พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,971 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความรับผิดนายจ้างต่อการเสียชีวิตของลูกจ้างจากการถูกยิงระหว่างเดินทางไปทำงาน แม้ไม่ใช่ผลโดยตรงจากการทำงาน
การที่ พ. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการมีฐานะเป็นผู้แทนของบริษัท ท. ขับรถยนต์ชนกับรถยนต์ของ ญ. ในระหว่างไปทำงานให้บริษัท ท. เป็นเหตุให้ ญ. ถึงแก่ความตายรถยนต์ได้รับความเสียหาย นอกจากจะถูกกล่าวหาว่าทำความผิดอาญาฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายแล้ว ยังอาจเป็นการทำละเมิดในระหว่างการทำตามหน้าที่ของผู้แทนของบริษัท ท. ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจะมีผลทำให้บริษัท ท. ต้องร่วมกับ พ. รับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 มาตรา 425 และมาตรา 427 การตกลงชดใช้ค่าเสียหายเป็นการประนีประนอมยอมความมีผลทำให้สิทธิเรียกร้องเดิมระงับสิ้นไป คู่กรณีต้องผูกพันตามที่ตกลงกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และมาตรา 852 ดังนั้น หาก พ. สามารถเจรจาต่อรองให้ ด. ผู้เสียหายยอมลดค่าเสียหายลงได้มากเพียงใดย่อมทำให้บริษัท ท. ได้รับประโยชน์ด้วยเพียงนั้น จึงถือได้ว่าการไปเจรจาตกลงเรื่องค่าเสียหายของ พ. เป็นการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่บริษัท ท. ดังนั้น การที่ พ. สั่งให้ น. ขับรถยนต์ในวันเกิดเหตุ แม้ น. จะไม่ได้ป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง แต่ น. ก็ได้ทำงานตามคำสั่งของนายจ้างด้วย แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า พ. และ น. ถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงถึงแก่ความตายในระหว่างการเดินทางก่อนการเจรจาเรื่อง ค่าเสียหายโดยไม่ปรากฏสาเหตุ ไม่ได้ถูกยิงในระหว่างการเจรจาหรือสืบเนื่องมาจากการเจรจาเรื่องค่าเสียหาย ทั้งการถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงจนถึงแก่ความตายไม่ใช่สาเหตุที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นได้จากการเดินทาง ด้วยเหตุดังกล่าวแม้ พ. จะเดินทางไปทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างและ น. ได้ทำงานตามคำสั่งของนายจ้างแต่ความตายไม่ใช่ผลโดยตรงจากการทำงาน หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคำสั่งของนายจ้าง จึงถือไม่ได้ว่า พ. และ น. ถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่บริษัท ท. หรือตามคำสั่งของบริษัท ท. ซึ่งเป็นนายจ้าง น. จึงไม่ได้ประสบอันตรายตามความในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.เงินทดแทนฯ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6268/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายส่งผลต่อความรับผิดของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ในคดีหมิ่นประมาท
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในฐานะบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ซึ่งลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ด้วยการโฆษณาตาม ป.อ. มาตรา 326, 328 พ.ร.บ.การพิมพ์ฯ มาตรา 48 แต่ในขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ฯ มาตรา 3 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.การพิมพ์ฯ ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป และ พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ฯ ไม่ได้บัญญัติให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์เป็นผู้รับผิดชอบในข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ที่ตนเป็นบรรณาธิการ ฉะนั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6012/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยค้ำจุน: ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดต่อผู้รับประโยชน์แม้ไม่ได้ระบุชื่อโดยตรง หากความเสียหายอยู่ในวงเงินคุ้มครอง
