พบผลลัพธ์ทั้งหมด 479 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9028/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด กรณีไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและกระทำผิดซ้ำ
ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19, 22 วรรคสาม, 24, 25 และ 33 วรรคสอง ได้กำหนดคุณสมบัติของบุคคลผู้มีสิทธิได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด การตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดรวมทั้งการส่งตัวกลับไปดำเนินคดี หากบุคคลนั้นขาดคุณสมบัติ หรือแม้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจนครบกำหนดแล้ว แต่ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดยังไม่เป็นที่พอใจ โดยให้อำนาจคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ หรือให้ศาลเป็นผู้พิจารณามีคำสั่งแล้วแต่ข้อเท็จจริงจะปรากฏในขั้นตอนใด เมื่อปรากฏแก่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ว่า จำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดกำหนดและยังถูกจับดำเนินคดีในข้อหามียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุก ถือว่าจำเลยผิดเงื่อนไขของคณะอนุกรรมการฟื้นฟู และขาดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และย่อมส่งผลกระทบต่อการเข้ารับการฟื้นฟูตามแผนการฟื้นฟูที่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้กำหนดไว้ ทำให้ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่เป็นที่น่าพอใจ ตามคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีหนังสือแจ้งโจทก์ให้ดำเนินคดีจำเลย จึงเป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6522/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของพินัยกรรม: การตรวจสอบความสามารถของผู้ทำพินัยกรรม, เงื่อนไขการบังคับใช้, และการโต้แย้งข้อกำหนด
โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า ข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ 1.7 ไม่ใช่ข้อกำหนดการเผื่อตายเกี่ยวกับทรัพย์สินของ ร. เพราะด้วยเหตุว่าพินัยกรรมเขียนไว้ให้มีผลเมื่อโจทก์ที่ 1 ถึงแก่ความตายอันเป็นการกำหนด การเผื่อตายของโจทก์ที่ 1 และข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ 1.7.2 และ 1.7.3 ไม่ระบุถึงตัวบุคคลผู้รับพินัยกรรมที่ชัดเจน ข้อกำหนดพินัยกรรมส่วนนี้จึงใช้บังคับไม่ได้ เห็นว่า ฎีกาของโจทก์ทั้งสองไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า พินัยกรรมฉบับพิพาทข้อ 1.6 ที่ระบุว่าให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกโดยได้ให้ค่าตอบแทนตามสมควร ไม่ได้กำหนดจำนวนเงินที่ชัดเจนว่าเท่าใด จึงไม่มีผลบังคับนั้น เห็นว่า โจทก์ทั้งสองไม่ได้กล่าวไว้ในคำฟ้องจึงเป็นข้อที่ไม่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5229/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระหนี้ค่าส่วนกลางตกแก่ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามประกาศเงื่อนไข
เมื่อปรากฏว่าตามประกาศขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดให้ผู้ซื้อทรัพย์ต้องเป็นผู้ชำระหนี้สินค้างชำระต่อนิติบุคคลอาคารชุด การที่ธนาคาร อ. เข้าร่วมประมูลซื้อทรัพย์เท่ากับธนาคาร อ. ตกลงยอมรับข้อกำหนดเงื่อนไขในประกาศขายทอดตลาดดังกล่าว เมื่อจำเลยมีหนี้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางค้างชำระแก่โจทก์ ธนาคาร อ. ผู้ประมูลซื้อห้องชุดดังกล่าวย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของร่วมเดิม ธนาคาร อ. จึงมีหน้าที่ที่จะต้องรับภาระหนี้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเกี่ยวกับหนี้ค่าส่วนกลางที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาจากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4032/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โบนัสเป็นสิทธิที่เกิดจากข้อตกลง นายจ้างมีสิทธิกำหนดเงื่อนไขการจ่ายได้ หากหลักเกณฑ์ชัดเจนและไม่เอาเปรียบ
