พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,971 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6414/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยืมเงินเพื่อปฏิบัติหน้าที่ราชการ ไม่เข้าข่ายการยืมตาม ป.พ.พ. และไม่อาจใช้บทบัญญัติใกล้เคียง
จำเลยเป็นข้าราชการในสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติโจทก์ และได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้เป็นผู้ดำเนินการอบรมลูกจ้างประจำโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา การที่จำเลยขอยืมจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ในการอบรมลูกจ้างประจำโรงเรียนปฏิรูปการศึกษาดังกล่าว เป็นเรื่องของการปฏิบัติหน้าที่ราชการ การทำสัญญาการยืมเงินเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของจำเลย จึงมิใช่เป็นการยืมตามลักษณะ 9 แห่ง ป.พ.พ. และไม่อาจนำบทบัญญัติในลักษณะ 9 มาใช้บังคับในฐานะบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6393/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขาดไร้อุปการะจากการเสียชีวิต: ความคุ้มครองประกันภัยแยกจากค่าเสียหายอื่น
ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุจำนวนเงินจำกัดความรับผิด กรมธรรม์ประกันภัยนี้ให้ความคุ้มครองเฉพาะสัญญาข้อที่มีจำนวนเงินจำกัดความรับผิดระบุไว้เท่านั้น ในข้อสัญญาดังกล่าวไม่ระบุถึงต้องรับผิดในส่วนค่าขาดไร้อุปการะด้วยการที่จำเลยจ่ายเงินไปเห็นได้ชัดว่าเป็นค่าปลงศพเท่านั้น การจ่ายเงินค่าซ่อมรถก็เป็นค่าเสียหายต่อทรัพย์สินซึ่งค่าเสียหายทั้งสองรายการนี้ต้องจ่ายตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับจำเลยร่วมเท่านั้น ในการทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรของโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม ประกอบมาตรา 1563 ไม่ว่าในขณะเกิดเหตุผู้ตายจะได้อุปการะเลี้ยงดูโจทก์ทั้งสองจริงหรือไม่ และในอนาคตจะอุปการะกันหรือไม่ การที่โจทก์ทั้งสองถอนฟ้องจำเลยร่วมที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ขอให้ศาลเรียกเข้ามานั้น ไม่มีผลเกี่ยวกับจำเลยทั้งห้าเพราะคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้จำเลยทั้งห้าชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย ไม่ใช่ค่าปลงศพและค่าเสียหายต่อทรัพย์สินของกรมธรรม์ประกันภัย จึงไม่เป็นการปลดหนี้ให้แก่จำเลยร่วมอันจะมีผลทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 หลุดพ้นจากความรับผิดในส่วนนี้ ทั้งการที่โจทก์ทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยร่วมว่าไม่ติดใจเรียกร้องอะไรอีกนั้น เป็นกรณีเฉพาะการประนีประนอมยอมความกันในเรื่องค่าซ่อมรถเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6159/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดสัญญาเช่าจากเหตุไฟไหม้: ผู้เช่าต้องรับผิดหากประมาทเลินเล่อในการดูแลทรัพย์สิน
โรงงานซึ่งเป็นทรัพย์สินที่จำเลยเช่าถูกเพลิงไหม้ได้รับความเสียหายทั้งหลัง สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 567 เมื่อจำเลยไม่สามารถส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าได้ โจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องฟ้องจำเลยภายใน 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามมาตรา 563
คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยโจทก์ได้แต่งตั้งขึ้นได้ทำรายงานผลการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งแจ้งแก่ผู้ว่าการของโจทก์ระบุว่าไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดเกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้และจะต้องรับผิดในทางแพ่ง แต่เห็นว่าจำเลยผู้เช่าเป็นผู้ผิดสัญญาโดยทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เช่า จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าเสียหาย ทั้งโจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ด้วยว่า จำเลยมีหน้าที่ตามสัญญาเช่าจะต้องส่งมอบโรงงานมาตรฐานที่เช่าจากโจทก์คืนในสภาพเรียบร้อย เมื่อคืนไม่ได้แล้วต้องชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่งกรณีดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี
คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยโจทก์ได้แต่งตั้งขึ้นได้ทำรายงานผลการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งแจ้งแก่ผู้ว่าการของโจทก์ระบุว่าไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดเกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้และจะต้องรับผิดในทางแพ่ง แต่เห็นว่าจำเลยผู้เช่าเป็นผู้ผิดสัญญาโดยทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เช่า จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าเสียหาย ทั้งโจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ด้วยว่า จำเลยมีหน้าที่ตามสัญญาเช่าจะต้องส่งมอบโรงงานมาตรฐานที่เช่าจากโจทก์คืนในสภาพเรียบร้อย เมื่อคืนไม่ได้แล้วต้องชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่งกรณีดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อจำนำ และผลกระทบต่อความรับผิดของผู้สลักหลัง
จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว จำเลยที่ 3 ได้จำนำตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวแก่บริษัทเงินทุนทรัพย์ ส. เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. ผู้รับจำนำ จึงมีฐานะเสมือนเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ผู้จำนำ ดังนั้น แม้จะได้ความว่าจำเลยที่ 3 สลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว แต่ก็ต้องถือว่าเป็นการสลักหลังเพื่อจำนำ การที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. ผู้รับจำนำสลักหลังโอนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อไปจึงมีผลเท่ากับเป็นการสลักหลังของตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 926 วรรคหนึ่ง ผู้รับสลักหลังมีสิทธิเท่ากับผู้รับจำนำ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับสลักหลังมาจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 3 รับผิดชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน คงมีสิทธิเพียงไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6020/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างใหม่ทำให้สัญญาค้ำประกันเดิมสิ้นผลผูกพัน เมื่อจำเลยที่ 1 ทำผิดสัญญาในตำแหน่งใหม่ จำเลยที่ 2 และ 3 ไม่ต้องรับผิด
เดิมโจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของโจทก์ในตำแหน่งพนักงานสินเชื่อ มีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ไว้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้างพนักงานและลูกจ้างของสหกรณ์ ต่อมาโจทก์ได้ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของโจทก์ใหม่ในตำแหน่งผู้จัดการ โดยมีจำเลยที่ 4 จำนองที่ดินเป็นประกันการเข้าทำงานในตำแหน่งผู้จัดการของโจทก์ ตามสัญญาจ้างพนักงานและลูกจ้างสหกรณ์อันเป็นการตกลงทำสัญญาจ้างกันใหม่ในตำแหน่งงานใหม่ที่มีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้นโดยไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รู้เห็นให้ความยินยอมด้วย อีกทั้งตามสัญญาจ้างฉบับใหม่ก็ไม่ได้มีข้อความระบุว่าที่ดินส่วนที่จำเลยที่ 4 จำนองเป็นประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ไว้แก่โจทก์นั้นเป็นการประกันเพิ่มเติมจากที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันไว้เดิม อันเป็นข้อเท็จจริงที่แสดงเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ให้บังคับตามสัญญาจ้างใหม่ และเป็นผลทำให้สัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ในตำแหน่งพนักงานสินเชื่อเดิมและสัญญาค้ำประกันเดิมที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำผูกพันไว้กับโจทก์สิ้นสุดลงไป ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายในขณะทำหน้าที่ผู้จัดการของโจทก์ตามสัญญาจ้างใหม่ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5962/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกบ้านให้เป็นการบริจาค (สังหาริมทรัพย์) ไม่ต้องทำเป็นหนังสือ และความรับผิดจากอุบัติเหตุทางละเมิด