จำเลยที่ 3 รับประกันภัยไว้จากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อบุคคลภายนอกแทนจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัย ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก การประกันภัยดังกล่าวจึงเป็นการประกันภัยค้ำจุน ดังนี้แม้โจทก์จะไม่ได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 3 และตามกรมธรรม์ดังกล่าวจำเลยที่ 1 ไม่ได้ระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ก็ตาม แต่เมื่อการประกันภัยดังกล่าวเป็นการประกันภัยค้ำจุนและความเสียหายนั้นมีจำนวนไม่เกินวงเงินที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดชอบ จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันกันย่อมต้องรับผิดในนามของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บริษัท ซ. ซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ ทั้งบริษัทดังกล่าวบุคคลผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตรควรจะได้นั้นจากจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยโดยตรง ที่จำเลยที่ 3 อ้างว่ามีข้อตกลงพิเศษว่ากรมธรรม์นี้จะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น กรณีทรัพย์สินที่บรรทุกนั้นมีกรมธรรม์ประกันภัยชนิดอื่นหรือประเภทอื่นรับผิดชอบอยู่แล้ว จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นมาวินิจฉัย ถือได้ว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจึงไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่จำเลยที่ 3 แก้อุทธรณ์ว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งนั้น แม้จำเลยที่ 3 จะได้บรรยายไว้ในคำให้การ แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยที่ 3 ข้อโต้แย้งเรื่องนี้ย่อมตกไป เมื่อศาลดังกล่าวดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา จำเลยที่ 3 ก็มิได้ยกเรื่องนี้ข้อโต้แย้งอีก แสดงว่ายอมรับอำนาจศาลและไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาลอีกต่อไป ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่อาจส่งเรื่องให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยได้
ส่วนที่จำเลยที่ 3 แก้อุทธรณ์ว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งนั้น แม้จำเลยที่ 3 จะได้บรรยายไว้ในคำให้การ แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยที่ 3 ข้อโต้แย้งเรื่องนี้ย่อมตกไป เมื่อศาลดังกล่าวดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา จำเลยที่ 3 ก็มิได้ยกเรื่องนี้ข้อโต้แย้งอีก แสดงว่ายอมรับอำนาจศาลและไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาลอีกต่อไป ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่อาจส่งเรื่องให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5206/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดตามสัญญาประกัน และการกำหนดเวลาชำระหนี้ กรณีผู้ต้องหาไม่มาตามนัด
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ยื่นคำร้องและลงลายมือชื่อเป็นผู้ประกันตัวผู้ต้องหาต่อพนักงานสอบสวน โจทก์มีหน้าที่ต้องจัดหาหลักประกันเมื่อไม่มีกฎหมายบังคับว่าหลักประกันต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ประกันแต่ผู้เดียว การที่จำเลยที่ 2 จัดหาหลักประกันเป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ยินยอมให้นำมาวางต่อโจทก์โดยทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการ มิได้แปลว่าจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องและทำสัญญาประกันในฐานะที่เป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจากจำเลยที่ 1 เท่านั้น แต่แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาเข้าทำสัญญาประกันในนามของจำเลยที่ 2 เองด้วย สัญญาประกันจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันต่อโจทก์
การที่จำเลยทั้งสองผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาให้โจทก์ในวันนัดส่งตัว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาประกันอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับได้นับแต่วันดังกล่าว แต่จะถือว่าจำเลยทั้งสองผิดนัดชำระเบี้ยปรับนับแต่วันนั้นหาได้ไม่ สัญญาประกันมิได้กำหนดเวลาอันจะพึงชำระหนี้ดังกล่าวต่อกันไว้ โจทก์ชอบที่จะบอกกล่าวกำหนดเวลาชำระหนี้ก่อนหากจำเลยทั้งสองไม่ชำระจึงได้ชื่อว่าผิดนัดนับแต่เมื่อนั้น
การที่จำเลยทั้งสองผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาให้โจทก์ในวันนัดส่งตัว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาประกันอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับได้นับแต่วันดังกล่าว แต่จะถือว่าจำเลยทั้งสองผิดนัดชำระเบี้ยปรับนับแต่วันนั้นหาได้ไม่ สัญญาประกันมิได้กำหนดเวลาอันจะพึงชำระหนี้ดังกล่าวต่อกันไว้ โจทก์ชอบที่จะบอกกล่าวกำหนดเวลาชำระหนี้ก่อนหากจำเลยทั้งสองไม่ชำระจึงได้ชื่อว่าผิดนัดนับแต่เมื่อนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5205/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากต้นไม้ล้มทับ - กรมทางหลวงต้องรับผิดชอบหากละเลยไม่บำรุงรักษาต้นไม้ที่อยู่ในความดูแลจนเกิดอันตราย