เงินโบนัสไม่มีกฎหมายบังคับว่านายจ้างต้องจ่ายเสมอไป หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายเงินโบนัสหรือสิทธิที่ลูกจ้างจะได้รับเงินโบนัส จึงต้องเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างนั้น จำเลยมีประกาศ เรื่อง เงินโบนัสประจำปี 2557 กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายเงินโบนัสว่า "1.2 กำหนดเวลาการจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2557 ในวันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558..." และ "1.4 พนักงานจะต้องมีสถานภาพจนถึงวันที่จ่ายโบนัสประจำปี" โจทก์รับทราบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังกล่าวตลอดมา การที่จำเลยกำหนดให้มีการจ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้างก็เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่ลูกจ้าง ตอบแทนการทำงานที่ผ่านมา และจูงใจให้ลูกจ้างทำงานให้จำเลยต่อไป หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2557 จึงเป็นไปตามหลักการบริหารองค์กรโดยทั่วไป ไม่เป็นการเอาเปรียบหรือเลือกปฏิบัติต่อโจทก์ ทั้งมีข้อกำหนดถึงคุณสมบัติของลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสไว้ชัดแจ้งแล้ว จึงใช้บังคับได้และผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4025-4026/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างลูกจ้างต้องจ่ายตามสัญญาจ้าง แม้มีเงื่อนไขตามผลงาน เงื่อนไขที่เป็นการลดทอนสิทธิลูกจ้างย่อมเป็นโมฆะ
การที่โจทก์ทั้งสองเป็นลูกจ้างของจำเลย โดยได้รับค่าจ้างเป็นเงินเดือน เดือนละ 10,000 บาท เป็นค่าจ้างตอบแทนในการทำงานเป็นรายเดือนทุกเดือน ดังนั้นนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยจึงต้องเป็นไปตามสัญญาจ้างแห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 โดยจำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างตลอดเวลาที่โจทก์ทั้งสองทำงานให้แก่จำเลย และแม้โจทก์ทั้งสองจะทราบเงื่อนไขที่จำเลยกำหนดให้โจทก์ทั้งสองจะได้รับค่าจ้าง 10,000 บาท ต่อเมื่อปล่อยสินเชื่อจำนวนรถยนต์ได้ 20 คัน หรือวงเงิน 1,500,000 บาท ในเดือนนั้นก็ตาม แต่เมื่อเงื่อนไขดังกล่าวมีผลให้โจทก์ทั้งสองที่ทำงานให้แก่จำเลยเพียงแต่การทำงานในเดือนนั้นอาจไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่จำเลยกำหนดไว้กลับทำให้โจทก์ทั้งสองไม่ได้รับค่าจ้างตอบแทนการทำงานที่ตนได้ลงแรงไปแล้ว อันเป็นการขัดแย้งกับหน้าที่ที่จำเลยจะต้องปฏิบัติและขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสอง จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างค้างให้แก่โจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบกิจการ ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ หากเข้าเงื่อนไขตามกฎหมาย
ป.รัษฎากร มาตรา 91/13 (2) บัญญัติว่า ผู้ประกอบกิจการที่ประกอบกิจการเป็นการชั่วคราว ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีเฉพาะ และวรรคสอง บัญญัติว่า ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่จะพิจารณาว่าการประกอบกิจการในลักษณะใดเป็นการประกอบกิจการชั่วคราว ซึ่งตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ เรื่อง การกำหนดกิจการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ข้อ 1 (1) กำหนดให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ประกอบกิจการตามมาตรา 4 (5) แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541 โดยการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมิใช่การขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 4 (1) (2) (3) และ (4) แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541 เป็นการประกอบกิจการชั่วคราว
เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2551 โจทก์ซื้อที่ดินรวม 4 โฉนด พร้อมสิ่งปลูกสร้างอาคารร้างที่ยังสร้างไม่เสร็จเพื่อจะนำมาก่อสร้างให้เสร็จเพื่อใช้เป็นอาคารที่ทำการ และที่เก็บสินค้าของโจทก์ ต่อมาวันที่ 9 มีนาคม 2553 โจทก์ขายที่ดินพร้อมอาคารในสภาพเดิม ราคาเดิมและเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว เมื่อการขายอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการตามมาตรา 4 (5) แห่ง พ.ร.ฎ.ฯ (ฉบับที่ 342) โดยการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมิใช่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 4 (1) (2) (3) และ (4) อันเป็นการประกอบกิจการชั่วคราว ตามมาตรา 91/13 โจทก์จึงไม่ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2551 โจทก์ซื้อที่ดินรวม 4 โฉนด พร้อมสิ่งปลูกสร้างอาคารร้างที่ยังสร้างไม่เสร็จเพื่อจะนำมาก่อสร้างให้เสร็จเพื่อใช้เป็นอาคารที่ทำการ และที่เก็บสินค้าของโจทก์ ต่อมาวันที่ 9 มีนาคม 2553 โจทก์ขายที่ดินพร้อมอาคารในสภาพเดิม ราคาเดิมและเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว เมื่อการขายอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการตามมาตรา 4 (5) แห่ง พ.ร.ฎ.ฯ (ฉบับที่ 342) โดยการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมิใช่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 4 (1) (2) (3) และ (4) อันเป็นการประกอบกิจการชั่วคราว ตามมาตรา 91/13 โจทก์จึงไม่ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีหมิ่นประมาท: เงื่อนไขการเปลี่ยนตัวผู้ค้ำประกันและการระงับสิทธิในการฟ้อง
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 บัญญัติว่า "สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดังต่อไปนี้...(2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย...." และตาม ป.อ. มาตรา 333 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติอยู่ในหมวดความผิดฐานหมิ่นประมาทว่า "ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้..." ดังนั้น ความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 326 ซึ่งบัญญัติอยู่ในหมวดความผิดฐานหมิ่นประมาท ที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จึงเป็นความผิดต่อส่วนตัวซึ่งยอมความกันได้ เมื่อปรากฏว่า ข้อเท็จจริงตามบันทึกการไกล่เกลี่ยยอมความ ข้อ 1 กำหนดว่า โจทก์ต้องการให้จำเลยถอนค้ำประกัน 1,500,000 บาท โดยให้เปลี่ยนบุคคลอื่นค้ำประกันแทนภายในเดือนเมษายน 2560 และข้อ 4 กำหนดว่า หากจำเลยไม่หาคนเปลี่ยนค้ำประกันได้ภายในเดือนเมษายน 2560 โจทก์จะนำคดีหมิ่นประมาทนี้มาดำเนินคดีกับจำเลยภายในอายุความ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่ได้มีเจตนาจะสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในทันที แต่กลับมีเงื่อนไขกำหนดให้จำเลยเปลี่ยนตัวผู้ค้ำประกันเงินกู้จากโจทก์เป็นบุคคลอื่นเป็นผู้ค้ำประกันแทนให้แล้วเสร็จโดยมีกำหนดเวลาให้จำเลยดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในเดือนเมษายน 2560 หากจำเลยไม่ดำเนินการโจทก์จะดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาทแก่จำเลยภายในอายุความ เมื่อปรากฎว่าจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้จำเลยยังมิได้เปลี่ยนตัวผู้ค้ำประกันเงินกู้จากโจทก์เป็น ร. หรือบุคคลอื่นแทนโจทก์ การที่จำเลยดำเนินการขออนุมัติเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในตัวผู้ค้ำประกันเงินกู้ของจำเลยต่อธนาคาร ก. จากโจทก์เป็น ร. ก็เป็นขั้นตอนส่วนหนึ่งที่จำเลยมีหน้าที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามบันทึกการไกล่เกลี่ยยอมความ แต่เมื่อจำเลยยังไม่ได้ดำเนินการเปลี่ยนตัวผู้ค้ำประกันเงินกู้เป็นบุคคลอื่นแทนโจทก์เช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้ในระหว่างโจทก์ดังกล่าว กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความตามกฎหมาย อันจะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4127/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีเงื่อนไขการชำระหนี้ที่ไม่ชัดเจน ศาลอนุญาตบังคับคดีได้
คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 2 ระบุว่า โจทก์ยอมชำระเงินให้จำเลย 2,000,000 บาท โดยได้ชำระให้จำเลยไปก่อนแล้ว 300,000 บาท และจะโอนให้จำเลยตามบัญชี... ภายในวันที่ 20 มีนาคม 2556 อีก 700,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 1,000,000 บาท จะชำระให้จำเลยภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้โอนขายที่ดินพิพาทแล้ว แม้โจทก์จะชำระเงินให้จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความไปแล้วรวมเป็นเงิน 1,000,000 บาท แต่การที่โจทก์จะชำระเงินส่วนที่เหลืออีก 1,000,000 บาท นั้น มีข้อตกลงว่าโจทก์จะชำระภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้โอนขายที่ดินพิพาทแล้วตามสัญญา ข้อตกลงการชำระเงินในสัญญาส่วนนี้จึงตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่โจทก์จะต้องโอนขายที่ดินพิพาทเสียก่อนจึงจะชำระเงินส่วนนี้ให้แก่จำเลย แต่เงื่อนไขดังกล่าวนี้มิได้กำหนดระยะเวลาว่าโจทก์จะต้องขายที่ดินพิพาทเมื่อใด ซึ่งหากโจทก์ไม่ดำเนินการจนล่วงเลยกำหนดเวลาบังคับคดี โจทก์ก็อาจไม่ต้องจ่ายเงินส่วนนี้ให้แก่จำเลย ที่โจทก์อ้างในคำแก้ฎีกาว่า ผู้ซื้อที่ดินต้องการให้โจทก์ทำการรังวัดและออกโฉนดที่ดินก่อนนั้น ก็ได้ความตามคำแก้ฎีกาของโจทก์เองว่าโจทก์เพิ่งดำเนินการเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2561 หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมกว่า 5 ปี ส่วนที่อ้างว่าการออกโฉนดที่ดินที่ติดกับลำน้ำอิงมีข้อขัดข้องเรื่องการกำหนดแนวเขตที่ดิน จึงสามารถออกโฉนดที่ดินได้เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2562 นั้น โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์พยายามปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยพลัน พฤติการณ์ส่อว่าหากโจทก์ขายที่ดินพิพาทเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยไม่ชักช้าอาจเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์จึงปล่อยเวลาให้ผ่านไปจนเนิ่นนานโดยไม่ใส่ใจที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษา กรณีจึงเป็นการไม่แน่ชัดว่าโจทก์จะสามารถขายที่ดินพิพาทได้หรือไม่ หรือจะขายที่ดินนั้นได้เมื่อใดเพราะเป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่มิใช่ว่าจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่แท้กำหนดเวลาชำระหนี้โดยการกำหนดเงื่อนไขไว้เช่นนี้จึงไม่แน่นอน ผลเท่ากับเป็นหนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ซึ่งเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ขายที่ดินพิพาทและจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 18 ตุลาคม 2561 แจ้งให้โจทก์ดำเนินการขายที่ดินพิพาท แต่โจทก์เพิกเฉย จึงเป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยจึงมีสิทธิดำเนินการเพื่อให้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมได้
จำเลยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 ว่า เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์มีเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อมิให้จำเลยได้รับชำระหนี้ตามที่ตกลงกัน จำเลยมีความประสงค์จะบังคับคดีเพื่อให้จำเลยได้รับชำระเงินส่วนที่เหลือจำนวน 1,000,000 บาท ขอให้ศาลนัดไต่สวนคำร้องเพื่อมีคำสั่งเกี่ยวกับการบังคับคดี หรือออกหมายบังคับคดีเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องแล้ว มีคำสั่งให้ออกหมายบังคับคดี เมื่อศาลได้มีหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตามอำนาจหน้าที่ใน ป.วิ.พ. มาตรา 271 ที่กำหนดให้อำนาจหน้าที่ในการบังคับคดีเป็นอำนาจของศาล ส่วนเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้น เป็นเพียงเจ้าพนักงานที่จะต้องปฏิบัติการเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเท่านั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งว่า ข้อตกลงข้อ 2 ที่ระบุว่า ส่วนที่เหลืออีก 1,000,000 บาท จะชำระให้จำเลยภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนโอนที่พิพาทแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการโอนให้แก่บุคคลใด เงื่อนไขระยะเวลาดังกล่าวจึงไม่เริ่มนับ จะถือว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงไม่ได้ ให้ยกคำร้องขอยึดทรัพย์ของจำเลย อันเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาวินิจฉัยว่าการออกหมายบังคับคดีนั้นไม่ถูกต้องและไม่ดำเนินการยึดทรัพย์ตามที่จำเลยขอบังคับคดีโดยไม่มีเหตุตามกฎหมาย