น. ยกให้เฉพาะที่ดินที่ปลูกบ้านเกิดเหตุให้แก่ บ. โดยไม่รวมบ้าน และยกบ้านเกิดเหตุให้แก่โจทก์เพื่อให้รื้อถอนไปสร้างใหม่ บ้านเกิดเหตุจึงไม่ใช่ส่วนควบของที่ดินและเป็นการยกให้ในลักษณะสังหาริมทรัพย์ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์ การยกให้บ้านเกิดเหตุจึงสมบูรณ์โดยหาจำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5886/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้พิมพ์-บรรณาธิการในคดีหมิ่นประมาทตาม พ.ร.บ.การพิมพ์ที่ถูกยกเลิก
จำเลยเป็นเพียงผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาและบรรณาธิการ โดยจำเลยไม่ได้ร่วมกับผู้เขียน ผู้ประพันธ์ เขียนข้อความหมิ่นประมาทดังที่โจทก์กล่าวในฟ้องด้วย เมื่อปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไปบัญญัติไว้มาตรา 3 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.การพิมพ์ พุทธศักราช 2484 พ.ร.บ.การพิมพ์ (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2485 พ.ร.บ.การพิมพ์ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2488 คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 6 ตุลาคม พุทธศักราช 2519 คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 36 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พุทธศักราช 2519 แต่ความที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 มิได้บัญญัติถึงลักษณะความผิดของผู้พิมพ์ ผู้โฆษณษา บรรณาธิการ และเจ้าของหนังสือพิมพ์ทำนองเดียวกับที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การพิมพ์ พุทธศักราช 2484 มาตรา 48 แต่ประการใด จึงเป็นกรณีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังมิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดต่อไป การกระทำของจำเลยแม้จะเป็นความผิดดังกล่าว จำเลยก็พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายนี้ขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5587/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด/ตัวการ: ความรับผิดในสัญญาซื้อขายปลา การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายภายในอายุความ
การผลิตปลากระป๋อง การสั่งปลาและการรับมอบปลาจากโจทก์ จำเลยรับว่าเกิดในที่ทำการของจำเลย แต่อ้างว่าเป็นการกระทำโดยส่วนตัวของ พ. และ ร. การที่จำเลยยินยอมให้ พ. และ ร. ใช้สถานที่ของจำเลยประกอบการผลิตปลากระป๋อง โดยเครื่องมือการผลิตเครื่องมือสื่อสารติดต่อกับโจทก์ทั้งเครื่องโทรศัพท์และเครื่องโทรสาร รวมทั้งแบบฟอร์มใบสำคัญจ่ายซึ่งเป็นหลักฐานแสดงการยอมรับว่าเป็นหนี้ของจำเลย ประกอบกับวัตถุประสงค์ของจำเลยตามที่จดทะเบียนระบุว่า จำเลยประกอบกิจการค้าอาหารทะเลบรรจุกระป๋อง ย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าใจโดยสุจริตว่า พ. และ ร. กระทำการในนามของจำเลยหรืออีกนัยหนึ่งจำเลยเป็นผู้ประกอบกิจการดังกล่าวเอง เป็นการที่จำเลยเชิด พ. และ ร. ออกเป็นตัวแทนหรือยินยอมให้ พ. และ ร. เชิดตัวเองเป็นตัวแทน จำเลยจึงต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำของ พ. และ ร. ในฐานะตัวการ ต้องชำระค่าปลาให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 821
แม้ฟ้องจะมิได้กล่าวเกี่ยวกับการเป็นตัวการตัวแทน โจทก์ก็นำสืบเรื่องนี้ได้เพราะเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงในรายละเอียด เนื่องจากในการติดต่อทำสัญญาซื้อขายกันอาจทำได้โดยตนเองหรือมีตัวแทนไปติดต่อทำสัญญาซื้อขายแทนกันก็ได้ และศาลวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์ประกอบธุรกิจขายปลา ทำสัญญาขายปลาให้จำเลยนำไปใช้ผลิตปลากระป๋องออกจำหน่ายอันเป็นการประกอบธุรกิจของจำเลย จึงเข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) การฟ้องเรียกค่าปลาจากจำเลยจึงต้องใช้อายุความห้าปีตามมาตรา 193/33 (5)
