พบผลลัพธ์ทั้งหมด 687 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลาอย่างน้อย 3 ปี ไม่ถือเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
ข้อตกลงตามหนังสือสัญญาจ้างมีว่า "กำหนดสัญญาว่าจ้างอย่างน้อยเป็นเวลา 3 ปี" นั้น สัญญาจ้างหาสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนด 3 ปีไม่ แต่ยังมีผลต่อไปจนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญา สัญญาจ้างดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนอันจะเป็นเหตุให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น
เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกคำขอของโจทก์ในเรื่องสินจ้างแทนการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า โจทก์มิได้อุทธรณ์ เพียงแต่ขอมาในคำแก้อุทธรณ์ว่าขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าเป็นเงิน 30,000 บาทแก่โจทก์ ศาลฎีกาจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างดังกล่าวหาได้ไม่ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์
เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกคำขอของโจทก์ในเรื่องสินจ้างแทนการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า โจทก์มิได้อุทธรณ์ เพียงแต่ขอมาในคำแก้อุทธรณ์ว่าขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าเป็นเงิน 30,000 บาทแก่โจทก์ ศาลฎีกาจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างดังกล่าวหาได้ไม่ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างระบุระยะเวลาขั้นต่ำ 3 ปี มิใช่สัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
ข้อตกลงตามหนังสือสัญญาจ้างมีว่า 'กำหนดสัญญาว่าจ้างอย่างน้อยเป็นเวลา 3 ปี' นั้น สัญญาจ้างหาสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนด 3 ปีไม่ แต่ยังมีผลต่อไปจนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญา สัญญาจ้างดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนอันจะเป็นเหตุให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น
เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกคำขอของโจทก์ในเรื่องสินจ้างแทนการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า โจทก์มิได้อุทธรณ์เพียงแต่ขอมาในคำแก้อุทธรณ์ว่าขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าเป็นเงิน 30,000 บาทแก่โจทก์ ศาลฎีกาจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างดังกล่าวหาได้ไม่ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์
เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกคำขอของโจทก์ในเรื่องสินจ้างแทนการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า โจทก์มิได้อุทธรณ์เพียงแต่ขอมาในคำแก้อุทธรณ์ว่าขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าเป็นเงิน 30,000 บาทแก่โจทก์ ศาลฎีกาจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างดังกล่าวหาได้ไม่ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้โรงงานไม่เสียหายจากน้ำท่วม แต่การปิดโรงงานมิอาจปฏิเสธการจ่ายค่าจ้างได้ ตราบใดที่ลูกจ้างพร้อมทำงาน
การที่น้ำท่วมบริเวณโรงงานแต่มิได้ท่วมตัวโรงงาน จนนายจ้างต้องปิดโรงงาน ประกอบกับลูกจ้างพร้อมที่จะทำงานให้แก่นายจ้างนั้น พฤติการณ์ดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นเหตุขัดขวางในการที่นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้าง และกรณีไม่ถือว่าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ นายจ้างยังไม่หลุดพ้นจากการชำระค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา และผลของการต่อสัญญา ไม่ทำให้เกิดสิทธิค่าชดเชย