ซึ่งกระทำมิได้ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าหมายบังคับคดีมีข้อบกพร่องหรือผิดพลาด ชอบที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องรายงานศาลเพื่อพิจารณาสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขหมายบังคับคดีตามที่เห็นสมควร ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 วรรคหนึ่ง การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งยกคำร้องขอยึดทรัพย์ของจำเลย โดยอ้างเหตุว่าโจทก์ยังไม่ผิดนัดตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ อันเป็นการทบทวนคำสั่งศาลในการออกหมายบังคับคดีจึงไม่อาจกระทำได้ จึงต้องเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานบังคับคดีเสีย
จำเลยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 ว่า เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์มีเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อมิให้จำเลยได้รับชำระหนี้ตามที่ตกลงกัน จำเลยมีความประสงค์จะบังคับคดีเพื่อให้จำเลยได้รับชำระเงินส่วนที่เหลือจำนวน 1,000,000 บาท ขอให้ศาลนัดไต่สวนคำร้องเพื่อมีคำสั่งเกี่ยวกับการบังคับคดี หรือออกหมายบังคับคดีเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องแล้ว มีคำสั่งให้ออกหมายบังคับคดี เมื่อศาลได้มีหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตามอำนาจหน้าที่ใน ป.วิ.พ. มาตรา 271 ที่กำหนดให้อำนาจหน้าที่ในการบังคับคดีเป็นอำนาจของศาล ส่วนเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้น เป็นเพียงเจ้าพนักงานที่จะต้องปฏิบัติการเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเท่านั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งว่า ข้อตกลงข้อ 2 ที่ระบุว่า ส่วนที่เหลืออีก 1,000,000 บาท จะชำระให้จำเลยภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนโอนที่พิพาทแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการโอนให้แก่บุคคลใด เงื่อนไขระยะเวลาดังกล่าวจึงไม่เริ่มนับ จะถือว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงไม่ได้ ให้ยกคำร้องขอยึดทรัพย์ของจำเลย อันเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาวินิจฉัยว่าการออกหมายบังคับคดีนั้นไม่ถูกต้องและไม่ดำเนินการยึดทรัพย์ตามที่จำเลยขอบังคับคดีโดยไม่มีเหตุตามกฎหมาย ซึ่งกระทำมิได้ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าหมายบังคับคดีมีข้อบกพร่องหรือผิดพลาด ชอบที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องรายงานศาลเพื่อพิจารณาสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขหมายบังคับคดีตามที่เห็นสมควร ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 วรรคหนึ่ง การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งยกคำร้องขอยึดทรัพย์ของจำเลย โดยอ้างเหตุว่าโจทก์ยังไม่ผิดนัดตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ อันเป็นการทบทวนคำสั่งศาลในการออกหมายบังคับคดีจึงไม่อาจกระทำได้ จึงต้องเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานบังคับคดีเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3785/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการคุมความประพฤติเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขชดใช้ค่าสินไหมทดแทน และสิทธิในการอุทธรณ์
กรณีที่จำเลยไม่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายตามบันทึกข้อตกลงซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดเป็นเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลยไว้ เป็นกรณีที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติที่ศาลกำหนดตาม ป.อ. มาตรา 56 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการคุมความประพฤติและให้ลงโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้แก่จำเลย ดังนี้ จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.คุมประพฤติ พ.ศ.2559 มาตรา 34 วรรคสอง