แม้ฟ้องจะมิได้กล่าวเกี่ยวกับการเป็นตัวการตัวแทน โจทก์ก็นำสืบเรื่องนี้ได้เพราะเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงในรายละเอียด เนื่องจากในการติดต่อทำสัญญาซื้อขายกันอาจทำได้โดยตนเองหรือมีตัวแทนไปติดต่อทำสัญญาซื้อขายแทนกันก็ได้ และศาลวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์ประกอบธุรกิจขายปลา ทำสัญญาขายปลาให้จำเลยนำไปใช้ผลิตปลากระป๋องออกจำหน่ายอันเป็นการประกอบธุรกิจของจำเลย จึงเข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) การฟ้องเรียกค่าปลาจากจำเลยจึงต้องใช้อายุความห้าปีตามมาตรา 193/33 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5347/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: โจทก์ต้องรับผิดแม้บัญชีอายัดไม่ใช่ของจำเลย
โจทก์เป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินในบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 325-2-14xxx-x เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีหนังสือแจ้งอายัดไปยัดไปยังธนาคาร ก. ตามที่โจทก์แถลงขอและธนาคาร ก. ได้รับหนังสือแจ้งอายัดแล้ว กรณีจึงต้องถือว่าได้มีการอายัดไว้โดยชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 311 แล้ว เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการอายัดเนื่องจากบัญชีออมทรัพย์เลขที่ดังกล่าวมิใช่เป็นบัญชีของจำเลย โจทก์ผู้ขอให้อายัดจึงมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมอายัดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามตาราง 5 ข้อ 4 ท้าย ป.วิ.พ. การที่ปรากฏในภายหลังว่าบัญชีออมทรัพย์ที่ขออายัดนั้นไม่ใช่ของจำเลย และธนาคารมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบภายหลังที่ได้รับหนังสืออายัดแล้ว โจทก์จะยกมาเป็นข้ออ้างให้พ้นความรับผิดในค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีหาได้ไม่ กรณีจึงไม่มีเหตุให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำร้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5299/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเล่นแชร์ผิดกฎหมาย, ความรับผิดของสมาชิก, สิทธิเรียกร้องของผู้เล่นแชร์, การประมูลและการรับผิด
พ.ร.บ.การเล่นแชร์ฯ มาตรา 6 (3) ประกอบกฎกระทรวง (พ.ศ.2534) ที่ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันทุกวงเป็นมูลค่ามากกว่าสามแสนบาท เป็นการห้ามนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เท่านั้น ส่วนสมาชิกผู้เข้าเล่นแชร์ด้วยกันหาได้มีบทบัญญัติห้ามเล่นแชร์แต่อย่างใดไม่ ทั้งมาตรา 7 ยังระบุว่าบทบัญญัติมาตรา 6 ไม่กระทบกระเทือนถึงการที่สมาชิกวงแชร์จะฟ้องคดีหรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์อีกด้วย การเล่นแชร์เป็นสัญญาประเภทหนึ่งอันเกิดจากการตกลงระหว่างสมาชิกผู้เล่นซึ่งมีผลผูกพันและบังคับกันได้ตามกฎหมาย
เมื่อ ด. นายวงแชร์ถึงแก่ความตาย มีผู้ที่ยังไม่ได้ประมูลแชร์ 3 ราย คือ โจทก์ ท. และ ส. ดังนั้นบุคคลทั้งสามเท่าที่ได้รับผลกระทบจากการที่ไม่มีผู้จัดให้มีการประมูลแชร์และผู้ที่จะเสนอคำประมูลแชร์ได้ก็มีเพียงสามคนนี้เท่านั้น ผู้เล่นแชร์คนอื่นๆ ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อไม่มีผู้จัดให้มีการประมูลแชร์ การที่โจทก์ ท. และ ส. ตกลงกันใช้วิธีจับสลากอันดับก่อนหลังแทนการให้ดอกเบี้ย นับเป็นวิธีการที่ทำให้การเล่นแชร์วงนี้สามารถดำเนินต่อไปได้จนจบโดยผู้เล่นแชร์ได้รับเงินจนครบทุกคน และผู้เล่นแชร์คนอื่นๆ ไม่ได้รับความเสียหายหรือผลกระทบแต่อย่างใดดังนั้น ความรับผิดของผู้เล่นแชร์คนอื่นๆ จึงยังคงต้องมีอยู่อีกต่อไป
เมื่อ ด. นายวงแชร์ถึงแก่ความตาย มีผู้ที่ยังไม่ได้ประมูลแชร์ 3 ราย คือ โจทก์ ท. และ ส. ดังนั้นบุคคลทั้งสามเท่าที่ได้รับผลกระทบจากการที่ไม่มีผู้จัดให้มีการประมูลแชร์และผู้ที่จะเสนอคำประมูลแชร์ได้ก็มีเพียงสามคนนี้เท่านั้น ผู้เล่นแชร์คนอื่นๆ ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อไม่มีผู้จัดให้มีการประมูลแชร์ การที่โจทก์ ท. และ ส. ตกลงกันใช้วิธีจับสลากอันดับก่อนหลังแทนการให้ดอกเบี้ย นับเป็นวิธีการที่ทำให้การเล่นแชร์วงนี้สามารถดำเนินต่อไปได้จนจบโดยผู้เล่นแชร์ได้รับเงินจนครบทุกคน และผู้เล่นแชร์คนอื่นๆ ไม่ได้รับความเสียหายหรือผลกระทบแต่อย่างใดดังนั้น ความรับผิดของผู้เล่นแชร์คนอื่นๆ จึงยังคงต้องมีอยู่อีกต่อไป