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยครั้งแรกได้กำหนดระยะเวลาไว้โดยมีข้อสัญญาว่า "เมื่อครบกำหนดแล้วสัญญานี้จะมีผลใช้บังคับต่อไปโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย และต้องทำสัญญากันใหม่อีกชั้นหนึ่ง" ครบกำหนดตามสัญญาฉบับแรกแล้วได้มีการทำสัญญากันใหม่อีกโดยกำหนดเวลาไว้เช่นกัน และข้อกำหนดในสัญญาเช่นเดิม ดังนี้ ข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวมิใช่เงื่อนไขที่ทำให้ระยะเวลาที่กำหนดไว้เปลี่ยนแปลงไป แต่มีความหมายเพียงว่าถ้าโจทก์จำเลยประสงค์จะว่าจ้างกันต่อไปก็ต้องตกลงกันใหม่เป็นคราวๆถ้าไม่มีการตกลงทำสัญญากันใหม่ หรือไม่มีพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยยอมให้โจทก์ทำงานต่อไป สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยก็เป็นอันสิ้นสุดลง สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 46 วรรคท้าย ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา การต่อสัญญา และข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชย
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยครั้งแรกได้กำหนดระยะเวลาไว้โดยมีข้อสัญญาว่า 'เมื่อครบกำหนดแล้วสัญญานี้จะมีผลใช้บังคับต่อไปโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย และต้องทำสัญญากันใหม่อีกชั้นหนึ่ง' ครบกำหนดตามสัญญาฉบับแรกแล้วได้มีการทำสัญญากันใหม่อีกโดยกำหนดเวลาไว้เช่นกัน และข้อกำหนดในสัญญาเช่นเดิม ดังนี้ ข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวมิใช่เงื่อนไขที่ทำให้ระยะเวลาที่กำหนดไว้เปลี่ยนแปลงไป แต่มีความหมายเพียงว่าถ้าโจทก์จำเลยประสงค์จะว่าจ้างกันต่อไปก็ต้องตกลงกันใหม่เป็นคราวๆถ้าไม่มีการตกลงทำสัญญากันใหม่ หรือไม่มีพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยยอมให้โจทก์ทำงานต่อไป สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยก็เป็นอันสิ้นสุดลง สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 46 วรรคท้าย ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ "อัตราเดิม" ในสัญญาจ้าง: หลักเกณฑ์ปรับค่าจ้างตามอัตราขั้นต่ำ
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยในการปรับค่าจ้างเป็นรายเดือนแก่ลูกจ้างรายวันมีว่า "ลูกจ้างรายวันที่ได้รับค่าจ้างตั้งแต่วันละ 47 บาทขึ้นไปทั้งนี้หากต่อไปมีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่เป็นวันละเกิน 35 บาทแล้ว การพิจารณาปรับค่าจ้างเป็นรายเดือนแก่ลูกจ้างรายวันจะถือเอาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสุดที่บริษัทปรับให้แก่ลูกจ้างเนื่องจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่รวมกับอัตราเดิมเป็นเกณฑ์การพิจารณา" คำว่าอัตราเดิมตามข้อตกลงดังกล่าวหมายถึงอัตราค่าจ้างวันละ47 บาท ที่กำหนดไว้ในตอนต้นนั้นเองไม่ใช่อัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างหรือโจทก์แต่ละคนได้รับขณะทำข้อตกลงเพราะค่าจ้างที่โจทก์แต่ละคนได้รับไม่ได้ถูกนำมาระบุไว้ในบันทึกข้อตกลงอันจะถือให้เห็นว่าเป็นอัตราเดิมเมื่อมีการปรับค่าจ้างใหม่จึงต้องนำค่าจ้างขั้นต่ำที่สุดที่ปรับให้มารวมกับอัตราค่าจ้าง 47 บาทและกลายเป็นอัตราเดิมตามข้อตกลงนี้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4052/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงานมีกำหนดเวลาแน่นอน การต่ออายุหรือเลิกสัญญาไม่กระทบระยะเวลาเดิม และไม่ทำให้เกิดสิทธิค่าชดเชย
