพากษาคดีนี้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3594/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การต้องชัดเจนและเฉพาะเจาะจง หากศาลวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท อุทธรณ์ในประเด็นนั้นย่อมต้องห้าม
คำให้การจำเลยต้องแสดงโดยชัดแจ้งว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น การที่จำเลยให้การแต่เพียงว่า การบอกกล่าวทวงถามและบอกเลิกสัญญาของโจทก์เป็นการบอกกล่าวที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องจำเลย โดยไม่มีรายละเอียดข้อเท็จจริงว่าการบอกกล่าวทวงถามและบอกเลิกสัญญาของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุใด ทั้งที่การบอกกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นให้มีการนำสืบและวินิจฉัยในประเด็นเรื่องนี้เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทและการที่จำเลยอุทธรณ์ในประเด็นเรื่องนี้เป็นการอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยในประเด็นเรื่องดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3588-3589/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบประเด็นค่าเสียหายที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น ถือเป็นการนำสืบนอกประเด็นและต้องห้ามอุทธรณ์
ปัญหาว่า โจทก์ทั้งสองไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนค่ารักษาพยาบาล ค่าทนทุกข์ทรมานและค่าเสียหายอื่นหรือไม่ มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ได้ให้การไว้ จึงไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ข้อนำสืบของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่ว่าโจทก์แถลงข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ตามสำเนารายงานกระบวนพิจารณา จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
of 52