วันเกิดเหตุฝนตกไม่มากและลมพัดไม่แรง การที่ต้นจามจุรีริมทางหลวงล้มทับผู้ตายขณะขับรถจักรยานยนต์ไปตามทางหลวงจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายมิใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัย แต่เป็นเพราะความบกพร่องของกรมทางหลวงจำเลยที่ไม่โค่นเหรือปล่อยปละละเลยไม่สั่งเจ้าหน้าที่ของจำเลยไปโค่นต้นจามจุรีที่มีสภาพผุกลวงเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น อันเป็นการกระทำละเมิดของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5133/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันก่อนสัญญาจ้าง: ค้ำประกันหนี้ในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นได้ตามกฎหมาย
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า ตามที่โจทก์ตกลงรับจำเลยที่ 1 เข้าเป็นพนักงานของโจทก์เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2543 จำเลยที่ 2 ขอสัญญาว่าถ้าจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะกระทำการดังที่ระบุไว้ จำเลยที่ 2 ยอมชำระหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกัน ดังนั้น แม้สัญญาค้ำประกันจะได้กระทำกันก่อนที่จำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์ แต่ก็เป็นการประกันความรับผิดในหนี้ในลักษณะที่เป็นเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งหนี้นั้นอาจเกิดขึ้นจริงหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 681 วรรคสอง เมื่อต่อมาจำเลยที่ 1 ยักยอกทรัพย์ หนี้จึงเกิดขึ้นตามที่จำเลยที่ 2 ได้ตกลงค้ำประกันไว้ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4308/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องชำรุดบกพร่อง: สัญญาพิเศษ VS. ป.พ.พ. มาตรา 601
การฟ้องร้องให้ผู้รับจ้างรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 601 นั้น ใช้บังคับแก่กรณีที่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 600 กล่าวคือ ต้องเป็นกรณีที่มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญา แล้วงานที่ทำเกิดการชำรุดบกพร่องขึ้นภายหลังส่งมอบ แต่กรณีตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องตามข้อสัญญาซึ่งกำหนดความรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องไว้เป็นอย่างอื่น อันเป็นข้อสัญญาที่ตกลงกันไว้เป็นพิเศษอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ซึ่งผูกพันคู่สัญญาให้ต้องปฏิบัติตาม หาใช่เป็นเพียงข้อตกลงเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาซึ่งผู้รับจ้างต้องรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องให้แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 600 ไม่ เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้กำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการตัวแทน ความรับผิดในสัญญาประกันภัย การรับชำระเงินล่วงหน้า และผลของการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง
จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร แต่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดอันเนื่องมาจากการเป็นตัวการตัวแทน จึงเป็นกรณีที่มูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และจำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้นต่อศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 5
การที่จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ชักชวนบุคคลทั่วไปให้มาทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 ทั้งมีหน้าที่รับเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยที่ 1 ด้วย ย่อมเป็นการทำให้บุคคลทั่วไปซึ่งรวมทั้งโจทก์เข้าใจและเชื่อว่าสิ่งที่จำเลยที่ 2 พูดหรือกระทำนั้นเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ผู้เป็นตัวแทน แม้การที่จำเลยที่ 2 รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าจะเป็นการกระทำนอกขอบอำนาจของการเป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 ประกอบมาตรา 820 โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 1 จะได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าดังกล่าวหรือไม่
การที่จำเลยที่ 1 มิได้มีระเบียบให้ตัวแทนรับเบี้ยประกันภัยล่วงหน้า และในการสั่งจ่ายเช็คชำระค่าเบี้ยประกันภัยโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในใบรับเงินชั่วคราว แต่จำเลยที่ 1 จะมีระเบียบในเรื่องการรับชำระเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าหรือไม่ ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ไม่อาจยกเรื่องนี้ขึ้นเป็นข้อปฏิเสธความรับผิดได้