สัญญาจ้างแรงงานมีกำหนดเวลาจ้างที่แน่นอน และมีข้อความกำหนดวิธีการที่จะต่อสัญญาหรือเลิกสัญญาไว้ว่า ผู้ว่าจ้างจะได้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้รับจ้างทราบ เมื่อนายจ้างต่ออายุสัญญาออกไป จึงเป็นการกำหนดระยะเวลาในการจ้างขึ้นใหม่ ไม่ใช่เป็นการขยายระยะเวลาในสัญญาเดิม จึงไม่กระทบกระเทือนต่อกำหนดเวลาในสัญญาเดิมที่ระบุจำนวนปีแน่นอนอยู่แล้ว ส่วนการเลิกสัญญา ซึ่งอาจมีขึ้นก็เป็นเรื่องที่จะตกลงกันใหม่ยกเลิกกำหนดเวลาในสัญญาเดิมเสีย หาใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาในสัญญาจ้างฉบับเดิมไม่ สำหรับข้อความตามสัญญาที่ว่าถ้าไม่มีการแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้รับจ้างทราบ ให้ถือว่าการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างตามสัญญานั้นมีไว้เพื่อเป็นการลดหน้าที่ของผู้ว่าจ้างในกรณีไม่ต่ออายุสัญญาเท่านั้น ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงความแน่นอนของระยะเวลาตามสัญญาจ้างที่มีอยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3997/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างงานไม่มีกำหนดระยะเวลา สิทธิการรับค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง
เอกสารของจำเลยที่ตอบรับโจทก์เข้าทำงานไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยตกลงจ้างกันเป็นกำหนดระยะเวลาเท่าใด ข้อความเกี่ยวกับเงินโบนัสก็เป็นเพียงเงื่อนไขว่ากรณีที่โจทก์ปฏิบัติงานจนถึงสิ้นเดือนธันวาคมก็จะได้รับเงินโบนัสเท่ากับเงินเดือน 2 เดือนเท่านั้น ข้อความดังกล่าวมิได้แสดงว่าจำเลยตกลงจ้างโจทก์จนถึงเดือนธันวาคม ทั้งข้อตกลงที่ว่าในวันสุดท้ายของการสิ้นสุดตามสัญญาจะจ่ายเงินชดเชยให้ตามกฎหมายแรงงาน ก็เป็นเพียงข้อตกลงที่จำเลยทั้งสองยอมจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เมื่อสิ้นสุดตามสัญญาซึ่งเกิดขึ้นได้ในกรณีบอกกล่าวเลิกสัญญาตามที่ตกลงกันไว้เท่านั้น ข้อความในเอกสารดังกล่าวจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจ้างโจทก์ไว้โดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้างแน่นอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดหยุดงานของลูกจ้างทำให้ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในช่วงเวลาที่นัดหยุดงานและนายจ้างปิดงานตอบโต้
การนัดหยุดงานเป็นมาตรการที่ลูกจ้างกระทำเพื่อบีบบังคับให้นายจ้างต้องยอมตามข้อเรียกร้องของฝ่ายลูกจ้าง ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กิจการของนายจ้าง นายจ้างไม่ได้รับประโยชน์จากแรงงานของลูกจ้าง การจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยลูกจ้างมีหน้าที่ต้องทำงานให้แก่นายจ้างและนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง การที่ลูกจ้างนัดหยุดงานย่อมจะต้องเล็งเห็นความเสียหายอันจะเกิดแก่นายจ้าง และลูกจ้างก็ต้องยอมรับผลแห่งการที่ไม่ได้ทำงานแก่นายจ้างด้วย ดังนั้น เมื่อทั้งลูกจ้างซึ่งนัดหยุดงานและนายจ้างก็ปิดงานเป็นการโต้ตอบกันโดยสมัครใจและถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานแล้วจึงเรียกร้องสิทธิอันจะพึงเกิดจากการจ้างแรงงานหาได้ไม่ ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างนัดหยุดงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3726/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา vs. หลีกเลี่ยงค่าชดเชย: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นสัญญาจ้าง 4 ฉบับ
เมื่อตามคำฟ้องและคำให้การคงมีประเด็นโต้เถียงกันเพียงว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนหรือไม่ และโจทก์จำเลยรับข้อเท็จจริงกันว่าจำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์รวม 4 ฉบับ สัญญาแต่ละฉบับระบุวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดสัญญาจ้างไว้ จึงถือได้ว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเป็นการจ้างที่กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแล้วดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยโดยฟังว่าสัญญาจ้างทั้ง 4 ฉบับ ทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์จึงเป็นการพิพากษานอกฟ้อง