ข้อตกลงที่โจทก์ทำกับจำเลยที่ 2 มิได้ระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไปทีเดียว แต่ยังมีเงื่อนไขว่าโจทก์จะไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามข้อตกลงข้ออื่นๆ ครบถ้วนแล้ว ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและไม่ทำให้หนี้เดิมระงับ จำเลยที่ 1 จึงยังผูกพันที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์
การที่จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ชักชวนบุคคลทั่วไปให้มาทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 ทั้งมีหน้าที่รับเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยที่ 1 ด้วย ย่อมเป็นการทำให้บุคคลทั่วไปซึ่งรวมทั้งโจทก์เข้าใจและเชื่อว่าสิ่งที่จำเลยที่ 2 พูดหรือกระทำนั้นเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ผู้เป็นตัวแทน แม้การที่จำเลยที่ 2 รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าจะเป็นการกระทำนอกขอบอำนาจของการเป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 ประกอบมาตรา 820 โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 1 จะได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าดังกล่าวหรือไม่
การที่จำเลยที่ 1 มิได้มีระเบียบให้ตัวแทนรับเบี้ยประกันภัยล่วงหน้า และในการสั่งจ่ายเช็คชำระค่าเบี้ยประกันภัยโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในใบรับเงินชั่วคราว แต่จำเลยที่ 1 จะมีระเบียบในเรื่องการรับชำระเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าหรือไม่ ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ไม่อาจยกเรื่องนี้ขึ้นเป็นข้อปฏิเสธความรับผิดได้
ข้อตกลงที่โจทก์ทำกับจำเลยที่ 2 มิได้ระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไปทีเดียว แต่ยังมีเงื่อนไขว่าโจทก์จะไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามข้อตกลงข้ออื่นๆ ครบถ้วนแล้ว ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและไม่ทำให้หนี้เดิมระงับ จำเลยที่ 1 จึงยังผูกพันที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4266/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนสั่งซื้อสินค้า, ความรับผิดจากการปฏิบัติหน้าที่, ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี, ไม่มีเหตุให้ไล่เบี้ย
คดีก่อน อ. ได้ยื่นฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 และฟ้องจำเลยที่ 1 คดีนี้เป็นจำเลยที่ 3 ต่อศาลชั้นต้นเรียกเงินค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่สั่งซื้อมาใช้ในกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนฯ ในที่สุดศาลฎีกามีคำพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย ให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียม และค่าทนายความ ให้แก่ อ. เมื่อโจทก์ชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว จึงมาฟ้องไล่เบี้ยเอากับจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นคดีนี้ ให้ร่วมกันชำระหนี้ค่าดอกเบี้ย ค่าฤชาธรรมเนียม ค่าทนายความและค่าขึ้นศาล อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ จนกระทั่งโจทก์ถูก อ. ฟ้องเป็นคดีก่อน ซึ่งในคดีก่อนโจทก์ให้การต่อสู้คดีในสาระสำคัญว่า การสั่งซื้อสินค้าจาก อ. เป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำในนามของโจทก์ ทั้งไม่ได้นำสินค้าต่างๆ มาใช้ในราชการของโจทก์ ศาลฎีกาวินิจฉัยโดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งซื้อสินค้าแทนโจทก์โดยใช้งบประมาณที่โจทก์จัดสรรให้มาเป็นรายปี การสั่งซื้อสินค้าได้นำไปใช้ในราชการของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าได้นำสินค้าไปใช้เป็นการส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ดังนี้แม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างเป็นจำเลยด้วยกันในคดีก่อนก็ตามก็ต้องถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลในคดีก่อน คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่า จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่สั่งซื้อสินค้าจาก อ. ในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ซึ่งเป็นตัวการ เมื่อไม่ปรากฏว่าสินค้าต่างๆ ที่สั่งซื้อมานั้นได้นำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์หรือนำไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวของจำเลยทั้งสอง โจทก์จึงไม่มีความเสียหายอย่างใดเกิดขึ้นจากการที่จำเลยทั้งสองปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 812
ส่วนค่าดอกเบี้ย ค่าฤชาธรรมเนียม และค่าทนายความที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้นั้น มิใช่ความเสียหายที่เกิดขึ้นอันเป็นผลเนื่องจากการกระทำของจำเลยทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง แต่เป็นผลที่เกิดจากการที่โจทก์สมัครใจต่อสู้คดีในคดีก่อนมาตั้งแต่ต้น โดยให้การปฏิเสธความรับผิดว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำการในนามของโจทก์และไม่ได้นำสินค้ามาใช้ในราชการของโจทก์ จนกระทั่งศาลฎีกามีคำพิพากษาให้โจทก์แต่ผู้เดียวที่ต้องรับผิดเนื่องจากจำเลยที่ 1 กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ และสินค้าที่โจทก์ชำระให้แก่ อ. ไปในคดีก่อนนั้น ฟังได้ว่าเป็นสินค้าที่จำเลยทั้งสองสั่งซื้อมาและนำไปใช้ในราชการของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าได้นำไปใช้ในการส่วนตัวของจำเลยทั้งสองแต่อย่างใด นอกจากนี้หนี้ค่าดอกเบี้ย ถือได้ว่าเป็นหนี้อุปกรณ์ เมื่อหนี้ประธานจำเลยทั้งสองไม่จำต้องรับผิดแล้ว หนี้อุปกรณ์จำเลยทั้งสองก็ไม่จำต้องรับผิดด้วยส่วนค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความตามที่โจทก์ฟ้องไล่เบี้ยเอากับจำเลยทั้งสองนั้น ไม่ใช่หนี้อุปกรณ์ของหนี้ในคดีก่อนที่โจทก์ถูกฟ้อง เพราะมิได้เกิดขึ้นและสิ้นไปตามหนี้ดังกล่าว แต่เป็นหนี้ที่เกิดจากการดำเนินกระบวนพิจารณา ซึ่งความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความย่อมเป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 เมื่อมิได้เกิดขึ้นจากความผิดของจำเลยทั้งสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยให้จำเลยทั้งสองชำระค่าฤชาธรรมเนียมรวมถึงค่าทนายความที่โจทก์ต้องรับผิดในคดีก่อนจากจำเลยทั้งสองได้
ส่วนค่าดอกเบี้ย ค่าฤชาธรรมเนียม และค่าทนายความที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้นั้น มิใช่ความเสียหายที่เกิดขึ้นอันเป็นผลเนื่องจากการกระทำของจำเลยทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง แต่เป็นผลที่เกิดจากการที่โจทก์สมัครใจต่อสู้คดีในคดีก่อนมาตั้งแต่ต้น โดยให้การปฏิเสธความรับผิดว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำการในนามของโจทก์และไม่ได้นำสินค้ามาใช้ในราชการของโจทก์ จนกระทั่งศาลฎีกามีคำพิพากษาให้โจทก์แต่ผู้เดียวที่ต้องรับผิดเนื่องจากจำเลยที่ 1 กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ และสินค้าที่โจทก์ชำระให้แก่ อ. ไปในคดีก่อนนั้น ฟังได้ว่าเป็นสินค้าที่จำเลยทั้งสองสั่งซื้อมาและนำไปใช้ในราชการของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าได้นำไปใช้ในการส่วนตัวของจำเลยทั้งสองแต่อย่างใด นอกจากนี้หนี้ค่าดอกเบี้ย ถือได้ว่าเป็นหนี้อุปกรณ์ เมื่อหนี้ประธานจำเลยทั้งสองไม่จำต้องรับผิดแล้ว หนี้อุปกรณ์จำเลยทั้งสองก็ไม่จำต้องรับผิดด้วยส่วนค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความตามที่โจทก์ฟ้องไล่เบี้ยเอากับจำเลยทั้งสองนั้น ไม่ใช่หนี้อุปกรณ์ของหนี้ในคดีก่อนที่โจทก์ถูกฟ้อง เพราะมิได้เกิดขึ้นและสิ้นไปตามหนี้ดังกล่าว แต่เป็นหนี้ที่เกิดจากการดำเนินกระบวนพิจารณา ซึ่งความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความย่อมเป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 เมื่อมิได้เกิดขึ้นจากความผิดของจำเลยทั้งสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยให้จำเลยทั้งสองชำระค่าฤชาธรรมเนียมรวมถึงค่าทนายความที่โจทก์ต้องรับผิดในคดีก่อนจากจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3674/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดฐานไม่หยุดช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุและแจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ แม้ผู้ขับขี่ได้รับบาดเจ็บ
พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ผู้ใดขับรถหรือขี่หรือควบคุมสัตว์ในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์หรือไม่ก็ตาม ต้องหยุดรถหรือสัตว์และให้ความช่วยเหลือตามสมควรและพร้อมทั้งแสดงตัวแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที..." การที่จำเลยหลบหนีไปจากที่เกิดเหตุโดยไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามที่บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวบังคับไว้ ทั้งเมื่อพิจารณาอาการบาดเจ็บของจำเลยแล้วเห็นได้ว่าจำเลยมิได้รับบาดเจ็บมากจนกระทั่งไม่สามารถปฏิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าวได้ จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 78 วรรคหนึ่ง